OUR BLOG

Microneedle ทางเลือกสำหรับคนกลัวเข็ม

Microneedle-Patent
ในปัจจุบันมีผู้ที่เป็นโรค “กลัวเข็ม” มีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ จากการสำรวจพบว่าคนทั่วไปเป็นโรคกลัวเข็มฉีดยา 10 – 20 %  โดยเฉพาะในเด็กจะกลัวเข็มฉีดยามากกว่า 50 % และทุกวันนี้มีวัคซีนป้องกันอาการหรือโรคต่าง ๆ ที่มนุษย์ต้องฉีดเพิ่มขึ้นกว่าในอดีต 4-5 เท่า ขณะเดียวกัน เมื่อมาวิเคราะห์ ตลาดเข็มฉีดยาหรือเวชภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการฉีดยา ก็มีการคาดการณ์กันว่า ในอีก 6 ปี ข้างหน้า ตลาดนี้จะมีมูลค่าถึง 4,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 130 ล้านล้านบาท ซึ่งนับว่าเป็นนวัตกรรมที่น่าสนใจ มากไปกว่านี้ ในประเทศไทยยังประสบความสำเร็จในการคิดค้นนวัตกรรม แผ่นแปะฉีดวัคซีนเช่นกัน โดยแผ่นแปะฉีดวัคซีนเหล่านี้มีลักษณะเป็นแผงเข็มขนาดเล็กจิ๋วจำนวนมากโดยตัวแผ่นแปะฉีดวัคซีนนี้ผลิตจากน้ำตาลมอลโตส และแผ่นแปะนี้จะถูกเคลือบด้วยวัคซีน โดยได้เริ่มใช้และกับการวัคซีนไข้หวัดใหญ่ วิธีการใช้เจ้าแผ่นแปะเข็มจิ๋วนี้ก็แค่กดลงบนผิวหนัง เมื่อเข็มละลายจะวัคซีนนั้นก็จะเข้าสู่ร่างกายโดยอัตโนมัติ
Ref https://www.salika.co/2018/08/09/innovation-cu-vaccine-inject-patch/
ในส่วนของตลาดทั่วโลก สามารถวิเคราะห์อัตราการเติบโตของเทคโนโลยีและความต้องการของตลาดได้จากการวิเคราะห์สิทธิบัตร

การวิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตร คือ กระบวนการคัดกรองและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกจากเอกสารสิทธิบัตรและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเข้าใจภาพรวมของเทคโนโลยีหรือข้อมูลเชิงลึก เพื่อประกอบการวางแผนกลยุทธ์หรือการตัดสินใจทางธุรกิจในตลาด รวมถึงยกระดับเทคโนโลยีนวัตกรรมของท่านให้ก้าวสู่
การเป็นผู้นำในเทคโนโลยีหรืออุตสาหกรรมนั้น ๆ

Micro-needle-01
ปที่ 1 จำนวนการประดิษฐ์และคำขอรับสิทธิบัตรแผ่นแปะฉีดวัคซีน ระหว่างปี ค.ศ. 2005 – 2020

จากภาพรวมของแนวโน้มการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับแผ่นแปะฉีดวัคซีน จะเห็นได้ว่าแผ่นแปะฉีดวัคซีนได้ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 แล้ว โดยมีการพัฒนามากที่สุดในปี ค.ศ. 2015 และถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบัน ส่วนในด้านของเทคโนโลยี เทคโนโลยีที่ถูกพัฒนามากที่สุดในแผ่นแปะฉีดวัคซีนนั่นก็คือ วัสดุที่นำมาใช้ในการผลิตแผ่นแปะฉีดวัคซีน เช่น พอลิไวนิลไพร์โรลิโดน พอลิเมอร์ที่สามารถละลายน้ำได้ เป็นต้น เนื่องจากการใช้วัสดุเหล่านี้มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า

การประดิษฐ์ (Patent Family): เนื่องจากสิทธิบัตรเป็น Territorial Rights ที่มีขอบเขตการบังคับใช้สิทธิตามกฎหมาย เฉพาะในประเทศที่มีการเข้าไปจดสิทธิบัตรไว้เท่านั้น หมายความว่าถ้าเราต้องการคุ้มครองการประดิษฐ์และ เทคโนโลยีให้ครอบคลุมตลาดในประเทศที่เราสนใจ ก็จะต้องเข้าไปจดสิทธิบัตรไว้ในประเทศนั้น ๆ ด้วย เมื่องานประดิษฐ์มีการยื่นจดสิทธิบัตรเข้าไปในประเทศแรก และเข้าไปยื่นต่อในประเทศต่าง ๆ โดยการ Claim Priority ในระยะเวลาที่กำหนด เอกสารทั้งหมดจะเรียกว่าอยู่ในครอบครัวสิทธิบัตร (Patent Family) เดียวกัน และถ้ามีการยื่นเข้าไปในหลายประเทศเพิ่มมากขึ้น ครอบครัวสิทธิบัตรนั้นก็จะขยายใหญ่ขึ้น ซึ่งอาจจะสื่อถึงมูลค่าของการประดิษฐ์ที่เพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจากมีความต้องการในการคุ้มครองสิทธิในตลาดที่ใหญ่ขึ้น

Micro-needle02 
รูปที่ 2: 10 ประเทศแรกที่มีการยื่นสิทธิบัตรเกี่ยวกับแผ่นแปะฉีดยามากที่สุด

จากรูปที่ 2 แสดงให้เห็นถึงคำขอรับสิทธิบัตร ที่ผู้ขอ หรือเจ้าของการประดิษฐ์ได้ดำเนินการยื่นขอไว้ตามรายประเทศซึ่งเป็นตลาดหลักที่มีการขอรับสิทธิบัตรเพื่อขอรับความคุ้มครองทางกฎหมายในการประดิษฐ์นั้น ๆ จะเห็นได้ว่าประเทศจีนเป็นประเทศที่มีการยื่นสิทธิบัตรด้านแผ่นแปะฉีดวัคซีนมากที่สุดคิดเป็น 39.0% รองลงมาเป็นประเทศญี่ปุ่นคิดเป็น 14.2% และการยื่นคำขอผ่านระบบ PCT คิดเป็น 13.1% ตามลำดับ นอกจากนี้ รูปที่ 2 ยังแสดงให้เห็นว่าประเทศจีนให้ความสำคัญกับการประดิษฐ์และการยื่นขอรับสิทธิบัตรในเรื่องแผ่นแปะฉีดวัคซีนเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ โดยเห็นได้จากสัดส่วนจำนวนคำขอรับสิทธิบัตรที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน

Patent Cooperation Treaty (PCT) เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศสำหรับการขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ในประเทศสมาชิก เพื่อให้สะดวก และลดภาระของผู้ขอรับสิทธิบัตรที่ต้องการขอยื่นรับสิทธิบัตรในหลายประเทศทั่วโลก

ตัวอย่างสิทธิบัตรประเทศญี่ปุ่นเลขที่คำขอ JP201525808A ขอถือสิทธิในการผลิตเข็มฉีดยาขนาดเล็กชนิด stratovolcano โดยใช้เครื่อง 3D printing โดยตัวเข็มฉีดยาประกอบด้วย water-soluble polymer
Screenshot 3
Screenshot 4
      เทคโนโลยีแผ่นแปะฉีดยา เป็นเทคโนโลยีที่หลาย ๆ ประเทศให้ความสนใจเป็นอย่างมาก โดยมีจุดประสงค์สำหรับผู้ที่เป็นโรคกลัวเข็มฉีดยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก นอกจากนี้การใช้แผ่นแปะฉีดยายังมีต้นทุนที่ต่ำกว่าการผลิตเข็มฉีดยาแบบปกติอีกด้วย มากไปกว่านั้นยังสามารถผลิตโดยใช้เครื่อง 3D printing จึงทำให้ผลิตเข็มฉีดยาได้เร็วขึ้น และได้ปริมาณที่มากขึ้น ในอนาคต หากมีการค้นพบวัคซีนป้องกันโรคอื่น ๆ เช่น Covid 19 ก็จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับแผ่นแปะฉีดยาได้ ทำให้เด็กและผู้คนที่เป็นโรคกลัวเข็มไม่ต้องหวาดกลัวการฉีดยาอีกต่อไป

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ