OUR BLOG

Great Wall Motor คือใคร?

cover

Great Wall Motor คือใคร? ใหญ่แค่ไหนในจีน? – บทวิเคราะห์โดย IDG Patent Analytics

Great Wall Motor คือใคร? เป็นคำถามที่เกิดขึ้นกับคนไทยจำนวนไม่น้อย หลังจากข่าว Chevrolet ประกาศยุติกิจการในประเทศไทย โดยที่มีผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติจีนภายใต้ชื่อ Great Wall Motor (GWM) เข้าซื้อโรงงานผลิตรถยนต์ของกลุ่ม GM ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์รถยนต์ Chevrolet ที่จังหวัดระยอง GWM อาจยังไม่เป็นที่รู้จักของคนไทยมากนัก แต่ที่จริงแล้ว GWM เป็นกลุ่มผลิตรถยนต์ที่ติด 3 อันดับแรกของประเทศจีน และมียอดขายทั่วโลกกว่า 1 ล้านคัน แล้วขีดความสามารถในการแข่งขันด้านเทคโนโลยีของ GWM เป็นอย่างไรบ้าง? เราขอแนะนำเครื่องมือหนึ่งในการศึกษาศักยภาพทางการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของบริษัท นั่นคือการวิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตร ที่บริษัทนั้น ๆ ได้ดำเนินการขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นจากการวิจัยและพัฒนาในรูปแบบของสิทธิบัตร

การวิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตร คือ กระบวนการคัดกรองและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกจากเอกสารสิทธิบัตรและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเข้าใจภาพรวมของเทคโนโลยีหรือข้อมูลเชิงลึก เพื่อประกอบการวางแผนกลยุทธ์หรือการตัดสินใจทางธุรกิจในตลาด รวมถึงยกระดับเทคโนโลยีนวัตกรรมของท่านให้ก้าวสู่ การเป็นผู้นำในเทคโนโลยีหรืออุตสาหกรรมนั้นๆ

gwm patent

(รูปที่ 1) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 จนถึงปัจจุบัน บริษัท Great Wall Motor มีการประดิษฐ์ที่ขอรับความคุ้มครองในรูปแบบของสิทธิบัตรที่เปิดเผยต่อสาธารณะแล้ว 5,953 การประดิษฐ์ โดยมีการนำการประดิษฐ์เหล่านี้ไปขอรับสิทธิบัตรทั่วโลกรวมทั้งหมด 6,015 ฉบับ เนื่องจากสิทธิบัตรจะคุ้มครองการประดิษฐ์เพียงแค่ในประเทศที่มีการขอรับสิทธิบัตรไว้เท่านั้น ซึ่งโดยปกติบริษัทระดับโลกจะมีจำนวนสิทธิบัตรมากกว่าจำนวนการประดิษฐ์อยู่มากเนื่องจากมีการดำเนินการในหลายประเทศและต้องการปกป้องการประดิษฐ์ให้ครอบคลุมทุกประเทศ

การประดิษฐ์ (Patent Family): เนื่องจากสิทธิบัตรเป็น Territorial Rights ที่มีขอบเขตการบังคับใช้สิทธิตามกฎหมาย เฉพาะในประเทศที่มีการเข้าไปจดสิทธิบัตรไว้เท่านั้น หมายความว่าถ้าเราต้องการคุ้มครองการประดิษฐ์และ เทคโนโลยีให้ครอบคลุมตลาดในประเทศที่เราสนใจ ก็จะต้องเข้าไปจดสิทธิบัตรไว้ในประเทศนั้นๆ ด้วย เมื่องานประดิษฐ์มีการยื่นจดสิทธิบัตรเข้าไปในประเทศแรก และเข้าไปยื่นต่อในประเทศต่างๆ โดยการ Claim Priority ในระยะเวลาที่กำหนด เอกสารทั้งหมดจะเรียกว่าอยู่ในครอบครัวสิทธิบัตร (Patent Family) เดียวกัน และถ้ามีการยื่นเข้าไปในหลายประเทศเพิ่มมากขึ้น ครอบครัวสิทธิบัตรนั้นก็จะขยายใหญ่ขึ้น ซึ่งอาจจะสื่อถึงมูลค่าของการประดิษฐ์ที่เพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจากมีความต้องการในการคุ้มครองสิทธิในตลาดที่ใหญ่ขึ้น

grph2 1 (รูปที่ 1) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 จนถึงปัจจุบัน บริษัท Great Wall Motor มีการประดิษฐ์ที่ขอรับความคุ้มครองในรูปแบบของสิทธิบัตรที่เปิดเผยต่อสาธารณะแล้ว 5,953 การประดิษฐ์ โดยมีการนำการประดิษฐ์เหล่านี้ไปขอรับสิทธิบัตรทั่วโลกรวมทั้งหมด 6,015 ฉบับ เนื่องจากสิทธิบัตรจะคุ้มครองการประดิษฐ์เพียงแค่ในประเทศที่มีการขอรับสิทธิบัตรไว้เท่านั้น ซึ่งโดยปกติบริษัทระดับโลกจะมีจำนวนสิทธิบัตรมากกว่าจำนวนการประดิษฐ์อยู่มากเนื่องจากมีการดำเนินการในหลายประเทศและต้องการปกป้องการประดิษฐ์ให้ครอบคลุมทุกประเทศ

Patent Cooperation Treaty (PCT) เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศสำหรับการขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ในประเทศสมาชิก เพื่อให้สะดวก และลดภาระของผู้ขอรับสิทธิบัตรที่ต้องการขอยื่นรับสิทธิบัตรในหลายประเทศทั่วโลก

Table

 

รูปที่ 3

เมื่อดูจากสถิติในการยื่นขอรับสิทธิบัตรของบริษัท Great Wall Motor จึงพบว่า บริษัทมีการยื่นขอรับสิทธิบัตรมาตั้งแต่ปีค.ศ. 2007 จนถึงปัจจุบัน และยังพบว่า GWM เริ่มมีการขอรับสิทธิบัตรในต่างประเทศในปี ค.ศ. 2013 มีการขอรับสิทธิบัตรในต่างประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีจำนวนการยื่นขอรับสิทธิบัตรในต่างประเทศมากที่สุดในปี ค.ศ. 2017 ซึ่งในปี ค.ศ. 2018-2020 อาจยังไม่มีข้อมูลครบถ้วนเนื่องจากขั้นตอนการขอรับสิทธิบัตรที่ซับซ้อนและใช้เวลานานก่อนที่จะมีการเปิดเผยสู่สาธารณะ โดยนอกจากการยื่นขอรับสิทธิบัตรในประเทศจีนแล้ว GWM ยังมีการยื่นขอรับสิทธิบัตรผ่านระบบ PCT ทั้งหมด 50 ฉบับ ซึ่งสิทธิบัตรที่ยื่นผ่านระบบ PCT เหล่านี้สามารถใช้เพื่อขอรับสิทธิบัตรในประเทศต่าง ๆ ได้อีกภายในระยะเวลา 30 เดือน จากวันที่ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรครั้งแรก โดยส่วนมากการประดิษฐ์ที่เจ้าของมองว่ามีศักยภาพสูงมักจะถูกเจ้าขอสิทธิบัตรนำไปขอรับสิทธิบัตรไว้ในหลายประเทศเพื่อปกป้องเทคโนโลยีของตนเองไม่ให้ถูกลอกเลียน หรือทำซ้ำ โดยตัวอย่างการประดิษฐ์ที่ GWM ดำเนินการขอรับสิทธิบัตรในต่างประเทศ ได้แก่ สิทธิบัตรจีนเลขที่ประกาศโฆษณา CN109344677A ภายใต้ชื่อการประดิษฐ์ “identifying three-dimensional object method, device, vehicle, and storage medium” ซึ่งเปิดเผยการประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับการระบุตำแหน่งของวัตถุสามมิติที่มีความแม่นยำสูง หรือ สิทธิบัตรจีนเลขที่ประกาศโฆษณา CN109404721A ภายใต้ชื่อการประดิษฐ์ “hydrogen bottle” ซึ่งเปิดเผยการประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมกระบอกบรรจุเชื้อเพลิงไฮโดรเจนเพื่อใช้ในเซลล์เชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ และ สิทธิบัตรจีนเลขที่ประกาศโฆษณา CN208444901U ภายใต้ชื่อการประดิษฐ์ “battery module and battery pack for a vehicle with the same” ซึ่งเปิดเผยการประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับชุดแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ เป็นต้น ซึ่ง GWM มีการผลิตและจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าอยู่แล้วภายใต้แบรนด์รถยนต์ ORA นอกจากนี้ GWM ยังวางแผนที่จะนำเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนมาใช้ในแบรนด์รถยนต์ HAVAL ภายในปี ค.ศ. 2023 ซึ่งล่าสุด GWM ได้ยื่นขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ประกาศโฆษณา CN209487618U ภายใต้ชื่อการประดิษฐ์ “Manifold assembly, fuel cell system and fuel cell vehicle” ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบจ่ายก๊าซในระบบเซลล์เเชื้อเพลิงไฮโดรเจน โดยรวมระบบจ่ายก๊าซไฮโดรเจน ระบบจ่ายอากาศ และระบบทำความเย็นเข้าด้วยกัน เพื่อให้จ่ายต่อการประกอบและเชื่อมต่อระบบเซลล์เชื้อเพลิงเข้าด้วยกันโดยประหยัดพื้นที่มากขึ้น ซึ่ง GWM มีการประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนจำนวน 3 การประดิษฐ์ และทั้ง 3 งานเกี่ยวข้องกับการส่งจ่ายก๊าซไฮโดรเจนเท่านั้น และไม่ได้ครอบคลุมไปถึงองค์ประกอบอื่นของเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน ในขณะที่เมื่อเทียบกับบริษัท Toyota ที่มีการประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนมากถึง 2994 การประดิษฐ์ และยังเกี่ยวข้องกับส่วนประกอบต่าง ๆ เช่น ระบบควบคุมการส่งก๊าซและการผลิตพลังงาน แหล่งกักเก็บก๊าซไฮโดรเจน และโครงสร้างภายในของเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนเป็นต้น แสดงให้เห็นว่า GWM ยังขาดการประดิษฐ์ที่สำคัญต่อเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน และเราอาจเห็นการประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับแหล่งกักเก็บก๊าซไฮโดรเจน และโครงสร้างเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน เพิ่มมากขึ้นสอดคล้องกับแนวทางในการพัฒนาแบรนด์รถยนต์ HAVAL หากไม่อย่างนั้น GWM จะต้องซื้อเทคโนโลยีจากผู้ผลิตเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนเจ้าอื่น

(รูปที่ 4) เมื่อดูแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีของ GWM โดยจำแนกตามกลุ่มเทคโนโลยีโดยแยกเป็นแนวโน้มในการยื่นขอรับสิทธิบัตรในแต่ละปีตามกลุ่มเทคโนโลยี พบว่าสิทธิบัตรส่วนมากของ GWM เกี่ยวข้องกับ ส่วนประกอบต่าง ๆ ของรถยนต์ เครื่องยนต์ กลไกจักรกล และ อุปกรณ์ต่างๆ และยังพบกลุ่มสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกลไฟฟ้ามากเป็นอันดับ 3 ซึ่งสิทธิบัตรของ GWM ในกลุ่มเทคโนโลยีเครื่องจักรกลไฟฟ้า กล่าวถึง อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในรถยนต์ เช่นหลอดไฟ รวมถึง แบตเตอรี่ และมอเตอร์ไฟฟ้าซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักในรถยนต์ไฟฟ้า ข้อมูลเบื้องต้นจากสิทธิบัตรเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า Great Wall Motor ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนรถยนต์ด้วยแหล่งพลังงานอื่นที่ไม่ใช่น้ำมัน เช่น ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ และเซลล์เชื้อเพลิงไฮโรเจน โดยเห็นได้จากแนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยี และการยื่นขอรับสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องในต่างประเทศ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยข้อมูลนี้เป็นข้อมูลของบริษัท Great Wall Motor เพียงอย่างเดียว ซึ่งหากต้องการจะเปรียบเทียบความสามารถในการแข่งขันของ GWM ในเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า เราสามารถนำสิทธิบัตรด้านรถยนต์ไฟฟ้าของ GWM มาเปรียบเทียบกับบริษัทที่เป็นผู้นำด้านรถยนต์ไฟฟ้าอย่าง เช่น Tesla หรือ Toyota เพื่อเปรียบเทียบศักยภาพของ GWM ในด้านรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะได้อีก

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ