OUR BLOG

Licensing 101: สร้าง Passive Income ของคุณด้วย IP Licensing

Licensing 101 สร้าง Passive Income ของคุณด้วย IP Licensing

          นอกเหนือจากการที่สิทธิบัตรนั้น จะช่วยป้องกันไม่ให้การประดิษฐ์หรือนวัตกรรมของเราสามารถถูกละเมิดได้โดยง่ายแล้วยังสามารถใช้ในการสร้างมูลค่าหรือว่าก่อให้เกิดรายได้เจ้าของสิทธิบัตรได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้น ๆ จำหน่ายโดยตรง หรือถ้าหากเจ้าของสิทธิบัตรไม่ต้องการที่จะผลิตสินค้าจำหน่ายด้วยตนเอง อีกหนึ่งวิธีที่เป็นที่นิยมในการก่อให้เกิดรายได้ คือ การอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Licensing) นั่นเอง

         ด้วยความที่สิทธิบัตร รวมไปถึงทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่น ๆ ได้ถูกรับรองว่าเป็นทรัพย์สิน (Property) ประเภทหนึ่งอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หมายความว่า ทรัพย์สินย่อมสามารถถูกซื้อ ขาย ให้เช่า ได้โดยชอบ ตามความต้องการของเจ้าของทรัพย์สินเลย ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นการเปิดช่องให้สามารถต่อยอดในการสร้างมูลค่าจากทรัพย์สินทางปัญญาได้อย่างถูกกฎหมาย แทนที่จะได้รับประโยชน์แค่จากทรัพย์สินทางปัญญาเพียงในมิติของการป้องกันการละเมิดเท่านั้น

          ลองนึกภาพตามว่าถ้าสมมุติเราเป็นเจ้าของที่ดินอยู่หนึ่งผืน โดยมีชื่อเป็นเจ้าของในโฉนดที่ดินอย่างถูกต้อง ในกรณีที่เราอยากลงทุนสร้างธุรกิจขึ้นมาโดยใช้ประโยชน์จากที่ดินผืนนั้น ไม่ว่าจะเป็น ร้านอาหาร คาเฟ่ หรือโรงแรม ต่างก็ต้องอาศัยเงินมาลงทุนจำนวนมาก จึงจะสามารถก่อให้เกิดธุรกิจที่เป็นรูปเป็นร่างได้ แต่ถ้าหากไม่ดำเนินการใด ๆ กับที่ดิน ก็จะต้องลำบากในการหาเงินไปจ่ายภาษีที่ดินรายปีอีก แทนที่จะปล่อยให้ที่ดินอยู่เฉย ๆ เจ้าของที่ดินจำนวนมากจึงที่จะปล่อยเช่าที่ดิน ในมุมมองของการเป็นเจ้าของสิทธิบัตรก็เช่นเดียวกัน หลายกรณีที่เจ้าของสิทธิบัตรนั้นมีเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมอยู่ในมือแล้ว แต่อาจจะยังไม่พร้อมดำเนินการด้วยตนเอง หากให้มองภาพโดยง่าย ๆ การอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Licensing) จึงเปรียบเสมือนการปล่อยเช่าที่ดินนั่นเอง ซึ่งเป็นการปล่อยให้นักลงทุนรายอื่น ๆ นำการประดิษฐ์หรือนวัตกรรมของเราไปสร้างมูลค่าแทน

         ทั้งนี้ การอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Licensing) ไม่ใช่การขายหรือโอนสิทธิ เพียงแต่เป็นการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์จากการผลงานนั้นเท่าที่อยู่ภายใต้สัญญาที่จัดทำระหว่าง “ผู้ให้สิทธิ (Licensor)” และ “ผู้ซื้อสิทธิ (Licensee)” เท่านั้น โดยความเป็นเจ้าของในผลงานดังกล่าวจะไม่มีการถ่ายโอนหรือว่าเปลี่ยนแปลง ซึ่งรูปแบบการอนุญาตให้ใช้สิทธิอาจมีได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของทั้งสองฝ่าย

คู่สัญญาในการทำการอนุญาตให้ใช้สิทธิ

Licensor

ผู้ให้สิทธิ 

เป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา ได้รับผลตอบแทนจากผู้ซื้อสิทธิแลกเปลี่ยนกับ
การอนุญาตหรือถ่ายทอดเทคโนโลยี ให้ผู้อื่นนำผลงานของตนเองไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ 

Licensee

ผู้ซื้อสิทธิ 

เป็นผู้ซื้อสิทธิในการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา โดยต้องให้ผลตอบแทนแก่เจ้าของสิทธิ โดยแลกเปลี่ยนกับสิทธิในการใช้ประโยชน์ หรือได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากเจ้าของผลงาน 

ตัวอย่าง : Licensor Vs Licensee

            ป้าแต๋มได้ทำการพัฒนาสูตรน้ำปลาร้าที่ลดปริมาณโซเดียมลง 75% แต่ให้รสชาติอร่อย กลมกล่อมเทียบเท่ากับน้ำปลาร้าที่ขายกันโดยทั่วไป และได้ยื่นขอรับความคุ้มครองอนุสิทธิบัตร จากนั้นคุณกฤษณ์ ซึ่งเป็นเจ้าของร้านขายยำชื่อดังที่มีหลายสาขาในกรุงเทพมหานคร มีความสนใจที่จะขอซื้อสิทธิในการนำสูตรน้ำปลาร้าดังกล่าวมาใช้สำหรับทำเมนูทางเลือกของคนรักสุขภาพเพื่อส่งเสริมการขาย หากสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิดังกล่าวถูกกระทำโดยสำเร็จ ป๋าแต๋ม ซึ่งเป็นผู้คิดค้นสูตร จะมีสถานะเป็น ผู้ให้สิทธิ (Licensor) ในขณะที่ คุณกฤษณ์ ซึ่งต้องการซื้อสิทธิในการใช้สูตรดังกล่าวจะมีสถานะเป็น ผู้ซื้อสิทธิ (Licensee) นั่นเอง

ประเภทของการอนุญาตให้ใช้สิทธิ

การอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียว (Exclusive Licensing)
 การอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียว (Exclusive Licensing)

ภายใต้การอนุญาตให้ใช้สิทธิในประเภทดังกล่าว จะต้องมีการกำหนดเงื่อนไขไว้อย่างชัดเจนภายในสัญญาว่าผู้ซื้อสิทธิ (Licensee) จะเป็นผู้เดียวที่จะสามารถใช้ประโยชน์ในสิทธิดังกล่าวได้ โดยที่เจ้าของผลงานก็จะถูกจำกัดไม่ให้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าวได้อีกต่อไป รวมถึงเป็นการจำกัดไม่ให้เจ้าของผลงานสามารถไปอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิได้อีกด้วย

ตัวอย่าง : 
           บริษัทเอ ซึ่งเป็นบริษัทผลิตยาสัญชาติอเมริกา ได้มีทำการพัฒนายาแก้ปวดชนิดใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการระงับอาการปวดได้ดีขึ้นกว่าเดิม 30% และไม่มีผลข้างเคียงกับอวัยวะภายในอื่น ๆ โดยได้ทำการยื่นขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย ต่อมา บริษัทบี ซึ่งเป็นบริษัทยาสัญชาติไทย ต้องการที่จะผลิตตัวยาดังกล่าวและจำหน่ายเฉพาะในประเทศไทย จึงได้ทำการเจรจา “ขออนุญาตให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียว (Exclusive Licensing ) ” ในตัวยาดังกล่าวกับบริษัทเอ หากการเจรจาสำเร็จ บริษัทบีจะกลายเป็นบริษัทเดียวในประเทศไทยที่สามารถผลิตและจัดจำหน่ายยาแก้ปวดตามสูตรของบริษัทเอได้ โดยที่บริษัทเอนั้น ไม่สามารถอนุญาตให้บริษัทอื่น ๆ ทำการผลิตและจำหน่ายยาในสูตรเดียวกันประเทศ รวมถึงบริษัทเอ ก็ไม่สามารถผลิตและจัดจำหน่ายตัวยาดังกล่าวในประเทศไทยได้อีกเช่นกัน เนื่องจากได้ทำการอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวแก่บริษัทบี เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

          จากตัวอย่างในด้านบน จะเห็นได้ว่า ลักษณะของการอนุญาตให้ใช้สิทธิในลักษณะนี้ เป็นการกีดกันไม่ให้คู่แข่งอื่น ๆ สามารถมาแข่งขันในตัวผลิตภัณฑ์เดียวกับเราได้อย่างรัดกุมที่สุด ส่งผลให้คู่แข่งต้องเสียเวลาไปพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อมาแข่งขันกับบริษัทของเรา ด้วยเหตุนี้ โดยส่วนมากสัญญาการอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวจึงมักมีมูลค่าสูงที่สุดนั่นเอง

การอนุญาตให้ใช้สิทธิโดยไม่จำกัดจำนวนผู้รับอนุญาต (Non-Exclusive Licensing)
การอนุญาตให้ใช้สิทธิโดยไม่จำกัดจำนวนผู้รับอนุญาต (Non-Exclusive Licensing) 

            การอนุญาตให้ใช้สิทธิในประเภทนี้ เรียกได้ว่าเป็นการอนุญาตให้ใช้สิทธิในลักษณะตรงกันข้ามกับประเภทก่อนหน้า กล่าวคือ การอนุญาตให้ใช้สิทธิในประเภทนี้จะไม่ได้มีการจำกัดจำนวนของผู้ซื้อสิทธิ (Licensee) ซึ่งทางเจ้าของผลงานสามารถอนุญาตให้ผู้ซื้อสิทธิในจำนวนเท่าใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของเจ้าของผลงาน 

ตัวอย่าง  :
            นางสาวแดง ได้มีการออกแบบลวดลายผ้าใหม่ ซึ่งมีแรงบันดาลใจมาจากเนื้อหาในวรรณคดี และได้ยื่นขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ปรากฏว่าลายผ้าดังกล่าวได้รับผลตอบรับที่ดีในโลกออนไลน์ ต่อมา ได้มีบริษัทจำนวนมากติดต่อเข้ามาเพื่อเจรจาขออนุญาตให้ใช้สิทธิ ประกอบไปด้วยบริษัทอาหารจากประเทศเกาหลีใต้ที่ต้องการนำลายดังกล่าวไปปรากฏบนบรรจุภัณฑ์ บริษัทเสื้อผ้าจากประเทศญี่ปุ่นที่ต้องการนำลายดังกล่าวไปสกรีนบนเสื้อยืด และบริษัทเครื่องหนังจากประเทศฝรั่งเศส ที่ต้องการนำลายดังกล่าวไปปรากฏบนกระเป๋า

           เนื่องจากทั้งสามบริษัทที่ยื่นข้อเสนอมานั้นต่างเป็นบริษัทชื่อดัง ที่นางสาวแดงต้องการที่จะร่วมงานด้วยอยู่แล้ว จึงไม่สามารถเลือกอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวแก่บริษัทใด บริษัทหนึ่งได้ ด้วยเหตุนี้ นางสาวแดงจึงเลือกที่จะอนุญาตให้ทั้งสามบริษัท สามารถใช้สิทธิในลวดลายผ้าได้ทั้งหมด ซึ่งการอนุญาตให้ใช้สิทธิในลักษณะนี้ เรียกว่า การอนุญาตให้ใช้สิทธิโดยไม่จำกัดจำนวนผู้รับอนุญาต หรือว่า Non-Exclusive Licensing นั่นเอง โดยหากการเจรจาของนางสาวแดงสำเร็จ นางสาวแดงก็ยังคงอนุญาตให้บริษัทอื่น ๆ สามารถนำลวดลายผ้าไปใช้ในภายหลังได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากสามบริษัทก่อนหน้า 

           ตามหลักอุปสงค์และอุปทาน เมื่อไม่ได้มีการจำกัดจำนวนผู้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิในงานนั้น ๆ มูลค่าในการอนุญาตให้ใช้สิทธิในประเภทนี้จึงมักไม่สูงเท่าประเภทอื่น ๆ เนื่องจากสิทธิที่ได้รับมานั้น ไม่ได้สร้างความ
ได้เปรียบทางธุรกิจแก่ผู้ซื้อสิทธิเทียบเท่ากับการอนุญาตให้ใช้สิทธิประเภทอื่น ๆ 

การอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียว แต่ไม่จำกัดเจ้าของสิทธิ (Sole Licensing)
การอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวแต่ไม่จำกัดเจ้าของสิทธิ (Sole Licensing)

          ในหลายกรณี เจ้าของผลงานอาจมีความต้องการที่จะอนุญาตให้ผู้อื่นสามารถใช้สิทธิได้ แต่ในขณะเดียวกันก็อยากคงไว้ซึ่งสิทธิที่ตนเองจะสามารถใช้ประโยชน์จากผลงานดังกล่าวได้ ด้วยเหตุนี้ จึงมีการพัฒนามาเป็นการอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวแต่ไม่จำกัดเจ้าของสิทธิ (Sole Licensing) กล่าวคือ หลังจากทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในลักษณะนี้ จะมีผู้ที่สามารถใช้สิทธิได้แค่เพียง 2 บุคคลเท่านั้น ซึ่งได้แก่ ผู้ให้สิทธิ (Licensee) และผู้ซื้อสิทธิ (Licensor) ของเคสดังกล่าวเพียงเท่านั้น

ตัวอย่าง :
          ดร.สมชาย เป็นนักวิจัยภายใต้สังกัดมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ได้ประสบความสำเร็จในการการพัฒนาเนื้อผ้ารูปแบบใหม่ซึ่งทำจากวัสดุเหลือทิ้งจากภาคการเกษตร ซึ่งมีความทนทานและระบายความร้อนได้ดี และได้ทำการยื่นอนุสิทธิบัตรไว้ในนามบุคคลธรรมดา ต่อมา บริษัทซี ซึ่งเป็นผู้ผลิตเสื้อผ้าชื่อดังได้มีความสนใจที่จะนำเนื้อผ้าดังกล่าวมาใช้กับผลิตภัณฑ์ของตน จึงได้ทำการติดต่อดร.สมชาย เพื่อเจรจาขออนุญาตใช้สิทธิ
แต่เนื่องจาก ดร.สมชาย มีความสนใจที่จะทำแบรนด์เสื้อผ้าเป็นของตนเอง โดยใช้เนื้อผ้าดังกล่าวเช่นกัน
แต่ยังไม่มีเงินลงทุน เลยวางแผนในการนำรายได้จากการอนุญาตให้ใช้สิทธิแก่บริษัทซี มาเป็นเงินลงทุน
ทั้งสองฝ่ายเลยตัดสินในทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในลักษณะของการอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียว
แต่ไม่จำกัดเจ้าของสิทธิ (Sole Licensing) ส่งผลให้บริษัทซี ต้องจ่ายค่าตอบแทนแก่ ดร.สมชาย เพื่อใช้สิทธิในเนื้อผ้าดังกล่าว ในขณะที่ ดร.สมชาย ก็ยังคงมีสิทธิในการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ในเนื้อผ้าดังกล่าวเช่นกัน

ฺBanner Form (6)

           ในการทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่ละครั้งนั้น มีประเด็นที่ทั้งผู้ให้สิทธิ และผู้ซื้อสิทธิ ต้องทำการตรวจสอบให้ถี่ถ้วน เพื่อไม่ให้ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบในสัญญาดังต่อไปนี้

  1. ขอบเขตของเทคโนโลยี (Scope of Technology)
    เป็นการกำหนดขอบเขตการที่นำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมนั้นไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ไม่ให้มาก หรือน้อยเกินกว่าขอบเขตที่ทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกัน เช่น บริษัทเอ ทำสัญญาตกลงจะขอใช้สิทธิรส
    ชาติไอศครีมของบริษัทบี จำนวน 2 รสชาติ ประกอบไปด้วย รสวานิลลา และรสนม บริษัทเอจะสามารถใช้สิทธิได้ในเฉพาะรสดังกล่าวเท่านั้น ไม่สามารถใช้สิทธิในรสมะนาว หรือรสอื่น ๆ ที่นอกเหนือข้อตกลงได้
  2. ระยะเวลาของการใช้สิทธิในเทคโนโลยี (Period of Licensing)
    เป็นการกำหนดระยะเวลาที่สามารถใช้สิทธิในงานดังกล่าวได้ เนื่องจากทรัพย์สินทางปัญญานั้นมีการ
    ให้สิทธิความเป็นเจ้าของเป็นระยะเวลาที่จำกัด รวมถึงเทรนด์ ความต้องการ และมูลค่าของสิ่งนั้นอาจ
    มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา จึงต้องมีการกำหนดระยะเวลาในการอนุญาตให้ใช้สิทธิที่ชัดเจน
  3. บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้อนุญาต และผู้รับอนุญาต (Roles and Responsibilities
    of Licensee and Licensor)
    เป็นการกำหนดบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของทั้งสองฝ่าย ในการอนุญาตให้ใช้สิทธิ ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่ในการจ่ายค่าตอบแทนตามข้อตกลง หน้าที่ในการรักษาความลับของงาน และหน้าที่ในการจัดหาทนายกรณีมีถูกละเมิด เป็นต้น
  4. เงื่อนไขการอนุญาตให้ใช้สิทธิในเทคโนโลยี (Licensing Condition)
    เป็นการกำหนดเงื่อนไขที่ทั้งสองต้องปฏิบัติตามในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังกระบวนการอนุญาตให้
    ใช้สิทธิเช่น อาจเป็นการกำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำ กำหนดมาตรฐานด้านอุตสาหกรรม ทรัพยากรบุคคล หรือกิจกรรมที่ทั้งสองฝ่ายต้องงดกระทำ เพื่อให้บรรลุผลตามข้อสัญญา
  5. ค่าตอบแทนการใช้สิทธิเทคโนโลยี (Licensing Revenues and Royalties)
    เป็นการกำหนดค่าตอบแทนในการอนุญาตให้ใช้สิทธิ ซึ่งสามารถอยู่ในรูปแบบเงินก้อน เงินชำระรายปี
    ส่วนแบ่งยอดขาย หุ้น ที่ดิน ส่วนลด สิทธิพิเศษ หรืออื่น ๆ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของทั้งสองฝ่าย
ตัวอย่างการอนุญาตให้ใช้สิทธิในงานเทคโนโลยีและนวัตกรรม

           สำหรับตัวอย่างของการอนุญาตให้ใช้สิทธิทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยส่วนมากบริษัทใหญ่ ๆ มักจะเก็บรักษาข้อมูลดังกล่าวไว้เป็นความลับ เนื่องจากอาจส่งผลกระทบกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ แต่ที่เราอาจจะพอเห็นภาพได้อย่างชัดเจนก็คือ “อุตสาหกรรมโทรศัพท์มือถือ” เนื่องจากในโทรศัพท์มือถือแต่ละเครื่อง อาจประกอบไปด้วยสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องจำนวนหลายพันฉบับ การที่ทางแบรนด์โทรศัพท์มือถือแต่ละค่ายต้องมาพัฒนาเองทุกฉบับอาจต้องใช้ระยะเวลามหาศาล และไม่คุ้มต่อการลงทุน ค่ายโทรศัพท์มือถือจำนวนมากจึงเลือกที่จะขออนุญาตใช้สิทธิ (License) จากบริษัทอื่น ๆ ในเทคโนโลยีบางส่วน เช่น กล้อง ชิปประมวลผล และหน้าจอ เป็นต้น เพื่อให้สามารถทำราคาที่เหมาะสมได้มากที่สุด

           อีกอุตสาหกรรมหนึ่งที่เป็นตัวอย่างชัดเจนสำหรับการอนุญาตให้ใช้สิทธิในเทคโนโลยี ได้แก่ “อุตสาหกรรมยานยนต์” หากเราติดตามข่าวในวงการดังกล่าว จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าในรถยนต์บางรุ่น เป็นการพัฒนาแพลตฟอร์มร่วมกันและแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีกันระหว่างหลายแบรนด์ จากนั้นนำตัวแพลตฟอร์มดังกล่าวไปต่อยอดเป็นรถยนต์แต่ละรุ่นของยี่ห้อนั้น ๆ แม้กระทั่งรถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบัน ถึงแม้จะมีหลากหลายยี่ห้อปรากฏอยู่ในท้องตลาด แต่ไม่ใช่ทุกยี่ห้อที่ทำการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่เป็นของตนเอง แต่ทำการขออนุญาตใช้สิทธิจากแบรนด์ที่มีเทคโนโลยีแบตเตอรี่ที่เสถียรมากกว่า ปัญหาน้อยกว่า เป็นต้น

ตัวอย่างการอนุญาตให้ใช้สิทธิ ในงานลิขสิทธิ์

           นอกเหนือจากงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สามารถก่อให้เกิดมูลค่าผ่านการอนุญาตให้ใช้สิทธิได้แล้ว ทรัพย์สินทางปัญญาประเภทงานสร้างสรรค์ เช่น รูปวาด รูปถ่าย และเพลง ที่ขอรับความคุ้มครองในลักษณะของลิขสิทธิ์ ก็สามารถทำการสร้างมูลค่าจากการอนุญาตให้ใช้สิทธิได้เช่นกัน

           หากเราค้นหาว่าบริษัทใด สามารถสร้างมูลค่าจากการอนุญาตให้ใช้สิทธิได้สูงที่สุดในโลก แหล่งข้อมูล
ที่น่าเชื่อถือจำนวนมากจะระบุว่าตำแหน่งดังกล่าว เป็นของสตูดิโอสัญชาติอเมริกาที่ชื่อว่า Disney นั่นเอง เนื่องจากทาง Disney ได้ถือลิขสิทธิ์ในความเป็นเจ้าของในตัวละครจำนวนมากที่ตนเองสร้างสรรค์ขึ้นมา
รวมถึงลิขสิทธิ์ในตัวละครอื่น ๆ ที่เคยอยู่ภายใต้สังกัดบริษัทที่ตนเองไปซื้อมา ปัจจุบัน เราอาจจะต้องเคยเห็นแบรนด์น้อยใหญ่จำนวนมากที่ออกผลิตภัณฑ์รุ่นพิเศษของตนเองออกมา โดยปรากฏรูปลักษณ์ของ

           ตัวละคร Disney ต่าง ๆ บนผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า รองเท้า เครื่องสำอาง รวมไปถึงเครื่องประดับต่าง ๆ ซึ่งทุกครั้งที่มีการออกคอลเลคชั่นพิเศษออกมานี้ เหล่าเจ้าของแบรนด์จะต้องเสียค่าอนุญาตให้ใช้สิทธิให้แก่ Disney ทั้งในรูปแบบเงินก้อนและส่วนแบ่งการขาย นี่จึงเป็นสาเหตุว่า เพราะเหตุใดสินค้าที่ถูกลิขสิทธิ์ หรือของแท้ จึงค่อนข้างมีราคาสูงกว่าสินค้าอื่น ๆ ในท้องตลาด

ฺBanner Form (10)
ใครเป็นผู้กำหนดราคากลางในการซื้อขายทรัพย์สินทางปัญญา?

           เนื่องจากทรัพย์สินทางปัญญามีความแตกต่างจากทรัพย์สินประเภทอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ทองคำ ที่ดิน หรือคอนโด ที่ต่างมีราคากลางหรือราคามาตรฐานกำหนดชัดเจน ว่าสิ่งของเหล่านี้ควรมีการแลกเปลี่ยน ซื้อขาย กันอยู่ที่เท่าไหร่ หากเป็นหุ้นและทองคำ มูลค่าก็อาจจะขึ้นอยู่กับความต้องการและความน่าเชื่อถือ ณ เวลานั้น มูลค่าของที่ดินหรือคอนโดอาจแปรผันตามทำเล สภาพแวดล้อม และสิ่งอำนวยความสะดวกบริเวณนั้น ซึ่งก็สามารถตรวจสอบราคากลางได้ค่อนข้างง่าย รวมถึงมีหน่วยงานรัฐคอยกำกับดูแลไม่ให้มูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นไปจนเกินงาม ในขณะที่ถ้าเราซื้อหรือขออนุญาตใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา เราจะรู้ได้อย่างไรว่าราคาที่เราจ่ายไปนั้นเป็นมูลค่าที่แท้จริง และสมเหตุสมผล เนื่องจากทรัพย์สินนั้น ๆ เราไม่สามารถจับต้องและประเมินมูลค่าเองได้ รวมถึงไม่ได้มีหน่วยงานใดมากำหนดราคามาตรฐาน

           ด้วยเหตุนี้ การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา หรือ IP Valuation จึงเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญที่จะต้องดำเนินการก่อนการซื้อ ขาย หรืออนุญาตให้ใช้สิทธิทุกครั้ง เพื่อที่ทั้งผู้ให้สิทธิ และผู้ซื้อสิทธิ จะได้ทราบราคาที่เหมาะสมก่อนมีการดำเนินการในขั้นตอนถัดไป เนื่องทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละชิ้นต่างมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันและเป็นเอกลักษณ์ที่ชัดเจน จึงเป็นการยากที่จะสามารถกำหนดราคามาตรฐานแบบโดยรวมได้ การประเมินมูลค่าจึงต้องทำการเป็นชิ้นต่อชิ้น และต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการจัดทำ ซึ่งอาจทำการประเมินจากต้นทุน การเปรียบเทียบราคาตลาด และการคาดการณ์รายได้ที่อาจเกิดได้จากการใช้ประโยชน์

สรุป 

           การใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาด้วยการใช้เพื่อป้องกันไม่ให้ผลงานของเราถูกละเมิดได้โดยง่ายนั้น เป็นเพียงมิติเดียวในการใช้ประโยชน์จากระบบทรัพย์สินทางปัญญาเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญานั้นมีแนวทางอีกมากมายที่จะสามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งดังกล่าวได้
โดยการอนุญาตให้ใช้สิทธิก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถก่อให้เกิดมูลค่าแก่เจ้าของผลงานได้เช่นกัน

          นอกจากนี้ เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่มีมูลค่าสูงในการอนุญาตให้ใช้สิทธินั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องมีความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์หรือเป็นการประดิษฐ์ที่มีลักษณะสลับซับซ้อน เพียงแค่เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี มีความคิดสร้างสรรค์ ก็สามารถดึงดูดนักลงทุนและต่อยอดเป็นมูลค่าผ่านการอนุญาตให้ใช้สิทธิได้ 

ทาง IDG เรามีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญในการช่วยผู้ประกอบการในการวางกลยุทธ์และนโยบายสำหรับบริหารจัดการนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ เรามีบริการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรม ( IP Valuation ) ประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา งานวิจัยและนวัตกรรม งานประดิษฐ์ งานวิจัย IDG พร้อมช่วยคุณหามูลค่าที่แท้จริง ไม่ว่าจะประเมินเพื่อยื่นข้อเสนอโครงการเพื่อขอทุนวิจัยและพัฒนาเพื่อการซื้อ-ขายหรืออนุญาตให้ใช้สิทธิหรือถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อ Pitching หรือระดมทุน หรือประเมินเพื่อบันทึกงบแสดงฐานะทางการเงินสำหรับธุรกิจ หรือเพื่อประเมินมูลค่าทางธุรกิจ

พร้อมทั้งบริการที่ปรึกษาด้านการปฏิบัติการงานทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรมสำหรับธุรกิจ เราพร้อมเป็นผู้ดำเนินการแทนหรือช่วยจัดตั้งและเป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานของท่าน สามารถรับคำปรึกษาเบื้องต้นกับทางเจ้าหน้าที่ได้ฟรี

ติดต่อทีม
สิทธิบัตร IDG :

โทร : 02-011-7161 ติดต่อ 301

E-mail : [email protected]

เปิดทำการวันจันทร์ – วันเสาร์ เวลา 09:00 – 18:00 น

หรือท่านสามารถสแกน QR Code เพิ่มเพื่อน หรือเพิ่มเพื่อน
LINE ID : @idgthailand เพื่อติดต่อเราผ่าน
แอพพลิเคชั่น LINE ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

Facebook
Twitter
LinkedIn
Licensing 101 สร้าง Passive Income ของคุณด้วย IP Licensing

          นอกเหนือจากการที่สิทธิบัตรนั้น จะช่วยป้องกันไม่ให้การประดิษฐ์หรือนวัตกรรมของเราสามารถถูกละเมิดได้โดยง่ายแล้วยังสามารถใช้ในการสร้างมูลค่าหรือว่าก่อให้เกิดรายได้เจ้าของสิทธิบัตรได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้น ๆ จำหน่ายโดยตรง หรือถ้าหากเจ้าของสิทธิบัตรไม่ต้องการที่จะผลิตสินค้าจำหน่ายด้วยตนเอง อีกหนึ่งวิธีที่เป็นที่นิยมในการก่อให้เกิดรายได้ คือ การอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Licensing) นั่นเอง

         ด้วยความที่สิทธิบัตร รวมไปถึงทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่น ๆ ได้ถูกรับรองว่าเป็นทรัพย์สิน (Property) ประเภทหนึ่งอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หมายความว่า ทรัพย์สินย่อมสามารถถูกซื้อ ขาย ให้เช่า ได้โดยชอบ ตามความต้องการของเจ้าของทรัพย์สินเลย ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นการเปิดช่องให้สามารถต่อยอดในการสร้างมูลค่าจากทรัพย์สินทางปัญญาได้อย่างถูกกฎหมาย แทนที่จะได้รับประโยชน์แค่จากทรัพย์สินทางปัญญาเพียงในมิติของการป้องกันการละเมิดเท่านั้น

          ลองนึกภาพตามว่าถ้าสมมุติเราเป็นเจ้าของที่ดินอยู่หนึ่งผืน โดยมีชื่อเป็นเจ้าของในโฉนดที่ดินอย่างถูกต้อง ในกรณีที่เราอยากลงทุนสร้างธุรกิจขึ้นมาโดยใช้ประโยชน์จากที่ดินผืนนั้น ไม่ว่าจะเป็น ร้านอาหาร คาเฟ่ หรือโรงแรม ต่างก็ต้องอาศัยเงินมาลงทุนจำนวนมาก จึงจะสามารถก่อให้เกิดธุรกิจที่เป็นรูปเป็นร่างได้ แต่ถ้าหากไม่ดำเนินการใด ๆ กับที่ดิน ก็จะต้องลำบากในการหาเงินไปจ่ายภาษีที่ดินรายปีอีก แทนที่จะปล่อยให้ที่ดินอยู่เฉย ๆ เจ้าของที่ดินจำนวนมากจึงที่จะปล่อยเช่าที่ดิน ในมุมมองของการเป็นเจ้าของสิทธิบัตรก็เช่นเดียวกัน หลายกรณีที่เจ้าของสิทธิบัตรนั้นมีเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมอยู่ในมือแล้ว แต่อาจจะยังไม่พร้อมดำเนินการด้วยตนเอง หากให้มองภาพโดยง่าย ๆ การอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Licensing) จึงเปรียบเสมือนการปล่อยเช่าที่ดินนั่นเอง ซึ่งเป็นการปล่อยให้นักลงทุนรายอื่น ๆ นำการประดิษฐ์หรือนวัตกรรมของเราไปสร้างมูลค่าแทน

         ทั้งนี้ การอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Licensing) ไม่ใช่การขายหรือโอนสิทธิ เพียงแต่เป็นการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์จากการผลงานนั้นเท่าที่อยู่ภายใต้สัญญาที่จัดทำระหว่าง “ผู้ให้สิทธิ (Licensor)” และ “ผู้ซื้อสิทธิ (Licensee)” เท่านั้น โดยความเป็นเจ้าของในผลงานดังกล่าวจะไม่มีการถ่ายโอนหรือว่าเปลี่ยนแปลง ซึ่งรูปแบบการอนุญาตให้ใช้สิทธิอาจมีได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของทั้งสองฝ่าย

คู่สัญญาในการทำการอนุญาตให้ใช้สิทธิ

Licensor

ผู้ให้สิทธิ 

เป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา ได้รับผลตอบแทนจากผู้ซื้อสิทธิแลกเปลี่ยนกับ
การอนุญาตหรือถ่ายทอดเทคโนโลยี ให้ผู้อื่นนำผลงานของตนเองไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ 

Licensee

ผู้ซื้อสิทธิ 

เป็นผู้ซื้อสิทธิในการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา โดยต้องให้ผลตอบแทนแก่เจ้าของสิทธิ โดยแลกเปลี่ยนกับสิทธิในการใช้ประโยชน์ หรือได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากเจ้าของผลงาน 

ตัวอย่าง : Licensor Vs Licensee

            ป้าแต๋มได้ทำการพัฒนาสูตรน้ำปลาร้าที่ลดปริมาณโซเดียมลง 75% แต่ให้รสชาติอร่อย กลมกล่อมเทียบเท่ากับน้ำปลาร้าที่ขายกันโดยทั่วไป และได้ยื่นขอรับความคุ้มครองอนุสิทธิบัตร จากนั้นคุณกฤษณ์ ซึ่งเป็นเจ้าของร้านขายยำชื่อดังที่มีหลายสาขาในกรุงเทพมหานคร มีความสนใจที่จะขอซื้อสิทธิในการนำสูตรน้ำปลาร้าดังกล่าวมาใช้สำหรับทำเมนูทางเลือกของคนรักสุขภาพเพื่อส่งเสริมการขาย หากสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิดังกล่าวถูกกระทำโดยสำเร็จ ป๋าแต๋ม ซึ่งเป็นผู้คิดค้นสูตร จะมีสถานะเป็น ผู้ให้สิทธิ (Licensor) ในขณะที่ คุณกฤษณ์ ซึ่งต้องการซื้อสิทธิในการใช้สูตรดังกล่าวจะมีสถานะเป็น ผู้ซื้อสิทธิ (Licensee) นั่นเอง

ประเภทของการอนุญาตให้ใช้สิทธิ

การอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียว (Exclusive Licensing)
 การอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียว (Exclusive Licensing)

ภายใต้การอนุญาตให้ใช้สิทธิในประเภทดังกล่าว จะต้องมีการกำหนดเงื่อนไขไว้อย่างชัดเจนภายในสัญญาว่าผู้ซื้อสิทธิ (Licensee) จะเป็นผู้เดียวที่จะสามารถใช้ประโยชน์ในสิทธิดังกล่าวได้ โดยที่เจ้าของผลงานก็จะถูกจำกัดไม่ให้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าวได้อีกต่อไป รวมถึงเป็นการจำกัดไม่ให้เจ้าของผลงานสามารถไปอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิได้อีกด้วย

ตัวอย่าง : 
           บริษัทเอ ซึ่งเป็นบริษัทผลิตยาสัญชาติอเมริกา ได้มีทำการพัฒนายาแก้ปวดชนิดใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการระงับอาการปวดได้ดีขึ้นกว่าเดิม 30% และไม่มีผลข้างเคียงกับอวัยวะภายในอื่น ๆ โดยได้ทำการยื่นขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย ต่อมา บริษัทบี ซึ่งเป็นบริษัทยาสัญชาติไทย ต้องการที่จะผลิตตัวยาดังกล่าวและจำหน่ายเฉพาะในประเทศไทย จึงได้ทำการเจรจา “ขออนุญาตให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียว (Exclusive Licensing ) ” ในตัวยาดังกล่าวกับบริษัทเอ หากการเจรจาสำเร็จ บริษัทบีจะกลายเป็นบริษัทเดียวในประเทศไทยที่สามารถผลิตและจัดจำหน่ายยาแก้ปวดตามสูตรของบริษัทเอได้ โดยที่บริษัทเอนั้น ไม่สามารถอนุญาตให้บริษัทอื่น ๆ ทำการผลิตและจำหน่ายยาในสูตรเดียวกันประเทศ รวมถึงบริษัทเอ ก็ไม่สามารถผลิตและจัดจำหน่ายตัวยาดังกล่าวในประเทศไทยได้อีกเช่นกัน เนื่องจากได้ทำการอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวแก่บริษัทบี เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

          จากตัวอย่างในด้านบน จะเห็นได้ว่า ลักษณะของการอนุญาตให้ใช้สิทธิในลักษณะนี้ เป็นการกีดกันไม่ให้คู่แข่งอื่น ๆ สามารถมาแข่งขันในตัวผลิตภัณฑ์เดียวกับเราได้อย่างรัดกุมที่สุด ส่งผลให้คู่แข่งต้องเสียเวลาไปพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อมาแข่งขันกับบริษัทของเรา ด้วยเหตุนี้ โดยส่วนมากสัญญาการอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวจึงมักมีมูลค่าสูงที่สุดนั่นเอง

การอนุญาตให้ใช้สิทธิโดยไม่จำกัดจำนวนผู้รับอนุญาต (Non-Exclusive Licensing)
การอนุญาตให้ใช้สิทธิโดยไม่จำกัดจำนวนผู้รับอนุญาต (Non-Exclusive Licensing) 

            การอนุญาตให้ใช้สิทธิในประเภทนี้ เรียกได้ว่าเป็นการอนุญาตให้ใช้สิทธิในลักษณะตรงกันข้ามกับประเภทก่อนหน้า กล่าวคือ การอนุญาตให้ใช้สิทธิในประเภทนี้จะไม่ได้มีการจำกัดจำนวนของผู้ซื้อสิทธิ (Licensee) ซึ่งทางเจ้าของผลงานสามารถอนุญาตให้ผู้ซื้อสิทธิในจำนวนเท่าใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของเจ้าของผลงาน 

ตัวอย่าง  :
            นางสาวแดง ได้มีการออกแบบลวดลายผ้าใหม่ ซึ่งมีแรงบันดาลใจมาจากเนื้อหาในวรรณคดี และได้ยื่นขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ปรากฏว่าลายผ้าดังกล่าวได้รับผลตอบรับที่ดีในโลกออนไลน์ ต่อมา ได้มีบริษัทจำนวนมากติดต่อเข้ามาเพื่อเจรจาขออนุญาตให้ใช้สิทธิ ประกอบไปด้วยบริษัทอาหารจากประเทศเกาหลีใต้ที่ต้องการนำลายดังกล่าวไปปรากฏบนบรรจุภัณฑ์ บริษัทเสื้อผ้าจากประเทศญี่ปุ่นที่ต้องการนำลายดังกล่าวไปสกรีนบนเสื้อยืด และบริษัทเครื่องหนังจากประเทศฝรั่งเศส ที่ต้องการนำลายดังกล่าวไปปรากฏบนกระเป๋า

           เนื่องจากทั้งสามบริษัทที่ยื่นข้อเสนอมานั้นต่างเป็นบริษัทชื่อดัง ที่นางสาวแดงต้องการที่จะร่วมงานด้วยอยู่แล้ว จึงไม่สามารถเลือกอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวแก่บริษัทใด บริษัทหนึ่งได้ ด้วยเหตุนี้ นางสาวแดงจึงเลือกที่จะอนุญาตให้ทั้งสามบริษัท สามารถใช้สิทธิในลวดลายผ้าได้ทั้งหมด ซึ่งการอนุญาตให้ใช้สิทธิในลักษณะนี้ เรียกว่า การอนุญาตให้ใช้สิทธิโดยไม่จำกัดจำนวนผู้รับอนุญาต หรือว่า Non-Exclusive Licensing นั่นเอง โดยหากการเจรจาของนางสาวแดงสำเร็จ นางสาวแดงก็ยังคงอนุญาตให้บริษัทอื่น ๆ สามารถนำลวดลายผ้าไปใช้ในภายหลังได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากสามบริษัทก่อนหน้า 

           ตามหลักอุปสงค์และอุปทาน เมื่อไม่ได้มีการจำกัดจำนวนผู้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิในงานนั้น ๆ มูลค่าในการอนุญาตให้ใช้สิทธิในประเภทนี้จึงมักไม่สูงเท่าประเภทอื่น ๆ เนื่องจากสิทธิที่ได้รับมานั้น ไม่ได้สร้างความ
ได้เปรียบทางธุรกิจแก่ผู้ซื้อสิทธิเทียบเท่ากับการอนุญาตให้ใช้สิทธิประเภทอื่น ๆ 

การอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียว แต่ไม่จำกัดเจ้าของสิทธิ (Sole Licensing)
การอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวแต่ไม่จำกัดเจ้าของสิทธิ (Sole Licensing)

          ในหลายกรณี เจ้าของผลงานอาจมีความต้องการที่จะอนุญาตให้ผู้อื่นสามารถใช้สิทธิได้ แต่ในขณะเดียวกันก็อยากคงไว้ซึ่งสิทธิที่ตนเองจะสามารถใช้ประโยชน์จากผลงานดังกล่าวได้ ด้วยเหตุนี้ จึงมีการพัฒนามาเป็นการอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวแต่ไม่จำกัดเจ้าของสิทธิ (Sole Licensing) กล่าวคือ หลังจากทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในลักษณะนี้ จะมีผู้ที่สามารถใช้สิทธิได้แค่เพียง 2 บุคคลเท่านั้น ซึ่งได้แก่ ผู้ให้สิทธิ (Licensee) และผู้ซื้อสิทธิ (Licensor) ของเคสดังกล่าวเพียงเท่านั้น

ตัวอย่าง :
          ดร.สมชาย เป็นนักวิจัยภายใต้สังกัดมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ได้ประสบความสำเร็จในการการพัฒนาเนื้อผ้ารูปแบบใหม่ซึ่งทำจากวัสดุเหลือทิ้งจากภาคการเกษตร ซึ่งมีความทนทานและระบายความร้อนได้ดี และได้ทำการยื่นอนุสิทธิบัตรไว้ในนามบุคคลธรรมดา ต่อมา บริษัทซี ซึ่งเป็นผู้ผลิตเสื้อผ้าชื่อดังได้มีความสนใจที่จะนำเนื้อผ้าดังกล่าวมาใช้กับผลิตภัณฑ์ของตน จึงได้ทำการติดต่อดร.สมชาย เพื่อเจรจาขออนุญาตใช้สิทธิ
แต่เนื่องจาก ดร.สมชาย มีความสนใจที่จะทำแบรนด์เสื้อผ้าเป็นของตนเอง โดยใช้เนื้อผ้าดังกล่าวเช่นกัน
แต่ยังไม่มีเงินลงทุน เลยวางแผนในการนำรายได้จากการอนุญาตให้ใช้สิทธิแก่บริษัทซี มาเป็นเงินลงทุน
ทั้งสองฝ่ายเลยตัดสินในทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในลักษณะของการอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียว
แต่ไม่จำกัดเจ้าของสิทธิ (Sole Licensing) ส่งผลให้บริษัทซี ต้องจ่ายค่าตอบแทนแก่ ดร.สมชาย เพื่อใช้สิทธิในเนื้อผ้าดังกล่าว ในขณะที่ ดร.สมชาย ก็ยังคงมีสิทธิในการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ในเนื้อผ้าดังกล่าวเช่นกัน

ฺBanner Form (6)

           ในการทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่ละครั้งนั้น มีประเด็นที่ทั้งผู้ให้สิทธิ และผู้ซื้อสิทธิ ต้องทำการตรวจสอบให้ถี่ถ้วน เพื่อไม่ให้ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบในสัญญาดังต่อไปนี้

  1. ขอบเขตของเทคโนโลยี (Scope of Technology)
    เป็นการกำหนดขอบเขตการที่นำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมนั้นไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ไม่ให้มาก หรือน้อยเกินกว่าขอบเขตที่ทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกัน เช่น บริษัทเอ ทำสัญญาตกลงจะขอใช้สิทธิรส
    ชาติไอศครีมของบริษัทบี จำนวน 2 รสชาติ ประกอบไปด้วย รสวานิลลา และรสนม บริษัทเอจะสามารถใช้สิทธิได้ในเฉพาะรสดังกล่าวเท่านั้น ไม่สามารถใช้สิทธิในรสมะนาว หรือรสอื่น ๆ ที่นอกเหนือข้อตกลงได้
  2. ระยะเวลาของการใช้สิทธิในเทคโนโลยี (Period of Licensing)
    เป็นการกำหนดระยะเวลาที่สามารถใช้สิทธิในงานดังกล่าวได้ เนื่องจากทรัพย์สินทางปัญญานั้นมีการ
    ให้สิทธิความเป็นเจ้าของเป็นระยะเวลาที่จำกัด รวมถึงเทรนด์ ความต้องการ และมูลค่าของสิ่งนั้นอาจ
    มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา จึงต้องมีการกำหนดระยะเวลาในการอนุญาตให้ใช้สิทธิที่ชัดเจน
  3. บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้อนุญาต และผู้รับอนุญาต (Roles and Responsibilities
    of Licensee and Licensor)
    เป็นการกำหนดบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของทั้งสองฝ่าย ในการอนุญาตให้ใช้สิทธิ ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่ในการจ่ายค่าตอบแทนตามข้อตกลง หน้าที่ในการรักษาความลับของงาน และหน้าที่ในการจัดหาทนายกรณีมีถูกละเมิด เป็นต้น
  4. เงื่อนไขการอนุญาตให้ใช้สิทธิในเทคโนโลยี (Licensing Condition)
    เป็นการกำหนดเงื่อนไขที่ทั้งสองต้องปฏิบัติตามในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังกระบวนการอนุญาตให้
    ใช้สิทธิเช่น อาจเป็นการกำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำ กำหนดมาตรฐานด้านอุตสาหกรรม ทรัพยากรบุคคล หรือกิจกรรมที่ทั้งสองฝ่ายต้องงดกระทำ เพื่อให้บรรลุผลตามข้อสัญญา
  5. ค่าตอบแทนการใช้สิทธิเทคโนโลยี (Licensing Revenues and Royalties)
    เป็นการกำหนดค่าตอบแทนในการอนุญาตให้ใช้สิทธิ ซึ่งสามารถอยู่ในรูปแบบเงินก้อน เงินชำระรายปี
    ส่วนแบ่งยอดขาย หุ้น ที่ดิน ส่วนลด สิทธิพิเศษ หรืออื่น ๆ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของทั้งสองฝ่าย
ตัวอย่างการอนุญาตให้ใช้สิทธิในงานเทคโนโลยีและนวัตกรรม

           สำหรับตัวอย่างของการอนุญาตให้ใช้สิทธิทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยส่วนมากบริษัทใหญ่ ๆ มักจะเก็บรักษาข้อมูลดังกล่าวไว้เป็นความลับ เนื่องจากอาจส่งผลกระทบกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ แต่ที่เราอาจจะพอเห็นภาพได้อย่างชัดเจนก็คือ “อุตสาหกรรมโทรศัพท์มือถือ” เนื่องจากในโทรศัพท์มือถือแต่ละเครื่อง อาจประกอบไปด้วยสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องจำนวนหลายพันฉบับ การที่ทางแบรนด์โทรศัพท์มือถือแต่ละค่ายต้องมาพัฒนาเองทุกฉบับอาจต้องใช้ระยะเวลามหาศาล และไม่คุ้มต่อการลงทุน ค่ายโทรศัพท์มือถือจำนวนมากจึงเลือกที่จะขออนุญาตใช้สิทธิ (License) จากบริษัทอื่น ๆ ในเทคโนโลยีบางส่วน เช่น กล้อง ชิปประมวลผล และหน้าจอ เป็นต้น เพื่อให้สามารถทำราคาที่เหมาะสมได้มากที่สุด

           อีกอุตสาหกรรมหนึ่งที่เป็นตัวอย่างชัดเจนสำหรับการอนุญาตให้ใช้สิทธิในเทคโนโลยี ได้แก่ “อุตสาหกรรมยานยนต์” หากเราติดตามข่าวในวงการดังกล่าว จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าในรถยนต์บางรุ่น เป็นการพัฒนาแพลตฟอร์มร่วมกันและแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีกันระหว่างหลายแบรนด์ จากนั้นนำตัวแพลตฟอร์มดังกล่าวไปต่อยอดเป็นรถยนต์แต่ละรุ่นของยี่ห้อนั้น ๆ แม้กระทั่งรถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบัน ถึงแม้จะมีหลากหลายยี่ห้อปรากฏอยู่ในท้องตลาด แต่ไม่ใช่ทุกยี่ห้อที่ทำการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่เป็นของตนเอง แต่ทำการขออนุญาตใช้สิทธิจากแบรนด์ที่มีเทคโนโลยีแบตเตอรี่ที่เสถียรมากกว่า ปัญหาน้อยกว่า เป็นต้น

ตัวอย่างการอนุญาตให้ใช้สิทธิ ในงานลิขสิทธิ์

           นอกเหนือจากงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สามารถก่อให้เกิดมูลค่าผ่านการอนุญาตให้ใช้สิทธิได้แล้ว ทรัพย์สินทางปัญญาประเภทงานสร้างสรรค์ เช่น รูปวาด รูปถ่าย และเพลง ที่ขอรับความคุ้มครองในลักษณะของลิขสิทธิ์ ก็สามารถทำการสร้างมูลค่าจากการอนุญาตให้ใช้สิทธิได้เช่นกัน

           หากเราค้นหาว่าบริษัทใด สามารถสร้างมูลค่าจากการอนุญาตให้ใช้สิทธิได้สูงที่สุดในโลก แหล่งข้อมูล
ที่น่าเชื่อถือจำนวนมากจะระบุว่าตำแหน่งดังกล่าว เป็นของสตูดิโอสัญชาติอเมริกาที่ชื่อว่า Disney นั่นเอง เนื่องจากทาง Disney ได้ถือลิขสิทธิ์ในความเป็นเจ้าของในตัวละครจำนวนมากที่ตนเองสร้างสรรค์ขึ้นมา
รวมถึงลิขสิทธิ์ในตัวละครอื่น ๆ ที่เคยอยู่ภายใต้สังกัดบริษัทที่ตนเองไปซื้อมา ปัจจุบัน เราอาจจะต้องเคยเห็นแบรนด์น้อยใหญ่จำนวนมากที่ออกผลิตภัณฑ์รุ่นพิเศษของตนเองออกมา โดยปรากฏรูปลักษณ์ของ

           ตัวละคร Disney ต่าง ๆ บนผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า รองเท้า เครื่องสำอาง รวมไปถึงเครื่องประดับต่าง ๆ ซึ่งทุกครั้งที่มีการออกคอลเลคชั่นพิเศษออกมานี้ เหล่าเจ้าของแบรนด์จะต้องเสียค่าอนุญาตให้ใช้สิทธิให้แก่ Disney ทั้งในรูปแบบเงินก้อนและส่วนแบ่งการขาย นี่จึงเป็นสาเหตุว่า เพราะเหตุใดสินค้าที่ถูกลิขสิทธิ์ หรือของแท้ จึงค่อนข้างมีราคาสูงกว่าสินค้าอื่น ๆ ในท้องตลาด

ฺBanner Form (10)
ใครเป็นผู้กำหนดราคากลางในการซื้อขายทรัพย์สินทางปัญญา?

           เนื่องจากทรัพย์สินทางปัญญามีความแตกต่างจากทรัพย์สินประเภทอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ทองคำ ที่ดิน หรือคอนโด ที่ต่างมีราคากลางหรือราคามาตรฐานกำหนดชัดเจน ว่าสิ่งของเหล่านี้ควรมีการแลกเปลี่ยน ซื้อขาย กันอยู่ที่เท่าไหร่ หากเป็นหุ้นและทองคำ มูลค่าก็อาจจะขึ้นอยู่กับความต้องการและความน่าเชื่อถือ ณ เวลานั้น มูลค่าของที่ดินหรือคอนโดอาจแปรผันตามทำเล สภาพแวดล้อม และสิ่งอำนวยความสะดวกบริเวณนั้น ซึ่งก็สามารถตรวจสอบราคากลางได้ค่อนข้างง่าย รวมถึงมีหน่วยงานรัฐคอยกำกับดูแลไม่ให้มูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นไปจนเกินงาม ในขณะที่ถ้าเราซื้อหรือขออนุญาตใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา เราจะรู้ได้อย่างไรว่าราคาที่เราจ่ายไปนั้นเป็นมูลค่าที่แท้จริง และสมเหตุสมผล เนื่องจากทรัพย์สินนั้น ๆ เราไม่สามารถจับต้องและประเมินมูลค่าเองได้ รวมถึงไม่ได้มีหน่วยงานใดมากำหนดราคามาตรฐาน

           ด้วยเหตุนี้ การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา หรือ IP Valuation จึงเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญที่จะต้องดำเนินการก่อนการซื้อ ขาย หรืออนุญาตให้ใช้สิทธิทุกครั้ง เพื่อที่ทั้งผู้ให้สิทธิ และผู้ซื้อสิทธิ จะได้ทราบราคาที่เหมาะสมก่อนมีการดำเนินการในขั้นตอนถัดไป เนื่องทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละชิ้นต่างมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันและเป็นเอกลักษณ์ที่ชัดเจน จึงเป็นการยากที่จะสามารถกำหนดราคามาตรฐานแบบโดยรวมได้ การประเมินมูลค่าจึงต้องทำการเป็นชิ้นต่อชิ้น และต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการจัดทำ ซึ่งอาจทำการประเมินจากต้นทุน การเปรียบเทียบราคาตลาด และการคาดการณ์รายได้ที่อาจเกิดได้จากการใช้ประโยชน์

สรุป 

           การใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาด้วยการใช้เพื่อป้องกันไม่ให้ผลงานของเราถูกละเมิดได้โดยง่ายนั้น เป็นเพียงมิติเดียวในการใช้ประโยชน์จากระบบทรัพย์สินทางปัญญาเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญานั้นมีแนวทางอีกมากมายที่จะสามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งดังกล่าวได้
โดยการอนุญาตให้ใช้สิทธิก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถก่อให้เกิดมูลค่าแก่เจ้าของผลงานได้เช่นกัน

          นอกจากนี้ เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่มีมูลค่าสูงในการอนุญาตให้ใช้สิทธินั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องมีความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์หรือเป็นการประดิษฐ์ที่มีลักษณะสลับซับซ้อน เพียงแค่เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี มีความคิดสร้างสรรค์ ก็สามารถดึงดูดนักลงทุนและต่อยอดเป็นมูลค่าผ่านการอนุญาตให้ใช้สิทธิได้ 

ทาง IDG เรามีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญในการช่วยผู้ประกอบการในการวางกลยุทธ์และนโยบายสำหรับบริหารจัดการนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ เรามีบริการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรม ( IP Valuation ) ประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา งานวิจัยและนวัตกรรม งานประดิษฐ์ งานวิจัย IDG พร้อมช่วยคุณหามูลค่าที่แท้จริง ไม่ว่าจะประเมินเพื่อยื่นข้อเสนอโครงการเพื่อขอทุนวิจัยและพัฒนาเพื่อการซื้อ-ขายหรืออนุญาตให้ใช้สิทธิหรือถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อ Pitching หรือระดมทุน หรือประเมินเพื่อบันทึกงบแสดงฐานะทางการเงินสำหรับธุรกิจ หรือเพื่อประเมินมูลค่าทางธุรกิจ

พร้อมทั้งบริการที่ปรึกษาด้านการปฏิบัติการงานทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรมสำหรับธุรกิจ เราพร้อมเป็นผู้ดำเนินการแทนหรือช่วยจัดตั้งและเป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานของท่าน สามารถรับคำปรึกษาเบื้องต้นกับทางเจ้าหน้าที่ได้ฟรี

ติดต่อทีม
สิทธิบัตร IDG :

โทร : 02-011-7161 ติดต่อ 301

E-mail : [email protected]

เปิดทำการวันจันทร์ – วันเสาร์ เวลา 09:00 – 18:00 น

หรือท่านสามารถสแกน QR Code เพิ่มเพื่อน หรือเพิ่มเพื่อน
LINE ID : @idgthailand เพื่อติดต่อเราผ่าน
แอพพลิเคชั่น LINE ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณอย่างเต็มที่

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ