OUR BLOG

ยกระดับงานวิจัย ให้เข้าใจง่ายด้วย Policy brief

Policy Brief

งานวิจัยที่แสนล้ำค่าของเหล่านักวิจัย มักถูกมองว่าเป็นสิ่งที่เข้าถึงยากด้วยกำแพงที่เรามองไม่เห็นมาบดบัง ความเข้าใจทั้งจากตัวหนังสือที่อัดเน้นจนลายตา ศัพย์ทางเทคนิคที่ฟังดูเท่แต่ไม่รู้ว่าคืออะไร หรือตารางที่มีตัวเลขเต็มไปหมด วันนี้IDG มีตัวช่วยเล็ก ๆ ที่เรียกว่า Policy Brief ที่เราได้เคยแนะนำแนวทางการออกแบบ policy brief ไว้ในบทความ ทำ Policy Brief ให้สวยสะดุดตา

แต่หากจะให้สรุปสั้น ๆ Policy Brief เป็นเอกสารที่สรุปข้อมูลเชิงนโยบายสั้น ๆ ใช้เพื่อให้เห็นปัญหา เสนอแนวทางแก้ไข และให้เหตุผลที่สนับสนุนข้อเสนอแนะนั้น ๆ เพื่อให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจ เข้าใจเนื้อหาได้ อย่างรวดเร็ว

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเหล่านักวิจัยได้ทำงานวิจัยออกมา และต้องการยกเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุม แต่ด้วยเวลาที่จำกัดของการประชุม นักวิจัยก็ไม่สามารถ ยกงานวิจัยที่มีเป็นร้อยหน้าเข้าไป ให้ผู้ประชุมทุกคนอ่านได้ จึงต้องทำ Policy Brief ขึ้นมา เพื่อช่วยสรุปเนื้อหาให้กระชับแล้วเข้าใจง่ายที่สุด

Policy Brief

การทำ Policy Brief ต้องคำนึงถึง 2 สิ่งนี้เป็นหลัก

  1. กลุ่มเป้าหมาย คนที่มาอ่าน Policy Brief อันนี้คือใคร ?
  2. จุดมุ่งหมาย Policy Brief นี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่ออะไร ?

แล้วใน Policy Brief ต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง

Policy Brief
  1. ชื่อเรื่อง (Title)
    • สะท้อนถึงประเด็นสำคัญของเอกสาร
  2. บทนำ (Introduction)
    • อธิบายประเด็นปัญหาที่ต้องการนำเสนอ
    • ระบุความสำคัญของปัญหานั้น
    • ระบุจุดประสงค์ของ Policy Brief
  3. บริบทและข้อมูลพื้นฐาน (Context and Background)
    • อธิบายข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับปัญหา
    • ให้ข้อมูลสถิติหรือผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง
    • ระบุข้อเท็จจริงที่สนับสนุนการตัดสินใจ
  4. การวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis)
    • แสดงให้เห็นถึงสาเหตุของปัญหา
    • ระบุผลกระทบของปัญหาต่อประชาชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  5. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (Policy Recommendations)
    • นำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่มีความเป็นไปได้
    • ให้เหตุผลสนับสนุนว่าทำไมข้อเสนอแนะนี้จึงเป็นแนวทางที่ดีที่สุด
    • อธิบายผลที่คาดว่าจะได้รับจากการนำไปใช้
  6. ข้อสรุป (Conclusion)
    • สรุปประเด็นสำคัญของ Policy Brief
    • ย้ำถึงความสำคัญของข้อเสนอแนะ
    • กระตุ้นให้เกิดการดำเนินการ
  7. แหล่งข้อมูลอ้างอิง (References)
    • ระบุแหล่งข้อมูลที่ใช้เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ

เมื่อเราเห็นโครงร่างกันแล้ว แต่ทำอย่างไร Policy Brief เราถึงจะน่าสนใจละ มารู้จัก 2 หลักการ ที่ช่วยเพิ่มความสวยงานให้งานของเราอย่างไม่น่าเชื่อ

Policy Brief

1.layout
การจัดlayout เป็นการช่วยลำดับความสำคัญให้กับข้อมูล และยังเพิ่มความน่าสนใจให้ผู้อ่านอีกด้วย การจัด layout หากให้พูดง่าย ๆ คือการนำรูปภาพ ตัวอักษรต่าง ๆ นำไปวางในจุดที่เหมาะสม แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าการจัดวางเช่นไรจึงเหมาะสม IDG มีเทคนิคสั้น ๆ มาแนะนำ

  1. ลำดับความสำคัญ : ควรกำหนดความสำคัญของข้อความและรูปภาพประกอบเพื่อให้ง่ายต่อการจัดวางและการอ่าน เช่น หัวข้อที่ควรเห็นได้ชัดควรให้และวางในจุดที่เห็นชัด รูปภาพที่ช่วยขยายเนื้อหาของข้อความควรวางติดกับข้อความที่มันขยายช่วยให้สายตาของผู้อ่านไม่ต้อง โฟกัส หลายจุด
  2. Space พื้นที่ว่าง : การจัดวางที่สบายตาของผู้อ่านควรมีพื้นที่ว่างให้ผู้อ่านได้พักสายตา ไม่มีตัวอักษรที่ชิดกันจนลายตา
Policy Brief

2.Data Visualization
คือการนำข้อมูลที่มีอยู่มาสรุปให้กลายเป็นภาพที่ดูได้ง่ายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบ กราฟ แผนภูมิ แผนที่ อินโฟกราฟิก แดชบอร์ด การทำ Data Visualizaton มีข้อดี สามารถสรุปข้อมูลที่ซับซ้อนให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ตรงประเด็น เพิ่มความน่าสนใจ

Policy Brief ที่ดีไม่เพียงแต่ช่วยให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจเข้าใจปัญหาได้อย่างรวดเร็ว แต่ยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการดำเนินนโยบายที่มีประสิทธิภาพอีกด้วย ทาง IDG Design เรามีบริการออกแบบที่ช่วยให้ Policy Brief ของคุณโดดเด่นและน่าสนใจยิ่งขึ้น สามารถสอบถามข้อมูลกับนักออกเเบบได้ ฟรี ! เพียงเเค่คุณบอกความต้องการกับเรา เราพร้อมสร้างสรรค์ผลงานเพื่อให้ตอบโจทย์กับสิ่งที่คุณต้องการ

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาเจ้าหน้าที่ออกเเบบ ได้ที่

อีเมล: [email protected]

โทร.: 02-011-7161 ต่อ 202

Line: @idgthailand (มี@)

Facebook: IDGThailand

Policy Brief

งานวิจัยที่แสนล้ำค่าของเหล่านักวิจัย มักถูกมองว่าเป็นสิ่งที่เข้าถึงยากด้วยกำแพงที่เรามองไม่เห็นมาบดบัง ความเข้าใจทั้งจากตัวหนังสือที่อัดเน้นจนลายตา ศัพย์ทางเทคนิคที่ฟังดูเท่แต่ไม่รู้ว่าคืออะไร หรือตารางที่มีตัวเลขเต็มไปหมด วันนี้IDG มีตัวช่วยเล็ก ๆ ที่เรียกว่า Policy Brief ที่เราได้เคยแนะนำแนวทางการออกแบบ policy brief ไว้ในบทความ ทำ Policy Brief ให้สวยสะดุดตา

แต่หากจะให้สรุปสั้น ๆ Policy Brief เป็นเอกสารที่สรุปข้อมูลเชิงนโยบายสั้น ๆ ใช้เพื่อให้เห็นปัญหา เสนอแนวทางแก้ไข และให้เหตุผลที่สนับสนุนข้อเสนอแนะนั้น ๆ เพื่อให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจ เข้าใจเนื้อหาได้ อย่างรวดเร็ว

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเหล่านักวิจัยได้ทำงานวิจัยออกมา และต้องการยกเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุม แต่ด้วยเวลาที่จำกัดของการประชุม นักวิจัยก็ไม่สามารถ ยกงานวิจัยที่มีเป็นร้อยหน้าเข้าไป ให้ผู้ประชุมทุกคนอ่านได้ จึงต้องทำ Policy Brief ขึ้นมา เพื่อช่วยสรุปเนื้อหาให้กระชับแล้วเข้าใจง่ายที่สุด

Policy Brief

การทำ Policy Brief ต้องคำนึงถึง 2 สิ่งนี้เป็นหลัก

  1. กลุ่มเป้าหมาย คนที่มาอ่าน Policy Brief อันนี้คือใคร ?
  2. จุดมุ่งหมาย Policy Brief นี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่ออะไร ?

แล้วใน Policy Brief ต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง

Policy Brief
  1. ชื่อเรื่อง (Title)
    • สะท้อนถึงประเด็นสำคัญของเอกสาร
  2. บทนำ (Introduction)
    • อธิบายประเด็นปัญหาที่ต้องการนำเสนอ
    • ระบุความสำคัญของปัญหานั้น
    • ระบุจุดประสงค์ของ Policy Brief
  3. บริบทและข้อมูลพื้นฐาน (Context and Background)
    • อธิบายข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับปัญหา
    • ให้ข้อมูลสถิติหรือผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง
    • ระบุข้อเท็จจริงที่สนับสนุนการตัดสินใจ
  4. การวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis)
    • แสดงให้เห็นถึงสาเหตุของปัญหา
    • ระบุผลกระทบของปัญหาต่อประชาชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  5. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (Policy Recommendations)
    • นำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่มีความเป็นไปได้
    • ให้เหตุผลสนับสนุนว่าทำไมข้อเสนอแนะนี้จึงเป็นแนวทางที่ดีที่สุด
    • อธิบายผลที่คาดว่าจะได้รับจากการนำไปใช้
  6. ข้อสรุป (Conclusion)
    • สรุปประเด็นสำคัญของ Policy Brief
    • ย้ำถึงความสำคัญของข้อเสนอแนะ
    • กระตุ้นให้เกิดการดำเนินการ
  7. แหล่งข้อมูลอ้างอิง (References)
    • ระบุแหล่งข้อมูลที่ใช้เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ

เมื่อเราเห็นโครงร่างกันแล้ว แต่ทำอย่างไร Policy Brief เราถึงจะน่าสนใจละ มารู้จัก 2 หลักการ ที่ช่วยเพิ่มความสวยงานให้งานของเราอย่างไม่น่าเชื่อ

Policy Brief

1.layout
การจัดlayout เป็นการช่วยลำดับความสำคัญให้กับข้อมูล และยังเพิ่มความน่าสนใจให้ผู้อ่านอีกด้วย การจัด layout หากให้พูดง่าย ๆ คือการนำรูปภาพ ตัวอักษรต่าง ๆ นำไปวางในจุดที่เหมาะสม แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าการจัดวางเช่นไรจึงเหมาะสม IDG มีเทคนิคสั้น ๆ มาแนะนำ

  1. ลำดับความสำคัญ : ควรกำหนดความสำคัญของข้อความและรูปภาพประกอบเพื่อให้ง่ายต่อการจัดวางและการอ่าน เช่น หัวข้อที่ควรเห็นได้ชัดควรให้และวางในจุดที่เห็นชัด รูปภาพที่ช่วยขยายเนื้อหาของข้อความควรวางติดกับข้อความที่มันขยายช่วยให้สายตาของผู้อ่านไม่ต้อง โฟกัส หลายจุด
  2. Space พื้นที่ว่าง : การจัดวางที่สบายตาของผู้อ่านควรมีพื้นที่ว่างให้ผู้อ่านได้พักสายตา ไม่มีตัวอักษรที่ชิดกันจนลายตา
Policy Brief

2.Data Visualization
คือการนำข้อมูลที่มีอยู่มาสรุปให้กลายเป็นภาพที่ดูได้ง่ายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบ กราฟ แผนภูมิ แผนที่ อินโฟกราฟิก แดชบอร์ด การทำ Data Visualizaton มีข้อดี สามารถสรุปข้อมูลที่ซับซ้อนให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ตรงประเด็น เพิ่มความน่าสนใจ

Policy Brief ที่ดีไม่เพียงแต่ช่วยให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจเข้าใจปัญหาได้อย่างรวดเร็ว แต่ยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการดำเนินนโยบายที่มีประสิทธิภาพอีกด้วย ทาง IDG Design เรามีบริการออกแบบที่ช่วยให้ Policy Brief ของคุณโดดเด่นและน่าสนใจยิ่งขึ้น สามารถสอบถามข้อมูลกับนักออกเเบบได้ ฟรี ! เพียงเเค่คุณบอกความต้องการกับเรา เราพร้อมสร้างสรรค์ผลงานเพื่อให้ตอบโจทย์กับสิ่งที่คุณต้องการ

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาเจ้าหน้าที่ออกเเบบ ได้ที่

อีเมล: [email protected]

โทร.: 02-011-7161 ต่อ 202

Line: @idgthailand (มี@)

Facebook: IDGThailand

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณอย่างเต็มที่

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ