OUR BLOG

7 ขั้นตอนทรงพลัง สร้าง Deep Tech รวดเร็วจนคู่แข่งตามไม่ทัน​

deeptech

7 ขั้นตอนทรงพลัง สร้าง Deep Tech รวดเร็วจนคู่แข่งตามไม่ทัน

     ถึงเวลาที่ผมต้องแบ่งปัน 7 ขั้นตอนความลับอันทรงพลังของ IDG ที่จะช่วยเร่งสร้างนวัตกรรมในหลากหลายธุรกิจหลายอุตสาหกรรมได้ เพื่อเป็นการช่วยให้นักประดิษฐ์ นวัตกร และผู้ที่มีวิสัยทัศน์ทุกคนที่สนใจเร่งหาและสร้างนวัตกรรม Deep Tech ใหม่ๆ ให้ตอบสนองความต้องการของตลาดและผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น บางท่านสามารถนำไอเดียดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการหานวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาด้านการแพทย์ในภาวะวิกฤต COVID-19 นี้ ซึ่งผมใช้เวลาสะสมประสบการณ์มากกว่า 10 ปี ลงทุนไปหลายล้านบาทในการศึกษาค้นคว้า และการใช้เครื่องมือ Big Data ต่างๆเพื่อพัฒนาเครื่องมือ และขั้นตอนดังกล่าวขึ้นมาใหม่หมด และสิ่งที่ผมจะแชร์น่าจะช่วยหลายๆคนในวงการ R&D, Corporate Innovators และ Start-Ups ได้ไม่มากก็น้อย แต่คนที่จะนำไปใช้ต้องปฎิบัติอย่างเคร่งครัด และควรทำความเข้าใจกับ “สิทธิบัตร” และ “ข้อมูลที่ได้จากสิทธิบัตร” มาก่อนที่จะใช้ขั้นตอนดังกล่าวสำหรับการสร้างนวัตกรรม Deep Tech เพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

      ก่อนกล่าวถึงขั้นตอนทั้ง 7 บางคนอาจจะยังไม่เข้าใจว่า Deep Tech เกี่ยวข้องอะไรกับ “สิทธิบัตร” หรือ “Patent”? เทคโนโลยีขั้นสูง หรือ “Deep Tech (Deep Technology)” นั้น ต้องผ่านกระบวนการที่ซับซ้อน ใช้งบประมาณและเวลาในการค้นคว้า วิจัยและพัฒนา (R&D) ในเชิงวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์ ซึ่งส่วนใหญ่การพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาใช้แก้ไขปัญหาทางเทคนิค ซึ่งสิ่งที่มีอยู่แล้วไม่สามารถแก้ไขได้ และเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในระยะยาว โดยทางสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ NIA ได้แบ่งประเภทของ Deep Tech ไว้เป็น 8 ประเภท (link ไปที่ https://www.nia.or.th/DeepTech) ได้แก่ Artificial Intelligence (AI), Augmented & Virtual Reality (AR/VR), Internet of Things (IoT), Blockchain, Biotech, Robotics, Energy, และ Spacetech

      เผอิญว่าผมและทีมงาน IDG ได้มีโอกาสช่วยนักประดิษฐ์และนวัตกรด้าน Deep Tech ปกป้องงานของพวกเขามาพอควร เลยมองว่าสิทธิบัตรนั้นสำคัญกับพวกเขามาก โดยเฉพาะถ้าต้องการผลักดันให้งานนั้นได้รับการสนับสนุนและถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งนอกเหนือจากการปกป้องให้เป็นสิทธิบัตรได้แล้ว ผมจะเน้นย้ำให้พวกเขาใช้ฐานข้อมูลสิทธิบัตร (Patent Databases) และเครื่องมือวิเคราะห์สิทธิบัตร (Patent Analytics) เพื่อช่วยตรวจสอบ รวบรวม และวิเคราะห์สิทธิบัตรด้าน Deep Tech จากทั่วโลก เนื่องจาก ตามสำนักงานสิทธิบัตรยุโรปได้กล่าวไว้  ฐานข้อมูลสิทธิบัตร (Patent Databases)” เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล เทคโนโลยีประยุกต์ (Applied Technology)” ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีการปรับปรุง และอัพเดทอย่างต่อเนื่อง ซึ่งข้อมูลเทคโนโลยีประยุกต์ รวมถึง Deep Tech ต่างๆ มากกว่า 80% นั้น ไม่สามารถหาได้จากแหล่งอื่น

     จากที่กล่าวมา ผมจึงได้คิดค้นขั้นตอนทั้ง 7 เพื่อช่วยเร่งสปิตในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และทำให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น พร้อมส่งเสริมการสร้างสรรค์ และวางกลยุทธ์ร่วมกันเป็นทีมด้วย IP-Innovation Canvas (ให้ download ได้ โดยแลกกับชื่อ อีเมล) ดังนี้ครับ:

IP-Innovation Canvas Download​

[email-download-link namefield=”YES” id=”1″]

ระยะการวิเคราะห์ (Analysis Phase):

1. หานวัตกรรมที่เป็นแรงบันดาลใจของเรา (Inspiration Gathering)

     เริ่มจากการหานวัตกรรมที่เป็นแรงบันดาลใจของเรา ทั้งเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในตลาด และที่ยังไม่ได้ออกมาแต่อาจจะอยู่ในสื่อหรือโปรโมทในแหล่งต่างๆที่มีผู้ติดตามเยอะ ถ้าให้ดีควรเป็นสิ่งที่คนชื่นชอบ และสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของพวกเขาได้ไม่ช้าก็เร็ว เช่น การเกิดขึ้นของอุตสาหกรรมเนื้อสังเคราะห์ที่ใช้เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อในห้องแล็บ หรือ (Cultured meat) จะเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดของอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ที่มีมูลค่า 1 แสนล้าน USD อย่างแน่นอน บริษัทที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น Impossible Foods, Beyond Meat, Future Meat Technologies และผู้เล่นยักษ์ใหญ่อย่าง Cargill, Dupont, และ Fuji Oil ก็ได้หันมาลงทุนพัฒนาและจดสิทธิบัตรเทคโนโลยีด้านเนื้อสังเคราะห์กันอย่างจริงจัง

นอกจากนี้ การนำเทคโนโลยี 3D & Digital Printing มาใช้ในการปริ้นท์หรือขึ้นรูปเนื้อให้มีลักษณะ รูปร่าง รสชาติ ความละเอียด และเพิ่มสารอาหาร เช่น วิตามิน แร่ธาตุ หรือสารที่สามารถช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย(Immune Booster) เพื่อป้องกันการติดไวรัสโคโรน่า เป็นต้น อาจจะเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจของเราด้วย เราสามารถตรวจสอบสิทธิบัตรของบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรง เช่น Natural Machines และ Nova Meat เพื่อทำความเข้าใจกระบวนการผลิตเนื้อด้วย 3D printer และ/หรือ องค์ประกอบของเครื่อง 3D printer ด้วยเช่นกัน

Screenshot 5
รูปที่ 1: ตัวอย่างรูปประกอบเอกสารสิทธิบัตร WO2016186815A1 ของ Natural Machines เกี่ยวกับผสมและปริ้นท์อาหาร 3 มิติด้วยระบบ ultrasound เป็นหนึ่งใน 37 คำขอของ Natural Machines

      เมื่อสรรหาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่เป็นแรงบันดาลใจให้เราได้แล้วจากแหล่งต่างๆ เช่นสื่อออนไลน์ วารสารวิชาการ งานประชุมด้านเทคโนโลยี งานแสดงสินค้า สื่อเฉพาะทาง ฯลฯ สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือการหาเอกสารสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้อง (ไม่ว่าสิทธิบัตรจะอยู่ในสถานะไหน) ออกมาให้ได้เยอะที่สุดจากบริษัทที่เป็นผู้นำเทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อมาใช้ในการวิเคราะห์ต่อไป

2.วิเคราะห์ความต้องการขั้นพื้นฐาน และตัวขับเคลื่อนสำคัญ (Basic Needs & Key Drivers Analysis)

     จากเทคโนโลยีที่เราคัดสรรมาจากข้อมูลสิทธิบัตร และแหล่งอื่นๆ เช่น วารสารวิชาการ สื่อเฉพาะทาง ฟีดข่าว สื่อออนไลน์ ฯลฯ เราจะเริ่มวิเคราะห์ 2 องค์ประกอบสำคัญของเทคโนโลยี: 1) ความต้องการขั้นพื้นฐาน; 2) ตัวขับเคลื่อนสำคัญ โดยการวิเคราะห์ดังกล่าวจะช่วยเราทำความเข้าใจถึงแหล่งที่มาของเทคโนโลยี ความเสี่ยง และโอกาสที่เทคโนโลยีนั้นจะประสบความสำเร็จในอนาคตจากมุมมองทางฝั่งของตลาดและผู้บริโภค

     “ความต้องการขั้นพื้นฐาน (Basic Needs)” คือ สิ่งที่มนุษย์ต้องการ ซึ๋ง ให้เป็นไปตามทฤษฏีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow’s hierarchy of needs) รวมไปถึง ความต้องการทางกายภาพ ความปลอดภัย ความรัก ไปจนถึง ความสมบูรณ์แบบของชีวิต เทคโนโลยีที่ดีต้องเข้าใจและเข้าถึงความจำเป็นของมนุษย์ก่อนที่จะคิดสร้างมันขึ้นมา และเวลาเราคัดเลือกเทคโนโลยีมาวิเคราะห์ ให้ตั้งคำถามตั้งแต่ต้นเลยว่า มันสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคของเราจริงหรือไม่ เช่น มันช่วยทำให้เขาปลอดภัย มีความสัมพันธ์กับผู้อื่น หรือได้รับความเป็นธรรมที่ดีขึ้นจริงหรือไม่ หากเทคโนโลยีนั้น เป็นเพียงแค่ gimmick หรือ fad ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ มันก็จะไม่ยั่งยืนแน่นอน

      องค์ประกอบที่ 2 ที่ขาดไม่ได้คือ ตัวขับเคลื่อนสำคัญ (Key Drivers)” ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เทคโนโลยีดังกล่าวสามารถขยายผลต่อ หรือเติบโตขึ้นได้ โดยพวก key drivers เหล่านี้เกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอก เช่น ปัจจัยด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านเทคโนโลยี ด้านสภาพแวดล้อม ด้านกฎหมาย ฯลฯ และภาวะการแข่งขันในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมนั้นๆ ตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับภาวะในปัจจุบัน เช่น วิกฤตของระบบสาธารณสุขจาก COVID-19 ความโปร่งใสของธุรกิจ ภาวะโลกร้อน Made-For-China ความอ่อนไหวต่อเวลา วัฒนธรรมแห่ง start-up หรือ เทคโนโลยีที่จะสร้างความพลิกผันในทุกอุตสาหกรรม เช่น AI, Big Data, Blockchain, Robotics เป็นต้น

      เมื่อได้วิเคราะห์องค์ประกอบ 2 ส่วนที่สำคัญสำหรับเทคโนโลยีนั้นแล้ว เราจะเห็นว่าเทคโนโลยีไหนเหมาะสม และไม่เหมาะสมต่อการนำไปพัฒนาต่อยอดในอนาคต เนื่องจากบางตัวอาจไม่สอดคล้องต่อความต้องการของตลาด หรือ ไม่สามารถปรับให้เข้ากับปัจจัยภายนอกที่มีผลในการส่งเสริมหรือบั่นทอนการใช้เทคโนโลยีนั้นในอนาคต อีกประเด็นของการคัด Basic Needs และ Key Drivers ออกมา คือ เพื่อที่จะทำความเข้าใจกับเราว่าตลาดและผู้บริโภคกำลังคาดหวังอะไรจากธุรกิจเพิ่มเติม

3. ตรวจสอบอิสรภาพในการนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ (Freedom-to-Operate Assessment)

      ข้อมูลสิทธิบัตรให้อะไรเราเยอะมากจนบางคนสามารถแกะสูตรออกมาหรือทำวิศวกรรมย้อนกลับได้เลย แต่ต้องไม่ลืมว่าเราต้องตรวจสอบอิสรภาพทางกฎหมายเพื่อนำเทคโนโลยีในสิทธิบัตรเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ ดัดแปลง หรือ พัฒนาต่อยอด ดังนั้น สิ่งที่เราจำเป็นต้องตรวจสอบ คือ

  • สถานะของเอกสารสิทธิบัตร: หากยังอยู่ในอายุการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายสิทธิบัตร (Active) เราไม่ควรนำมาใช้ประโยชน์ ถึงงานนั้นจะไม่ได้รับการคุ้มครองในประเทศที่เราสนใจนำไปใช้ก็จริง แต่หากสถานะของเอกสารสิทธิบัตร คือ ไม่ได้รับการคุ้มครอง (Inactive) เช่น หมดอายุไปแล้ว หรือโดนปฏิเสธการรับจดทะเบียนในประเทศที่เราต้องการนำไปใช้ประโยชน์ เราก็จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ แต่เราต้องตรวจสอบการพัฒนาต่อยอดจากงานเดิม เนื่องจากอาจมีการยื่นจดสิทธิบัตรฉบับอื่นๆที่ต่อเนื่องจากงานเดิมของบริษัทที่เราไปดึงข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยก็เป็นได้
  • รายละเอียดของเอกสารสิทธิบัตร: ต้องตรวจสอบดูว่ารายละเอียดเทคโนโลยีครบถ้วนในฉบับนั้นหรือไม่ เนื่องจากเป็นไปได้ยากที่สิทธิบัตร 1 ฉบับจะครอบคลุมงานประดิษฐ์ หรือเทคโนโลยีที่เราต้องการทั้งหมด เช่น บริษัท A อาจจะมี 3 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี Cultured Meat โดยฉบับแรกคุ้มครององค์ประกอบวัตุดิบที่ใช้ ฉบับที่ 2 คุ้มครองกระบวนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 3 ประเภท และฉบับที่ 3 คุ้มครองกระบวนการขึ้นรูปเป็นแผนเนื้อด้วย 3D printer พร้อมบริโภค เป็นต้น
  • เจาะไปที่ข้อถือสิทธิโดยตรง: เราจะไม่สนใจเอกสารอื่นๆนอกเหนือจากสิทธิบัตร และเป็นสิทธิบัตรที่ Active อยู่เท่านั้น เพราะเราสนใจแค่อิสรภาพทางกฎหมาย ซึ่ง งานประดิษฐ์ที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการ และข้อมูลที่หาได้ในแหล่งอื่นๆอาจมีลิขสิทธิ์ก็จริง แต่ไม่ได้หมายความว่ามีการคุ้มครองเป็นสิทธิบัตร และเราจะเข้าไปตรวจสอบ “ข้อถือสิทธิ (claims)” เพื่อยืนยันขอบเขตสิทธิทางกฎหมายของเทคโนโลยีนั้น แต่หากบางส่วนของเทคโนโลยีที่มีการกล่าวอ้างถึงในสิทธิบัตรไม่ได้อยู่ในข้อถือสิทธิ แต่อยู่ในรายละเอียดการประดิษฐ์ เป็นต้น นั่นหมายความว่าเจ้าของสิทธิไม่ได้ขอรับความคุ้มครองในส่วนนั้น ซึ่งเราอาจจะนำมาใช้ประโยชน์ได้หากส่วนนั้น ไม่ได้มีการขอรับความคุ้มครองภายใต้สิทธิบัตรฉบับอื่นๆไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว

     สำหรับการตรวจสอบอิสรภาพทางกฎหมายตามขั้นตอนนี้ ผมแนะนำให้ขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิบัตร (link ไป บริการสิทธิบัตร) เพื่อช่วยเราตรวจสอบรายละเอียดของเอกสารสิทธิบัตรที่เราดึงมาวิเคราะห์เพื่อแนะนำความเสี่ยงทางกฎหมาย และโอกาสการนำไปใช้ประโยชน์โดยไม่ติดข้อกฎหมายจะดีที่สุดครับ

4. ตรวจสอบสินทรัพย์สำคัญที่มีอยู่ (Key Assets Audit)

     ขั้นตอนนี้สามารถทำก่อนขั้นตอนอื่นๆได้ โดยจะเป็นกระบวนการทำ Audit หรือการนำสินทรัพย์ที่สำคัญของเรามาตรวจสอบ บันทึก และปกป้องอย่างถูกวิธี และเนื่องจากธุรกิจในยุคปัจจุบันล้วนแต่ใช้ Intangible Assets ในการขับเคลื่อนประสิทธิภาพขององค์กร ซึ่งสินทรัพย์เหล่านี้ อาจรวมไปถึง แบรนด์ ดาต้า อัลกอริทึม บุคลากร ความรู้เฉพาะทาง กระบวนการทางธุรกิจ สิทธิบัตร ความสัมพันธ์กับนักลงทุน ลูกค้า และซัพพลายเออร์ ใบรับรอง กระบวนการ/ระบบ วัฒนธรรมองค์กร เป็นต้น 

     ผมจึงอยากให้คุณได้ลองวิเคราะห์กับทีมงาน และบันทึก Intangible Assets ที่เป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจภายในของคุณอย่างแท้จริง เพราะสิ่งเหล่านี้ เมื่อนำไปประกอบกับเทคโนโลยีที่เราวิเคราะห์ในขั้นตอนที่ 1-3 แล้วจะช่วยเราสร้างนวัตกรรมที่โดดเด่น ทรงพลัง และแตกต่างจากคู่แข่งได้อย่างสูงสุด แต่อย่าลืมว่าคุณจะต้องปกป้อง Intangible Assets ที่สำคัญเหล่านี้ให้เป็นทรัพย์สินทางปัญญา และสัญญาในรูปแบบต่างๆให้ได้มากที่สุด

5. วิเคราะห์ความคาดหวังใหม่ที่เกิดขึ้น (New Expectations Analysis)

      จากขั้นตอนที่ 1-2 เราจะเห็นว่าเทคโนโลยีที่เป็นแรงบันดาลใจของเรา ทำให้ตลาด ลูกค้า และผู้บริโภคเกิดความคาดหวังอะไรขึ้นมาใหม่จากแบรนด์หรือบริษัทที่สร้างเทคโนโลยีเหล่านี้ขึ้นมา ผลจากการวิเคราะห์อาจจะทำให้เห็นจุดตึงเครียด (Tension Points) ที่ลูกค้ากำลังเผชิญอยู่กับเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมนั้นๆ ลูกค้าอาจต้องการความ Personalize หรือความเฉพาะกับตัวบุคคลมากขึ้น เช่น เนื้อสังเคราะห์ที่มีการเพิ่ม Immune Booster ที่สามารถดูดซึมได้ดีกว่าเนื้อปกติ สำหรับบุคคลที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ หรือติดเชื้อได้ง่าย หรือความปลอดภัยในกระบวนการผลิตที่ปราศจากเชื้อโรค ทำให้ผู้บริโภคสามารถเช็คย้อนกลับถึงต้นทางได้ 

     หรือเรื่องความรวดเร็วในการให้บริการ เช่น การสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะพฤติกรรมที่เปลี่ยนหลังจากวิกฤต COVID-19 จะทำให้ผู้บริโภคคาดหวังการเลือกซื้อสินค้าหลากหลายผ่านช่องทางออนไลน์ การระบุความต้องการทางโภชนาการและการได้รับการบริการผ่านผ่านช่องทางดังกล่าวโดยไม่ต้องพบเจอผู้ขายด้วยตัวเองอีกต่อไป ทั้งนี้ การใช้ Chatbot มาช่วยตอบคำถามและให้บริการผ่านช่องทางออนไลน์จากมีประโยชน์กับผู้บริโภคมากมาย

ความคาดหวังเหล่านี้สำคัญมาก เพราะเป็นสิ่งที่จะบอกเราว่าเราควรพัฒนานวัตกรรม หรือ Deep Tech ของเราไปในทิศทางไหนให้สอดคล้องกับความคาดหวังใหม่หรือปัญหาที่ลูกค้ากำลังเผชิญอยู่ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข

ระยะการสร้างนวัตกรรม (Creation Phase):

6.เลือกประเภทของนวัตกรรมที่ต้องการสร้าง (Innovation Type Selection & Creation)

     Deep Tech หรือนวัตกรรมที่จะสร้างขึ้นมาควรสอดคล้องกับความคาดหวังของตลาดให้มากที่สุด โดยไม่เป็นการละเมิดสิทธิบัตรของผู้อื่น และสามารถใช้สินทรัพย์สนับสนุนที่สำคัญ (Key Contributing Assets) ภายในองค์กรเพื่อช่วยพัฒนาและผลักดันให้ Deep Tech ที่จะสร้างขึ้นมาใหม่นั้นทำได้จริง หากไม่มี Assets ที่สามารถช่วยสนับสนุน หรือขับเคลื่อนให้องค์กรพัฒนานวัตกรรมดังกล่าวได้ สิ่งที่เราต้องการคงเกิดได้ยาก หรือ ต้องใช้เวลา เงินทุน และทรัพยากรในการพยายามสร้างหรือหา Key Assets เหล่านั้นมาให้ได้ก่อน เพื่อนำไปสนับสนุนการสร้าง Deep Tech ของเราได้ เช่น หากไม่มี Data Scientist การเก็บข้อมูลจากกระบวนการ หรือความเชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ตั้งแต่ต้น หากเราต้องการทำ Personalized Cultured Meat คงเป็นไปได้ยาก เพราะไม่มีทั้ง Data และผู้เชี่ยวชาญในการนำ Data ไปพัฒนาเป็นอัลกอริทึมที่สามารถประเมินความต้องการทางโภชนาการของลูกค้าแต่ละรายได้ เป็นต้น ด

     และคำว่า Deep Tech สำหรับผม ไม่จำเป็นต้องเป็นในรูปแบบ “ผลิตภัณฑ์/สินค้า/โซลูชั่นส์ (Product)” ก็ได้ แต่อาจจะเป็นรูปแบบ “บริการ (Service)” “โมเดลธุรกิจ (Business Model)” หรือ “แคมเปญการตลาด (Marketing/Campaign)” ได้ด้วยเช่นกัน ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่จะมองว่า Deep Tech ต้องเป็น Product Innovation แต่ตามที่ 

     Steve Jobs เคยกล่าวไว้ว่า “เราต้องเริ่มจากประสบการณ์ของลูกค้า และย้อนกลับมาที่เทคโนโลยี ไม่ใช่ทำอย่างหลังก่อน” ซึ่งหมายความว่า เราควรเริ่มจากความคาดหวังของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย (Target Customers) ซึ่งอาจจะไม่ได้ต้องการเทคโนโลยีใหม่ แต่อาจเป็นการได้รับการบริการที่รวดเร็วทันใจจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนั้นก็ได้ ดังนั้น รูปแบบของ Deep Tech ที่ควรเป็น คือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อตอบสนองประสบการณ์ที่เฉพาะกลุ่มลูกค้าเป้าหมายด้วยนวัตกรรมการบริการ (Service Innovation) โดยเราอาจจะมีการปรับหรือแก้ไขเทคโนโลยีที่ได้จากเอกสารสิทธิบัตรนั้นเล็กน้อยเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการสร้างบริการดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

7. สร้างกลยุทธ์ปกป้องและใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา (IP & Innovation Utilization Strategy)

     หลังจากขั้นตอน 6 อาจมีการพัฒนารูปแบบของนวัตกรรมหรือ Deep Tech ออกมาบางส่วนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเพียง Concept หรือ Working Prototype เราควรมีการวางแผนการปกป้องการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรมไว้ด้วยเช่นกัน โดยคุณสามารถใช้ My IP-Innovation Worksheet (ให้ download ได้ โดยแลกกับชื่อ อีเมล)  ในการวางแผนของคุณต่อไปได้ โดยให้ชัดเจนถึงสาระสำคัญของ Deep Tech ที่ได้พัฒนาขึ้น ความใหม่ (Novelty) ของมัน พร้อมรูปประกอบ (ถ้ามี) ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา (IP Protection Type) ที่สามารถขอรับความคุ้มครองได้ 

     รวมไปถึง ลิขสิทธิ์ (Copyright), เครื่องหมายการค้า (Trademark/Service Mark), สิทธิบัตร (Invention/Utiilty/Design Patent), และความลับทางการค้า (Trade Secret) และวิธีการใช้ประโยชน์จากมัน (IP Utilization Type) เลือกได้จากอย่างน้อย การใช้ภายใน (Internal), การขายหรือโอนให้ผู้อื่นใช้ (Assignment), การอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Licensing), การขยายแฟรนไชส์ (Franchising), การทำกิจการร่วมค้า (Joint Venture) หรือ การตั้งธุรกิจย่อย (Spin-Off) เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับรูปแบบของ Deep Tech ที่จะพัฒนาขึ้นมา วิธีและกลยุทธ์การปกป้องและใช้ประโยชน์อาจแตกต่างกันไปตามแต่กรณี  แนวการปฏิบัติในอุตสาหกรรม และวัฏจักรของเทคโนโลยีนั้นๆด้วยเช่นกัน 

ขั้นตอนทั้ง 7 ที่ผมได้กล่าวมา ควรใช้ระยะเวลาไม่เกิน 7 สัปดาห์ในการช่วยคุณเร่งพัฒนา Deep Tech ภายในองค์กรของคุณ โดยโปรแกรมนี้ เราเรียกว่า 7-Week Innovation (ZEWIN®) โดยจะเริ่มมีการนำไปใช้ประโยชน์กับอุตสาหกรรมต่างๆอย่างจริงจัง ทางทีมงาน IDG จะทำการตรวจสอบ Intangible Assets ของคุณ พร้อมวิเคราะห์เทรนด์นวัตกรรม และเทคโนโลยีจากข้อมูลสิทธิบัตร และแหล่งข้อมูลนวัตกรรมต่างๆเพื่อนำมาใช้ในการช่วยคุณพัฒนาต่อยอด Deep Tech ที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด และทำให้สามารถนำไปปกป้องและขยายผลการใช้ประโยชน์จริงได้ภายใน 7 สัปดาห์

(Note: IP-Innovation Canvas และ IP-Innovation Worksheet เป็นเครื่องมือที่ IDG พัฒนาต่อมาจาก Consumer Trend Canvas ของ Trendwatching)

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ