OUR BLOG

3 เมนูเจ ที่ได้รับการคุ้มครองสูตรด้วย “อนุสิทธบัตร”

3 เมนูเจ ที่ได้รับการคุ้มครองสูตรด้วย อนุสิทธิบัตร

ถือศีลกินเจ ได้บุญ ได้ความสุข และได้สุขภาพที่ดี

3 เมนูเจ ที่ได้รับการคุ้มครองสูตรด้วย

อนุสิทธิบัตร

ใกล้เข้ามาแล้วนะคะ กับเทศกาล “กินเจ” ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีผู้ให้ความสนใจร่วมเทศกาลกินเจมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเรื่องเทรนด์การรักสุขภาพ และถือโอกาสเป็นการทำบุญลดด้วยการงดเว้นการรับประทานเนื้อสัตว์

oy7ej9ltdC0a2QCxcv7 o

เครดิตภาพจาก Pantip.com

แต่ทุกท่านทราบหรือไม่ว่า กว่าจะได้มาซึ่งเมนูอาหารเจที่มีรสชาติแสนอร่อยถูกปากผู้บริโภคนั้น เจ้าของสูตรต้องคิดค้น พัฒนาสูตร ลองผิดลองถูก และใช้ความพยายามไม่น้อยเลยนะคะ จึงทำให้เจ้าของสูตรหลายๆ เมนู มีการยื่นขอจดสิทธิบัตร เพื่อความคุ้มครองสูตรอันแสนอร่อยของตนเอง วันนี้ IDG ขอยกตัวอย่าง 3 เมนูที่ได้รับความคุ้มครองแล้วจากการจดอนุสิทธิบัตร มาฝากทุกท่านค่ะ

1. ชีสเจที่มีส่วนผสมน้ำมันมะพร้าว 

โดย นายณรงค์  โชควัฒนา ซึ่งเมนูชีสเจนี้ ได้รับการจดอนุสิทธิบัตรในประเทศไทย

  • ชื่อการประดิษฐ์ ชีสเจที่มีส่วนผสมน้ำมันมะพร้าว1
  • เลขที่อนุสิทธิบัตร 10787
  • วันที่ 24 พฤศจิกายน 2558

pt content Vegetarianism 01 1

รูปภาพจาก facebook คุณปานเทพ พัวพงษ์พันธ์


ซึ่งชีสเจตามการประดิษฐ์นี้ เป็นชีสที่มีส่วนผสมของน้ำมันมะพร้าว และทำจากโปรตีนจากถั่วเหลืองที่สกัด น้ำมันออกแล้วนำมาผสมน้ำมันมะพร้าว และใช้สารอินทรีย์ในการแต่งกลิ่นและรสชีส และเกลือ โดยที่สารอินทรีย์นั้น สามารถเลือกได้จาก เต้าเจี้ยว หรือ นิวทริชันนัลยีสต์ หรือ เต้าหู้ยี้ โดยชีสเจที่มีส่วนผสมน้ำมันมะพร้าว มีคุณค่าทางโภชนาการ บำรุงสุขภาพ เป็นอาหารเจ ซึ่งถือเป็นที่ต้องการของกลุ่มผู้ไม่รับประทานอาหารที่กำเนิดมาจากสัตว์อย่างเคร่งครัด โดยชีสเจดังกล่าวมีรูป ลักษณะ สี กลิ่น รส เหมือนชีสแบบตะวันตก


สำหรับผู้ที่รักสุขภาพและผู้ที่ชื่นชอบในชีส สามารถไปลองชิมกันได้ ที่ร้าน สปาฟู้ดส์ โดยทางร้านยังมีอาหารเจอีกหลายเมนูให้เลือกทานกันด้วยนะคะ

2. สาหร่ายอบซอสรสกระเทียม

โดย คุณอิทธิพัทธ์  พีระเดชาพันธ์ ซึ่งสาหร่ายอบกรอบนี้ ได้รับการจดอนุสิทธิบัตรในประเทศไทย

  • ชื่อการประดิษฐ์ กระบวนการผลิตสาหร่ายอบซอสรสกระเทียม3
  • เลขที่อนุสิทธิบัตร 8567
  • วันที่ 19 ธันวาคม 2556

ซึ่งสาหร่ายอบตามการประดิษฐ์นี้ เป็นกระบวนการผลิตสาหร่ายอบซอสสไตล์ญี่ปุ่นรสกระเทียม ประกอบด้วย การเตรียมสาหร่าย การเตรียมน้ำซอส การพ่นน้ำซอส การอบสาหร่าย การตัดขนาด และการบรรจุ โดยสาหร่ายที่นำมาผลิตสาหร่ายเป็นสาหร่ายที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ ทางด้านกายภาพ (ลักษณะปรากฏ) การตรวจสอบสิ่งปลอมปนโดยเครื่องเอ็กซเรย์ ทางด้านเคมี (ความชื้น, การตรวจโลหะโดยเครื่องเอ็กซเรย์)และด้านชีวภาพ (เชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค) ซึ่งผลิตภัณฑ์สาหร่ายที่ได้มีความกรอบ รสชาติกระเทียมและสาหร่ายมีความกลมกล่อม มีลักษณะเป็นแผ่นตรงเรียบ และมีเกล็ดกระเทียมอยู่บนสาหร่าย สามารถเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องได้ และเหมาะสมสำหรับทุกเพศทุกวัย

สาหร่ายอบซอสสไตล์ญี่ปุ่นรสกระเทียมนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการหาอาหารว่างมาไว้ขบเคี้ยวในช่วงเทศกาลกินเจ เนื่องจากอาหารเจนั้นย่อยเร็ว ทำให้ช่วงที่ทานอาหารเจค่อนข้างจะหิวเร็วกว่าช่วงที่ทานอาหารปกติ นอกจากรสกระเทียมแล้ว ยังมีสาหร่ายรสชาติอื่นๆ ให้เลือกทานทั้งสำหรับผู้ที่ทานเจและไม่ได้ทานเจอีกนะคะ

3. ไก่เทียมสมุนไพร

โดย คุณชลิตา  เจษฎานุรักษ์ ซึ่งไก่เทียมนี้ ได้รับการจดอนุสิทธิบัตรในประเทศไทย

  • ชื่อการประดิษฐ์ ไก่เทียมสมุนไพร3
  • เลขที่อนุสิทธิบัตร 999
  • วันที่ 28 เมษายน 2546

pt_content_Vegetarianism-02

รูปภาพจาก thaitambon.com


ซึ่งไก่เทียมสมุนไพรตามการประดิษฐ์นี้ ส่วนผสมหลักประกอบด้วย โปรตีนเกษตร ถั่วลิสง เม็ดมะม่วงหิมะพานต์ ใบมะกรูด พริกแห้ง และในส่วนของเครื่องปุรง สำหรับผัดคลุก ประกอบด้วย ซีอิ้วถั่วเหลือง เกลือ น้ำตาล น้ำมัน โดยนำส่วนผสมของเครื่องปรุงทั้งหมดลงผัดคลุกจนเกลือและน้ำตาลละลาย จากนั้นนำเอาส่วนผสมหลักลงผัดคลุกจนเข้ากัน จะได้เป็นผลิตภัณฑ์ไก่เทียมสมุนไพร

ไก่เทียมสมุนไพรนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งกับข้าวทางเลือกให้กับผู้ที่ทานอาหารเจซึ่งกับข้าวนี้สามารถพกพาไปได้ทุกที เนื่องจากสามารถเก็บรักษาได้ในอุณหภูมิห้อง นอกจากไก่เทียมสมุนไพรนี้จะมีการยื่นจดอนุสิทธิบัตรแล้ว ยังได้เป็นสินค้าที่ได้รับเลือกให้เป็นสินค้าโอทอป หรือสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์อีกด้วยนะคะ

ข้อมูลจากฐานข้อมูลสิทธิบัตรไทย www.ipthailand.go.th

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Line : @idgthailand 

IDG ยินดีให้คำปรึกษา พร้อมให้บริการจดสิทธิบัตรทั้งในไทยและต่างประเทศ ครอบคลุมกว่าร้อยประเทศทั่วโลก

เห็นมั้ยค่ะว่า “สิทธิบัตร” นั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวที่หลายๆ ท่านอาจคาดไม่ถึง เพียงเพราะยังไม่เห็นถึงประโยชน์ของการคุ้มครองดังกล่าว แต่เมื่อใดที่ท่านคิดประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาบนโลกใบนี้ การนำสิ่งนั้นมาจดสิทธิบัตร จะสามารถนำพาธุรกิจคุณไปสู่ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ได้นะคะ

ต้นเรื่องโดย:
พิมพ์พรรณ อโณทัยนาท (พิมพ์)
ตัวแทนด้านสิทธิบัตร

Facebook
Twitter
LinkedIn

บทความล่าสุด

3 เมนูเจ ที่ได้รับการคุ้มครองสูตรด้วย อนุสิทธิบัตร

ถือศีลกินเจ ได้บุญ ได้ความสุข และได้สุขภาพที่ดี

3 เมนูเจ ที่ได้รับการคุ้มครองสูตรด้วย

อนุสิทธิบัตร

ใกล้เข้ามาแล้วนะคะ กับเทศกาล “กินเจ” ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีผู้ให้ความสนใจร่วมเทศกาลกินเจมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเรื่องเทรนด์การรักสุขภาพ และถือโอกาสเป็นการทำบุญลดด้วยการงดเว้นการรับประทานเนื้อสัตว์

oy7ej9ltdC0a2QCxcv7 o

เครดิตภาพจาก Pantip.com

แต่ทุกท่านทราบหรือไม่ว่า กว่าจะได้มาซึ่งเมนูอาหารเจที่มีรสชาติแสนอร่อยถูกปากผู้บริโภคนั้น เจ้าของสูตรต้องคิดค้น พัฒนาสูตร ลองผิดลองถูก และใช้ความพยายามไม่น้อยเลยนะคะ จึงทำให้เจ้าของสูตรหลายๆ เมนู มีการยื่นขอจดสิทธิบัตร เพื่อความคุ้มครองสูตรอันแสนอร่อยของตนเอง วันนี้ IDG ขอยกตัวอย่าง 3 เมนูที่ได้รับความคุ้มครองแล้วจากการจดอนุสิทธิบัตร มาฝากทุกท่านค่ะ

1. ชีสเจที่มีส่วนผสมน้ำมันมะพร้าว 

โดย นายณรงค์  โชควัฒนา ซึ่งเมนูชีสเจนี้ ได้รับการจดอนุสิทธิบัตรในประเทศไทย

  • ชื่อการประดิษฐ์ ชีสเจที่มีส่วนผสมน้ำมันมะพร้าว1
  • เลขที่อนุสิทธิบัตร 10787
  • วันที่ 24 พฤศจิกายน 2558

pt content Vegetarianism 01 1

รูปภาพจาก facebook คุณปานเทพ พัวพงษ์พันธ์


ซึ่งชีสเจตามการประดิษฐ์นี้ เป็นชีสที่มีส่วนผสมของน้ำมันมะพร้าว และทำจากโปรตีนจากถั่วเหลืองที่สกัด น้ำมันออกแล้วนำมาผสมน้ำมันมะพร้าว และใช้สารอินทรีย์ในการแต่งกลิ่นและรสชีส และเกลือ โดยที่สารอินทรีย์นั้น สามารถเลือกได้จาก เต้าเจี้ยว หรือ นิวทริชันนัลยีสต์ หรือ เต้าหู้ยี้ โดยชีสเจที่มีส่วนผสมน้ำมันมะพร้าว มีคุณค่าทางโภชนาการ บำรุงสุขภาพ เป็นอาหารเจ ซึ่งถือเป็นที่ต้องการของกลุ่มผู้ไม่รับประทานอาหารที่กำเนิดมาจากสัตว์อย่างเคร่งครัด โดยชีสเจดังกล่าวมีรูป ลักษณะ สี กลิ่น รส เหมือนชีสแบบตะวันตก


สำหรับผู้ที่รักสุขภาพและผู้ที่ชื่นชอบในชีส สามารถไปลองชิมกันได้ ที่ร้าน สปาฟู้ดส์ โดยทางร้านยังมีอาหารเจอีกหลายเมนูให้เลือกทานกันด้วยนะคะ

2. สาหร่ายอบซอสรสกระเทียม

โดย คุณอิทธิพัทธ์  พีระเดชาพันธ์ ซึ่งสาหร่ายอบกรอบนี้ ได้รับการจดอนุสิทธิบัตรในประเทศไทย

  • ชื่อการประดิษฐ์ กระบวนการผลิตสาหร่ายอบซอสรสกระเทียม3
  • เลขที่อนุสิทธิบัตร 8567
  • วันที่ 19 ธันวาคม 2556

ซึ่งสาหร่ายอบตามการประดิษฐ์นี้ เป็นกระบวนการผลิตสาหร่ายอบซอสสไตล์ญี่ปุ่นรสกระเทียม ประกอบด้วย การเตรียมสาหร่าย การเตรียมน้ำซอส การพ่นน้ำซอส การอบสาหร่าย การตัดขนาด และการบรรจุ โดยสาหร่ายที่นำมาผลิตสาหร่ายเป็นสาหร่ายที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ ทางด้านกายภาพ (ลักษณะปรากฏ) การตรวจสอบสิ่งปลอมปนโดยเครื่องเอ็กซเรย์ ทางด้านเคมี (ความชื้น, การตรวจโลหะโดยเครื่องเอ็กซเรย์)และด้านชีวภาพ (เชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค) ซึ่งผลิตภัณฑ์สาหร่ายที่ได้มีความกรอบ รสชาติกระเทียมและสาหร่ายมีความกลมกล่อม มีลักษณะเป็นแผ่นตรงเรียบ และมีเกล็ดกระเทียมอยู่บนสาหร่าย สามารถเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องได้ และเหมาะสมสำหรับทุกเพศทุกวัย

สาหร่ายอบซอสสไตล์ญี่ปุ่นรสกระเทียมนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการหาอาหารว่างมาไว้ขบเคี้ยวในช่วงเทศกาลกินเจ เนื่องจากอาหารเจนั้นย่อยเร็ว ทำให้ช่วงที่ทานอาหารเจค่อนข้างจะหิวเร็วกว่าช่วงที่ทานอาหารปกติ นอกจากรสกระเทียมแล้ว ยังมีสาหร่ายรสชาติอื่นๆ ให้เลือกทานทั้งสำหรับผู้ที่ทานเจและไม่ได้ทานเจอีกนะคะ

3. ไก่เทียมสมุนไพร

โดย คุณชลิตา  เจษฎานุรักษ์ ซึ่งไก่เทียมนี้ ได้รับการจดอนุสิทธิบัตรในประเทศไทย

  • ชื่อการประดิษฐ์ ไก่เทียมสมุนไพร3
  • เลขที่อนุสิทธิบัตร 999
  • วันที่ 28 เมษายน 2546

pt_content_Vegetarianism-02

รูปภาพจาก thaitambon.com


ซึ่งไก่เทียมสมุนไพรตามการประดิษฐ์นี้ ส่วนผสมหลักประกอบด้วย โปรตีนเกษตร ถั่วลิสง เม็ดมะม่วงหิมะพานต์ ใบมะกรูด พริกแห้ง และในส่วนของเครื่องปุรง สำหรับผัดคลุก ประกอบด้วย ซีอิ้วถั่วเหลือง เกลือ น้ำตาล น้ำมัน โดยนำส่วนผสมของเครื่องปรุงทั้งหมดลงผัดคลุกจนเกลือและน้ำตาลละลาย จากนั้นนำเอาส่วนผสมหลักลงผัดคลุกจนเข้ากัน จะได้เป็นผลิตภัณฑ์ไก่เทียมสมุนไพร

ไก่เทียมสมุนไพรนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งกับข้าวทางเลือกให้กับผู้ที่ทานอาหารเจซึ่งกับข้าวนี้สามารถพกพาไปได้ทุกที เนื่องจากสามารถเก็บรักษาได้ในอุณหภูมิห้อง นอกจากไก่เทียมสมุนไพรนี้จะมีการยื่นจดอนุสิทธิบัตรแล้ว ยังได้เป็นสินค้าที่ได้รับเลือกให้เป็นสินค้าโอทอป หรือสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์อีกด้วยนะคะ

ข้อมูลจากฐานข้อมูลสิทธิบัตรไทย www.ipthailand.go.th

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Line : @idgthailand 

IDG ยินดีให้คำปรึกษา พร้อมให้บริการจดสิทธิบัตรทั้งในไทยและต่างประเทศ ครอบคลุมกว่าร้อยประเทศทั่วโลก

เห็นมั้ยค่ะว่า “สิทธิบัตร” นั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวที่หลายๆ ท่านอาจคาดไม่ถึง เพียงเพราะยังไม่เห็นถึงประโยชน์ของการคุ้มครองดังกล่าว แต่เมื่อใดที่ท่านคิดประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาบนโลกใบนี้ การนำสิ่งนั้นมาจดสิทธิบัตร จะสามารถนำพาธุรกิจคุณไปสู่ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ได้นะคะ

ต้นเรื่องโดย:
พิมพ์พรรณ อโณทัยนาท (พิมพ์)
ตัวแทนด้านสิทธิบัตร

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณอย่างเต็มที่

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ