OUR BLOG

เปิดสิทธิบัตร ตปท. สิ่งประดิษฐ์ป้องกันฝุ่นละออง PM2.5

idg 201802 123 1
เปิดสิทธิบัตรต่างประเทศ
สิ่งประดิษฐ์ป้องกันฝุ่นละออง
 

PM2.5

สำหรับช่วงเวลานี้ หนึ่งในเหตุการณ์ที่จะถูกบอกเล่า และย้ำเตือนให้แก่คนรุ่นหลังไปอีกนาน คงจะหนีไม่พ้นเหตุการณ์ “วิกฤติ PM2.5” หรือฝุ่นละอองขนาดเล็กจิ๋ว ที่สามารถแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ผ่านทางเดินหายใจเข้าสู่ปอด และระบบไหลเวียนโลหิต ชนิดที่หน้ากากอนามัยทั่วไปป้องกันไม่ได้

ทำให้ผู้คนในเขต กทม. และปริมณฑล ต่างตื่นตัว และเสาะหาหน้ากากอนามัยชนิดพิเศษ ที่สามารถป้องกันฝุ่นละออง PM2.5 นี้ ทั้งเพื่อการใช้งานหรือเพื่อธุรกิจก็ตาม จนกระทั่งส่งผลให้หน้ากากอนามัยดังกล่าวถึงกับขาดตลาดกันเลยทีเดียว

ถึงแม้เจ้าฝุ่นละออง PM2.5 นี้เพิ่งจะเริ่มโด่งดังเป็นที่รู้จัก และเป็นประเด็นการพูดคุยอย่างกว้างขวางภายในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมานี้ แต่ความเป็นจริงแล้วเจ้าฝุ่นละอองดังกล่าวเคยสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประเทศต่างๆ มาก่อนแล้วมากมาย เช่นในประเทศจีน1 และในประเทศอังกฤษ2 จนกระทั่งต้องมีการสร้างสิ่งประดิษฐ์ เพื่อป้องกันผู้คนจากอันตรายของละออง PM2.5 นี้ขึ้นมา

และเป็นที่แน่นอนว่า ที่ใดมีสิ่งประดิษฐ์ ที่นั่นย่อมต้องมีการจดสิทธิบัตร เพื่อเป็นการแสดงหลักฐาน ความเป็นเจ้าของเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นสามารถผลิต, ใช้, ขาย, เสนอขาย หรือนำเข้าสิ่งประดิษฐ์นั้น ๆ ได้ ซึ่งสิ่งประดิษฐ์สำหรับต่อกรกับละออง PM2.5 นี้ได้ถูกจดทะเบียนขอรับความคุ้มครองในรูปแบบสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตรภายในประเทศต่างๆ มากมาย วันนี้ IDG จึงขอหยิบยกตัวอย่างสิ่งประดิษฐ์แปลกๆ และน่าสนใจบางส่วน จากฐานข้อมูลสิทธิบัตรต่างประเทศ มาให้ทุกท่านได้รับชมกันครับ

 

Novel helmet with alarming function

  • ชื่อการประดิษฐ์ : Novel helmet with alarming function
  • เลขที่ประกาศโฆษณา : CN103653493A
  • ขอถือสิทธิโดย : SUZHOU HAISHENDA MACHINERY TECHNOLOGY CO

เริ่มกันด้วยสิ่งประดิษฐ์ที่ราวกับหลุดมาจากการ์ตูนแนว Sci-fi ครับ โดยสิ่งประดิษฐ์นี้ประกอบไปด้วยหมวกนิรภัย ที่ด้านบนติดตั้งไว้ด้วยร่ม และสัญญาณไฟ นอกจากนั้นยังประกอบเพิ่มเติมด้วยอุปกรณ์กันฝุ่นบริเวณใบหู และอุปกรณ์สำหรับมองในที่มืด ซึ่งแน่นอนว่าในข้อถือสิทธิของสิ่งประดิษฐ์นี้ ได้ระบุไว้ว่าด้านล่างของอุปกรณ์สำหรับมองในที่มืดนั้น ถูกติดตั้งไว้ด้วยหน้ากากสำหรับป้องกันฝุ่นละออง 2.5 ครับ

 

Helmet-type bionic air purifier

  • ชื่อการประดิษฐ์ : Helmet-type bionic air purifier
  • เลขที่ประกาศโฆษณา : CN202620518U
  • ขอถือสิทธิโดย : HUAWEI TECHNOLOGIES COMPANY LTD.

และต่อด้วยสิ่งประดิษฐ์จากบริษัทหัวเหว่ย บริษัทที่ทุกคนน่าจะคุ้นเคยกันดีครับ เจ้าสิ่งประดิษฐ์นี้มีลักษณะคล้ายกับการนำหน้ากาก มาเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องฟอกอากาศ โดยด้านบนของหมวกนั้นจัดให้ประกอบไปด้วยเครื่องฟอกอากาศ ที่เชื่อมต่อเข้ากับหน้ากากด้านล่างด้วยท่ออากาศ เพราะฉะนั้นผู้ใช้จึงสามารถหายใจได้อย่างสะดวก ถึงแม้จะสวมใส่หน้ากากสำหรับป้องกันละออง PM2.5 ครับ

A double-shoulder backpack with air purifying device
 
  • ชื่อการประดิษฐ์ : A double-shoulder backpack with air purifying device
  • เลขที่ประกาศโฆษณา : CN204169271U
  • ขอถือสิทธิโดย : ZTE MICROELECTRONICS TECHNOLOGY CORP.

และสำหรับผู้ที่ไม่อยากติดตั้งเครื่องฟอกอากาศไว้บนศีรษะ สิ่งประดิษฐ์นี้ได้ทำการนำเอาเครื่องฟอกอากาศบรรจุไว้ภายในกระเป้ ซึ่งเป็นการเพิ่มทั้งความคล่องตัว, ความสามารถในการกรองฝุ่นละอองและกลิ่น รวมทั้งสามารถใช้บรรจุสัมภาระได้อีกด้วย นอกจากนั้นหน้ากากอนามัยของสิ่งประดิษฐ์นี้ถูกออกแบบมาให้เล็ก และครอบคลุมเฉพาะบริเวณ เพื่อไม่ให้ส่งผลต่อการพูด และทัศนวิสัยของผู้ใช้ สุดท้าย ผู้ใช้สามารถถอดเอาเฉพาะเครื่องกรองอากาศออกมา ในกรณีที่ไม่ต้องการแบกสัมภาระเพิ่มเติมได้เช่นกันครับ

 

Whistle mask 

  • ชื่อการประดิษฐ์ : Whistle mask
  • เลขที่ประกาศโฆษณา : CN106858819A
  • ขอถือสิทธิโดย : HUAWEI TECHNOLOGIES COMPANY LTD.

ต่อมาคืออีกหนึ่งสิ่งประดิษฐ์ที่ถือครองโดยหัวเหว่ย ซึ่งถูกออกแบบมาสำหรับคุณตำรวจจราจร หรือผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้นกหวีดภายใต้ฝุ่นละออง PM2.5 ครับ เนื่องจากโดยทั่วไปเมื่อใส่หน้ากากอนามัย ผู้ใช้ก็จะไม่สามารถเป่านกหวีดได้ ดังนั้น สิ่งประดิษฐ์นี้จึงสร้างช่องเปิดสำหรับติดตั้งนกหวีด แล้วจึงคลุมทับด้วยชั้นกรองฝุ่นละอองที่จะถูกดันขึ้นขึ้นเมื่อทำการเป่านกหวีดครับ

 

Wind power generator 

  • ชื่อการประดิษฐ์ : Wind power generator
  • เลขที่ประกาศโฆษณา : JP03184158U
  • ขอถือสิทธิโดย : SANDEN SHOJI KK

และสิ่งประดิษฐ์ชิ้นสุดท้าย คือ เครื่องผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม ที่ถูกเคลือบไว้ด้วยสารชนิดพิเศษที่จะดูดซับเอาสารตกค้างในอากาศ รวมทั้งฝุ่นละออง PM2.5 เอาไว้ ทำให้นอกจากจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้แล้ว สิ่งประดิษฐ์นี้ยังสามารถลดมลภาวะ และฝุ่นละอองในอากาศได้อีกด้วย

โดยเราจะเห็นได้ว่าสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับความคุ้มครองในรูปแบบของอนุสิทธิบัตร หรือสิทธิบัตรการประดิษฐ์นั้น ไม่จำเป็นต้องมีความซับซ้อนสูง ขอเพียงแค่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่พบเจอ และผ่านเกณฑ์การจดทะเบียน ซึ่งคือความใหม่ และสามารถประยุกต์ใช้ได้ในอุตสาหกรรมสำหรับอนุสิทธิบัตร และเพิ่มเติมด้วยขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้นในสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เพียงเท่านี้ก็มีความเป็นไปได้ที่จะสามารถขอรับความคุ้มครองในรูปแบบอนุสิทธิบัตร หรือสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้แล้วครับ ท้ายนี้ทางทีมงาน IDG หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านทุกท่านจะสามารถผ่านเหตุวิกฤติในครั้งนี้ไปได้ด้วยดีครับ สวัสดีครับ

ข้อมูลอ้างอิง

(1) https://www.scmp.com/news/china/science/article/2166542/air-pollution-killing-1-million-people-and-costing-chinese
(2) https://www.bbc.com/news/uk-england-london-41498653

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ