OUR BLOG

Strategic Product Development VS. Traditional Product Development

การรับรองโนตารี หรือ Notary Public คือ

 

ในความคิดคุณ คุณคิดว่าอะไรมาก่อนกัน ระหว่าง ผลิตภัณฑ์/งานประดิษฐ์ หรือ กลยุทธ์สำหรับการปกป้องผลิตภัณฑ์/งานประดิษฐ์ชิ้นนั้น?

จากหลายๆงานวิจัยหรือโปรเจคพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เราเคยพบเห็น กลยุทธ์ด้านสิทธิบัตร หรือ Patent Strategy จะถูกนำมาพิจารณาหลังจากที่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ในกรณีของการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงกลยุทธ์ หรือ Strategic Product Development จะมองในมุมกลับกันคือ การสร้างกลยุทธ์ด้านสิทธิบัตรก่อนที่จะเริ่มการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์

รูปแบบ Strategic Product Development นี้มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมที่เน้นการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันด้วยข้อมูลสิทธิบัตร โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันด้านเทคโนโลยีสูงและมีการยื่นจดสิทธิบัตรอย่างต้องเนื่อง เช่นอุตสาหกรรม IT & Advanced Engineering แต่ในอุตสาหรรมอื่นๆที่ทรัพย์สินทางปัญญาอาจจะยังไม่เป็นส่วนสำคัญต่อธุรกิจ ส่วนใหญ่จะใช้การพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบเดิม หรือ Traditional Product Development ที่เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือสินค้าขึ้นมาก่อน และมาตามด้วยกลยุทธ์ด้านสิทธิบัตร เพื่อปกป้องผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้น ตัวอย่างของทั้ง 2 รูปแบบมีดังนี้:

  1. การพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบเดิม (Traditional Product Development)

หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Discovery-Driven Product Development เริ่มจากการกำหนดสิ่งที่ต้องการพัฒนาขึ้นมาก่อน แล้วตามมาด้วยกลยุทธ์ด้านสิทธิบัตรเพื่อปกป้องสิ่งนั้น โดยในช่วงเริ่มต้นหรือช่วงพัฒนาคอนเซปต์ (Concept Development) อาจจะมีการนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า (consumer insight) กลยุทธ์ทางธุรกิจ (business strategy) และผลการวิจัยที่มีอยู่ก่อน (research results) มาเป็นข้อมูลในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในช่วงต่อๆไป ซึ่งเมื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เสร็จแล้วเท่านั้น ถึงจะคำนึงถึงเรื่องกลยุทธ์ด้านสิทธิบัตร เช่น การยื่นจดสิทธิบัตร การตรวจสอบสิทธิในการใช้ประโยชน์ด้วย Freedom-to-Operate (FTO) search และการจัดการและควบคุมทรัพย์สินทางปัญญาในรูปแบบต่างๆ ดังรูป I:

traditionalR&D

 

  1. การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Product Development)

กลยุทธ์ด้านสิทธิบัตรหรือ Patent Strategy จะถูกนำมาเป็นส่วนสำคัญตั้งแต่ช่วงพัฒนาคอนเซปต์ (Concept Development) ข้อมูลสิทธิบัตรที่ประกาศโฆษณาแล้ว (published patent art) และข้อมูลงานประดิษฐ์นอกเหนือจากสิทธิบัตร (non-patent literature) จะถูกนำมาใช้เพื่อวิเคราะห์และหาช่องทางในการพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาที่เหมาะสมที่สุด เช่น โดยการทำ Patent Competitive Landscape เราจะสามารถแบ่งแยกการประดิษฐ์/เทคโนโลยีที่อยู่ในช่องขาว (white space) คือ เทคโนโลยีที่มีข้อมูลสิทธิบัตรน้อย ออกจากเทคโนโลยีที่อยู่ในช่องแดง (red space) คือ เทคโนโลยีที่มีการยื่นจดสิทธิบัตรเยอะ ซึ่งถ้าหากสิ่งที่เราต้องการพัฒนาอยู่ใน red space อาจจะเป็นสัญญาณเตือนให้เราไม่ควรเข้าไปเล่น เพราะมีโอกาสเสี่ยงต่อการถูกฟ้องละเมิดโดยคู่แข่งหรือไม่ได้รับจดสิทธิบัตร แต่ถ้าสิ่งที่เราต้องการพัฒนาไม่มีอยู่ในฐานข้อมูลสิทธิบัตรหรือ Prior Art อื่นๆเลย หรือเรียกได้ว่าผลิตภัณฑ์ของเราอยู่ใน white space เราจะมีโอกาสพัฒนาสิ่งนั้นขึ้นมาเพื่อครอบครองตลาด และเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาได้ง่ายขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิบัตรควรเข้ามาเป็นหนึ่งในทีมตั้งแต่ช่วงพัฒนาคอนเซปต์เพื่อช่วยให้คำแนะนำเรื่อง การสืบค้นข้อมูลสิทธิบัตรที่เน้นการวิเคราะห์ข้อถือสิทธิ (claims) การใช้ประโยชน์จากสิทธิบัตร และประเทศที่ได้รับการคุ้มครอง เพื่อตรวจสอบสิทธิหรืออิสระภาพในการพัฒนาและใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์จากสิ่งที่จะพัฒนาขึ้น

ข้อมูลทั้งหมดจะถูกนำไปออกแบบกลยุทธ์ด้านสิทธิบัตรเพื่อส่งเสริมกระบวนการพัฒนาคอนเซปต์ดังรูป II:

strategicinventingflowchart(II)

 

ในบางอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยาและเทคโนโลยีชีวภาพนั้น มีระยะเวลาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ค่อนข้างนานหลายปี (5-10 ปี) และจะต้องผ่านการพัฒนา ปรับปรุง และแก้ไขหลายขั้นตอนก่อนที่ผลิตภัณฑ์จะพร้อมเข้าสู่ตลาดได้ และอาจมีการพัฒนาหลากหลายเทคนิคหรือกระบวนการในเวลาเดียวกันเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งชิ้น และเมื่อยิ่งต้องใช้เวลาในการทำ R&D นานขึ้น Patent Landscape ก็อาจเปลี่ยนไป คำขอรับสิทธิบัตรที่เคยยื่นอาจได้รับจดทะเบียนหรืออาจถูกเพิกถอนไปแล้ว ธุรกิจและความต้องการของลูกค้าก็เปลี่ยนไปตามกาลเวลาด้วยเช่นกัน ดังนั้น ในการใช้โมเดล Strategic Product Development เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มี long cycle time เราจะต้องมีการปรับปรุงกลยุทธ์ด้านสิทธิบัตรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้วย ดังรูป III:

strategicinventingflowchart(III)

 

  1. บทสรุป

การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Product Development) นั้น แตกต่างจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบเดิม (Traditional Product Development) อย่างเห็นได้ชัด ทั้งวิธีการที่ใช้ในการสร้างกลยุทธ์และผลิตภัณฑ์หรือการประดิษฐ์ที่ออกมาก็อาจจะแตกต่างกัน

Strategic Product Development เน้นการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนกระบวนการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เหมือนดังที่ Stephen Covey เคยกล่าวไว้ว่า “Begin with the end in mind” ดังนั้น ก่อนที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ เราจะต้องรวมขั้นตอนการทำ Patent Landscape การจัดการระบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการทำให้ทุกฝ่ายในบริษัท รวมถึง นักวิจัย วิศวกร และผู้บริหารในส่วนต่างๆ เข้าใจถึงกลยุทธ์ด้านสิทธิบัตร และประโยชน์ในการส่งเสริมการใช้ Strategic Product Development ตามที่เสนอมานั้น คือ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์หรืองานประดิษฐ์ที่มีมูลค่าสูงที่สุด สามารถป้องกันการลอกเลียนแบบหรือการดัดแปลงจากคู่แข่งได้ด้วยการสร้างกลยุทธ์ด้านสิทธิบัตรที่เข็มแข็งตั่งแต่ต้น

Facebook
Twitter
LinkedIn

บทความล่าสุด

การรับรองโนตารี หรือ Notary Public คือ

 

ในความคิดคุณ คุณคิดว่าอะไรมาก่อนกัน ระหว่าง ผลิตภัณฑ์/งานประดิษฐ์ หรือ กลยุทธ์สำหรับการปกป้องผลิตภัณฑ์/งานประดิษฐ์ชิ้นนั้น?

จากหลายๆงานวิจัยหรือโปรเจคพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เราเคยพบเห็น กลยุทธ์ด้านสิทธิบัตร หรือ Patent Strategy จะถูกนำมาพิจารณาหลังจากที่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ในกรณีของการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงกลยุทธ์ หรือ Strategic Product Development จะมองในมุมกลับกันคือ การสร้างกลยุทธ์ด้านสิทธิบัตรก่อนที่จะเริ่มการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์

รูปแบบ Strategic Product Development นี้มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมที่เน้นการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันด้วยข้อมูลสิทธิบัตร โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันด้านเทคโนโลยีสูงและมีการยื่นจดสิทธิบัตรอย่างต้องเนื่อง เช่นอุตสาหกรรม IT & Advanced Engineering แต่ในอุตสาหรรมอื่นๆที่ทรัพย์สินทางปัญญาอาจจะยังไม่เป็นส่วนสำคัญต่อธุรกิจ ส่วนใหญ่จะใช้การพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบเดิม หรือ Traditional Product Development ที่เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือสินค้าขึ้นมาก่อน และมาตามด้วยกลยุทธ์ด้านสิทธิบัตร เพื่อปกป้องผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้น ตัวอย่างของทั้ง 2 รูปแบบมีดังนี้:

  1. การพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบเดิม (Traditional Product Development)

หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Discovery-Driven Product Development เริ่มจากการกำหนดสิ่งที่ต้องการพัฒนาขึ้นมาก่อน แล้วตามมาด้วยกลยุทธ์ด้านสิทธิบัตรเพื่อปกป้องสิ่งนั้น โดยในช่วงเริ่มต้นหรือช่วงพัฒนาคอนเซปต์ (Concept Development) อาจจะมีการนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า (consumer insight) กลยุทธ์ทางธุรกิจ (business strategy) และผลการวิจัยที่มีอยู่ก่อน (research results) มาเป็นข้อมูลในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในช่วงต่อๆไป ซึ่งเมื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เสร็จแล้วเท่านั้น ถึงจะคำนึงถึงเรื่องกลยุทธ์ด้านสิทธิบัตร เช่น การยื่นจดสิทธิบัตร การตรวจสอบสิทธิในการใช้ประโยชน์ด้วย Freedom-to-Operate (FTO) search และการจัดการและควบคุมทรัพย์สินทางปัญญาในรูปแบบต่างๆ ดังรูป I:

traditionalR&D

 

  1. การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Product Development)

กลยุทธ์ด้านสิทธิบัตรหรือ Patent Strategy จะถูกนำมาเป็นส่วนสำคัญตั้งแต่ช่วงพัฒนาคอนเซปต์ (Concept Development) ข้อมูลสิทธิบัตรที่ประกาศโฆษณาแล้ว (published patent art) และข้อมูลงานประดิษฐ์นอกเหนือจากสิทธิบัตร (non-patent literature) จะถูกนำมาใช้เพื่อวิเคราะห์และหาช่องทางในการพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาที่เหมาะสมที่สุด เช่น โดยการทำ Patent Competitive Landscape เราจะสามารถแบ่งแยกการประดิษฐ์/เทคโนโลยีที่อยู่ในช่องขาว (white space) คือ เทคโนโลยีที่มีข้อมูลสิทธิบัตรน้อย ออกจากเทคโนโลยีที่อยู่ในช่องแดง (red space) คือ เทคโนโลยีที่มีการยื่นจดสิทธิบัตรเยอะ ซึ่งถ้าหากสิ่งที่เราต้องการพัฒนาอยู่ใน red space อาจจะเป็นสัญญาณเตือนให้เราไม่ควรเข้าไปเล่น เพราะมีโอกาสเสี่ยงต่อการถูกฟ้องละเมิดโดยคู่แข่งหรือไม่ได้รับจดสิทธิบัตร แต่ถ้าสิ่งที่เราต้องการพัฒนาไม่มีอยู่ในฐานข้อมูลสิทธิบัตรหรือ Prior Art อื่นๆเลย หรือเรียกได้ว่าผลิตภัณฑ์ของเราอยู่ใน white space เราจะมีโอกาสพัฒนาสิ่งนั้นขึ้นมาเพื่อครอบครองตลาด และเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาได้ง่ายขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิบัตรควรเข้ามาเป็นหนึ่งในทีมตั้งแต่ช่วงพัฒนาคอนเซปต์เพื่อช่วยให้คำแนะนำเรื่อง การสืบค้นข้อมูลสิทธิบัตรที่เน้นการวิเคราะห์ข้อถือสิทธิ (claims) การใช้ประโยชน์จากสิทธิบัตร และประเทศที่ได้รับการคุ้มครอง เพื่อตรวจสอบสิทธิหรืออิสระภาพในการพัฒนาและใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์จากสิ่งที่จะพัฒนาขึ้น

ข้อมูลทั้งหมดจะถูกนำไปออกแบบกลยุทธ์ด้านสิทธิบัตรเพื่อส่งเสริมกระบวนการพัฒนาคอนเซปต์ดังรูป II:

strategicinventingflowchart(II)

 

ในบางอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยาและเทคโนโลยีชีวภาพนั้น มีระยะเวลาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ค่อนข้างนานหลายปี (5-10 ปี) และจะต้องผ่านการพัฒนา ปรับปรุง และแก้ไขหลายขั้นตอนก่อนที่ผลิตภัณฑ์จะพร้อมเข้าสู่ตลาดได้ และอาจมีการพัฒนาหลากหลายเทคนิคหรือกระบวนการในเวลาเดียวกันเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งชิ้น และเมื่อยิ่งต้องใช้เวลาในการทำ R&D นานขึ้น Patent Landscape ก็อาจเปลี่ยนไป คำขอรับสิทธิบัตรที่เคยยื่นอาจได้รับจดทะเบียนหรืออาจถูกเพิกถอนไปแล้ว ธุรกิจและความต้องการของลูกค้าก็เปลี่ยนไปตามกาลเวลาด้วยเช่นกัน ดังนั้น ในการใช้โมเดล Strategic Product Development เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มี long cycle time เราจะต้องมีการปรับปรุงกลยุทธ์ด้านสิทธิบัตรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้วย ดังรูป III:

strategicinventingflowchart(III)

 

  1. บทสรุป

การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Product Development) นั้น แตกต่างจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบเดิม (Traditional Product Development) อย่างเห็นได้ชัด ทั้งวิธีการที่ใช้ในการสร้างกลยุทธ์และผลิตภัณฑ์หรือการประดิษฐ์ที่ออกมาก็อาจจะแตกต่างกัน

Strategic Product Development เน้นการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนกระบวนการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เหมือนดังที่ Stephen Covey เคยกล่าวไว้ว่า “Begin with the end in mind” ดังนั้น ก่อนที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ เราจะต้องรวมขั้นตอนการทำ Patent Landscape การจัดการระบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการทำให้ทุกฝ่ายในบริษัท รวมถึง นักวิจัย วิศวกร และผู้บริหารในส่วนต่างๆ เข้าใจถึงกลยุทธ์ด้านสิทธิบัตร และประโยชน์ในการส่งเสริมการใช้ Strategic Product Development ตามที่เสนอมานั้น คือ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์หรืองานประดิษฐ์ที่มีมูลค่าสูงที่สุด สามารถป้องกันการลอกเลียนแบบหรือการดัดแปลงจากคู่แข่งได้ด้วยการสร้างกลยุทธ์ด้านสิทธิบัตรที่เข็มแข็งตั่งแต่ต้น

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณอย่างเต็มที่

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ