OUR BLOG

เครื่องหมายร่วมมีประโยชน์ต่อ SME อย่างไร

01 1

เครื่องหมายร่วมมีประโยชน์ต่อ SME อย่างไร

If you cannot beat them, join them” เคยได้ยินสำนวนนี้กันไหม ?

สำหรับ ผู้ประกอบธุรกิจขนาดย่อม เอสเอ็มอี SME ก็สามารถใช้สำนวนนี้ได้กับธุรกิจของตน หาก SME ที่ต้องการจะขยายตลาดสินค้า/บริการแต่อาจจะมีเงินทุนที่จำกัดและไม่มีประสบการณ์เรื่องการตลาดหรือการโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้า และบริการ  SME อาจจะลองเข้าร่วมกับบริษัทยักษ์ใหญ่ หรือบริษัท SME ที่มีระบบการจัดการที่ดี เช่นการทำโครงการ (marketing campaign) ร่วมกันโดยการใช้เครื่องหมายการค้าร่วม (collective marks)1

แม้ว่าเจ้าของธุรกิจบางท่านอาจจะคิดว่าจุดประสงค์หลักของการเป็น SME คือ การเป็นอิสระ แต่การใช้เครื่องหมายการค้าร่วม (collective marks) ย่อมมีประโยชน์สำหรับการร่วมมือกันระหว่าง SME เอง หากมีการผลิตสินค้าที่เหมือนกัน หรือ ใกล้เคียงกัน เพื่อช่วยกันสร้างภาพลักษ์ของสินค้าให้เป็นที่รู้จัก อีกทั้ง SME จะได้มีโอกาสในการศึกษา เรียนรู้ กระบวนการทางการตลาด หรือประชาสัมพันธ์ และนำเอาความรู้ที่ได้มาพัฒนาและปรับใช้กับสินค้าของบริษัทตน

SME ยังสามารถยื่นคำขอจดทะเบียนสินค้า สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (geographical indication)ได้ หากสินค้านั้นมีความเชื่อมโยง (Links) ระหว่างปัจจัยสำคัญสองประการ คือ ธรรมชาติและมนุษย์ ที่เป็นที่ผลิตสินค้า เช่น มะขามหวานเพชรบูรณ์ ลิ้นจี่นครพนม เป็นต้น เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์สินค้าได้อีกด้วย

นอกจากนี้  SME ยังสามารถ ใช้ เครื่องหมายรับรอง (Certification Mark)3 ได้เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้าหรือบริการของบริษัทว่าสินค้าหรือบริการของบริษัทได้รับมาตรฐาน อีกทั้งเพื่อให้ลูกค้ารู้สึกสบายใจและปลอดภัยว่าสินค้าหรือบริการได้ผ่านการรับรองมาจากหน่วยงาน หรือองค์กร เช่น เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ ฮาลาล (Halal) เป็นต้น นอกจากการใช้เครื่องหมายรับรองเพื่อให้ลูกค้ารู้สึกปลอดภัยในการซื้อสินค้า หรือ บริการแล้ว  การใช้เครื่องหมายรับรองยังเป็นการช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้กับบริษัทอีกด้วย

[1] เครื่องหมายร่วม (Collective Mark) คือ เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่ม เดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น ตราช้างของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด เป็นต้น

[2] สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ คือ เครื่องหมายการค้าที่ใช้กับสินค้าที่มาจากแหล่งผลิตที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งคุณภาพหรือชื่อเสียงของสินค้านั้นๆ เป็นผลมาจากการผลิต 

[3] เครื่องหมายรับรอง (Certification Mark) คือ เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับ สินค้าและบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการนั้น เช่น เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ ฮาลาล (Halal) เป็นต้น

ภาพประกอบโดย Freepik : www.freepik.com

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ