![ภาพประกอบเนื้อหา การละเมิดลิขสิทธิ์ คืออะไร? พร้อมดูวิธีป้องกันและบทลงโทษทางกฎหมาย Banner Content (100)](https://idgthailand.com/wp-content/uploads/2025/01/Banner-Content-100-1024x576.jpg)
การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นประเด็นสำคัญที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นในยุคดิจิทัล เมื่อเทคโนโลยีทำให้การเข้าถึงและคัดลอกผลงานทำได้ง่ายดายเพียงปลายนิ้ว เจ้าของผลงานและธุรกิจจำนวนมากต้องเผชิญกับความท้าทายในการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของตนเอง ในขณะเดียวกัน ผู้ใช้งานทั่วไปก็อาจละเมิดลิขสิทธิ์โดยไม่รู้ตัวผ่านการใช้งานในชีวิตประจำวัน
บทความนี้ IDG จะพาคุณทำความเข้าใจเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์มากขึ้น รวมถึงตอบคำถามที่หลายคนสงสัย เช่น การละเมิดลิขสิทธิ์มีอะไรบ้าง วิธีป้องกันและจัดการเมื่อเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์
การละเมิดลิขสิทธิ์ คืออะไร?
กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ให้ความหมายไว้ว่า การละเมิดลิขสิทธิ์ คือ การกระทำที่กระทบต่อสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต
โดยงานที่สามารถถูกละเมิดลิขสิทธิ์ได้มีหลากหลายประเภท ยึดตามมาตรา 4 ในกฎหมายลิขสิทธิ์ของราชอาณาจักรไทย งานที่มีลิขสิทธิ์และสามารถโดนละเมิดได้มีดังนี้
- งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ไปจนถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์
- งานการแสดง นาฏกรรม เช่น การรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว
- งานด้านศิลปกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ภาพถ่าย และงานประยุกต์ศิลป์
- งานดนตรีกรรม เช่น คำร้อง ทำนอง การเรียบเรียง เสียงประสาน และโน้ตเพลง
- งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปเพลง ซีดีเพลง และแผ่นเสียง
- งานโสตทัศนวัสดุ เช่น VCD และวิดีโอเทป
- งานภาพยนตร์ เช่น ภาพยนตร์ รวมทั้งเสียงประกอบ
- งานแพร่เสียงแพร่ภาพ เช่น การแพร่ภาพกระจายเสียงผ่านทางวิทยุ หรือโทรทัศน์
- งานอื่น ๆ ที่จัดอยู่ในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ
ประเภทการละเมิดลิขสิทธิ์
การละเมิดลิขสิทธิ์แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่
1. การละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรง
หมายถึง การทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่งานที่มีลิขสิทธิ์ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาต
2. การละเมิดลิขสิทธิ์โดยอ้อม
หมายถึง การกระทำใด ๆ ต่องานที่มีลิขสิทธิ์ โดยรู้หรือควรรู้ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น การขาย การให้เช่า การนำเข้า หรือเผยแพร่สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์
กฎหมายลิขสิทธิ์และการคุ้มครอง
กฎหมายลิขสิทธิ์เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้สร้างสรรค์ผลงาน โดยให้เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการใช้ประโยชน์จากผลงานของตน ทั้งในด้านการทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ และอนุญาตให้ผู้อื่นใช้ผลงาน
5 พฤติกรรมที่เข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์ ที่คุณอาจไม่รู้
ในชีวิตประจำวัน มีหลายพฤติกรรมที่อาจเข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์โดยไม่รู้ตัว เช่น
- การรับชมภาพยนตร์ผ่านเว็บไซต์ผิดกฎหมาย
- การเปิดเพลงในร้านอาหารก็ถือว่าเข้าข่ายหากเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่อนุญาต
- การซื้อ-ขายสินค้าปลอมหรือลอกเลียนแบบ
- การถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาในร้าน แม้จะซื้อแพ็กเกจการถ่ายทอดแล้ว แต่หากเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่อนุญาตให้เผยแพร่รูปแบบนี้ ก็ถือว่าเข้าข่ายการละเมิดได้
- การคัดลอก/ดัดแปลงบทความมาลงในโซเชียลมีเดียโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์
บทลงโทษทางกฎหมายหากกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์
การละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรง
กรณีทั่วไป เช่น ละเมิดลิขสิทธิ์โดยการทำซ้ำหรือดัดแปลง ปรับตั้งแต่ 20,000 ถึง 200,000 บาท และหากทำเพื่อการค้ามีโทษจำคุก 6 เดือนถึง 4 ปี หรือปรับ 100,000 ถึง 800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับการละเมิดลิขสิทธิ์โดยอ้อม
กรณีละเมิดลิขสิทธิ์โดยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าเป็นการละเมิด มีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 ถึง 100,000 บาท และในกรณีเพื่อการค้า มีโทษจำคุก 3 เดือนถึง 2 ปี หรือปรับ 50,000 ถึง 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับการละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ และการละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยี
มีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 ถึง 100,000 บาทการละเมิดภาพยนตร์ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์
การละเมิดภาพยนตร์ที่มีลิขสิทธิ์ ด้วยการบันทึกเสียง ภาพ หรือทั้งเสียงและภาพจากโรงภาพยนตร์มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 บาทถึง 800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ![ภาพประกอบเนื้อหา การละเมิดลิขสิทธิ์ คืออะไร? พร้อมดูวิธีป้องกันและบทลงโทษทางกฎหมาย [IDG] SEO DEC C01 2 1200x628](https://idgthailand.com/wp-content/uploads/2025/01/IDG-SEO-DEC-C01-2_1200x628.jpg)
วิธีป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์
1. สำหรับบุคคลทั่วไป
เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ สำหรับบุคคลทั่วไปควรปฏิบัติดังนี้
- ขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อนนำผลงานไปใช้ทุกครั้ง
- อ้างอิงแหล่งที่มาของผลงานอย่างชัดเจน
- ศึกษาเงื่อนไขการใช้งานผลงานที่มีลิขสิทธิ์ให้เข้าใจ
- ใช้ผลงานที่อยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตที่เหมาะสม
- ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญาเมื่อมีข้อสงสัย
2. สำหรับเจ้าของกิจการ
เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ สำหรับเจ้าของผลงาน มีข้อควรปฏิบัติหลายประการ อาทิ
- จดแจ้งลิขสิทธิ์อย่างเป็นทางการ
- กำหนดนโยบายและเงื่อนไขการใช้งานที่ชัดเจน เช่น ระบุขอบเขตการใช้งานที่อนุญาต และแสดงสัญลักษณ์ลิขสิทธิ์ (©)
- ตรวจสอบการละเมิดอย่างสม่ำเสมอ เช่น ติดตามการใช้งานผลงานในช่องทางต่าง ๆ
การเข้าใจเรื่องลิขสิทธิ์และการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างถ่องแท้เป็นสิ่งสำคัญในยุคดิจิทัล การระมัดระวังและเคารพสิทธิ์ของผู้อื่น รวมถึงการรู้จักปกป้องสิทธิ์ของตนเอง จะช่วยสร้างระบบนิเวศทางปัญญาที่เป็นธรรมและยั่งยืนสำหรับทุกฝ่าย
นอกจากนี้ การป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าสำหรับธุรกิจ เพราะนอกจากจะช่วยปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว ยังช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มและความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ในระยะยาว หากต้องการความมั่นใจในการวางกลยุทธ์ป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ IDG พร้อมให้คำปรึกษา วางแผน และดำเนินการด้านลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า เเละ จดสิทธิบัตรอย่างครบวงจร เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพสูงสุด
IDG บริษัทให้คำปรึกษาด้านทรัพย์สินทางปัญญาเเละนวัตกรรมครบวงจร
เรา คือ บริษัทให้คำปรึกษาด้านทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับองค์กรแบบครบวงจร เราให้บริการ ออกแบบโลโก้ ออกแบบ CI ออกแบบโปรไฟล์บริษัท และบริการด้านการออกเเบบอื่น ๆ มากมาย ดำเนินงานโดยทีมงานมืออาชีพที่มีประสบการณ์สูง นอกจากนี้ IDG ให้บริการด้านทรัพย์สินทางปัญญาอย่างครบวงจร ครอบคลุมทั้งการให้คำปรึกษา วางกลยุทธ์ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จดสิทธิบัตร รวมถึงให้บริการดำเนินงานด้านการซื้อขายเทคโนโลยีหรือ IP เรามีความพร้อมในการดูแลลูกค้าตั้งแต่กระบวนการแรกไปจนถึงการติดตามผล เพื่อให้มั่นใจว่าทรัพย์สินทางปัญญาของคุณได้รับการปกป้องและใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่
ดูข้อมูลเพิ่มเติม หรือติดต่อสอบถาม
อีเมล: [email protected]
โทร.: 02-011-7161 ถึง 6
ไลน์: @idgthailand
Facebook: facebook.com/IDGThailand
LinkedIn: linkedin.com/in/intellectualdesigngroup/