OUR BLOG

สิทธิบัตรไทยสู่ตลาดโลก

สิทธิบัตรไทย
idg 201802 32 1

สิทธิบัตรไทยสู่ตลาดโลก

ปัจจุบัน ในแต่ละปีประเทศไทยมีนวัตกรรมใหม่ๆ ที่คิดค้นและประดิษฐ์ขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยนักประดิษฐ์ไทย ซึ่งผู้ประดิษฐ์ที่ได้ทำการยื่นคำขอและรับจดทะเบียนในประเทศไทยก็จะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายในฐานะ “ผู้ทรงสิทธิ” ในสิทธิบัตรนั้น ตามกฎหมายพระราชบัญญัติสิทธิบัตรสิทธิบัตร พ.ศ.2522 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมตาม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542

สิทธิทางกฎหมายของเจ้าของสิทธิบัตรไทย โดยหลัก คือ..

  • ในช่วงอายุของสิทธิบัตร ผู้ทรงสิทธิมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย หรือนำเข้าผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร การกระทำใดของผู้ทรงสิทธิก่อนที่จะได้รับสิทธิบัตรซึ่งอาจถือเป็นการฝ่าฝืนสิทธิบัตรดังกล่าวจะถือว่าไม่เป็นการฝ่าฝืน
  • ผู้ทรงสิทธิบัตรมีสิทธิใช้คำว่า “สิทธิบัตรไทย” หรืออักษรย่อ. หรืออักษรต่างประเทศที่มีความหมายเช่นเดียวกัน เป็นต้น

ซึ่งสิทธิเหล่านี้จะมีอยู่ในขอบเขตความคุ้มครองทางกฎหมายในประเทศไทยเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม..

  • ผู้ประดิษฐ์ส่วนหนึ่งมักจะเข้าใจว่า..เมื่อได้รับจดสิทธิบัตรไทยแล้ว ก็จะได้รับความคุ้มครองทั่วโลก
  • แต่ในความเป็นจริงแล้ว..ไม่มีระบบสิทธิบัตรโลก ที่สามารถคุ้มครองสิทธิได้ทั่วโลก
Content PT 201805 06 1

ดังนั้น ถ้าหากเราต้องการทำการตลาดในต่างประเทศ เช่น ทำการส่งออกสินค้าไปขายในประเทศสหรัฐอเมริกา แล้วเราได้ไปเจอคนที่ผลิตสินค้าที่เหมือนคล้ายหรือลอกเลียนแบบสิทธิบัตรของเราที่ได้รับจดในประเทศไทย สิทธิทางกฎหมายสิทธิบัตรไทยของเราก็จะไม่คุ้มครองไปถึงการดำเนินคดีละเมิดสิทธิบัตรในประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเราไม่ได้ยื่นคำขอและได้รับจดทะเบียนสิทธิบัตรประเทศสหรัฐอเมริกา เราจึงไม่ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายสิทธิบัตรสหรัฐอเมริกา กล่าวคือ ไม่มีสิทธิทางกฎหมายที่จะดำเนินคดีละเมิดสิทธิบัตรในประเทศสหรัฐอเมริกาได้  เป็นต้น

โดยสรุปคือ..จดสิทธิบัตรประเทศใด ก็จะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายในประเทศนั้น เท่านั้น!

ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่จะทำการค้าขายในต่างประเทศ

เมื่อผู้ประดิษฐ์ได้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่ต้องการไปตีตลาดต่างประเทศ เช่น ส่งออกต่างประเทศ หรือมีตัวแทนจัดจำหน่ายในต่างประเทศ และต้องการที่ปกป้องสิทธิของตนเองในฐานะเป็นเจ้าของสิทธิบัตรในต่างประเทศ สิ่งที่ท่านควรจะต้องทำ คือ ต้องทำการยื่นจดสิทธิบัตรในประเทศที่เราไปทำการตลาดด้วย ด้วยการยื่นโดยตรง หรือยื่นผ่านระบบที่ช่วยอำนวยความสะดวก เช่น ระบบ PCT เพื่อประโยชน์ในการบังคับใช้สิทธิทางกฎหมาย และทำให้สินค้าเราเป็นที่น่าเชื่อถือมากขึ้นในสายตาผู้บริโภคในต่างประเทศ และยังเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าของเราอีกทางด้วย

Facebook
Twitter
LinkedIn

บทความล่าสุด

สิทธิบัตรไทย
idg 201802 32 1

สิทธิบัตรไทยสู่ตลาดโลก

ปัจจุบัน ในแต่ละปีประเทศไทยมีนวัตกรรมใหม่ๆ ที่คิดค้นและประดิษฐ์ขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยนักประดิษฐ์ไทย ซึ่งผู้ประดิษฐ์ที่ได้ทำการยื่นคำขอและรับจดทะเบียนในประเทศไทยก็จะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายในฐานะ “ผู้ทรงสิทธิ” ในสิทธิบัตรนั้น ตามกฎหมายพระราชบัญญัติสิทธิบัตรสิทธิบัตร พ.ศ.2522 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมตาม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542

สิทธิทางกฎหมายของเจ้าของสิทธิบัตรไทย โดยหลัก คือ..

  • ในช่วงอายุของสิทธิบัตร ผู้ทรงสิทธิมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย หรือนำเข้าผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร การกระทำใดของผู้ทรงสิทธิก่อนที่จะได้รับสิทธิบัตรซึ่งอาจถือเป็นการฝ่าฝืนสิทธิบัตรดังกล่าวจะถือว่าไม่เป็นการฝ่าฝืน
  • ผู้ทรงสิทธิบัตรมีสิทธิใช้คำว่า “สิทธิบัตรไทย” หรืออักษรย่อ. หรืออักษรต่างประเทศที่มีความหมายเช่นเดียวกัน เป็นต้น

ซึ่งสิทธิเหล่านี้จะมีอยู่ในขอบเขตความคุ้มครองทางกฎหมายในประเทศไทยเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม..

  • ผู้ประดิษฐ์ส่วนหนึ่งมักจะเข้าใจว่า..เมื่อได้รับจดสิทธิบัตรไทยแล้ว ก็จะได้รับความคุ้มครองทั่วโลก
  • แต่ในความเป็นจริงแล้ว..ไม่มีระบบสิทธิบัตรโลก ที่สามารถคุ้มครองสิทธิได้ทั่วโลก
Content PT 201805 06 1

ดังนั้น ถ้าหากเราต้องการทำการตลาดในต่างประเทศ เช่น ทำการส่งออกสินค้าไปขายในประเทศสหรัฐอเมริกา แล้วเราได้ไปเจอคนที่ผลิตสินค้าที่เหมือนคล้ายหรือลอกเลียนแบบสิทธิบัตรของเราที่ได้รับจดในประเทศไทย สิทธิทางกฎหมายสิทธิบัตรไทยของเราก็จะไม่คุ้มครองไปถึงการดำเนินคดีละเมิดสิทธิบัตรในประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเราไม่ได้ยื่นคำขอและได้รับจดทะเบียนสิทธิบัตรประเทศสหรัฐอเมริกา เราจึงไม่ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายสิทธิบัตรสหรัฐอเมริกา กล่าวคือ ไม่มีสิทธิทางกฎหมายที่จะดำเนินคดีละเมิดสิทธิบัตรในประเทศสหรัฐอเมริกาได้  เป็นต้น

โดยสรุปคือ..จดสิทธิบัตรประเทศใด ก็จะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายในประเทศนั้น เท่านั้น!

ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่จะทำการค้าขายในต่างประเทศ

เมื่อผู้ประดิษฐ์ได้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่ต้องการไปตีตลาดต่างประเทศ เช่น ส่งออกต่างประเทศ หรือมีตัวแทนจัดจำหน่ายในต่างประเทศ และต้องการที่ปกป้องสิทธิของตนเองในฐานะเป็นเจ้าของสิทธิบัตรในต่างประเทศ สิ่งที่ท่านควรจะต้องทำ คือ ต้องทำการยื่นจดสิทธิบัตรในประเทศที่เราไปทำการตลาดด้วย ด้วยการยื่นโดยตรง หรือยื่นผ่านระบบที่ช่วยอำนวยความสะดวก เช่น ระบบ PCT เพื่อประโยชน์ในการบังคับใช้สิทธิทางกฎหมาย และทำให้สินค้าเราเป็นที่น่าเชื่อถือมากขึ้นในสายตาผู้บริโภคในต่างประเทศ และยังเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าของเราอีกทางด้วย

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณอย่างเต็มที่

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ