OUR BLOG

Renewable Energy: กระแสพลังงานทดแทนรักษ์โลกที่แมสแล้วและจะยังแมสต่อไปในอนาคต

Renewable Energy

RENEWABLE ENERGY: กระแสพลังงานทดแทนรักษ์โลกที่แมสแล้วและจะยังแมสต่อไปในอนาคต

พลังงานที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่ล้วนมาจากพลังงานเชื้อเพลงฟอสซิลแทบทั้งสิ้น กระแสพลังงานทดแทน (พลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาด) ในตอนนี้จึงเป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในช่วงหลาย ๆ ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลกำลังกลายเป็นอดีต ทั้งยังแน่นอนว่าประเทศใดก็ตามที่ยังไม่คิดจะเข้าสู่กระแสนี้อาจเป็นไปได้ว่าจะต้องถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

Renewable Energy
  • พลังงานแสงอาทิตย์เตรียมเข้ายึดครองการผลิตกระแสไฟฟ้าทั่วโลกเมื่อพลังงานแสงอาทิตย์สามารถขยายกำลังการผลิตได้มากถึง 600 จิกะวัตต์ ซึ่งนับว่ามากที่สุดในกลุ่มพลังงานทดแทนทั้งหมด ทั้งยังคาดการณ์ว่าพลังงานดังกล่าวจะเติบโตมากสุดในช่วงปี 2018 – 2023 เมื่อเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าโดยพลังงานแสงอาทิตย์เข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น ไม่ว่าจะในระดับอุตสาหกรรมหรือครัวเรือน อย่างไรก็ดี สำนักงานพลังงานสากล ( International Energy Agency: IEA) คาดการณ์ว่าในปี 2023 ทั่วโลกจะนำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นประมาณ 2%
  • พลังงานลมและพลังงานน้ำยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องพลังงานลมยังคงถูกนำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้ามากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก ทั้งนี้ IEA ยังมีการคาดการณ์ว่าพลังงานลมจะสามารถเพิ่มขีดความในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้อีกถึง 60% (หรือ 326 กิกะวัตต์) ขณะที่พลังงานน้ำยังคงครองตลาดผลิตกระแสไฟฟ้าใหญ่ที่สุดยาวไปจนถึงปี 2023
  • BIOMASS/BIOENERGY มาแน่พลังงานชีวภาพ (biomass) ถือว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มพลังงานทดแทนที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากทั่วโลกในขณะนี้ ทั้งยังถูกแปรรูปออกมาในหลากหลายรูปแบบหรือที่เรียกว่า Modern Bioenergy เช่นอยู่ในลักษณะของแข็ง ของเหลวและก๊าซ เป็นต้นโดยจากรายงานของสำนักงานพลังงานสากล (International Energy Agency: IEA) ปี 2018 เปิดเผยว่า พลังงานชีวมวลมีการเติบโตสูงที่สุดในกลุ่มพลังงานทดแทน มากกว่าครึ่งหนึ่งของการบริโภคพลังงานทดแทนทั่วโลกนั้น คิดเป็นสัดส่วนแล้วมาจากพลังงานชีวมวล ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นพลังงานขั้นสุดท้าย (Final Energy Consumption) ในการสร้างระบบความร้อนในระดับอุตสาหกรรม ระบบขนส่งมวลชนต่าง ๆ รวมไปถึงการผลิตกระแสไฟฟ้าทั้งนี้ IEA ยังคาดการณ์ว่าในช่วงระยะ ปี 2018 – 2023 พลังงานชีวมวลจะมีการเติบโตเพิ่มมากขึ้นอีก 30% ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมที่กล่าวไปข้างต้น

จีนครองแชมป์ตลาดพลังงานทดแทนที่ใหญ่ที่สุดในโลก

จากการที่จีนถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก ส่งผลให้การผลิตและบริโภคพลังงานในที่แห่งนี้มีผลกระทบต่อระบบนิเวศโลกเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุดังกล่าวทำให้จีนเริ่มหันมามองหาพลังงานอื่น ๆ เพื่อทดแทนพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล จึงทำให้พลังงานแสงอาทิตย์ น้ำหรือลม จีนมีการเติบโตและพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ยกเว้นพลังงานจากความร้อนใต้พิภพและน้ำทะเลที่จีนยังไม่ได้เข้ามาเล่น แม้จะมีการคาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตจะสูงถึง 40% ในอีก 5 ปีต่อจากนี้

แม้ว่าปัจจุบันจีนได้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการนำพลังงานมาใช้ กล่าวคือ การนำทรัพยากรธรรมชาติไปก่อให้เกิดการขยายความคุ้มค่าสูงสุดและรับมือกับความท้าทายในการนำพลังงานมาเข้าสู่ระบบไฟฟ้า (grid integration) แต่ IEA คาดการณ์ว่าจีนจะดำเนินมาตรการกำหนดสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียน (Renewables Portfolio Standard: RPS) ภายในปี 2020 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่กำหนดให้ผู้ผลิตไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิลจะต้องมีการผลิต/จำหน่ายไฟฟ้าที่ได้จากพลังงานทดแทนมาควบคู่ด้วย ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลให้เทคโนโลยีพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์มีการแข่งขันสูงขึ้น

ตลาดพลังงานทดแทนยุโรปกระโดดข้ามสหรัฐอเมริกาเรียบร้อย

ขีดความสามารถในการเติบโตของตลาดพลังงานทดแทนในยุโรปก้าวขึ้นเป็นอันดับที่ 2 รองลงมาจากจีนเป็นที่เรียบร้อย โดย IEA คาดการณ์ว่าจะเติบโตอีก 32% ภายในปี 2030

สอดคล้องกับรายงานจากสหประชาชาติ SEforALL ที่เปิดเผยว่าในปี 2017 หกประเทศที่มีความสามารถสูงสุดตามตัวชี้วัดด้านกฎระเบียบสำหรับพลังงานที่ยั่งยืน (regulatory indicators for sustainable energy) ของสหประชาชาติพบว่า 4 อันดับประเทศแรกอยู่ในยุโรป ได้แก่ เยอรมนี สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศสและสเปน นอกจากนั้นกลุ่มประเทศ EU28 ยังเป็นผู้นำในการบูรณาการ VRE มาใช้ โดยเกือบ 15% ของส่วนแบ่ง VRE ในการผลิตไฟฟ้าต่อปี นับจากวันนี้จนถึงปี 2050 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 50%

ด้านสหรัฐอเมริกา แม้จะมีการเติบโตมากถึง 40% แต่ด้วยเงื่อนไขทางต่าง ๆ เช่น ภาษีรัฐ นโยบายทางการค้า และแผนนโยบายพลังงานทดแทน ส่งผลให้การเติบโตมีความไม่แน่นอนและผันผวนสูง

Renewable Energy

การใช้พลังงานทดแทนในไทย

ความต้องการพลังงานในประเทศไทย IRENA คาดการณ์ว่าในปี 2036 จะพุ่งสู่งถึง 78% หรือคิดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศอยู่ที่ 126% นั่นหมายความพลังงานทดแทนกำลังเข้ามาถือครองบทบาทสำคัญในตลาดพลังงาน ทั้งยังสามารถเปลี่ยนให้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลที่เคยยึดครองอันดับหนึ่งมาอย่างยาวนานให้หลุดจากตำแหน่งได้
จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงานแห่งประเทศไทยเปิดเผยรายงาน สถานการณ์การใช้พลังงานทดแทน ในช่วงปี 2018 ประเทศไทยนั้น มีการใช้พลังงานทดแทน 12,725 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 8.8% โดยมีการใช้ในรูปของ ไฟฟ้า ความร้อนและเชื้อเพลิงชีวภาพ ได้แก่ เอทานอล และไบโอดีเซล โดยอยู่ในสัดส่วน 15.20% ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมด
การใช้ไฟฟ้า และความร้อนที่ผลิตได้จากพลังงานทดแทนมีปริมาณ 2,939 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ และ 7,670 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ตามลำดับ ส่วนเชื้อเพลิงชีวภาพ มีปริมาณการใช้ ประกอบด้วย เอทานอล 781 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ และไบโอดีเซล 1,335 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ

ข้อกังวลและข้อจำกัดด้านพลังงานทดแทนในประเทศไทย

แม้รัฐบาลไทยมีความพยายามที่จะตั้งเป้าให้สอดคล้องกับกระแสทั่วโลกในการลดการใช้พลังงานแบบเดิมและหันมาใช้พลังงานทดแทนเพิ่มมากขึ้น ถึงอย่างนั้น ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ไทยยังคงมีข้อจำกัด เช่น ด้านการผลิต โดยทาง IRENA แนะนำว่าประเทศไทยควรมีการผสมผสานพลังงานทดแทนควบคู่ไปกับพลังงานแบบเดิม ซึ่งแน่นอนว่าวิธีดังกล่าวจะช่วยลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น ประกอบกับเป็นการป้องกันความเสี่ยงจาก VRE (variable renewable energy) ที่มีความผันผวนสูง
อย่างไรก็ดี ความเป็นไปได้ในตลาดพลังงานทดแทนสำหรับประเทศไทยยังคงเป็นอะไรที่น่าจับตามองด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะพลังงานชีวมวล นั่นหมายความว่า ไทยจำเป็นต้องพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี ก้าวให้ทันประเทศอื่น ๆ

นวัตกรรม เทคโนโลยี การบูรณาการบริหารและการตลาดผ่านดิจิตัล คือคำตอบ

สิ่งหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้ทรัพยากรดังกล่าวถูกเปลี่ยนแปลงเป็นพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดคือการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาใช้

ภายในรายงานของ IRENA ได้เสนอแนะว่าแนวโน้มเทรนด์นวัตกรรมของพลังงานในขณะนี้คือ การแปลงเป็นดิจิตอล (digitalization) การใช้พลังงานไฟฟ้า (electrification) รวมถึงการกระจายการใช้พลังงานที่อาจเป็นแนวโน้มต่อเนื่องที่สามารถเร่งการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนในอนาคต
ทั้งยังพบว่าการทำงานร่วมกันระหว่างโซลูชั่นด้านนวัตกรรมร่วมกับการแปรรูปพลังงาน อาทิ ระบบปฏิบัติการ แนวทางทางธุรกิจ เทคโนโลยี หรือแนวทางการตลาด ๆ ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่ง IRENA มองว่าหากตัวเลือกดังกล่าวถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างยืดหยุ่น จะนำมาสู่การเกิดยุคใหม่แห่งการบริโภคพลังงาน

ที่มา: 

“Renewable energy outlook: Thailand”; International Renewable Energy Agency and Ministry of Energy of Thailand

“Policy Matters: Regulatory Indicators for Sustainable Energy”; International Bank for Reconstruction and Development / The World Bank

“Innovation Landscape for a Renewable-Powered Future: Solutions to Integrate Variable Renewables”; International Renewable Energy Agency

“Progress Towards Sustainable Energy: Global Tracking Framework 2017”; World Bank

ry

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ