OUR BLOG

รายงานข่าวผ่าน FB LIVE ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์หรือไม่?

idg ip blog 05 1

รายงานข่าวผ่าน FB LIVE
ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์หรือไม่?

ในปัจจุบัน โลกแห่งเทคโนโลยีได้หมุนไปอย่างรวดเร็ว ผู้คนในสังคมต่างก็ต้องปรับตัวไปตามโลกที่พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง แม้อะไรหลายๆ อย่างได้เปลี่ยนแปลงไป แต่พฤติกรรมบางอย่างของมนุษย์ก็ยังคงเหมือนเดิม หนึ่งในนั้นก็คือ การติดตามข่าวสารภคธีร์ มงคลศิริภัทรา

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ปัจจุบันเราได้รับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าการดูผ่านโทรทัศน์เพื่อติดตามข่าวสารนั้น อาจจะไม่ได้เป็นที่นิยมเหมือนเมื่อก่อนแล้วก็ตาม

แอพพลิเคชั่นเฟซบุ๊ก (Facebook) ก็ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่คนส่วนใหญ่ใช้เป็นช่องทางในการติดตามข่าวสาร และทุกครั้งที่สไลด์หน้านิวส์ฟีด (News feed) ในเฟซบุ๊ก เพื่อดูเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ก็จะมีข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจสอดแทรกผ่านสายตาผู้ใช้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาจจะรวดเร็วกว่าการรับชมผ่านทางรายการข่าวทางโทรทัศน์เสียอีก

29838365880 207d7d54dd b

เครดิตภาพ : staticflickr.com

แล้วข่าวนั้นเป็นงานอันได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์หรือไม่?


หลายท่านอาจเคยตั้งคำถามนี้ และคำตอบก็คือ ข่าวเป็นข้อยกเว้นที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการทำข่าว ก็ต้องมีการถ่ายรูปโดยช่างภาพ ภาพถ่ายที่เกิดจากการทำข่าว ย่อมเป็นงานที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์

และเมื่อสังคมโซเชียล (Social Network) ได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของผู้คนอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน จึงทำให้ฟังก์ชั่นการถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊ก (Facebook Live) กลายเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เช่นเดียวกับสำนักนักข่าวต่างๆ เมื่อมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นที่ใด ผู้สื่อข่าวก็นิยมใช้การรายงานข่าวสดๆ แบบ Real-Time ผ่าน Facebook Live เพื่อให้ผู้รับชม ได้เกาะติดสถานการณ์อย่างใกล้ชิดแบบปัจจุบันทันด่วน

ซึ่งปัจจุบันยังคงไม่มีแนวคำพิพากษาของศาลฎีกาออกมาอย่างชัดเจนว่า การไลฟ์สดผ่านทางเฟซบุ๊ก เป็นงานแพร่ภาพแพร่เสียงหรือไม่? แต่ในความเห็นของผู้เขียนเองเห็นว่า “การไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊กก็ถือเป็นงานแพร่ภาพแพร่เสียง เนื่องจากเป็นการเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไป ได้รับชมผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแล้ว ถือได้ว่าเข้าองค์ประกอบของงานสร้างสรรค์ที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครอง”

idg ip blog 05

เครดิตภาพ :  pixabay.com

อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจ คือ เมื่อมีข่าวในเรื่องใดที่เป็นประเด็นร้อน ผู้คนในสังคมให้ความสนใจ ทางสำนักข่าวจึงมีการนำเสนอข่าวนั้นๆ ในรูปแบบที่แตกต่างออกไป เช่น การเขียนเป็นบทความหรือวิเคราะห์ข่าว แม้จุดที่สื่อนำมาวิเคราะห์จะเกิดจากข่าว

แต่เมื่อผู้เขียนบทความหรือบทวิเคราะห์ ต้องใช้ความวิริยะอุตสาหะ ในการสร้างสรรค์งานดังกล่าวขึ้นมา โดยการแต่งเติม ดัดแปลง หรือเล่นคำ ให้บทความมีความน่าอ่านมากยิ่งขึ้น การเขียนวิเคราะห์หรือบทความเกี่ยวกับข่าว จึงได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์เช่นกัน

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ