OUR BLOG

EP 2 เรื่องบัญชีภาษี ที่อินฟลูเอนเซอร์ต้องรู้! “ภาษีที่ Influencer ต้องรู้จัก และปฏิบัติตามให้ถูกต้อง”

ภาษีที่ Influencer ต้องรู้จัก และปฏิบัติตามให้ถูกต้อง

ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ได้กลายมาเป็นอาชีพที่หลายคนใฝ่ฝัน เนื่องจากสามารถสร้างรายได้จากผ่านแพลตฟอร์มได้มากมาย เช่น ค่าจ้างในการโปรโมทสินค้า ค่าสปอนเซอร์ หรือค่าธรรมเนียมจากแพลตฟอร์มออนไลน์

อย่างไรก็ตาม การที่ Influencer มีรายได้จากแหล่งต่าง ๆ ก็ทำให้พวกเขาต้องเผชิญกับภาษี ซึ่ง Influencer บางท่านก็ยังไม่เข้าใจหรือตระหนักเกี่ยวกับเรื่องนี้เท่าไหร่ ทำให้ Influencer บางท่านโดนสรรพากรประเมินรายได้และเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ดังนั้นภาษีที่ Influencer ต้องรู้จักและปฏิบัติตามให้ถูกต้อง มีดังนี้

1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax)

รายได้จากการทำงานของ Influencer ถือว่าเป็นรายได้จากการประกอบอาชีพอิสระ เช่น รายได้จากการโฆษณา, การรับสปอนเซอร์จากแบรนด์, ค่าคอมมิชชั่น, หรือแม้กระทั่งการขายสินค้าหรือบริการต่าง ๆ รายได้เหล่านี้จะต้องนำมารวมและยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยจะเสียภาษีตามอัตราภาษีแบบก้าวหน้า ซึ่งอัตราภาษีจะขึ้นอยู่กับระดับรายได้ที่ได้รับในปีนั้น ๆ Influencer สามารถหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการทำงานได้ เช่น ค่าอุปกรณ์สำหรับถ่ายทำ, ค่าโปรดักชั่น, ค่าเดินทาง, และค่าอินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยค่าใช้จ่ายเหล่านี้ต้องมีหลักฐานและเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการทำงานจริงตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร

2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

ถ้า Influencer มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หน้าที่ของ Influencer ที่จด VAT ต้องออกใบกำกับภาษี (Tax Invoice) และนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) โดยการยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.30)

3. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (Withholding Tax)

เมื่อ Influencer ได้รับรายได้จากบริษัทผู้ว่าจ้างในประเทศ อาจมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายจะอยู่ที่ 3% หรือ 5% ขึ้นอยู่กับประเภทของบริการหรือรายได้ที่ได้รับ สำหรับรายได้ที่เกิดจากบริษัทต่างประเทศ ต้องพิจารณาว่าบริษัทนั้นได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้หรือไม่ ซึ่ง Influencer อาจจำเป็นต้องยื่นภาษีเพิ่มเติมในไทยตามกฎหมายภาษีระหว่างประเทศ

ข้อควรระวังในการยื่นภาษี Influencer ควรเก็บหลักฐานการรับรายได้และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบแจ้งหนี้, สัญญาจ้าง, และใบเสร็จค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยื่นภาษีและตรวจสอบรายได้ที่ถูกต้อง และควรวางแผนการยื่นภาษีรายปีให้ถูกต้องและครบถ้วนในเวลาที่กำหนด เพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับทางภาษี

ข้อควรระวังในการยื่นภาษี Influencer ควรเก็บหลักฐานการรับรายได้และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบแจ้งหนี้, สัญญาจ้าง, และใบเสร็จค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยื่นภาษีและตรวจสอบรายได้ที่ถูกต้อง และควรวางแผนการยื่นภาษีรายปีให้ถูกต้องและครบถ้วนในเวลาที่กำหนด เพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับทางภาษี

การทำงานเป็น Influencer ไม่เพียงแต่ต้องเน้นการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่โดนใจผู้ติดตาม แต่ยังต้องมีความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติตามข้อกำหนดทางภาษีให้ถูกต้อง หาก Influencer ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือต้องการช่วยเหลือในการจัดทำเอกสาร หรือการยื่นภาษีสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของ IDG ได้ค่ะ เรามีบริการด้านบัญชีภาษีที่ครอบคลุมทุกธุรกิจ พร้อมเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์กว่า 10 ปี สามารถปรึกษาข้อมูลเบื้องต้นได้ ฟรี!

ติดต่อทีมบัญชี :

โทร : 02-011-7161 ติดต่อ 900

E-mail : [email protected]

เปิดทำการวันจันทร์ – วันเสาร์
เวลา 09:00 – 18:00 น.

หรือท่านสามารถสแกน QR Code เพิ่มเพื่อน 
LINE ID : @idgthailand เพื่อติดต่อเราผ่าน
แอพพลิเคชั่น LINE ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

Facebook
Twitter
LinkedIn

บทความล่าสุด

ภาษีที่ Influencer ต้องรู้จัก และปฏิบัติตามให้ถูกต้อง

ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ได้กลายมาเป็นอาชีพที่หลายคนใฝ่ฝัน เนื่องจากสามารถสร้างรายได้จากผ่านแพลตฟอร์มได้มากมาย เช่น ค่าจ้างในการโปรโมทสินค้า ค่าสปอนเซอร์ หรือค่าธรรมเนียมจากแพลตฟอร์มออนไลน์

อย่างไรก็ตาม การที่ Influencer มีรายได้จากแหล่งต่าง ๆ ก็ทำให้พวกเขาต้องเผชิญกับภาษี ซึ่ง Influencer บางท่านก็ยังไม่เข้าใจหรือตระหนักเกี่ยวกับเรื่องนี้เท่าไหร่ ทำให้ Influencer บางท่านโดนสรรพากรประเมินรายได้และเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ดังนั้นภาษีที่ Influencer ต้องรู้จักและปฏิบัติตามให้ถูกต้อง มีดังนี้

1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax)

รายได้จากการทำงานของ Influencer ถือว่าเป็นรายได้จากการประกอบอาชีพอิสระ เช่น รายได้จากการโฆษณา, การรับสปอนเซอร์จากแบรนด์, ค่าคอมมิชชั่น, หรือแม้กระทั่งการขายสินค้าหรือบริการต่าง ๆ รายได้เหล่านี้จะต้องนำมารวมและยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยจะเสียภาษีตามอัตราภาษีแบบก้าวหน้า ซึ่งอัตราภาษีจะขึ้นอยู่กับระดับรายได้ที่ได้รับในปีนั้น ๆ Influencer สามารถหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการทำงานได้ เช่น ค่าอุปกรณ์สำหรับถ่ายทำ, ค่าโปรดักชั่น, ค่าเดินทาง, และค่าอินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยค่าใช้จ่ายเหล่านี้ต้องมีหลักฐานและเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการทำงานจริงตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร

2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

ถ้า Influencer มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หน้าที่ของ Influencer ที่จด VAT ต้องออกใบกำกับภาษี (Tax Invoice) และนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) โดยการยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.30)

3. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (Withholding Tax)

เมื่อ Influencer ได้รับรายได้จากบริษัทผู้ว่าจ้างในประเทศ อาจมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายจะอยู่ที่ 3% หรือ 5% ขึ้นอยู่กับประเภทของบริการหรือรายได้ที่ได้รับ สำหรับรายได้ที่เกิดจากบริษัทต่างประเทศ ต้องพิจารณาว่าบริษัทนั้นได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้หรือไม่ ซึ่ง Influencer อาจจำเป็นต้องยื่นภาษีเพิ่มเติมในไทยตามกฎหมายภาษีระหว่างประเทศ

ข้อควรระวังในการยื่นภาษี Influencer ควรเก็บหลักฐานการรับรายได้และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบแจ้งหนี้, สัญญาจ้าง, และใบเสร็จค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยื่นภาษีและตรวจสอบรายได้ที่ถูกต้อง และควรวางแผนการยื่นภาษีรายปีให้ถูกต้องและครบถ้วนในเวลาที่กำหนด เพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับทางภาษี

ข้อควรระวังในการยื่นภาษี Influencer ควรเก็บหลักฐานการรับรายได้และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบแจ้งหนี้, สัญญาจ้าง, และใบเสร็จค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยื่นภาษีและตรวจสอบรายได้ที่ถูกต้อง และควรวางแผนการยื่นภาษีรายปีให้ถูกต้องและครบถ้วนในเวลาที่กำหนด เพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับทางภาษี

การทำงานเป็น Influencer ไม่เพียงแต่ต้องเน้นการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่โดนใจผู้ติดตาม แต่ยังต้องมีความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติตามข้อกำหนดทางภาษีให้ถูกต้อง หาก Influencer ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือต้องการช่วยเหลือในการจัดทำเอกสาร หรือการยื่นภาษีสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของ IDG ได้ค่ะ เรามีบริการด้านบัญชีภาษีที่ครอบคลุมทุกธุรกิจ พร้อมเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์กว่า 10 ปี สามารถปรึกษาข้อมูลเบื้องต้นได้ ฟรี!

ติดต่อทีมบัญชี :

โทร : 02-011-7161 ติดต่อ 900

E-mail : [email protected]

เปิดทำการวันจันทร์ – วันเสาร์
เวลา 09:00 – 18:00 น.

หรือท่านสามารถสแกน QR Code เพิ่มเพื่อน 
LINE ID : @idgthailand เพื่อติดต่อเราผ่าน
แอพพลิเคชั่น LINE ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณอย่างเต็มที่

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ