OUR BLOG

เจาะลึกสิทธิบัตรยาคืออะไร มีความสำคัญและผลกระทบอย่างไร

Banner Content PT

ในโลกของอุตสาหกรรมยาและการแพทย์สมัยใหม่ สิทธิบัตรยาถือเป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขและการเข้าถึงยาของประชาชน ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการวิจัยพัฒนายาใหม่ ๆ ทำให้สิทธิบัตรยากลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทยา ขณะเดียวกันก็มีผลต่อราคายาและการเข้าถึงการรักษาของประชาชน บทความนี้ IDG ขอชวนมาเจาะลึกเกี่ยวกับสิทธิบัตรยาว่าคืออะไร สำคัญอย่างไร และมีเรื่องอะไรบ้างที่ควรรู้เกี่ยวกับการจดสิทธิบัตรยา

สิทธิบัตรยา คืออะไร

สิทธิบัตรยา คือ สิทธิตามกฎหมายที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับยา โดยผู้ทรงสิทธิบัตรจะมีสิทธิเด็ดขาดในการผลิต ใช้ จำหน่าย นำเข้ามาในประเทศ หรืออนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิในการผลิตยานั้น ซึ่งบริษัทอื่นจะไม่สามารถผลิต ใช้ จำหน่าย หรือนำเข้ายาชื่อสามัญนั้น ๆ ได้ ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ได้ระบุขอบเขตความคุ้มครองสิทธิบัตรยาของประเทศไทยในกระบวนการผลิตยา แต่ไม่รวมการคุ้มครองยาหรือส่วนผสมของตัวยา 

อายุสิทธิบัตรยา กี่ปี?

สิทธิบัตรยาของประเทศไทยมีอายุความคุ้มครองสูงสุด 20 ปี เมื่ออายุของสิทธิบัตรสิ้นสุดการคุ้มครองงานประดิษฐ์ก็จะตกเป็นสาธารณะ โดยบริษัทอื่นก็สามารถที่จะเข้าถึงข้อมูลและผลิตยาตัวนี้ได้โดยไม่ถือเป็นการละเมิด ซึ่งมีข้อดี คือ ทำให้ราคาของยาตัวนั้นต่ำลง ประชาชนและระบบประกันสุขภาพสามารถเข้าถึงยาชนิดนั้นได้สะดวกขึ้น

สำหรับการยื่นจดสิทธิบัตรยาผ่านระบบ PCT นั้น ผู้ขอถือสิทธิมีระยะเวลาถึง 30 เดือนนับจากวันที่ยื่นคำขอครั้งแรก ในการตัดสินใจว่าจะขอรับความคุ้มครองในประเทศใดบ้าง ช่วยให้มีเวลาประเมินศักยภาพทางการตลาดและความคุ้มค่าในการลงทุนได้อย่างรอบคอบ

อย่างไรก็ตาม มีกลยุทธ์ที่บริษัทยามักใช้ในการยืดอายุของสิทธิบัตรออกไป เพื่อรักษาผลประโยชน์ของบริษัทไว้ ซึ่งเรียกว่า Evergreen Patent โดยทำได้หลายรูปแบบ เช่น การนำตัวยาเก่า 2 ตัวมาผสมกันจนเกิดเป็นตัวยาใหม่แต่ให้ผลการรักษาแบบเดิม หรือใช้ตัวยาเดิมแต่พบผลการรักษาใหม่ จึงนำมาจดสิทธิบัตรเป็นยาใหม่ กลยุทธ์ดังกล่าวมีส่วนส่งผลให้บริษัทอื่นไม่สามารถผลิตยาออกมาได้จนทำให้ราคายายังคงสูงและเข้าถึงได้ยากเช่นเดิม

[IDG] SEO NOV C01 2 1200x628

การจดสิทธิบัตรยาที่ควรรู้

ในการจดสิทธิบัตรยามีข้อมูลที่ต้องรู้เพิ่มเติมอยู่หลายด้าน อาทิ

การจดสิทธิบัตรยาในระดับสากล

ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกในสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร หรือ PCT (Patent Cooperation Treaty) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรในหลายประเทศพร้อมกัน โดยไม่ต้องยื่นคำขอแยกในแต่ละประเทศ ทำให้บริษัทสามารถขยายความคุ้มครองสิทธิบัตรไปยังต่างประเทศได้สะดวกมากขึ้น และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ 

การบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา (Compulsory Licensing)

การบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา หรือ CL เป็นมาตรการที่รัฐสามารถอนุญาตให้หน่วยงานของรัฐผลิตยาที่ติดสิทธิบัตรได้ สอดคล้องตามประกาศปฏิญญาโดฮา (Doha Declaration) โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของสิทธิบัตร เพื่อประโยชน์สุขภาพของคนส่วนใหญ่ของประเทศ มาตรการนี้มักใช้ในกรณีที่มีความจำเป็นด้านสาธารณสุข เช่น การระบาดของโรค หรือยามีราคาสูงเกินไปจนประชาชนเข้าถึงได้ยาก เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงในยามจำเป็นได้มากขึ้น

ความสำคัญของสิทธิบัตรยา

สิทธิบัตรยามีความสำคัญต่อระบบสาธารณสุขและอุตสาหกรรมยาหลายประการ ประการแรก ช่วยส่งเสริมการวิจัยและพัฒนายาใหม่ เนื่องจากบริษัทยาสามารถได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนวิจัยและพัฒนา ประการที่สอง ช่วยคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของผู้ประดิษฐ์คิดค้น ป้องกันการลอกเลียนแบบโดยไม่ได้รับอนุญาต 

นอกจากนี้ การที่ประเทศไทยเข้าร่วมระบบ PCT ยังสามารถดึงดูดการลงทุนจากบริษัทยาต่างชาติ เนื่องจากมั่นใจได้ว่าจะได้รับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาตามมาตรฐานสากล ขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้บริษัทยาไทยสามารถขยายการคุ้มครองสิทธิบัตรไปยังต่างประเทศได้สะดวกขึ้น ซึ่งเป็นการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมยาภายในประเทศ

บทสรุปของสิทธิบัตรยา

สิทธิบัตรยายังคงเป็นประเด็นที่มีการพูดคุยกันในสังคม โดยเฉพาะผลกระทบต่อราคายาและการเข้าถึงการรักษาของประชาชน เนื่องจากการให้สิทธิผูกขาดแก่ผู้ทรงสิทธิบัตรในการผลิตและจำหน่าย ส่งผลให้ยาที่อยู่ภายใต้การคุ้มครองมีราคาค่อนข้างสูง ทำให้ผู้ป่วยบางกลุ่มอาจเข้าถึงการรักษาได้ยากขึ้น

ทั้งนี้ ระบบสิทธิบัตรยาที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องสร้างความสมดุลระหว่างการส่งเสริมการวิจัยพัฒนายาใหม่และการดูแลประโยชน์สาธารณะ การมีมาตรการยืดหยุ่นที่เหมาะสม เช่น การบังคับใช้สิทธิ (Compulsory Licensing) ในกรณีจำเป็น หรือการส่งเสริมการผลิตยาชื่อสามัญหลังสิทธิบัตรหมดอายุ จะช่วยให้ระบบสาธารณสุขของประเทศพัฒนาได้อย่างยั่งยืน และประชาชนสามารถเข้าถึงยาที่จำเป็นได้มากขึ้น

ด้วยความซับซ้อนของระบบสิทธิบัตรยา IDG จึงพร้อมให้บริการด้านการจดสิทธิบัตรอย่างครบวงจร ด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สูง คอยให้คำปรึกษาและดูแลตลอดกระบวนการจดทะเบียน ตั้งแต่การตรวจสอบคุณสมบัติการประดิษฐ์ การเตรียมเอกสาร ไปจนถึงการติดตามผล เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ เรายังมีบริการด้านการออกแบบแบรนดิ้ง โลโก้ และบริการอื่น ๆ ที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจของท่านอย่างครบครัน

IDG บริษัทรับออกแบบ พร้อมบริการด้านทรัพย์สินทางปัญญาครบวงจร

เรา คือ บริษัทให้คำปรึกษาด้านทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับองค์กรแบบครบวงจร เราให้บริการ  ออกแบบโลโก้ ออกแบบ CI ออกแบบโปรไฟล์บริษัท บริการออกแบบวางแผน Content Marketing ออกแบบสื่อดิจิทัล และอื่น ๆ มากมาย ดำเนินงานโดยทีมงานมืออาชีพที่มีประสบการณ์สูง นอกจากนี้ IDG ให้บริการด้านทรัพย์สินทางปัญญาอย่างครบวงจร ครอบคลุมทั้งการให้คำปรึกษา วางกลยุทธ์ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จดสิทธิบัตร รวมถึงให้บริการดำเนินงานด้านการซื้อขายเทคโนโลยีหรือ IP เรามีความพร้อมในการดูแลลูกค้าตั้งแต่กระบวนการแรกไปจนถึงการติดตามผล เพื่อให้มั่นใจว่าทรัพย์สินทางปัญญาของคุณได้รับการปกป้องและใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่

ดูข้อมูลเพิ่มเติม หรือติดต่อสอบถาม

อีเมล: [email protected] 

โทร.: 02-011-7161 ถึง 6

ไลน์: @idgthailand

Facebook: facebook.com/IDGThailand 

LinkedIn: linkedin.com/in/intellectualdesigngroup/ 

Facebook
Twitter
LinkedIn
Banner Content PT

ในโลกของอุตสาหกรรมยาและการแพทย์สมัยใหม่ สิทธิบัตรยาถือเป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขและการเข้าถึงยาของประชาชน ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการวิจัยพัฒนายาใหม่ ๆ ทำให้สิทธิบัตรยากลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทยา ขณะเดียวกันก็มีผลต่อราคายาและการเข้าถึงการรักษาของประชาชน บทความนี้ IDG ขอชวนมาเจาะลึกเกี่ยวกับสิทธิบัตรยาว่าคืออะไร สำคัญอย่างไร และมีเรื่องอะไรบ้างที่ควรรู้เกี่ยวกับการจดสิทธิบัตรยา

สิทธิบัตรยา คืออะไร

สิทธิบัตรยา คือ สิทธิตามกฎหมายที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับยา โดยผู้ทรงสิทธิบัตรจะมีสิทธิเด็ดขาดในการผลิต ใช้ จำหน่าย นำเข้ามาในประเทศ หรืออนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิในการผลิตยานั้น ซึ่งบริษัทอื่นจะไม่สามารถผลิต ใช้ จำหน่าย หรือนำเข้ายาชื่อสามัญนั้น ๆ ได้ ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ได้ระบุขอบเขตความคุ้มครองสิทธิบัตรยาของประเทศไทยในกระบวนการผลิตยา แต่ไม่รวมการคุ้มครองยาหรือส่วนผสมของตัวยา 

อายุสิทธิบัตรยา กี่ปี?

สิทธิบัตรยาของประเทศไทยมีอายุความคุ้มครองสูงสุด 20 ปี เมื่ออายุของสิทธิบัตรสิ้นสุดการคุ้มครองงานประดิษฐ์ก็จะตกเป็นสาธารณะ โดยบริษัทอื่นก็สามารถที่จะเข้าถึงข้อมูลและผลิตยาตัวนี้ได้โดยไม่ถือเป็นการละเมิด ซึ่งมีข้อดี คือ ทำให้ราคาของยาตัวนั้นต่ำลง ประชาชนและระบบประกันสุขภาพสามารถเข้าถึงยาชนิดนั้นได้สะดวกขึ้น

สำหรับการยื่นจดสิทธิบัตรยาผ่านระบบ PCT นั้น ผู้ขอถือสิทธิมีระยะเวลาถึง 30 เดือนนับจากวันที่ยื่นคำขอครั้งแรก ในการตัดสินใจว่าจะขอรับความคุ้มครองในประเทศใดบ้าง ช่วยให้มีเวลาประเมินศักยภาพทางการตลาดและความคุ้มค่าในการลงทุนได้อย่างรอบคอบ

อย่างไรก็ตาม มีกลยุทธ์ที่บริษัทยามักใช้ในการยืดอายุของสิทธิบัตรออกไป เพื่อรักษาผลประโยชน์ของบริษัทไว้ ซึ่งเรียกว่า Evergreen Patent โดยทำได้หลายรูปแบบ เช่น การนำตัวยาเก่า 2 ตัวมาผสมกันจนเกิดเป็นตัวยาใหม่แต่ให้ผลการรักษาแบบเดิม หรือใช้ตัวยาเดิมแต่พบผลการรักษาใหม่ จึงนำมาจดสิทธิบัตรเป็นยาใหม่ กลยุทธ์ดังกล่าวมีส่วนส่งผลให้บริษัทอื่นไม่สามารถผลิตยาออกมาได้จนทำให้ราคายายังคงสูงและเข้าถึงได้ยากเช่นเดิม

[IDG] SEO NOV C01 2 1200x628

การจดสิทธิบัตรยาที่ควรรู้

ในการจดสิทธิบัตรยามีข้อมูลที่ต้องรู้เพิ่มเติมอยู่หลายด้าน อาทิ

การจดสิทธิบัตรยาในระดับสากล

ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกในสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร หรือ PCT (Patent Cooperation Treaty) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรในหลายประเทศพร้อมกัน โดยไม่ต้องยื่นคำขอแยกในแต่ละประเทศ ทำให้บริษัทสามารถขยายความคุ้มครองสิทธิบัตรไปยังต่างประเทศได้สะดวกมากขึ้น และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ 

การบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา (Compulsory Licensing)

การบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา หรือ CL เป็นมาตรการที่รัฐสามารถอนุญาตให้หน่วยงานของรัฐผลิตยาที่ติดสิทธิบัตรได้ สอดคล้องตามประกาศปฏิญญาโดฮา (Doha Declaration) โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของสิทธิบัตร เพื่อประโยชน์สุขภาพของคนส่วนใหญ่ของประเทศ มาตรการนี้มักใช้ในกรณีที่มีความจำเป็นด้านสาธารณสุข เช่น การระบาดของโรค หรือยามีราคาสูงเกินไปจนประชาชนเข้าถึงได้ยาก เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงในยามจำเป็นได้มากขึ้น

ความสำคัญของสิทธิบัตรยา

สิทธิบัตรยามีความสำคัญต่อระบบสาธารณสุขและอุตสาหกรรมยาหลายประการ ประการแรก ช่วยส่งเสริมการวิจัยและพัฒนายาใหม่ เนื่องจากบริษัทยาสามารถได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนวิจัยและพัฒนา ประการที่สอง ช่วยคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของผู้ประดิษฐ์คิดค้น ป้องกันการลอกเลียนแบบโดยไม่ได้รับอนุญาต 

นอกจากนี้ การที่ประเทศไทยเข้าร่วมระบบ PCT ยังสามารถดึงดูดการลงทุนจากบริษัทยาต่างชาติ เนื่องจากมั่นใจได้ว่าจะได้รับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาตามมาตรฐานสากล ขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้บริษัทยาไทยสามารถขยายการคุ้มครองสิทธิบัตรไปยังต่างประเทศได้สะดวกขึ้น ซึ่งเป็นการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมยาภายในประเทศ

บทสรุปของสิทธิบัตรยา

สิทธิบัตรยายังคงเป็นประเด็นที่มีการพูดคุยกันในสังคม โดยเฉพาะผลกระทบต่อราคายาและการเข้าถึงการรักษาของประชาชน เนื่องจากการให้สิทธิผูกขาดแก่ผู้ทรงสิทธิบัตรในการผลิตและจำหน่าย ส่งผลให้ยาที่อยู่ภายใต้การคุ้มครองมีราคาค่อนข้างสูง ทำให้ผู้ป่วยบางกลุ่มอาจเข้าถึงการรักษาได้ยากขึ้น

ทั้งนี้ ระบบสิทธิบัตรยาที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องสร้างความสมดุลระหว่างการส่งเสริมการวิจัยพัฒนายาใหม่และการดูแลประโยชน์สาธารณะ การมีมาตรการยืดหยุ่นที่เหมาะสม เช่น การบังคับใช้สิทธิ (Compulsory Licensing) ในกรณีจำเป็น หรือการส่งเสริมการผลิตยาชื่อสามัญหลังสิทธิบัตรหมดอายุ จะช่วยให้ระบบสาธารณสุขของประเทศพัฒนาได้อย่างยั่งยืน และประชาชนสามารถเข้าถึงยาที่จำเป็นได้มากขึ้น

ด้วยความซับซ้อนของระบบสิทธิบัตรยา IDG จึงพร้อมให้บริการด้านการจดสิทธิบัตรอย่างครบวงจร ด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สูง คอยให้คำปรึกษาและดูแลตลอดกระบวนการจดทะเบียน ตั้งแต่การตรวจสอบคุณสมบัติการประดิษฐ์ การเตรียมเอกสาร ไปจนถึงการติดตามผล เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ เรายังมีบริการด้านการออกแบบแบรนดิ้ง โลโก้ และบริการอื่น ๆ ที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจของท่านอย่างครบครัน

IDG บริษัทรับออกแบบ พร้อมบริการด้านทรัพย์สินทางปัญญาครบวงจร

เรา คือ บริษัทให้คำปรึกษาด้านทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับองค์กรแบบครบวงจร เราให้บริการ  ออกแบบโลโก้ ออกแบบ CI ออกแบบโปรไฟล์บริษัท บริการออกแบบวางแผน Content Marketing ออกแบบสื่อดิจิทัล และอื่น ๆ มากมาย ดำเนินงานโดยทีมงานมืออาชีพที่มีประสบการณ์สูง นอกจากนี้ IDG ให้บริการด้านทรัพย์สินทางปัญญาอย่างครบวงจร ครอบคลุมทั้งการให้คำปรึกษา วางกลยุทธ์ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จดสิทธิบัตร รวมถึงให้บริการดำเนินงานด้านการซื้อขายเทคโนโลยีหรือ IP เรามีความพร้อมในการดูแลลูกค้าตั้งแต่กระบวนการแรกไปจนถึงการติดตามผล เพื่อให้มั่นใจว่าทรัพย์สินทางปัญญาของคุณได้รับการปกป้องและใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่

ดูข้อมูลเพิ่มเติม หรือติดต่อสอบถาม

อีเมล: [email protected] 

โทร.: 02-011-7161 ถึง 6

ไลน์: @idgthailand

Facebook: facebook.com/IDGThailand 

LinkedIn: linkedin.com/in/intellectualdesigngroup/ 

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณอย่างเต็มที่

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ