การจดสิทธิบัตร (Patent) คือ การขอรับความคุ้มครองสำหรับสิ่งประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยหน่วยงานรัฐจะเป็นผู้ออกเอกสารรับรองให้ผู้ยื่นจดสิทธิบัตรมีสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในการผลิต ใช้ หรือจำหน่ายสิ่งนั้น ซึ่งจะช่วยป้องกันการละเมิดการนำสิ่งประดิษฐ์ไปแสวงหาผลประโยชน์ที่อาจกระทบต่อผู้ยื่นจดสิทธิบัตร แม้หลายคนอาจคิดว่าการจดสิทธิบัตรเป็นเรื่องยุ่งยาก แต่ปัจจุบันสามารถดำเนินการออนไลน์ได้แล้ว
ในบทความนี้ IDG จะพาไปทำความรู้จักประเภทของการจดสิทธิบัตรเพื่อทำความเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์ของท่านสามารถจดสิทธิบัตรรูปแบบใดได้ พร้อมแนะนำเกี่ยวกับวิธีจดสิทธิบัตรออนไลน์ และตอบคำถามยอดนิยม เช่น “จดสิทธิบัตรออนไลน์ได้ที่ไหน” และ “จดสิทธิบัตรออนไลน์ ราคาเท่าไร”
ประเภทของการจดสิทธิบัตรออนไลน์
การจดสิทธิบัตรมี 3 ประเภท ดังนี้
1. สิทธิบัตรการประดิษฐ์
การจดสิทธิบัตรสำหรับคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ที่มีฟังก์ชันการทำงาน กลไก หรือโครงสร้างต่าง ๆ เป็นส่วนประกอบ โดยจะมีความคุ้มครองนานถึง 20 ปีนับตั้งแต่วันยื่นจด และคุ้มครองในประเทศที่ยื่นจดเท่านั้น ซึ่งเกณฑ์การขอจดสิทธิบัตรประเภทนี้ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ เป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น และนำไปประยุกต์ใช้ทางอุตสาหกรรมได้
2. อนุสิทธิบัตร
รูปแบบคล้ายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เป็นการจดสิทธิบัตรสำหรับคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ที่มีฟังก์ชันการทำงาน กลไก หรือโครงสร้างต่าง ๆ เป็นส่วนประกอบ ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่ปรับปรุงหรือต่อยอดขึ้นมาเพิ่มเติม โดยจะมีความคุ้มครอง 6 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นจด สามารถต่ออายุได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ปี รวมอายุความคุ้มครองเป็น 10 ปี และคุ้มครองในประเทศที่ยื่นจดเท่านั้น โดยมีข้อแตกต่างจากสิทธิบัตรการประดิษฐ์ คือ จะใช้เกณฑ์พิจารณาเพียง 2 ส่วน ได้แก่
- เป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนจากฐานข้อมูลทั่วโลก
- สามารถนำไปประยุกต์ใช้ทางอุตสาหกรรมได้
3.สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์
การจดสิทธิบัตรสำหรับคุ้มครองการออกแบบ รูปทรง ลวดลาย หรือสีสันของผลิตภัณฑ์ โดยจะมีความคุ้มครอง 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นจด และคุ้มครองในประเทศที่ยื่นจดเท่านั้น โดยใช้เกณฑ์พิจารณา 2 ส่วน เหมือนกับอนุสิทธิบัตร คือ เป็นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และนำไปประยุกต์ใช้ทางอุตสาหกรรมได้
วิธียื่นจดสิทธิบัตรออนไลน์
สามารถยื่นขอจดสิทธิบัตรผ่านเว็บไซต์ https://www.ipthailand.go.th/th/patent.html โดยต้องทำการสมัครเป็นสมาชิกและเข้าสู่ระบบก่อน
ในส่วนวิธียื่นจดสิทธิบัตรออนไลน์ หรือยื่นจดผ่านช่องทางอื่น ๆ มีขั้นตอนดังนี้
1. ร่างคำขอรับสิทธิบัตร
2. เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องให้พร้อม
3. ยื่นคำขอรับสิทธิบัตร พร้อมชำระค่าธรรมเนียม
โดยนอกจากการยื่นผ่านช่องทางออนไลน์แล้ว การจดสิทธิบัตรสามารถยื่นขอโดยตรงผ่านเจ้าหน้าที่ได้ที่ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัดที่ท่านมีภูมิลำเนาอยู่ได้ หากไม่สะดวกก็สามารถส่งคำขอไปทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงเจ้าหน้าที่ได้เช่นกัน
เอกสารการจดสิทธิบัตรออนไลน์
เอกสารที่ใช้สำหรับการยื่นคำขอสิทธิบัตรการประดิษฐ์ อนุสิทธิบัตร และสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ แบ่งออกได้เป็น 2 กรณี ได้แก่
1. บุคคลธรรมดา
เอกสารสำหรับยื่นจดในนามบุคคลธรรมดาสามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 กรณี ดังนี้
1.1. ผู้ประดิษฐ์และผู้ขอถือสิทธิเป็นบุคคลคนเดียวกัน ประกอบด้วย
- แบบพิมพ์คำขอ หรือแบบฟอร์มสำหรับจดสิทธิบัตร
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้ขอถือสิทธิและผู้ประดิษฐ์
- คำรับรองเกี่ยวกับสิทธิการขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร สำหรับยืนยันว่าเราเป็นผู้ประดิษฐ์
- รายละเอียดคำขอรับสิทธิบัตร ซึ่งประกอบด้วย รายละเอียดการประดิษฐ์ ข้อถือสิทธิ รูปเขียน (ถ้ามี) และบทสรุปการประดิษฐ์
- หนังสือมอบอำนาจ ในกรณียื่นผ่านตัวแทนสิทธิบัตร
1.2. ผู้ประดิษฐ์และผู้ขอถือสิทธิเป็นคนละคนกัน ประกอบด้วย
- แบบพิมพ์คำขอ หรือแบบฟอร์มสำหรับจดสิทธิบัตร
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้ขอถือสิทธิ
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประดิษฐ์
- หนังสือสัญญาโอนสิทธิการขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร
- รายละเอียดคำขอรับสิทธิบัตร ซึ่งประกอบด้วย รายละเอียดการประดิษฐ์ ข้อถือสิทธิ รูปเขียน (ถ้ามี) และบทสรุปการประดิษฐ์
- หนังสือมอบอำนาจ ในกรณียื่นผ่านตัวแทนสิทธิบัตร
2. นิติบุคคล
เอกสารที่ใช้สำหรับจดในนามนิติบุคคล ประกอบด้วย
- แบบพิมพ์คำขอ หรือแบบฟอร์มสำหรับจดสิทธิบัตร
- สำเนาหนังสือรับรองบริษัท/ห้างหุ้นส่วน อายุไม่เกิน 6 เดือน
- สำเนาบัตรประขาชนของผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท/ห้างหุ้นส่วน
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประดิษฐ์
- สำหรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ และอนุสิทธิบัตร จะใช้รายละเอียดคำขอรับสิทธิบัตร ซึ่งประกอบด้วย รายละเอียดการประดิษฐ์ ข้อถือสิทธิ รูปเขียน (ถ้ามี) และบทสรุปการประดิษฐ์ และสำหรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์จะใช้รูปภาพหรือรูปเขียนภายนอกของการประดิษฐ์ 6 ด้าน และภาพ Isometric หรือภาพสามมิติ
- หนังสือมอบอำนาจ ในกรณียื่นผ่านตัวแทนสิทธิบัตร
ค่าธรรมเนียมการจดสิทธิบัตรออนไลน์
ค่าธรรมเนียมการจดสิทธิบัตรออนไลน์และการยื่นจดรูปแบบอื่น ๆ มีค่าธรรมเนียมเริ่มต้น ดังนี้
- ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ 500 บาท
- ยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตร 250 บาท
- ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ 250 บาท
นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในกรณีต่าง ๆ เช่น กรณีขอแก้ไขเพิ่มเติม ขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ และขออุทธรณ์
การยื่นจดสิทธิบัตรออนไลน์อาจมีขั้นตอนที่ซับซ้อน ใช้เวลานาน และต้องอาศัยความรู้เฉพาะทาง ผู้ที่ต้องการลดความยุ่งยากในกระบวนการจดสิทธิบัตรนี้ สามารถเลือกใช้บริการตัวแทนจดสิทธิบัตรได้ โดยบริษัทที่น่าเชื่อถืออย่าง IDG มีประสบการณ์และผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมดำเนินการและให้คำแนะนำ เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการจดสิทธิบัตร
IDG ให้บริการด้านทรัพย์สินทางปัญญาครบวงจร ครอบคลุมภายในประเทศไทยและต่างประเทศ
IDG ให้บริการด้านทรัพย์สินทางปัญญาอย่างครบวงจร ทั้งการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ และการจดสิทธิบัตร โดยเราให้บริการครอบคลุมตั้งแต่การให้คำปรึกษา วิเคราะห์สิทธิบัตร วิเคราะห์คู่แข่ง ร่างคำขอสิทธิบัตร จัดทำภาพเขียนและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ไปจนถึงยื่นจดทะเบียน ซึ่งครอบคลุมทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ดำเนินงานโดยผู้เชี่ยวชาญประสบการณ์กว่า 15 ปี และทีมงานที่มีความรู้เฉพาะทางด้านต่าง ๆ
ดูข้อมูลเพิ่มเติม หรือติดต่อสอบถาม
อีเมล: [email protected]
โทร.: 02-011-7161 ถึง 6
ไลน์: @idgthailand
Facebook: facebook.com/IDGThailand
LinkedIn: linkedin.com/in/intellectualdesigngroup/