OUR BLOG

การวิเคราะห์ภูมิศาสตร์ของนวัตกรรมด้วยข้อมูลสิทธิบัตร


cover bell 1

องค์กรทรัพย์สินทางปัญญาโลก หรือ World Intellectual Property Organization (WIPO) ได้จัดทำรายงาน The Geography of Innovation: Local Hotspots, Global Networks ขึ้น แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเครือข่ายการสร้างสรรค์นวัตกรรมในระดับโลก
WIPO นำเสนอว่าการเกิดนวัตกรรม เกิดขึ้นในรูปแบบของจุดศูนย์รวมนวัตกรรม (Innovation Hotspots) แล้วจึงแพร่กระจายไปยังพื้นที่อื่น ๆ โดยจุดศูนย์รวมนวัตกรรม (Innovation Hotspots) เกิดขึ้นจากปัจจัยหลัก 3 ข้อ ได้แก่
1. แรงงานที่มีความสามารถ – จากการศึกษาพบว่า ในเขตของสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปที่มีแรงงานที่ได้รับการศึกษาในระดับอุดมศึกษา มีรายได้เฉลี่ย และผลสัมฤทธิ์ด้านนวัตกรรมสูงกว่าบริเวณอื่น ๆ ซึ่งแรงงานที่มีความสามารถต่างกัน มักจะกระจุกรวมกันในบริเวณที่ต่างกันไป เนื่องจากคนเหล่านี้มาหาสังคมของผู้ที่มีความสามารถเดียวกันเพื่อพัฒนาตนเอง การซ้อนทับกันของจุดศูนย์รวมของแรงงานที่มีความสามารถต่างกัน อาจทำให้เกิดความร่วมมือในการสร้างนวัตกรรมขึ้นได้
2. ปัจจัยของตลาด – บริเวณที่มีการกระจุกตัวของอุตสาหกรรมมีความได้เปรียบกว่าบริเวณอื่น เนื่องจากมี economy of scale อุตสาหกรรมที่มีความเฉพาะเจาะจงจึงเกิดขึ้นตามบริเวณต่าง ๆ
3. การถ่ายทอดความรู้ – การถ่ายทอดองค์ความรู้ระหว่างภาคเอกชน หรือการถ่ายทอดองค์ความรู้จากภาคการศึกษาทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ
และปัจจัยทั้ง 3 นี้เอง ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายของนวัตกรรมเช่นกัน เช่น การเคลื่อนย้ายของแรงงานที่มีความสามารถ การย้ายฐานการผลิตของบริษัทที่พัฒนานวัตกรรม หรือ การถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับบุคคล หรือองค์กรอื่นนอกจุดศูนย์รวมนวัตกรรม
ในปี ค.ศ. 2019 WIPO ได้ทำการวิเคราะห์หา Innovation Hotspots ที่มีอยู่ทั่วโลกโดยอาศัยข้อมูลสิทธิบัตรและข้อมูลวารสารการวิจัย และพบว่า
การสร้างนวัตกรรมมีการแพร่กระจายไปอย่างมาก
จากเดิมที่ สหรัฐอเมริกา เยอรมัน และญี่ปุ่น เป็นผู้ยื่นขอรับสิทธิบัตรมากถึง 2 ใน 3 ของสิทธิบัตรทั้งหมด แต่ในช่วงที่ผ่านมาประเทศอื่น ๆ ได้มีการยื่นขอรับสิทธิบัตรเพิ่มขึ้นไปอย่างมาก โดยจีน และเกาหลีใต้มีการสร้างนวัตกรรมเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก
1

1 label

รูปที่ 1 แสดงสัดส่วนคำขอรับสิทธิบัตรที่ยื่นโดยประเทศต่าง ๆ

การสร้างนวัตกรรมยังมีการกระจุกอยู่เป็นบางพื้นที่ในประเทศเท่านั้น
แม้ว่าบางประเทศจะมีแนวโน้มการพัฒนานวัตกรรมที่เพิ่มสูงขึ้น แต่แหล่งที่มาของนวัตกรรมนั้นอย่างมีการกระจุกตัวเป็นบางบริเวณ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศจีน ซึ่ง Beijing, Shanghai, Shenzhen มีสัดส่วนคำขอรับสิทธิบัตรมากถึง 52% ของสิทธิบัตรในประเทศจีนทั้งหมด

2

รูปที่ 2 แสดงการกระจุกตัวของการยื่นขอรับสิทธิบัตรในหัวเมืองใหญ่

เมืองขนาดใหญ่จำนวนมากไม่ได้เป็นจุดศูนย์รวมนวัตกรรม
แม้ว่าขนาดของเมืองจะส่งผลต่อขนาดของตลาดและนำไปสู่การก่อตัวเป็นจุดศูนย์รวมนวัตกรรม แต่ด้วยการขาดปัจจัยสนับสนุนอื่น ๆ ทำให้เมืองใหญ่ที่มีประชากรหนาแน่นบางเมืองไม่ถูกจัดเป็นจุดศูนย์รวมนวัตกรรม ตัวอย่างเช่น กรุงเทพ กัวลาลัมเปอร์ มะนิลา และจาการ์ตา ที่มีการสร้างนวัตกรรมบ้างเล็กน้อย แต่ยังไม่ถูกจัดเป็นจุดศูนย์รวมนวัตกรรม โดยกรุงเทพถูกจัดเป็น Specialized Niche Cluster ซึ่งมีการพัฒนานวัตกรรมที่เฉพาะทาง

5

รูปที่ 3 แสดงขนาดของเมืองเทียบกับการสร้างนวัตกรรม

แต่ละประเทศมีความร่วมมือการพัฒนานวัตกรรมที่ต่างกัน
ประเทศจีน มีสัดส่วนของการร่วมมือในระดับท้องถิ่นเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่มีสัดส่วนการร่วมมือระหว่างประเทศลดลง
ประเทศเยอรมนี ประเทศอินเดีย ประเทศสวิตเซอแลนด์ และประเทศสหรัฐอเมริกามีการร่วมมือในระดับสากล ระดับประเทศ และระดับท้องถิ่นเพิ่มสูงขึ้น
ประเทศญี่ปุ่น และประเทศเกาหลีใต้มีสัดส่วนการร่วมมือระดับสากลคงที่

3

รูปที่ 4 แสดงลักษณะการร่วมมือในการสร้างนวัตกรรมในแต่ละประเทศ

แต่ละประเทศมีความร่วมมือการพัฒนานวัตกรรมที่ต่างกัน
ประเทศจีน มีสัดส่วนของการร่วมมือในระดับท้องถิ่นเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่มีสัดส่วนการร่วมมือระหว่างประเทศลดลง
ประเทศเยอรมนี ประเทศอินเดีย ประเทศสวิตเซอแลนด์ และประเทศสหรัฐอเมริกามีการร่วมมือในระดับสากล ระดับประเทศ และระดับท้องถิ่นเพิ่มสูงขึ้น
ประเทศญี่ปุ่น และประเทศเกาหลีใต้มีสัดส่วนการร่วมมือระดับสากลคงที่

4.1

รูปที่ 5 แสดงการเปรียบเทียบการสร้างความร่วมมือกันระหว่างจุดศูนย์ณวมนวัตกรรม

4.2
จากทั้งหมดที่กล่าวมานั้น จะเห็นได้ว่ามีการพัฒนาเทคโนโลยีในลักษณะของการพัฒนาร่วมกันระหว่างผู้ที่อยู่ในจุดศูนย์รวมนวัตกรรมเพิ่มมากขึ้น ประเทศไทยจึงควรมีนโยบายสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับตัวเองเป็นจุดศูนย์รวมนวัตกรรม และสร้างความร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรมกับนักประดิษฐ์ที่อยู่ในจุดศูนย์รวมนวัตกรรมของประเทศอื่น ในขณะเดียวกันจะต้องส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีออกจากบริเวณจุดศูนย์รวมนวัตกรรมไปยังบริเวณอื่น ๆ ของประเทศอีกด้วย เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาพรวมของประเทศ
ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการไทยก็สามารถมองหาหุ้นส่วนในการพัฒนานวัตกรรมที่อยู่ในจุดศูนย์รวมนวัตกรรมของประเทศนั้น ๆ เพื่อเป็นช่องทางในการเข้าถึงการร่วมมือที่เกิดขึ้นในโครงข่ายของจุดศูนย์รวมนวัตกรรม เพื่อรับถ่ายทอดเทคโนโลยีจากจุดศูนย์รวมนวัตกรรมอื่นกลับเข้ามาใช้ในประเทศไทย
ที่มา : https://www.wipo.int/edocs/pubdocs/en/wipo_pub_944_2019.pdf

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ