OUR BLOG

เจาะลึกการออกแบบผลิตภัณฑ์ พร้อมขั้นตอนขอจดสิทธิบัตร

[IDG] SEO SEP C01 1 1200x628

การออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นกระบวนการสร้างสรรค์ที่สำคัญในโลกธุรกิจปัจจุบัน ซึ่งไม่เพียงจำกัดแค่การกำหนดรูปแบบผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการคิดค้นฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค บทความนี้ IDG จะชวนมาเจาะลึกเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) ว่ามีประโยชน์อย่างไร การออกแบบผลิตภัณฑ์มีอะไรบ้าง พร้อมอธิบายถึงการจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการปกป้องความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในวงการออกแบบผลิตภัณฑ์

การออกแบบผลิตภัณฑ์ คืออะไร มีอะไรบ้าง? 

การออกแบบผลิตภัณฑ์ ความหมายโดยทั่วไปแล้ว คือ การออกแบบสิ่งของเครื่องใช้ที่สามารถนำมาใช้สอยได้ในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ทางกรมทางทรัพย์สินทางปัญญาก็ได้ให้ความหมายของการออกแบบผลิตภัณฑ์ไว้ว่า เป็นความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับรูปร่างภายนอกของแบบผลิตภัณฑ์ สีของแบบผลิตภัณฑ์ หรือองค์ประกอบของลวดลายที่แตกต่างไปจากเดิม 

รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่สามารถออกแบบได้มีหลากหลาย เช่น เครื่องประดับ ของเล่น รถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ทั้งในบ้าน สำนักงาน หรือในระดับอุตสาหกรรม 

 

ประโยชน์ของการออกแบบผลิตภัณฑ์

ประโยชน์ของการออกแบบผลิตภัณฑ์ต่อธุรกิจมีหลายประการ เช่น 

1. สร้างความแตกต่าง 

การออกแบบผลิตภัณฑ์ช่วยสร้างเอกลักษณ์ให้กับสินค้า ทำให้โดดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่งในตลาดที่มีผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งเป็นกลยุทธ์สำคัญในการดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค

2. สร้างภาพลักษณ์แบรนด์ที่ดี

ผลิตภัณฑ์ที่มีการออกแบบอย่างสวยงามและมีคุณภาพ จะช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ สร้างความน่าเชื่อถือและความเป็นมืออาชีพ ส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นและตัดสินใจเลือกใช้สินค้าของแบรนด์ 

3. เพิ่มมูลค่า

รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่น ไม่ว่าจะเป็นด้านรูปลักษณ์ที่สวยงามหรือแปลกตาสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้ ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าสินค้านั้นมีความคุ้มค่าและยินดีจ่ายในราคาที่สูงขึ้น

4. เพิ่มยอดขาย

ผลิตภัณฑ์ที่มีการออกแบบที่สวยงามและตอบโจทย์การใช้งานย่อมดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค กระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อ ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มขึ้น

ซึ่งจะเห็นได้ว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์มีความสำคัญต่อธุรกิจ ดังนั้น หลังจากการออกแบบผลิตภัณฑ์เสร็จแล้ว ขั้นตอนสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม คือ การจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยมีความสำคัญในการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของธุรกิจ ช่วยป้องกันการลอกเลียนแบบซึ่งอาจส่งผลต่อธุรกิจในระยะยาว

 

[IDG] SEO SEP C01 2 1200x628

 

การจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

การออกแบบผลิตภัณฑ์สามารถจดสิทธิบัตรได้ โดยจะมีความคุ้มครอง 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นคำขอรับสิทธิบัตร และคุ้มครองในประเทศที่ยื่นจดทะเบียนเท่านั้น ยื่นที่ไหนคุ้มครองที่นั่น ซึ่งจะใช้เกณฑ์การพิจารณา 2 ส่วน ได้แก่ 

  • เป็นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในระดับสากล หรือเป็นการออกแบบที่เกิดขึ้นครั้งแรกบนโลก
  • นำไปประยุกต์ใช้ทางอุตสาหกรรมได้

การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ยื่นจดสิทธิบัตรไม่ได้

การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ยื่นจดสิทธิบัตรไม่ได้มีดังนี้

1. แบบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ 

ซึ่งเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ดังนี้
1.1. แบบผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานหรือมีอย่างแพร่หลายอยู่แล้วก่อนวันยื่นขอรับความคุ้มครอง
1.2. แบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเผยภาพหรือรายละเอียดในเอกสาร ไม่ว่าจะในประเทศหรือนอกประเทศก่อนวันยื่นขอรับสิทธิบัตร
1.3. แบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการประกาศโฆษณามาก่อน หมายความว่าผลิตภัณฑ์เคยมีการยื่นขอรับสิทธิบัตรในประเทศไทยไว้อยู่แล้ว รวมถึงแบบผลิตภัณฑ์ที่มีการประกาศโฆษณาแล้วก่อนวันยื่นขอรับสิทธิบัตร
1.4. แบบผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับข้อ (1.1) – (1.3)

2. แบบผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน 

3. แบบผลิตภัณฑ์ที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา 

 

ขั้นตอนการยื่นจดสิทธิบัตร Product Design ทําอะไรบ้าง

การยื่นจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์สามารถดำเนินการได้ดังนี้ 

1. ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ 

พร้อมชำระค่าธรรมเนียม 250 บาท ที่ ส่วนบริหารงานจดทะเบียน (ชั้น 3) สำนักสิทธิบัตร กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.สนามบินน้ำ ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัดที่ท่านมีภูมิลำเนาอยู่

2. แก้ไขรายละเอียด 

หากมีส่วนที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นไปตามที่พรบ.สิทธิบัตรกำหนดจะมีเจ้าหน้าที่จากกรมทรัพย์สินทางปัญญาติดต่อกลับเป็นเอกสารราชการ เพื่อให้แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง โดยต้องดำเนินการแก้ไขภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับเอกสารดังกล่าว

3. ยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติม

เมื่อเตรียมเอกสารที่ต้องแก้ไขตามข้อ (2.) เรียบร้อยแล้ว ให้ทำการยื่นแก้ไขเพิ่มเติม พร้อมแนบเอกสารที่จำเป็น และชำระค่าธรรมเนียม 50 บาท

4. ชำระค่าธรรมเนียมการประกาศโฆษณา 

หลังผ่านการแก้ไขเพิ่มเติม หรือข้อมูลถูกต้องตั้งแต่ข้อ (1.) กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะติดต่อกลับเป็นเอกสารราชการให้ดำเนินการประกาศโฆษณาเพื่อเปิดการมองเห็นในฐานข้อมูลสิทธิบัตรไทย พร้อมเสียค่าธรรมเนียมการประกาศโฆษณา 250 บาท 

5. ตรวจสอบความถูกต้อง

หลังประกาศโฆษณาครบ 90 วัน เจ้าหน้าที่จะทำการสืบค้นว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ของท่านมีความเหมือนหรือคล้ายผลิตภัณฑ์ที่แพร่หลายไปแล้วหรือไม่ หากคำขอผ่านหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดจะทำการออกสิทธิบัตรให้ผู้ขอ พร้อมชำระค่าธรรมเนียมการรับจดทะเบียน 500 บาท แต่หากคำขอไม่ผ่านหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดจะยกเลิกคำขอ

โดยการจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์สามารถยื่นจดด้วยตนเองหรือให้ตัวแทนสิทธิบัตรเป็นผู้ยื่นจดก็ได้ ปัจจุบันสามารถเดินทางไปที่สำนักงาน หรือยื่นจดสิทธิบัตรออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ https://www.ipthailand.go.th/th/patent.html อย่างไรก็ตาม หากต้องการความมั่นใจในกระบวนการยื่นจด แนะนำให้เลือกใช้บริการกับตัวแทนสิทธิบัตรที่มีประสบการณ์และความน่าเชื่อถือ เนื่องจากจะช่วยให้การดำเนินการเป็นไปอย่างราบรื่น ประหยัดเวลา และลดความเสี่ยงในการยื่นเอกสารผิดพลาด โดย IDG พร้อมให้บริการด้านการจดสิทธิบัตร ด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สูง บริษัทพร้อมให้คำปรึกษาและดำเนินการตลอดกระบวนการจดสิทธิบัตร

IDG บริษัทรับออกแบบ พร้อมบริการด้านทรัพย์สินทางปัญญาครบวงจร

เรา คือ บริษัท รับออกแบบ Branding สำหรับองค์กรแบบครบวงจร เราให้บริการ  ออกแบบโลโก้ ออกแบบ CI ออกแบบโปรไฟล์บริษัท บริการออกแบบวางแผน Content Marketing ออกแบบสื่อดิจิทัล และอื่น ๆ มากมาย ดำเนินงานโดยทีมงานมืออาชีพที่มีประสบการณ์สูง นอกจากนี้ IDG ให้บริการด้านทรัพย์สินทางปัญญาอย่างครบวงจร ครอบคลุมทั้งการให้คำปรึกษา วางกลยุทธ์ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จดสิทธิบัตร รวมถึงให้บริการดำเนินงานด้านการซื้อขายเทคโนโลยีหรือ IP เรามีความพร้อมในการดูแลลูกค้าตั้งแต่กระบวนการแรกไปจนถึงการติดตามผล เพื่อให้มั่นใจว่าทรัพย์สินทางปัญญาของคุณได้รับการปกป้องและใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่

ดูข้อมูลเพิ่มเติม หรือติดต่อสอบถาม

อีเมล: [email protected]
โทร.: 02-011-7161 ถึง 6
ไลน์: @idgthailand
Facebook: facebook.com/IDGThailand 
LinkedIn: linkedin.com/in/intellectualdesigngroup/

Facebook
Twitter
LinkedIn

บทความล่าสุด

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณอย่างเต็มที่

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ