อาชีพยูทูปเบอร์ อินฟลูเอนเซอร์ และติ๊กต๊อกเกอร์ ต้องจัดการด้านภาษีอย่างไร?
ในปัจจุบันอาชีพเหล่านี้ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะมีรายได้มหาศาล สามารถเป็นที่รู้จักได้เพียงชั่วข้ามคืน ถ้าทำคอนเทนต์ให้ตรงตามกระแส
แต่ในทางภาษียังไม่มีข้อกำหนดภาษีที่แน่ชัดสำหรับอาชีพเหล่านี้ ในปัจจุบันจึงต้องนำประเภทรายได้มาพิจารณาดูว่า แต่ละรายได้เป็นเงินได้ประเภทไหน ซึ่งรายได้แต่ละประเภทก็จะมีอัตราค่าใช้จ่ายที่นำมาหักได้ไม่เท่ากัน โดยรายได้หลักๆ จะมาจากค่ารีวิวสินค้า ส่วนแบ่งค่าโฆษณา ดังนี้
แหล่งรายได้ |
ประเภทรายได้ |
หักค่าใช้จ่าย |
---|---|---|
1.รับจ้างรีวิวสินค้า |
เงินได้ประเภทที่2 |
หักเหมา 50 % แต่ไม่เกิน 100,000 บาท |
2.ส่วนแบ่งค่าโฆษณา |
เงินได้ประเภทที่8 |
หักเหมา 50 % แต่ไม่เกิน 100,000 บาท |
3.รับจ้างโชว์ตัว |
เงินได้ประเภทที่2 |
หักค่าใช้จ่ายตามจริงเท่านั้น |
4.ซื้อมา-ขายไป |
เงินได้ประเภทที่8 |
หักเหมา 60% หรือ หักตามจริง |
เมื่อเหล่ายูทูปเบอร์ อินฟลูเอนเซอร์ และติ๊กต๊อกเกอร์ มีรายได้จากการค่ารีวิวสินค้า ค่าโชว์ตัว ส่วนแบ่งโฆษณาต่างๆ ทั้งปีเกิน 6 หมื่นบาท ก็ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) และตอนสิ้นปีก็ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี (ภ.ง.ด.90) โดยไม่สนใจว่าจะมีภาษีที่ต้องชำระหรือไม่
เมื่อมีรายได้ ไม่ว่าจะเป็นรายได้อะไร ก็ต้องเสียภาษี เมื่อมีรายได้ต้องนำมาเสียภาษี ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์เงินเดือนที่ใช้เวลาว่างในการเป็นยูทูเบอร์ หรือประกอบอาชีพยูทูเบอร์เป็นอาชีพหลัก ก็ต้องนำรายได้ทั้งหมดมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และถ้ารายได้รวมทั้งปีเกิน 1.8 ล้านบาทจะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเรียกเก็บภาษีอีก 7% ให้กรมสรรพากรอีกด้วย
หากยูทูปเบอร์ อินฟลูเอนเซอร์ และติ๊กต๊อกเกอร์ท่านใด ต้องการที่ปรึกษาเพื่อวางแผนและจัดการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา IDG พร้อมดูแลคุณ เรามีบริการด้านบัญชีภาษีที่ครอบคลุมทุกธุรกิจ พร้อมเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์กว่า 10 ปี สามารถปรึกษาข้อมูลเบื้องต้นได้ ฟรี!
ติดต่อทีมบัญชี :
โทร : 02-011-7161 ติดต่อ 900
E-mail : [email protected]
เปิดทำการวันจันทร์ – วันเสาร์
เวลา 09:00 – 18:00 น.