OUR BLOG

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่างประเทศ

tm cover int

 เคยสงสัยไหมครับ?

ทำไม กาแฟที่ชงเหมือนกัน รสชาติแทบจะไม่แตกต่างกัน ทำไมราคาแตกต่างกันนัก


  • กาแฟอาโกรถเข็น แก้วละ 35 บาท
  • กาแฟอเมซอน แก้วละ 65 บาท
  • กาแฟสตาร์บั๊กส์ แก้วละ 120 บาท


หรือ ชุดกีฬา ทรงเดียวกัน สีเดียวกัน ลวดลายก็ไม่แตกต่างกันมาก เนื้อผ้าต่างกันเล็กน้อย ราคาแตกต่างกันมากมาย


  • เสื้อกีฬาสีขาว จากโรงงาน ตัวละ 65 บาท
  • เสื้อกีฬาสีขาวยี่ห้อ แกรนด์ สปอร์ต ตัวละ 250 บาท
  • เสื้อกีฬาสีขาว ยี่ห้อ ไนกี้ ตัวละ 1500 บาท
  • เสื้อกีฬาสีขาว ทีมฟุตบอล รีอัล มาดริด ตัวละ 2,500 บาท


ในทางการตลาดเราเรียกมูลค่าที่เพิ่มขึ้นนี้ว่า “มูลค่าเพิ่ม (value added) ของตราสินค้า” ลูกค้าจะมีความรู้สึกผูกพัน และจงรักภักดีต่อตราสินค้าหรือยี่ห้อที่ตนรู้จัก หรือที่เรียกว่า Brand Loyalty คำว่า แบรนด์ หรือตราสินค้าเป็นอะไรที่เป็นนามธรรมมากแต่มูลค่ากลับมีมหาศาล


อะไรคือแบรนด์?


Brand เป็นคำภาษาอังกฤษ ซึ่งในภาษาไทยจะรู้จักผ่านคำว่า “ยี่ห้อ” ในทางการตลาด เราเรียก Brand ว่า “ตราสินค้า”


ในทางการตลาด ฟิลิป  คอตเลอร์  (1991) กล่าวว่า ถ้าเป็นแบรนด์จะต้องสามารถจำแนกได้ 4 อย่างกล่าว คือ


  • Attribute   รูปร่างหน้าตาภายนอกที่จะทำให้เกิดการจดจำ
  • Benefit   บอกคุณประโยชน์  เช่น  ฟันขาว  ผมนุ่ม
  • Value   ทำให้รู้สึกว่า  ใช้แบรนด์นี้แล้วภาคภูมิใจ  ไว้ใจเพราะมีมานาน
  • Personality   มีบุคลิกภาพ  ใช้แล้วเป็นวัยรุ่น  ใช้แล้วเป็นคนทันสมัย


ถาม: แล้วตราสินค้า (Brand) กับ เครื่องหมายการค้า (Trademark) เหมือนกันมั้ย?


ตอบ:  เครื่องหมายการค้าทุกเครื่องหมายจะมีความเป็นแบรนด์ แต่แบรนด์บางแบรนด์ อาจไม่มีลักษณะความเป็นเครื่องหมายการค้า …หรืออาจกล่าวได้ว่า


เครื่องหมายการค้าเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์ (ดังภาพ)

brands

Trademark หรือ เครื่องหมายการค้าคือ Brand ที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ซึ่งกฎหมายจะคุ้มครอง ป้องกันไม่ให้มีการลอกเลียนแบบ หรือนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือให้สิทธิผู้ขาดแต่เพียงผู้เดียวในการใช้และควบคุม Brand นั้น


ถาม : มี Brand ที่กฎหมายไม่ให้ความคุ้มครองด้วยหรือ


ตอบ: มี โดยทั่วไป หากต้องการคุ้มครองให้ Brand มีสถานะเป็น “เครื่องหมายการค้าที่กฎหมายคุ้มครอง”  จะต้องไปจดทะเบียน เพื่อแสดงความประสงค์ขอให้ Brand นั้นได้รับความคุ้มครอง ห้ามผู้อื่นนำไปใช้ กรณีที่ไม่เคยจดทะเบียนที่ใดมาก่อนเลย ก็จะไม่เข้าลักษณะเป็น “เครื่องหมายการค้า” คนอื่นก็อาจจะนำ Brand นั้นไปใช้ได้ (ทั้งนี้ Brand ที่จะนำมาจดทะเบียน จะต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดด้วย)


การถูกละเมิดแบรนด์ของผู้ประกอบการไทยในต่างประเทศ  


ปัญหาที่ผู้ประกอบการไทยประสบในเรื่องถูกละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศผู้นำเข้านั้นแบ่งเป็นสามกรณี คือ


1) มีการปลอมสินค้าและเครื่องหมายการค้าเพื่อขายในประเทศผู้นำเข้า


2) มีการปลอมสินค้าและเครื่องหมายการค้าของไทยเพื่อขายไปประเทศที่สาม


3) การแย่งจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เนื่องจากสินค้าไทยมีคุณภาพที่ดีเมื่อส่งไปขายในประเทศผู้นำเข้าเหล่านี้ก็ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคในประเทศเหล่านั้น ทำ ให้ผู้ประกอบการในประเทศดังกล่าวบางรายทำการลอกเลียนแบบสินค้าและบริการในทันที


การละเมิดเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศมี 2 ประเภทคือ


  1. เจ้าของสินค้าและบริการเข้าไปจด ทะเบียนเพื่อได้รับการคุ้มครองแล้วแต่ยังถูกละเมิด
  2. เจ้าของสินค้าและบริการ ในไทยไม่ได้ไปจดคุ้มครอง แต่ประเทศคู่ค้านำไปจด ซึ่งเมื่อเราส่งออกไปก็จะมีปัญหากลาย เป็นเราไปละเมิด และอาจถูกจับ


เนื่องด้วยเวลานี้สินค้า และบริการของไทยมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักหมู่ประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งชื่อเสียงที่ดีนี้สามารถที่จะใช้ชื่อไปหาผลประโยชน์ได้ ขณะที่ผู้ประกอบการไทยมีจุดอ่อนที่ไม่ได้เข้าไปจดทะเบียนคุ้มครองในต่างประเทศ  และดำเนินการหาตัวแทนเฝ้าระวัง


ขอยกกรณี การขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องเครื่องหมายการค้าจนสูญเสียแบรนด์ของตนไป


กรณีศึกษา 1 ซอสพริกศรีราชา 

red hot chilli sauce fresh chili wood background Large 

ซอสศรีราชา มีต้นกำเนิดจากที่ใดไม่ทราบแน่ชัด แต่ที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ บริษัท ศรีราชาพาณิชย์ ที่ได้ผลิตซอสปรุงรสอาหาร ด้วยคุณภาพที่ดี รสชาติที่ดี ทำให้ชื่อ ซอสศรีราชาจะติดปากผู้บริโภคโดยได้รับความนิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่ว่าในทางกฎหมาย ซึ่ง “ห้ามไม่ให้ใช้ชื่อทางภูมิศาสตร์ มาจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า” ทำให้ ชื่อศรีราชาที่ทำตลาดมานาน ไม่สามารถผูกขาดคำว่า “ศรีราชา” แต่เพียงผู้เดียวได้  คือใครก็สามารถใช้ชื่อศรีราชาประกอบชื่อหลักของตนได้ ท้ายที่สุด ศรีราชา จึงกลายเป็น”สูตร” อาหารสูตรหนึ่งเท่านั้น และมีการนำคำว่า “ซอสพริกศรีราชา” ไปใช้อย่างแพร่หลาย


ที่ต่างประเทศ ซอสพริกศรีราชาก็ได้รับความนิยมอย่างสูง มีการตั้งโรงงานซอสพริกศรีราชา ที่เจ้าของเป็นชาวเวียดนามชื่อว่า  David Tran จำหน่ายไปได้มากกว่า 20 ล้านขวดในปี 2555 และมีการพัฒนารสชาติซอสพริกศรีราชา (Sri Racha Hot Chilli Sauce) ไปใช้ปรุงรสกับขนมและอาหารอีกมากมาย


 Sriracha

 

เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นได้ว่า เรื่องการวางกลยุทธ์ เรื่อง Brand และ เครื่องหมายการค้า จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้สินค้าเป็นที่่รู้จักและยอมรับ ซึ่งหากความเข้าใจไม่มากพอ ผู้ประกอบการก็อาจถูกละเมิดแบรนด์ โดยไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายได้


กรณีศึกษาที่ 2  เคสต่างๆ ที่ผู้ประกอบการชาวไทยถูกละเมิดเครื่องหมายการค้าทั่วโลก


เคสตัวอย่าง


จีน


บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) เจ้าของ บะหมี่สำเร็จรูปมาม่า ถูกละเมิดเครื่องหมายการค้าในจีนโดยมีชาวจีนนำไปจดเครื่องหมายการค้า ใช้ชื่อมาม่าเป็นภาษาอังกฤษ(MAMA) ซึ่งฝ่ายไทยได้ไปฟ้องร้องให้เพิกถอนแต่ยังไม่สำเร็จ ดังนั้นจึงต้องส่งสินค้าภายใต้แบรนด์ไทยเข้าไปจำหน่าย ล่าสุดทาง อยู่ระหว่างรวบรวมหลักฐานให้กรมทรัพย์สินทางปัญญานำไปเจรจากับ ทางการของจีนอีกครั้ง


บริษัท เอราวัณฟู้ด จำกัด ได้ถูกบริษัทจีนได้ทำการผลิตเงาะกระป๋อง โดยลอกเลียนแบบฉลาก พร้อมกับมีการระบุว่าเป็นผลิตภัณฑ์ของไทย โดยพิมพ์ข้อความ“Thailand’s rambutan in syrup” และ “product of Thailand” ทำ ให้ผู้บริโภคใน ประเทศจีนเข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย ซึ่งเห็นว่าเป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้า ทำให้สินค้าของบริษัท เอราวัณฟู้ด ได้รับความเสียหายทางธุรกิจในปี 2547 และ ปี 2548 ไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ


สินค้าน้ำมันพืชยี่ห้อเกสร ถูกละเมิดเครื่องหมายการค้าในจีนโดยมีชาวจีนนำไปจดเครื่องหมายการค้า ซึ่งเจ้าของสินค้าไทย ถูกเรียกไปเจรจาเพื่อให้จ่ายเงินจำนวนมากเพื่อแลกกับการเพิกถอนสิทธิ์ในการจดทะเบียน สุดท้ายฝ่ายผู้ประกอบการ ไทยไม่ยอม และอยู่ระหว่างการฟ้องร้องให้เพิกถอนการจดทะเบียน


บริษัท ที.ซี.ฟาร์มาซูติคอลอุตสาหกรรม จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มกระทิงแดง และเป็น  Franchisor/Licensor เครื่องหมายการค้า  Red Bull ถูกผู้ประกอบการรายอื่นในจีน จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า Red bull


Untitled55

 

อินโดนิเซีย


สินค้าหมวกกันน็อกยี่ห้ออินเด็กซ์ ถูกละเมิดเครื่องหมายการค้า และตราไทยแลนด์แบรนด์ ทำให้ต้องทิ้งตลาด


เวียดนาม


– ห้างหุ้นส่วนจำกัดจักรวาลบอลลูน ผู้ผลิตลูกโป่งสวรรค์ ถูกละเมิดสิทธิ์ในเวียดนาม มีการลอกเลียนแบบทั้งชื่อยี่ห้อ ฉลากสินค้าและยังปั๊มภาษาไทยว่าให้ระวังของปลอมด้วย


– กางเกงชั้นในชายเจเพรสส์ ซึ่งถูกผู้นำเข้าในเวียดนามที่เคยเป็นคู่ค้ากันนำไปจดทะเบียนและผลิตจำหน่ายเอง ทำให้ต้องทิ้งตลาดในที่สุด


-เครื่องดื่มชูกำลังยี่ห้อกระทิงแดง ถูกละเมิดเครื่องหมายการค้าในเวียดนาม ทำให้ต้องตั้งตัว แทนติดตามจับกุมอยู่เป็นระยะ


– กุญแจโซเล็กซ์ ถูกจีนปลอมแปลงสินค้าขายในประเทศ และส่งขาย เวียดนาม สินค้าชุดชั้นในยี่ห้อเจ.เพรส


– มีการละเมิดเครื่องหมายการค้าของผู้ประกอบการไทยในสินค้า ได้แก่กระเบื้องเซรามิก COTTO & ELEPHANT DEVICE ก๊อกน้ำ SANWA แผ่นใยขัดพิเศษเมอร์รี่ไบรท์ กุญแจโซเล็กซ์  แบรนด์ ZALE เครื่องดื่มชูกำลังยี่ห้อกระทิงแดง


ประเทศมาเลเซีย


 – บริษัท พิบูลชัยน้ำพริกเผาไทยแม่ประนอม จำกัด ผู้ผลิต น้ำพริกแม่ประนอม ส่งออกไปจำหน่ายในตลาดอาเซียนถูกละเมิดเครื่องหมายการค้าและตัวสินค้า


ยุโรป


– ผู้ส่งออกเครื่องเขียนเจ้าหนึ่งของไทย ถูกกรมศุลกากรที่ยุโรปส่งกลับประเทศ เพราะมีการนำเข้าสินค้าที่ มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในยุโรปไว้แล้ว


เห็นได้ว่า เครื่องหมายการค้า / แบรนด์ ถือเป็น “โอกาส” ซึ่งผู้ประกอบการที่วางแผนที่จะเปิดตลาด หรือส่งออก ไปจำหน่ายยังต่างประเทศต้องวางแผน


การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศ ต้องใช้ความเชี่ยวชาญในหลายด้าน


  1. ผู้ที่มีทักษะทางกฎหมาย และความรู้ความสามารถในการติดต่อสื่อสาร และเจรจาเพื่อประสานงานระหว่างประเทศ
  2. ทนายความ/ตัวแทนผู้ดำเนินการในต่างประเทศที่เชื่อถือได้ และดำเนินการตรวจตราเฝ้าระวังเครื่องหมานการค้าของลูกค้าอย่างดี
  3. ผู้ที่เข้าใจระบบ Transaction ระหว่างประเทศ


ทาง IDG มีวัตถุประสงค์ที่จะเป็น One Stop Service เพื่อช่วยลูกค้าให้ได้รับความสะดวกมากที่สุด ทั้งในด้านการให้ข้อมูล  ให้คำแนะนำ และดำเนินการต่างๆ โดยประสงค์ให้ลูกค้ามีภาระในการดำเนินการเองน้อยที่สุด เพื่อประหยัดเวลา ลูกค้าจะได้รับบริการที่คุ้มค่าจากทางเรา


  1. http://www.mondaq.com/x/123626/Trademark/RED+BULL+Still+Fighting
  2. http://www.businessweek.com/articles/2013-02-21/sriracha-hot-sauce-catches-fire-with-only-one-rooster
  3. กรมส่งเสริมการส่งออก; พฤติกรรมผู้บริโภคอินเดีย โดย ไพศาล มะระพฤกษ์วรรณ ผอ. สำนักงานพาณิชย์ฯ ณ เมืองเจนไน
  4. The Nation; Foreign manufacturers ripping off Thai brands By Petchanet Pratruangkrai
  5. กรมทรัพย์สินทางปัญญา

Facebook
Twitter
LinkedIn

บทความล่าสุด

tm cover int

 เคยสงสัยไหมครับ?

ทำไม กาแฟที่ชงเหมือนกัน รสชาติแทบจะไม่แตกต่างกัน ทำไมราคาแตกต่างกันนัก


  • กาแฟอาโกรถเข็น แก้วละ 35 บาท
  • กาแฟอเมซอน แก้วละ 65 บาท
  • กาแฟสตาร์บั๊กส์ แก้วละ 120 บาท


หรือ ชุดกีฬา ทรงเดียวกัน สีเดียวกัน ลวดลายก็ไม่แตกต่างกันมาก เนื้อผ้าต่างกันเล็กน้อย ราคาแตกต่างกันมากมาย


  • เสื้อกีฬาสีขาว จากโรงงาน ตัวละ 65 บาท
  • เสื้อกีฬาสีขาวยี่ห้อ แกรนด์ สปอร์ต ตัวละ 250 บาท
  • เสื้อกีฬาสีขาว ยี่ห้อ ไนกี้ ตัวละ 1500 บาท
  • เสื้อกีฬาสีขาว ทีมฟุตบอล รีอัล มาดริด ตัวละ 2,500 บาท


ในทางการตลาดเราเรียกมูลค่าที่เพิ่มขึ้นนี้ว่า “มูลค่าเพิ่ม (value added) ของตราสินค้า” ลูกค้าจะมีความรู้สึกผูกพัน และจงรักภักดีต่อตราสินค้าหรือยี่ห้อที่ตนรู้จัก หรือที่เรียกว่า Brand Loyalty คำว่า แบรนด์ หรือตราสินค้าเป็นอะไรที่เป็นนามธรรมมากแต่มูลค่ากลับมีมหาศาล


อะไรคือแบรนด์?


Brand เป็นคำภาษาอังกฤษ ซึ่งในภาษาไทยจะรู้จักผ่านคำว่า “ยี่ห้อ” ในทางการตลาด เราเรียก Brand ว่า “ตราสินค้า”


ในทางการตลาด ฟิลิป  คอตเลอร์  (1991) กล่าวว่า ถ้าเป็นแบรนด์จะต้องสามารถจำแนกได้ 4 อย่างกล่าว คือ


  • Attribute   รูปร่างหน้าตาภายนอกที่จะทำให้เกิดการจดจำ
  • Benefit   บอกคุณประโยชน์  เช่น  ฟันขาว  ผมนุ่ม
  • Value   ทำให้รู้สึกว่า  ใช้แบรนด์นี้แล้วภาคภูมิใจ  ไว้ใจเพราะมีมานาน
  • Personality   มีบุคลิกภาพ  ใช้แล้วเป็นวัยรุ่น  ใช้แล้วเป็นคนทันสมัย


ถาม: แล้วตราสินค้า (Brand) กับ เครื่องหมายการค้า (Trademark) เหมือนกันมั้ย?


ตอบ:  เครื่องหมายการค้าทุกเครื่องหมายจะมีความเป็นแบรนด์ แต่แบรนด์บางแบรนด์ อาจไม่มีลักษณะความเป็นเครื่องหมายการค้า …หรืออาจกล่าวได้ว่า


เครื่องหมายการค้าเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์ (ดังภาพ)

brands

Trademark หรือ เครื่องหมายการค้าคือ Brand ที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ซึ่งกฎหมายจะคุ้มครอง ป้องกันไม่ให้มีการลอกเลียนแบบ หรือนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือให้สิทธิผู้ขาดแต่เพียงผู้เดียวในการใช้และควบคุม Brand นั้น


ถาม : มี Brand ที่กฎหมายไม่ให้ความคุ้มครองด้วยหรือ


ตอบ: มี โดยทั่วไป หากต้องการคุ้มครองให้ Brand มีสถานะเป็น “เครื่องหมายการค้าที่กฎหมายคุ้มครอง”  จะต้องไปจดทะเบียน เพื่อแสดงความประสงค์ขอให้ Brand นั้นได้รับความคุ้มครอง ห้ามผู้อื่นนำไปใช้ กรณีที่ไม่เคยจดทะเบียนที่ใดมาก่อนเลย ก็จะไม่เข้าลักษณะเป็น “เครื่องหมายการค้า” คนอื่นก็อาจจะนำ Brand นั้นไปใช้ได้ (ทั้งนี้ Brand ที่จะนำมาจดทะเบียน จะต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดด้วย)


การถูกละเมิดแบรนด์ของผู้ประกอบการไทยในต่างประเทศ  


ปัญหาที่ผู้ประกอบการไทยประสบในเรื่องถูกละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศผู้นำเข้านั้นแบ่งเป็นสามกรณี คือ


1) มีการปลอมสินค้าและเครื่องหมายการค้าเพื่อขายในประเทศผู้นำเข้า


2) มีการปลอมสินค้าและเครื่องหมายการค้าของไทยเพื่อขายไปประเทศที่สาม


3) การแย่งจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เนื่องจากสินค้าไทยมีคุณภาพที่ดีเมื่อส่งไปขายในประเทศผู้นำเข้าเหล่านี้ก็ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคในประเทศเหล่านั้น ทำ ให้ผู้ประกอบการในประเทศดังกล่าวบางรายทำการลอกเลียนแบบสินค้าและบริการในทันที


การละเมิดเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศมี 2 ประเภทคือ


  1. เจ้าของสินค้าและบริการเข้าไปจด ทะเบียนเพื่อได้รับการคุ้มครองแล้วแต่ยังถูกละเมิด
  2. เจ้าของสินค้าและบริการ ในไทยไม่ได้ไปจดคุ้มครอง แต่ประเทศคู่ค้านำไปจด ซึ่งเมื่อเราส่งออกไปก็จะมีปัญหากลาย เป็นเราไปละเมิด และอาจถูกจับ


เนื่องด้วยเวลานี้สินค้า และบริการของไทยมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักหมู่ประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งชื่อเสียงที่ดีนี้สามารถที่จะใช้ชื่อไปหาผลประโยชน์ได้ ขณะที่ผู้ประกอบการไทยมีจุดอ่อนที่ไม่ได้เข้าไปจดทะเบียนคุ้มครองในต่างประเทศ  และดำเนินการหาตัวแทนเฝ้าระวัง


ขอยกกรณี การขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องเครื่องหมายการค้าจนสูญเสียแบรนด์ของตนไป


กรณีศึกษา 1 ซอสพริกศรีราชา 

red hot chilli sauce fresh chili wood background Large 

ซอสศรีราชา มีต้นกำเนิดจากที่ใดไม่ทราบแน่ชัด แต่ที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ บริษัท ศรีราชาพาณิชย์ ที่ได้ผลิตซอสปรุงรสอาหาร ด้วยคุณภาพที่ดี รสชาติที่ดี ทำให้ชื่อ ซอสศรีราชาจะติดปากผู้บริโภคโดยได้รับความนิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่ว่าในทางกฎหมาย ซึ่ง “ห้ามไม่ให้ใช้ชื่อทางภูมิศาสตร์ มาจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า” ทำให้ ชื่อศรีราชาที่ทำตลาดมานาน ไม่สามารถผูกขาดคำว่า “ศรีราชา” แต่เพียงผู้เดียวได้  คือใครก็สามารถใช้ชื่อศรีราชาประกอบชื่อหลักของตนได้ ท้ายที่สุด ศรีราชา จึงกลายเป็น”สูตร” อาหารสูตรหนึ่งเท่านั้น และมีการนำคำว่า “ซอสพริกศรีราชา” ไปใช้อย่างแพร่หลาย


ที่ต่างประเทศ ซอสพริกศรีราชาก็ได้รับความนิยมอย่างสูง มีการตั้งโรงงานซอสพริกศรีราชา ที่เจ้าของเป็นชาวเวียดนามชื่อว่า  David Tran จำหน่ายไปได้มากกว่า 20 ล้านขวดในปี 2555 และมีการพัฒนารสชาติซอสพริกศรีราชา (Sri Racha Hot Chilli Sauce) ไปใช้ปรุงรสกับขนมและอาหารอีกมากมาย


 Sriracha

 

เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นได้ว่า เรื่องการวางกลยุทธ์ เรื่อง Brand และ เครื่องหมายการค้า จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้สินค้าเป็นที่่รู้จักและยอมรับ ซึ่งหากความเข้าใจไม่มากพอ ผู้ประกอบการก็อาจถูกละเมิดแบรนด์ โดยไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายได้


กรณีศึกษาที่ 2  เคสต่างๆ ที่ผู้ประกอบการชาวไทยถูกละเมิดเครื่องหมายการค้าทั่วโลก


เคสตัวอย่าง


จีน


บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) เจ้าของ บะหมี่สำเร็จรูปมาม่า ถูกละเมิดเครื่องหมายการค้าในจีนโดยมีชาวจีนนำไปจดเครื่องหมายการค้า ใช้ชื่อมาม่าเป็นภาษาอังกฤษ(MAMA) ซึ่งฝ่ายไทยได้ไปฟ้องร้องให้เพิกถอนแต่ยังไม่สำเร็จ ดังนั้นจึงต้องส่งสินค้าภายใต้แบรนด์ไทยเข้าไปจำหน่าย ล่าสุดทาง อยู่ระหว่างรวบรวมหลักฐานให้กรมทรัพย์สินทางปัญญานำไปเจรจากับ ทางการของจีนอีกครั้ง


บริษัท เอราวัณฟู้ด จำกัด ได้ถูกบริษัทจีนได้ทำการผลิตเงาะกระป๋อง โดยลอกเลียนแบบฉลาก พร้อมกับมีการระบุว่าเป็นผลิตภัณฑ์ของไทย โดยพิมพ์ข้อความ“Thailand’s rambutan in syrup” และ “product of Thailand” ทำ ให้ผู้บริโภคใน ประเทศจีนเข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย ซึ่งเห็นว่าเป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้า ทำให้สินค้าของบริษัท เอราวัณฟู้ด ได้รับความเสียหายทางธุรกิจในปี 2547 และ ปี 2548 ไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ


สินค้าน้ำมันพืชยี่ห้อเกสร ถูกละเมิดเครื่องหมายการค้าในจีนโดยมีชาวจีนนำไปจดเครื่องหมายการค้า ซึ่งเจ้าของสินค้าไทย ถูกเรียกไปเจรจาเพื่อให้จ่ายเงินจำนวนมากเพื่อแลกกับการเพิกถอนสิทธิ์ในการจดทะเบียน สุดท้ายฝ่ายผู้ประกอบการ ไทยไม่ยอม และอยู่ระหว่างการฟ้องร้องให้เพิกถอนการจดทะเบียน


บริษัท ที.ซี.ฟาร์มาซูติคอลอุตสาหกรรม จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มกระทิงแดง และเป็น  Franchisor/Licensor เครื่องหมายการค้า  Red Bull ถูกผู้ประกอบการรายอื่นในจีน จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า Red bull


Untitled55

 

อินโดนิเซีย


สินค้าหมวกกันน็อกยี่ห้ออินเด็กซ์ ถูกละเมิดเครื่องหมายการค้า และตราไทยแลนด์แบรนด์ ทำให้ต้องทิ้งตลาด


เวียดนาม


– ห้างหุ้นส่วนจำกัดจักรวาลบอลลูน ผู้ผลิตลูกโป่งสวรรค์ ถูกละเมิดสิทธิ์ในเวียดนาม มีการลอกเลียนแบบทั้งชื่อยี่ห้อ ฉลากสินค้าและยังปั๊มภาษาไทยว่าให้ระวังของปลอมด้วย


– กางเกงชั้นในชายเจเพรสส์ ซึ่งถูกผู้นำเข้าในเวียดนามที่เคยเป็นคู่ค้ากันนำไปจดทะเบียนและผลิตจำหน่ายเอง ทำให้ต้องทิ้งตลาดในที่สุด


-เครื่องดื่มชูกำลังยี่ห้อกระทิงแดง ถูกละเมิดเครื่องหมายการค้าในเวียดนาม ทำให้ต้องตั้งตัว แทนติดตามจับกุมอยู่เป็นระยะ


– กุญแจโซเล็กซ์ ถูกจีนปลอมแปลงสินค้าขายในประเทศ และส่งขาย เวียดนาม สินค้าชุดชั้นในยี่ห้อเจ.เพรส


– มีการละเมิดเครื่องหมายการค้าของผู้ประกอบการไทยในสินค้า ได้แก่กระเบื้องเซรามิก COTTO & ELEPHANT DEVICE ก๊อกน้ำ SANWA แผ่นใยขัดพิเศษเมอร์รี่ไบรท์ กุญแจโซเล็กซ์  แบรนด์ ZALE เครื่องดื่มชูกำลังยี่ห้อกระทิงแดง


ประเทศมาเลเซีย


 – บริษัท พิบูลชัยน้ำพริกเผาไทยแม่ประนอม จำกัด ผู้ผลิต น้ำพริกแม่ประนอม ส่งออกไปจำหน่ายในตลาดอาเซียนถูกละเมิดเครื่องหมายการค้าและตัวสินค้า


ยุโรป


– ผู้ส่งออกเครื่องเขียนเจ้าหนึ่งของไทย ถูกกรมศุลกากรที่ยุโรปส่งกลับประเทศ เพราะมีการนำเข้าสินค้าที่ มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในยุโรปไว้แล้ว


เห็นได้ว่า เครื่องหมายการค้า / แบรนด์ ถือเป็น “โอกาส” ซึ่งผู้ประกอบการที่วางแผนที่จะเปิดตลาด หรือส่งออก ไปจำหน่ายยังต่างประเทศต้องวางแผน


การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศ ต้องใช้ความเชี่ยวชาญในหลายด้าน


  1. ผู้ที่มีทักษะทางกฎหมาย และความรู้ความสามารถในการติดต่อสื่อสาร และเจรจาเพื่อประสานงานระหว่างประเทศ
  2. ทนายความ/ตัวแทนผู้ดำเนินการในต่างประเทศที่เชื่อถือได้ และดำเนินการตรวจตราเฝ้าระวังเครื่องหมานการค้าของลูกค้าอย่างดี
  3. ผู้ที่เข้าใจระบบ Transaction ระหว่างประเทศ


ทาง IDG มีวัตถุประสงค์ที่จะเป็น One Stop Service เพื่อช่วยลูกค้าให้ได้รับความสะดวกมากที่สุด ทั้งในด้านการให้ข้อมูล  ให้คำแนะนำ และดำเนินการต่างๆ โดยประสงค์ให้ลูกค้ามีภาระในการดำเนินการเองน้อยที่สุด เพื่อประหยัดเวลา ลูกค้าจะได้รับบริการที่คุ้มค่าจากทางเรา


  1. http://www.mondaq.com/x/123626/Trademark/RED+BULL+Still+Fighting
  2. http://www.businessweek.com/articles/2013-02-21/sriracha-hot-sauce-catches-fire-with-only-one-rooster
  3. กรมส่งเสริมการส่งออก; พฤติกรรมผู้บริโภคอินเดีย โดย ไพศาล มะระพฤกษ์วรรณ ผอ. สำนักงานพาณิชย์ฯ ณ เมืองเจนไน
  4. The Nation; Foreign manufacturers ripping off Thai brands By Petchanet Pratruangkrai
  5. กรมทรัพย์สินทางปัญญา

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณอย่างเต็มที่

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ