OUR BLOG

ระบบ Notice and Takedown ตามกฎหมายลิขสิทธิ์ไทย

idg ip blog 06 2

ระบบ Notice and Takedown
ตามกฎหมายลิขสิทธิ์ไทย

ปัจจุบันการละเมิดลิขสิทธิ์ในโลกออนไลน์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และสร้างความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะเมื่อ Digital Content เช่น ภาพยนตร์, เพลง หรือแม้กระทั่งหนังสือ ต่างก็ถูกละเมิดลิขสิทธิ์โดยการทำซ้ำหรือเผยแพร่ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

561000002290301
ภาพข่าวการละเมิดลิขสิทธิ์เผยแพร่หนังสือนวนิยายบุพเพสันนิวาส จาก mgronline.com

เพื่อให้การระงับ การละเมิดลิขสิทธิ์บนโลกออนไลน์ เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว กรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงได้ยกร่าง และเผยแพร่ร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่..) พ.ศ. .. ฉบับรับฟังความคิดเห็น โดยร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฉบับนี้ มีการแก้ไขในส่วนสำคัญหลายประเด็น แต่ประเด็นที่น่าสนใจที่สุดคือ การจำกัดความรับผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP Safe Harbor) และแนวทางในการส่งหนังสือแจ้งเตือนการละเมิดลิขสิทธิ์ไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และการนำข้อมูลที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกกันว่าระบบ Notice and Takedown โดยไม่ต้องผ่านการยื่นคำร้องต่อศาล ซึ่งแตกต่างจากพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ที่มีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน

600px Great Seal of the United States %28obverse%29.svg

สาระสำคัญของระบบ Notice and Takedown

ตามร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ ซึ่งได้รับหลักการมาจาก Digital Millennium Copyright Act (DMCA) ของสหรัฐอเมริกา คือ การกำหนดกระบวนการในการให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถส่งคำแจ้งเตือน (Notice) ไปยังผู้ให้บริการได้โดยตรง เพื่อผู้ให้บริการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ของตน (Takedown) ได้อย่างทันท่วงที โดยไม่ต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่ง ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถยับยั้งการละเมิดได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ยังกำหนดให้ผู้ใช้บริการ ซึ่งเป็นผู้นำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ถูกกล่าวอ้างว่าละเมิดลิขสิทธิ์นั้น สามารถโต้แย้งการนำงานออกจากระบบได้ หากเห็นว่างานที่ตนนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ ไม่ใช่งานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์

ในทางปฏิบัติ ระบบ Notice and Takedown ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย เนื่องจากผู้ให้บริการหลายรายที่ให้บริการภายใต้กฎหมายสหรัฐอเมริกา เช่น YouTube, Google หรือ Facebook ล้วนมีระบบ Notice and Takedown อยู่ในเว็บไซต์ของตนเอง ซึ่งเป็นไปตามกฎหมาย DMCA ของสหรัฐอเมริกานั่นเอง

สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปหากร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ก็คือ การปรับตัวของผู้ให้บริการคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย ที่จะต้องจัดให้มีช่องทางการส่งการแจ้งเตือน และการดำเนินการตามระบบ Notice and Takedown ตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ได้รับการจำกัดความรับผิด ในกรณีที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์เกิดขึ้นในระบบคอมพิวเตอร์ของตน

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ