OUR BLOG

I Want a Plastic-Free World กระแสรักษ์โลกมาแน่

Plastic web1

I WANT A PLASTIC-FREE WORLD” กระแสรักษ์โลกมาแน่ !!

“พลาสติกใช้แล้วทิ้ง ใช้เวลาผลิต 5 วินาที ถูกนำไปใช้แค่ 5 นาที และใช้เวลาในการกำจัดพวกมันอีก 500 ปี หากเราไม่ลงมือตั้งแต่วันนี้ อีก 50 ปี ข้างหน้า ถนนจะเต็มไปด้วยขยะพลาสติกมากกว่าปลาในมหาสมุทร” ฟรานซ์ ทิมเมอร์แมนส์ (Frans Timmermans) รองประธานคณะกรรมาธิการยุโรป กล่าว

เมื่อผู้บริโภคเองเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดผลกระทบดังกล่าวทั้งทางตรงและทางอ้อม กล่าวคือ เป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต สิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศ นั่นหมายความว่า เราทุกคนสามารถเปลี่ยนตัวเองเพื่อพลิกโฉมหรือปรับปรุงให้โลกในทุกวันนี้น่าอยู่ขึ้นกว่าเดิมกันได้ด้วยตัวเอง

ผลสำรวจจาก Euromonitor International ประมาณการณ์ว่าบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกสำหรับอุปโภคบริโภคทั่วโลกนั้นมีมากถึง 63% สอดคล้องกับข้อมูล สถาบันนโยบายโลก (Earth Policy Institute) ที่รายงานว่า ทั่วโลกใช้ถุงพลาสติกมากถึง 3,000 ล้านใบต่อปี ปัญหาคือถุงพลาสติกส่วนใหญ่เป็นพลาสติกประเภทโพลิเอทิลิน ( Polyethylene: PE) ไม่สามารถย่อยสลายได้

นั่นหมายความว่า ไม่ว่าคุณจะกำจัดมันด้วยการรีไซเคิลหรือวิธีการใดก็ตามที่เรียกว่าถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ เช่น การฝังกลบ เผาทำลาย พลาสติกประเภทนี้ยังคงเป็นมลพิษอยู่ดี

สิ่งที่เห็นกันตลอดหลายปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันคือ การรณรงค์ให้ทุกคนหันมาสนใจสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการหยุดใช้พลาสติกใช้แล้วทิ้ง (single – use) ที่มาจากบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม หรือรณรงค์ให้ผู้ผลิตทั้งหลายยุติการใช้ไมโครพลาสติก (micro – plastics) เม็ดพลาสติกขนาดจิ๋วเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 5 มิลลิเมตร ที่มักสามารถพบได้ในผลิตภัณฑ์ใช้ภายในครัวเรือน อุตสาหกรรมจนไปถึงเสื้อผ้าแฟชั่น (fast fashion)

ด้านประเทศไทยเองก็เช่นกัน ล่าสุดเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2562 ครม.ออกมติเห็นชอบร่างโรดแมปจัดการขยะพลาสติก ปี 2561-2579 เพื่อลดใช้พลาสติก ทั้งตั้งเป้าให้ภายในปีหน้าจะสามารถเลิกใช้พลาสติก 3 ชนิด ได้แก่ แคปซีล อ็อกโซ่และไมโครบีด ทั้งคาดว่าปี 2565 จะสามารถเลิกใช้ถุงหูหิ้ว กล่องโฟม แก้วและหลอดได้สำเร็จ

จากการรณรงค์อย่างต่อเนื่องผสมรวมกับข้อมูลข่าวสารมากมายที่ไหลผ่านหน้าฟีดบนโลกออนไลน์ส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคหลาย ๆ คนเริ่มเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น น่าสนใจกว่านั้น จากการสำรวจของ Euromonitor International พบว่าผู้บริโภคทั่วโลกนั้นมี ความเต็มใจที่จะจ่ายแพงกว่า หากสินค้านั้น ๆ เป็นสินค้าที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Environmentally Conscious) หรือ เป็นพลาสติกที่สามารถรีไซเคิลได้

สัดส่วนผู้บริโภคที่ เต็มใจจะจ่ายแพงกว่า หากบรรจุภัณฑ์ของสินค้าที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม

Plastic web2

สัดส่วนผู้บริโภคที่ เต็มใจจะจ่ายแพงกว่า หากบรรจุภัณฑ์ของสินค้าสามารถรีไซเคิลได้

Plastic web3

ตัวอย่าง: Luma Bottle กระบอกน้ำพกพาทำความสะอาดตัวเองได้

Plastic web4 1

source: https://www.kickstarter.com/projects/lumabottle/the-luma-bottle-a-self-cleaning-reusable-water-bot

กระบอกน้ำพกพากลายเป็นสินค้าอย่างหนึ่งที่เหล่ารักษ์สิ่งแวดล้อมต้องมี แน่นอนว่าช่วยลดการเกิดขยะพลาสติกต่อคน ถึงอย่างนั้น ปัญหาจุกจิกกวนใจเล็ก ๆ ของผู้ใช้คือ การคำนึงถึงความสะอาด

Luma Bottle จึงถูกคิดค้นและออกแบบขึ้นมา สามารถทำความสะอาดและฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้มากถึง 99.99% ด้วยแสง UV-C และใช้เวลาเพียง 60 วินาทีเท่านั้นในการจัดการทั้งหมด

ตัวอย่างพลาสติกถนอมอาหารอเนกประสงค์ใช้ซ้ำได้ ทำความสะอาดได้

วันสิ่งแวดล้อมรู

source: https://www.kickstarter.com/projects/foodwrap/food-wrap-reusable-cling-wrap

พลาสติกถนอมอาหารอยู่คู่กับห้องครัวแทบทุกบ้าน ในฐานะที่เป็นอุปกรณ์ช่วยถนอมอาหาร ยืดอายุอาหารให้ยาวนานขึ้น รวมถึงการเก็บอาหารเหลือเช่นกัน เมื่อคุณประโยชน์ของพลาสติกนั้นก็มีมากมาย หลายครั้งพลาสติกก็ไม่ใช่วายร้าย หากเรานำมาใช้อย่างถูกวิธีและเหมาะสม

พลาสติกถนอมอาหารสีสันสดใสสามารถยืดหดได้ตามใจชอบ ไร้สาร Bisphenol A (4,4’-Isopropylidenediphenol) หรือพอลิคาร์บอเนต 100% การันตีจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้พลาสติกถนอมอาหารดังกล่าวยังสามารถทนความร้อนได้สูงถึง 235 °C และป้องกันการการเกาะติดของสิ่งสกปรก (Stain Resistance) อีกด้วย

IDG บริการให้คำปรึกษา เพื่อพัฒนาธุรกิจด้วยแนวโน้มนวัตกรรม TREND & INNOVATION ผ่านการวิเคราะห์และเข้าถึง BIG DATA เพื่อเฟ้นหาช่องว่างทางการตลาดและนวัตกรรม ที่สามารถช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจของคุณได้อย่างยั่งยืน

ท่านที่สนใจอัพเดทข้อมูลข่าวสารทางด้านเทคโนโลยี, นวัตกรรม หรือการออกแบบใหม่ ๆ ของแบรนด์ชั้นนำทั่วโลก สามารถติดตามได้ผ่านช่องทางต่าง ๆ ของเราได้เลยนะครับ แล้วพบกันใหม่ตอนหน้า สวัสดีครับ

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ