บริการรับจด อย. และรับยื่นจดทะเบียนสินค้า
IDG ผู้เชี่ยวชาญด้านรับจด อย.
IDG บริการรับจด อย. ครอบคลุมสินค้าหลากหลายประเภท รวมไปถึงให้บริการนำเข้าสินค้าต่างๆ เช่น อาหาร เครื่องมือแพทย์ เครื่องสำอาง และสมอ. เราดูแลทุกขั้นตอนอย่างมืออาชีพ ตั้งแต่การเตรียมเอกสาร การยื่นคำขอ จนถึงการติดตามผลจนได้รับจดทะเบียน ดำเนินการด้วยผู้เชี่ยวชาญในการรับยื่นจดทะเบียน อย.
IDG พร้อมให้บริการเพื่อให้คุณมั่นใจว่าสามารถจำหน่ายสินค้าได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และเป็นไปตามระเบียบการที่กำหนดไว้ สร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคสินค้าของคุณ ด้วยบริการรับจด อย. จาก IDG
IDG บริการรับจด อย. ครอบคลุมสินค้าหลากหลายประเภท รวมไปถึงให้บริการนำเข้าสินค้าต่างๆ เช่น อาหาร เครื่องมือแพทย์ เครื่องสำอาง และสมอ. เราดูแลทุกขั้นตอนอย่างมืออาชีพ ตั้งแต่การเตรียมเอกสาร การยื่นคำขอ จนถึงการติดตามผลจนได้รับจดทะเบียน ดำเนินการด้วยผู้เชี่ยวชาญในการรับยื่นจดทะเบียน อย.
IDG พร้อมให้บริการเพื่อให้คุณมั่นใจว่าสามารถจำหน่ายสินค้าได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และเป็นไปตามระเบียบการที่กำหนดไว้ สร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคสินค้าของคุณ ด้วยบริการรับจด อย. จาก IDG
รับจด อย. อาหาร
- บริการรับจด อย. อาหาร ทั้งอาหารสำเร็จรูป อาหารแปรรูป อาหารเสริม และอื่นๆ
- บริการขอใบอนุญาตจดทะเบียนสถานประกอบการนำเข้า/ผลิตอาหาร
- บริการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหาร (สบ.5, สบ.7)
- บริการนำส่งสินค้าตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ เพื่อตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัย
- ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการดำเนินงานเรื่อง อย. อาหาร
รับจด อย. เครื่องมือแพทย์
- บริการขอใบอนุญาตจดทะเบียนสถานประกอบการนำเข้า/ผลิตเครื่องมือแพทย์
- บริการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ (Class 1-4)
- บริการขอใบอนุญาตขายเครื่องมือแพทย์
- บริการขอวินิจฉัยผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์
- บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์และดำเนินงานโดยผู้เชี่ยวชาญอย่างครบวงจร (One stop services)
รับจด อย. เครื่องสำอาง
- บริการขอใบอนุญาตจดทะเบียนสถานประกอบการนำเข้า/ผลิตเครื่องสำอาง
- บริการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
- บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและดำเนินงานโดยผู้เชี่ยวชาญอย่างครบวงจร (One stop services)
รับจด อย. วัตถุอันตราย
- บริการขอใบอนุญาตจดทะเบียนสถานประกอบการนำเข้าและจัดเก็บวัตถุอันตราย
- บริการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายประเภทที่ 1-4
- บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายและดำเนินงานโดยผู้เชี่ยวชาญอย่างครบวงจร (One stop services)
บริการขออนุญาตโฆษณา
- บริการขออนุญาตโฆษณาอาหาร เครื่องมือแพทย์ และยา
- บริการตรวจโฆษณาเบื้องต้น เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสมของโฆษณาก่อนยื่นขออนุญาต ลดความเสี่ยงในการถูกปฏิเสธหรือแก้ไข
- บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการโฆษณาและดำเนินโดยผู้เชี่ยวชาญอย่างครบวงจร (One Stop Services)
บริการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
- ขึ้นทะเบียนสินค้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
- ขอวินิจฉัยผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
- บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสินค้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) โดยผู้เชี่ยวชาญอย่างครบวงจร (One Stop Services)
ขั้นตอนนำเข้าสินค้าในประเทศไทย
จดตั้งบริษัท
เตรียมสถานประกอบการนำเข้า
เตรียมข้อมูลสินค้า
ใบรับแจ้งการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ (LPI)
พิจารณาสินค้า
ใบจดทะเบียนสถานประกอบการนำเข้า
ใบอนุญาตผลิตภัณฑ์
นำเข้าและจำหน่ายในประเทศไทย
FAQs ผลิตภัณฑ์อาหาร
อย. ได้กำหนดให้อาหารทุกประเภท (ยกเว้นอาหารควบคุมเฉพาะและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) ที่ผลิต เพื่อการส่งออกเท่านั้น จากเดิมพิจารณาอนุญาตภายใน1 – 25 วันทำการ เป็น ไม่ต้องขอยื่นเลขสารบบอาหาร ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2559
อย. ได้ขยายคำสั่งมอบอำนาจให้ส่วนภูมิภาคในการพิจารณาและอนุญาตผลิตภัณฑ์ อาหารเพิ่มเติม ได้แก่ วัตถุเจือปนอาหาร (เฉพาะแบ่งบรรจุจากผลิตภัณฑ์ที่ได้รับเลขสารบบอาหารแล้ว), ผลิตภัณฑ์เสริ่มอาหาร รอยัลเยลลีและผลิตภัณฑ์รอยัลเยลลี (เฉพาะแบ่งบรรจุจากผลิตภัณฑ์ที่ได้รับเลขสารบบอาหารแล้ว) ไอศกรีมทุกชนิด, เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุปิดสนิทฺทุกชนิด, อาหารที่ต้องมีฉลาก (ยกเว้นอาหารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ) และอาหาร่ทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559
ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีความเสี่ยงต่ำ (เดิมยื่นแบบสบ.5 ไม่ต้องแจ้งสูตรส่วนประกอบ) เช่น น้ำบริโภค น้ำแข็ง อาหารกึ่งสำเร็จรูป ชา สมุนไพร น้ำปลา เป็นต้น ได้ปรับให้ยื่นคำขอผ่านอินเทอร์เน็ต อนุญาตทันทีเมื่อกรอกข้อมูลครบถ้วนและรับรองตัวเอง (Auto e-Submission) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2559 และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (สบ.5) ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2559 ทั้งนี้ จะสามารถยื่นคำขอผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยให้ครบทุกประเภทภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
การขอหนังสือรับรองการอนุญาตการผลิตและนำเข้าอาหารทำได้ไม่ยาก เพียงเตรียมเอกสารให้พร้อมและปฏิบัติตามขั้นตอน ในเบื้องต้นให้ประเมินประเภทอาหารด้วยตนเองหากไม่สามารถประเมินประเภทอาหารด้วยตนเองได้ สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์ม รายละเอียดผลิตภัณฑ์ที่ต้องการจัดประเภทอาหารได้ในเว็บไซต์ของสำนักอาหาร http://food.fda.moph.go.th/downloadForm.php
การขออนุญาตรับเลขสารบบอาหารแบ่งการขอ อนุญาตเป็น 2 ส่วน ได้แก่
1.1) ส่วนของสถานประกอบการ กรณีสถานที่ผลิตที่เข้าข่ายโรงงาน หมายถึง สถานที่ผลิตที่มีการใช้เครื่องจักรกำลังรวมตั้งแต่ 5 แรงม้า หรือกำลัง เทียบเท่าตั้งแต่ 5 แรงม้าขึ้นไป หรือใช้คนงานตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป โดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตามให้ยื่นคำขออนุญาตตั้งโรงงานผลิตอาหา (แบบ อ.1) กรณีสถานที่ผลิตไม่เข้าข่ายโรงงาน หมายถึง สถานที่ผลิตที่มีการใช้เครื่องจักรกำลังรวมน้อยกว่า 5 แรงม้า และใช้คนงานน้อยกว่า 7 คน ให้ยื่นคำขอรับเลขสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน (แบบ สบ.1)กรณีสถานที่นำเข้า ให้ยื่นคำขออนุญาตนำหรือสั่งอาหารเข้ามาในราชอาณาจักร (แบบ อ.6)
1.2) ส่วนของผลิตภัณฑ์ สามารถดูรายละเอียดจากคู่มือสำหรับประชาชนเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://food.fda.moph.go.th/manual.php ภาษาอังกฤษ สามาร์ถดูได้ในหัวข้อ English Version
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 293) พ.ศ. 2548 เรื่อง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ข้อ 4 ได้กำหนดการขออนุญาตฉลากก่อนนำไปใช้ ให้ดำเนินการ ดังนี้
1. ยื่นจดทะเบียนอาหาร (สบ.5) สำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในการส่งออกหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนประกอบที่สำคัญเป็นไปตามบัญชีรายชื่อที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอาหาร
2. ยื่นขออนุญาตใช้ฉลาก (สบ.3) สำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนประกอบที่สำคัญนอกเหนือจากที่กำหนดในข้อ 1 โดยแสดงหลักฐานและเอกสารประกอบการยื่นขออนุญาตใช้ฉลากให้เป็นไปตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอาหาร
FAQs ผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์
ผู้ประกอบการสามารถ Download ได้ที่ www.fda.moph.go.th เครื่องมือแพทย์ download คำแนะนำการจดทะเบียนสถานประกอบการ
สถานประกอบการผลิตเครื่องมือแพทย์
– ขอจดทะเบียนสถานประกอบการผลิตเครื่องมือแพทย์ แบบ ส.ผ. 1
– ต่ออายุใบจดทะเบียนสถานประกอบการผลิตเครื่องมือแพทย์ แบบ ส.ผ. 2
– ต้องการย้ายสถานที่ผลิต หรือเก็บรักษาเครื่องมือแพทย์ ส.ผ. 3
– ต้องการเปลี่ยนแปลงแบบแปลนแผนผังของสถานที่ผลิตหรือเก็บรักษาเครื่องมือแพทย์ในสถานที่เดิม ส.ผ. 3
– เพิ่มเติมขอบข่าย/เปลี่ยนแปลงผู้ดำเนินกิจการ ส.ผ. 4
– เปลี่ยนแปลงเลขที่/ชื่อถนน/แขวง/เขต/รหัสไปรษณีย์/หมายเลขโทรศัพท์/หมายเลขโทรสาร (กรณีสถานที่ตั้งอยู่ที่เดิม) ส.ผ. 4
– ใบจดทะเบียนสถานประกอบการชำรุด/หาย ต้องการขอรับใบแทน ส.ผ. 5
สถานประกอบการนำเข้าเครื่องมือแพทย์
-ขอจดทะเบียนสถานประกอบการนำเข้าเครื่องมือแพทย์ แบบ ส.น. 1
-ต่ออายุใบจดทะเบียนสถานประกอบการนำเข้าเครื่องมือแพทย์ แบบ ส.น. 2
-ต้องการย้ายสถานที่นำเข้า หรือเก็บรักษาเครื่องมือแพทย์ ส.น. 3
– ต้องการเปลี่ยนแปลงแบบแปลนแผนผังของสถานที่นำเข้า หรือเก็บรักษาเครื่องมือแพทย์ในสถานที่เดิม ส.น. 3
-เพิ่มเติมขอบข่าย/เปลี่ยนแปลงผู้ดำเนินกิจการ ส.น. 4
-เปลี่ยนแปลงเลขที่/ชื่อถนน/แขวง/เขต/รหัสไปรษณีย์/ หมายเลขโทรศัพท์/หมายเลขโทรสาร (กรณีสถานที่ตั้งอยู่ที่เดิม) ส.น. 4
– ใบจดทะเบียนสถานประกอบการชำรุด/หาย ต้องการขอรับใบแทน * ส.น. 5
1. ผู้ได้รับใบจดทะเบียนสถานประกอบการผลิต หรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์
1.1 ผู้ได้รับใบจดทะเบียนสถานประกอบการผลิตเครื่องมือแพทย์จะต้องจัดทำบันทึก การผลิตและบั้นทึกการขายเครื่องมือแพทย์ที่ตนผลิต
1.2 ผู้ด้รับใบจดทะเบียนสถานประกอบการนำเข้าเครื่องมือแพทย์จะต้องจัดทำ บันทึกการนำเข้าและบันทึกการขายเครื่องมือแพทย์ที่ตนนำเข้า
*** โดยบันทึกการผลิต บันทึกการนำเข้าหรือบันทึกการขายเครื่องมือแพทย์ ให้เก็บไว้ ณ สถานที่ผลิตหรือนำเข้า ซึ่งระบุไว้ในใบจดทะเบียนสถานประกอบการเพื่อการตรวจสอบ ของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ผลิต นำเข้า หรือขาย หาก เครื่องมือแพทย์ที่ผลิตหรือนำเข้ามีการกำหนดวันหมดอายุให้เก็บไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี นับแต่วันหมดอายุ แต่ต้องไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ผลิต นำเข้า หรือขาย
2. ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิต นำเข้า หรือขายเครื่องมือแพทย์
2.1 ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตเครื่องมือแพทย์ จะต้องจัดทำรายงานการผลิตเครื่องมือแพทย์ ตามแบบ ร.ผ.พ. 1 และรายงานการขายเครื่องมือแพทย์ ตามแบบ ร.ข.พ. 1
2.2 ผู้ได้รับใบอนุญาตนำเข้าเครื่องมือแพทย์ จะต้องจัดทำรายงานการนำเข้าเครื่องมือแพทย์ ตามแบบ ร.น.พ. 1 และรายงานการขายเครื่องมือแพทย์ ตามแบบ ร.ข.พ. 1
2.3 ผู้ได้รับใบอนุญาตขายเครื่องมือแพทย์ (ชุดตรวจที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อเอซไอวี) จะ
ต้องจัดทำรายงานการขายเครื่องมือแพทย์ ตามแบบ ร.ข.พ. 3
** โดยต้องส่งรายงานการผลิต รายงานการนำเข้า และรายงานการขาย ให้สำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป พร้อมทั้งเก็บสำเนาแบบ
ดังกล่าวที่เจ้าหน้าที่ได้ลงรับไว้แล้วเพื่อเป็นหลักฐาน
3. ผู้ได้รับใบรับแจ้งรายการละเอียดผลิต หรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์
3.1 ผู้ได้ใบรับแจ้งรายการละเอียดผลิตเครื่องมือแพทย์ จะต้องจัดทำรายงานการผลิต เครื่องมือแพทย์ ตามแบบ ร.ผ.พ. 2 และรายงานการขายเครื่องมือแพทย์ตามแบบ ร.ข.พ. 2 ผู้ได้ใบรับแจ้งรายการละเอียดนำเข้าเครื่องมือแพทย์ จะต้องจัดทำรายงานการ นำเข้าเครื่องมื้อแพทย์ ตามแบบ ร.น.พ. 2 และรายงานการขายเครื่องมือแพทย์ตามแบบ ร.ข.พ. 2
*** โดยต้องส่งรายงานการผลิต รายงานการนำเข้า และรายงานการขาย ให้สำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป พร้อมทั้งเก็บสำเนาแบบ ดังกล่าวที่เจ้าหน้าที่ได้ลงรับไว้แล้วเพื่อเป็นหลักฐาน
4. ผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์ที่ได้รับหนังสือรับรองการผลิตเครื่องมือแพทย์เพื่อการส่งออก จะต้องจัดทำรายงานการผลิตเครื่องมือแพทย์ตามแบบ ร.ผ.พ. 3 ต้องส่งรายงานการผลิต เครื่องมือแพทย์ ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป
พร้อมทั้งเก็บสำเนาแบบดังกล่าวที่เจ้าหน้าที่ได้ลงรับไว้แล้วเพื่อเป็นหลักฐาน
หมายเหตุ :
ให้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการ
จัดทำบันทึกและรายงานการผลิต นำเข้า หรือขายเครื่องมือแพทย์
ใช่ การโฆษณาเครื่องมือแพทย์ที่ได้รับใบอนุญาต โฆษณาแล้ว หากทำการโฆษณาตรงตามที่ได้รับอนุญาต จะใช้ได้ 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาต แต่หากจะทำการ โฆษณาที่มีรูปแบบข้อความโฆษณาที่แตกต่างออกไปจากที่ได้รับอนุณาตจะต้องยื่นคำขอโฆษณา เครื่องมือแพทย์ ตามรูปแบบใหม่ที่จะใช้โฆษณาก่อนเสมอ
ไม่มีข้อยกเว้น ต้องขออนุญาตทุกกรณี
1. ไม่แสดงคุณประโยชน์ คุณภาพ ปริมาณ มาตรฐาน ส่วนประกอบหรือแหล่งกำเนิดของเครื่องมือแพทย์อันเป็นเท็จหรือเกินความจริง
2. ไม่แสดงการรับรองหรือยกย่องคุณประโยชน์ของเครื่องมือแพทย์ โดยบุคคลหนึ่ง
3. ไม่จัดให้มีรางวัลด้วยการเสี่ยงโชคโดยวิธีใด ๆ
4. ไม่แสดงคุณประโยชน์ว่าสามารถป้องกัน บำบัด บรรเทา รักษาโรคหรืออาการของโรคที่ห้ามโฆษณาตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
5. ไม่แสดงข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์
FAQs เกี่ยวกับบริการรับจด อย.
สินค้าประเภทใดบ้างที่ต้องจด อย.?
สินค้าที่ต้องขอ อย. หรือขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีหลากหลายประเภท โดยแบ่งได้หลักๆ ดังนี้
- ผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น กลุ่มอาหารแปรรูป อาหารเสริม และเครื่องดื่ม
- ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เช่น ครีมบำรุงผิว ครีมกันแดด ลิปสติก และแป้ง
- ผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ เช่น เครื่องวัดความดัน เข็มฉีดยา และถุงมือแพทย์
- ผลิตภัณฑ์ยา เช่น ยาแผนปัจจุบัน ยาแผนโบราณ และยาสมุนไพร
- วัตถุอันตราย เช่น น้ำยาทำความสะอาด ปุ๋ย สารเคมี และวัตถุไวไฟ
- ผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับสัตว์
ผลิตภัณฑ์ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสินค้าที่ต้องจด อย. หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ต้องจด อย. สามารถติดต่อสอบถาม IDG ได้เพิ่มเติม
ระยะเวลาในการจด อย. นานเท่าไหร่?
ระยะเวลาในการจด อย. ไม่สามารถระบุแน่ชัดได้ เนื่องจากขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ประเภทของผลิตภัณฑ์ ความครบถ้วนสมบูรณ์ของเอกสาร หรือแม้กระทั่งส่วนผสมและเทคโนโลยีที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วขั้นตอนการตรวจสอบและอนุมัติจะใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน
วัตถุอันตรายประเภทที่ 1 - 4 ได้แก่อะไรบ้าง?
IDG รับจด อย. และขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายประเภทที่ 1-4 ซึ่งได้แก่
- ประเภทที่ 1 วัตถุอันตรายที่ก่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ผลิตภัณฑ์กาว และผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคในสระว่ายน้ำ
- ประเภทที่ 2 วัตถุที่อันตรายสูงกว่าประเภทที่ 1 เช่น ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงในครัวเรือนหรือองค์กรสาธารณสุขที่มีสารประกอบสำคัญเป็น Benzyl Benzoate และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อโรคบางชนิด
- ประเภทที่ 3 วัตถุที่อันตรายสูงกว่าประเภทที่ 1 และ 2 เช่น ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงในครัวเรือนหรือองค์กรสาธารณสุขที่มีสารประกอบสำคัญเป็นกลุ่ม Pyrethroids และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อโรคที่มีกรด ด่าง หรือสารประกอบสำคัญเป็นกลุ่ม Aldehydes
- ประเภทที่ 4 วัตถุอันตรายสูงสุดทั้งจากคุณสมบัติและการใช้งาน เช่น ผลิตภัณ์กำจัดแมลงที่มีสาร DDT, Chlorpyrifos-methyl, Chlorpyrifos, Chlordane และ Dieldrin
หากมีความต้องการในการจ้างจด อย. วัตถุอันตราย หรือดำเนินการด้านอื่นๆ สามารถติดต่อสอบถาม IDG ได้เพิ่มเติม
IDG ให้บริการรับจด อย. สินค้าประเภทใดบ้าง?
IDG บริษัทรับจด อย. ให้บริการยื่นจด อย. ให้สินค้าหลากหลายประเภท ดังนี้
- รับจด อย. เครื่องสำอาง
- รับจด อย. อาหาร
- รับจด อย. เครื่องมือแพทย์
- รับจด อย. วัตถุอันตราย
หากมีข้อสงสัยว่าการรับจ้างจด อย. ราคาเท่าไหร่ สามารถติดต่อสอบถาม IDG ได้เพิ่มเติม
นอกจากบริการรับจด อย. IDG มีบริการอื่นหรือไม่?
นอกเหนือจากบริการด้าน อย. แล้ว IDG ยังมีบริการอื่นๆ ที่ครอบคลุมทุกความต้องการของธุรกิจคุณ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งและความสำเร็จในระยะยาว ดังนั้น
- บริการขออนุญาตโฆษณาอาหาร เครื่องมือแพทย์ พร้อมให้คำปรึกษาและตรวจสอบโฆษณานั้นเบื้องต้น
- บริการรับออกแบบ Branding ออกแบบอัตลักษณ์ขององค์กร และออกแบบอื่นๆ
- บริการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ทั้งภายในและต่างประเทศ
- บริการด้านรับจดทะเบียนสิทธิบัตรทั้งภายในประเทศเเละต่างประเทศ
- บริการด้านการจดบริษัท ทำบัญชี รวมถึงบริการกฏหมาย เเละคดีความ
บทความที่เกี่ยวข้อง
สอบถามข้อมูล
หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับบริการที่ IDG
กรุณากรอกแบบฟอร์มเพื่อส่งข้อมูลถึงเรา
ทางเราจะติดต่อกลับทันทีที่ได้รับอีเมลดังกล่าวในเวลาทำการ
หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับบริการที่ IDG กรุณากรอกแบบฟอร์มเพื่อส่งข้อมูลถึงเรา
ทางเราจะติดต่อกลับทันทีที่ได้รับอีเมลดังกล่าวในเวลาทำการ
- วันจันทร์–เสาร์ เวลา 09:00 น. ถึง 18:00 น.
หรือท่านสามารถสแกน QR Code เพิ่มเพื่อน หรือเพิ่มเพื่อน
by ID : @idgthailand เพื่อติดต่อเราผ่าน
แอพพลิเคชั่น LINE ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
แบบฟอร์มติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ