OUR BLOG

ใช้กัญอย่างเข้าใจ

ก่อนซื้อแฟรนไชส์ 3 1

อาหารเเละผลิตภัณฑ์ที่มีกัญชา กัญชง ต้องยื่นขออนุญาต!

เนื่องด้วยปัจจุบัน กัญชา กัญชง เป็นที่น่าจับตามองอย่างมาก  เพราะเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ทาง อย. ได้มีประกาศปลดล็อคกัญชา กัญชง อย่างเป็นทางการ ดังนั้นเราควรรู้กันก่อนว่า หลังจากที่ปลดล็อคกัญชา กัญชงเเล้ว สิ่งไหนที่ทำได้เเละทำไม่ได้บ้าง เพื่อเป็นการป้องกันการใช้กัญชาที่ประเทศไทย เคยจัดว่าเป็นสารเสพติดให้โทษประเภท 5 อย่างถูกต้อง เเละปลอดภัย

 

  • สามารถทำได้หลังปลดล็อคกัญชา : ปลูกได้, ครอบครองได้ (ช่อดอก กิ่ง ก้าน ใบ หรือสารสกัด THC ไม่เกิน 0.2 %)
  • ต้องขออนุญาตหลังปลดล็อคกัญชา: การขายเมล็ดพันธุ์ กิ่งพันธุ์ ต้นกล้า, การซื้อขายสารสกัดที่มี THC เกิน 0.2% และการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีส่วนผสมของกัญชา
  • ไม่สามารถทำได้หลังปลดล็อคกัญชา : ห้ามสูบกัญชาในที่สาธารณะ, ห้ามใช้และจำหน่ายกับสตรีมีครรถ์ หรือสตรีที่ให้นมบุตร และห้ามครอบครองสารสกัดที่มี THC มากกว่า 0.2% โดยไม่มีใบนุญาต

อย. ได้ออกประกาศเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้กัญชาเป็นส่วนประกอบ 3 ผลิตภัณฑ์ 1. อาหาร 2 เครื่องสำอาง และ 3. ผลิตภัณฑ์สมุนไพร โดยในบทความนี้เราจะมาพูดถึงขั้นตอนการแนวทางการยื่นขออนุญาตผลิตอาหาร หรือผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของกัญชาหรือกัญชง

จากประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 427) พ.ศ. 2564 ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของส่วนของกัญชาหรือกัญชง โดยกำหนดให้การผลิตอาหารดังกล่าวเป็นอาหารควบคุมเฉพาะและ ห้ามผลิตในอาหารทารกและอาหารสูตรต่อเนื่องสำหรับทารกและเด็กเล็ก นมดัดแปลงสำหรับทารกและนมดัดแปลงสูตรต่อเนื่องสำหรับทารกและเด็กเล็ก อาหารเสริมสำหรับทารกและเด็กเล็ก เครื่องดื่มที่ผสมกาเฟอีน และอาหารอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ที่ห้ามมิให้ผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ซึ่งประกาศฯ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 2564

 

    ขั้นตอนที่ 1 การขอตรวจประเมินสถานที่ผลิตอาหาร โดยไปยื่นที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือสำนักงานสาธารณะสุขจังหวัดนั้น ๆ โดยมีเอกสารหลักฐานประกอบการยื่นดังนี้

1.       หลักฐานแสดงที่มาของวัตถุดิบกัญชากัญชงซึ่งห้ามไม่ให้มีช่อ ดอกติดมาด้วย

2.      หลักฐานการบันทึก การรับ-จ่ายส่วนของกัญชาหรือส่วนของกัญชง

3.      ข้อมูลของผลิตภัณฑ์อาหารอื่น ๆ กรณีที่ใช้สายการผลิตร่วมกับผลิตภัณฑ์อาหารที่มี ส่วนประกอบของส่วนของกัญชาหรือกัญชง

4.       รูปภาพสถานที่

5.       แผนที่, แผนผังสถานที่ผลิตอาหาร

6.       วิธีการผลิต 

ระยะเวลา 6 วันทำการหลังจากส่งเอกสารให้เจ้าหน้าที่ ถ้าผ่านจะมีการนัดผู้ประกอบการเข้าไปตรวจสอบสถานที่ผลิต  จากนั้นจะได้ใบ “หลักฐานการตรวจประเมินสถานที่ผลิตอาหารที่ผ่านหลักเกณฑ์ GMP” เพื่อนำไปประกอบขอใบอนุญาตสถานที่ผลิตอาหาร

ขั้นตอนที่ 2 การขออนุญาตผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของส่วนกัญชาหรือกัญชง

ด้วยพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 กำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะผลิต/แบ่งบรรจุเพื่อจำหน่าย หรือผลิตเพื่อ

ส่งออก สำหรับอาหารควบคุมเฉพาะ ได้แก่ เมล็ดกัญชง น้ำมันจากเมล็ดกัญชง โปรตีนจากเมล็ดกัญชง และผลิตภัณฑ์

อาหารที่มีส่วนประกอบของเมล็ดกัญชง น้ำมันจากเมล็ดกัญชงหรือโปรตีนจากเมล็ดกัญชง ต้องดำเนินการตาม

กฎหมายแห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ดังนี้ หรือให้เข้าง่าย ๆ คือผู้ใดที่ต้องการผลิตอาหารที่มีส่วนประกอบของกัญชาจะต้องขอขึ้นทะเบียนอาหาร

             แนวทางการขอนุญาตผลิตภัณฑ์

ชื่ออาหาร: ต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 425, 427) พ.ศ. 2564

1.       ให้ระบุส่วนประกอบที่ใช้

2.       ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ต้องมีข้อความ “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร”

3.       ไม่อนุญาตการกล่าวอ้างชนิดและปริมาณ รวมถึงการกล่าวอ้างทางสุขภาพของสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอลทั้งหมด

ตัวอย่างชื่อ 1. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันเมล็ดกัญชา 2. ขนมปังผสมใบกัญชง 3. เครื่องดื่มผงโปรตีนสกัดจากเมล็ดกัญชง

ภาชนะบรรจุ : ต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่อง ภาชนะบรรจุ

1.       สะอาด

2.       ไม่มีโลหะหนักปนเปื้อนกับอาหาร

3.       ไม่มีจุลินทรีย์ก่อให้เกิดโรค

4.       ให้ระบุชนิดของภาชนะบรรจุโดยละเอียด ทั้งภาชนะบรรจุและฝา

5.       ขนาดบรรจุ

6.       ปริมาณอาหารในระบบเมตริก

 สูตรส่วนประกอบ : สูตรส่วนประกอบที่ใช้ ต้องปลอดภัยต่อการบริโภคและเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่อง (ฉบับที่ 425, 427) พ.ศ. 2564 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522

1.       กรณีมีส่วนประกอบที่เป็นอาหารใหม่และอาหารที่มีอาหารใหม่เป็นส่วนผสม (Novel Food) ต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยเรื่อง อาหารใหม่ (Novel food)

2.       แจ้งชื่อและปริมาณวัตถุดิบ หรือส่วนประกอบต่าง ๆ ให้ครบ 100 %

3.       ไม่มีฮอร์โมน หรือสารปฏิชีวนะ หรือสารที่เป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้าหรือจำหน่าย

4.       วัตถุเจือปนอาหารโดยให้แจ้งเป็นชื่อสามัญหรือชื่อทางเคมีและ/หรือกำกับด้วย INS number

กรรมวิธีการผลิต : กรรมวิธีการผลิต ต้องเหมาะสมและสอดคล้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ ดังนี้

1. กรรมวิธีผลิต แจ้งรายละเอียดให้ตรงตามที่ผลิตจริง โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงการบรรจุและให้ สอดคล้องกับสูตรส่วนประกอบ (มีการใส่วัตถุดิบต่างๆ ในขั้นตอนใด) โดยให้แจ้งกรรมวิธีการทำลายเชื้อจุลินทรีย์และ แจ้งอุณหภูมิ เวลา ความดันที่ใช้ (ถ้ามี), อุณหภูมิที่ทำให้เย็นลง (ถ้ามี), กรรมวิธีทำให้แห้งหรือทำให้เป็นผง (ถ้ามี), กรรมวิธีทำให้เป็นเนื้อเดียวกัน (ถ้ามี) และหากมีการกรองให้แจ้งอุปกรณ์และ/หรือสารที่ใช้กรองด้วย

2. กรรมวิธีอื่น นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่อง เมล็ดกัญชง น้ำมันจาก เมล็ดกัญชง โปรตีนจากเมล็ดกัญชง และผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของเมล็ดกัญชง น้ำมันจากเมล็ดกัญชง หรือ โปรตีนจากเมล็ดกัญชง ต้องเป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

คุณภาพหรือมาตรฐาน :  คุณภาพหรือมาตรฐาน ต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่องผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของส่วนของกัญชาหรือกัญชง และประกาศกระทรวงสาธารณสุขสำหรับอาหารชนิดนั้นๆ

เอกสารหลักฐานที่ใช้ในการขึ้นทะเบียน

1.       ชื่อสินค้า

2.       สูตร ส่วนประกอบ  100 %

3.       รูปภาพสินค้า

4.       ฉลากผลิตภัณฑ์

5.       ผลวิเคราะห์ตามประกาศของกระทรวงสาธารณะสุข (THC)

6.       รายละเอียดผลิตภัณฑ์

7.       ข้อกำหนดเฉพาะ specification

8.       ผลวิเคราะห์ตามประกาศของกระทรวงสาธารณะสุข (GDA)

ระยะเวลา 28 วันทำการ

            IDG หวังว่าข้อมูลทั้งหมดนี้ จะสามารถช่วยให้ทุกท่านเข้าใจเกี่ยวกับการใช้พืชกัญชา กัญชงได้มากขึ้น  เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านการจดทะเบียนอย. ที่จะคอยให้คำเเนะนำ เเละให้บริการเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียน อย. ประเภทต่างๆกับทุกท่านด้วยครับ

Source  : https://cannabis.fda.moph.go.th/

https://www.fda.moph.go.th/sites/food/SitePages/cannabis.aspx

https://www.fda.moph.go.th/sites/Food/Pages/Main.aspx

 

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 427) พ.ศ. 2564 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. ๒๕๒๒ เรื่อง ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของส่วนของกัญชาหรือกัญชง

ท่านสามารถติดต่อสอบถามเกี่ยวกับการขึ้นอย. (FDA) โดยตรงที่ฝ่าย Regulatory ของเรา

โดยจะมีทีมผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาและแนะนำท่านอย่างเต็มที่ในทุกบริการที่ท่านประสงค์

โทร: 02-011-7161 ถึง 102 

E-Mail: [email protected]

Line : @idgthailand

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ