OUR BLOG

4 กลุ่มสิทธิบัตร กับการแก้ปัญหาเรื่องการนอน

idg 201802 14 1


4 กลุ่มสิทธิบัตร กับการแก้ปัญหาเรื่องการนอน

เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา เป็น “วันนอนหลับโลก” (World Sleep Day) ซึ่งเป็นวันหนึ่งที่ช่วยสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการให้ความสำคัญของ “การนอน” ทั้งในด้านใช้ยา, การให้ความรู้ และการขับรถที่ปลอดภัย

 

World Sleep Society เป็นองค์กรหลักที่สนับสนุนการให้ความรู้เกี่ยวกับ ปัญหาการนอนหลับ, การป้องกันและจัดการโรคเกี่ยวกับการนอนหลับทั่วโลก โดยในปี 2018 นี้ มีคำขวัญว่า “Join the Sleep World, Preserve Your Rhythms to Enjoy Life” ซึ่งมีเป้าหมายในการเพิ่มความตระหนักถึงความสำคัญของ Circadian Rhythms หรือนาฬิกาชีวภาพ การรักษานาฬิกาชีวภาพที่ดีไว้ ด้วยการนอนหลับให้เพียงพอโดยไม่มีสิ่งใดขัดจังหวะการนอน มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดความผิดปกติในการนอน, อาการผิดปกติทางจิต, และปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น ความดันสูง, โรคอ้วน, หรือโรคเบาหวานได้

 
worldsleepday
 

ซึ่งการนอนที่ดี สามารถเริ่มต้นได้จากปัจจัยสำคัญ 3 ปัจจัยดังนี้ค่ะ

  1. ระยะเวลา : ระยะเวลาในการนอนต้องเพียงพอสำหรับการพักผ่อน และตื่นอย่างสดชื่นได้ในวันถัดไป
  2. ความต่อเนื่อง : ควรนอนอย่างต่อเนื่อง ไม่ตื่นเป็นช่วงและไม่มีสิ่งอื่นมารบกวนการนอน
  3. ความลึก : ควรนอนหลับได้ลึกเพียงพอที่จะทำให้ร่างกายสามารถฟื้นตัว และกลับเข้าสู่สภาพปกติได้

ปัจจุบันจึงมีการพัฒนายาและการประดิษฐ์มากมาย เพื่อช่วยแก้ปัญหาการนอน วันนี้เราจึงขอยกตัวอย่างสิทธิบัตร 4 กลุ่ม โดยแบ่งตามการประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยแก้ปัญหาเรื่องการนอนโดยเฉพาะ แต่ละกลุ่มจะน่าสนใจขนาดไหน..มาชมกันเลยค่ะ

1. ยาสำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านการนอนหลับ

1. อนุพันธ์เมลาโทนินสำหรับใช้ในการรักษาความผิดปกติของการหลับ (สิทธิบัตรยา), เลขที่คำขอ: 9401002481, วันที่ขอ: 15 พ.ย. 2537

2. สารประกอบอะมิโนแบบเกลียวที่เหมะสมสำหรับการรักษาบางประการรวมถึงความ ผิดปกติทางการนอนหลับและภาวะติดยา (สิทธิบัตรยา), เลขที่คำขอ: 1201000131, วันที่ขอ: 15 ก.ค. 2553

3. องค์ประกอบทางโภชนาการซึ่งประกอบรวมด้วยโปรไบโอติก และปรับปรุงรูปแบบการนอนหลับ (สิทธิบัตรยา), เลขที่คำขอ: 0901004883, วันที่ขอ: 02 พ.ย. 2552

4. ยาสมุนไพรไทยรักษาอาการนอนไม่หลับ (อนุสิทธิบัตร), เลขที่คำขอ: 1103001237, วันที่ขอ: 14 พ.ย. 2554

2. อุปกรณ์ช่วยจัดการการนอนหลับ

1. อุปกรณ์และวิธีการสำหรับเฝ้าสังเกตการหลับ (สิทธิบัตรการประดิษฐ์ ผ่านระบบ PCT) , เลขที่คำขอ: 1701003768, วันที่ขอ: 30 ธ.ค. 2557 อุปกรณ์นี้สามารถช่วยเรากำหนดเวลาที่จะหลับ และคาบเวลาที่จะตื่น ซึ่งอุปกรณ์จะตรวจจับการหลับจากข้อมูลการเคลื่อนไหวของผู้นอน

2. ระบบปรับสภาวะอากาศให้เหมาะกับระดับการนอนหลับ (สิทธิบัตรการประดิษฐ์), เลขที่คำขอ: 1501007696, วันที่ขอ: 22 ธ.ค. 2558 ระบบนี้ช่วยปรับสภาวะอากาศให้เหมาะกับระดับการนอนหลับ จากการตรวจจับระดับการนอนหลับจาก อุณภูมิร่ายกาย การเคลื่อนไหวของร่ายกายและอัตราการเต้นหัวใจ เพื่อสั่งให้เครื่องปรับอากาศปรับอุณหภูมิ และความชื้นให้เหมาะสมกับร่ายกาย

pt content 20180301

3. อุปกรณ์ช่วยเพิ่มความปลอดภัยขณะขับรถ

1. เครื่องป้องกันการหลับขณะขับยานพาหนะ (สิทธิบัตรการประดิษฐ์), เลขที่คำขอ: 0001002086, วันที่ขอ: 12 มิ.ย. 2543 อุปกรณ์นี้สามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวของพวงมาลัย หากไม่มีการเคลื่อนไหวของพวงมาลัยนานเกินกว่าระยะเวลาที่ตั้งไว้ อุปกรณ์จะส่งสัญญาณเตือนผู้ขับขี่

2. เครื่องตรวจจับและแจ้งเตือนการหลับใน (สิทธิบัตรการประดิษฐ์), เลขที่คำขอ: 1501003654, วันที่ขอ: 25 มิ.ย. 2558 อุปกรณ์นี้สามารถตรวจจับการกระพริบตา สัญญาณชีพ การเคลื่อนไหว ร่วมกับการตรวจจับความเร็ว เพื่อตรวจจับการหลับในและแจ้งเตือนผู้ขับขี่ โดยไม่ต้องดัดแปลงยานยนต์

pt content 20180302
 

3. อุปกรณ์เตือนหลับในขณะขับรถ (อนุสิทธิบัตร), เลขที่คำขอ: 0703000033, วันที่ขอ: 09 ม.ค. 2550 อุปกรณ์นี้จะส่งเสียงดังออกมา เมื่อศีรษะผู้สวมใส่มีการเคลื่อนที่ในลักษณะก้ม เงย หรือเอียงข้าง มากเกินกว่าตำแหน่งที่กำหนดในขณะขับรถ เพื่อเตือนให้หลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ

4. อุปกรณ์ป้องกันการหลับในของผู้ขับขี่รถยนต์ (อนุสิทธิบัตร), เลขที่คำขอ: 0403001016, วันที่ขอ: 20 ก.ย. 2547 อุปกรณ์นี้ช่วยเตือนผู้ขับขี่รถยนต์ด้วยเครื่องสั่นที่ติดตั้งไว้ใต้เบาะรองหนุนศีรษะ เพื่อให้ผู้ขับขี่ตื่นจากการหลับใน

pt content 20180303

4. อุปกรณ์สำหรับคนที่มีความเสี่ยงเกิดภาวะหยุดหายใจชั่วคราวขณะหลับ

วิธีระบุช่วงเวลาการเกิดภาวะหยุดหายใจชั่วคราวในขณะนอนหลับจากสัญญาณคลื่นไฟฟ้าหัวใจด้วยคุณลักษณะของข้อมูลค่าอาร์อาร์-อินเตอร์วัล (สิทธิบัตรการประดิษฐ์), เลขที่คำขอ: 1101000227, วันที่ขอ: 17 ก.พ. 2554

 

Reference

  • Kandel ER, Schwartz JH, Jessell TM. Principles of neural science. The McGraw-Hill Companies Inc, 2000
  • http://worldsleepday.org

IDG ยินดีให้คำปรึกษา พร้อมให้บริการจดสิทธิบัตรทั้งในไทยและต่างประเทศ ครอบคลุมกว่าร้อยประเทศทั่วโลก

จะเห็นได้ว่า การนอนที่ดีมีความสำคัญต่อชีวิตเรา มากกว่าการดำเนินชีวิตทั่วไปในช่วงกลางวันเสียอีก ซึ่งเราสามารถรักษาสุขภาพให้ดีอยู่เสมอได้ง่ายๆ ด้วยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความตื่นตัวในการเรียนรู้และการทำงานในวันถัดไปให้ดีขึ้นได้นะคะ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้า สวัสดีค่ะ

 

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ