แต่ทางภาครัฐได้มองเห็นปัญหาและเห็นช่องทางในการสนับสนุนงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย ที่มีศักยภาพพร้อมออกสู่เชิงพาณิชย์ ให้สามารถสร้างผลงานจากหิ้งสู่ห้างได้อย่างเป็นรูปธรรม
ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งกับผู้รับทุน นักวิจัย ผู้ให้ทุน ผู้ขอใช้สิทธิในงานวิจัยในเชิงพาณิชย์ และเศรษฐกิจประเทศไทยโดยรวมเลยทีเดียว เนื่องจากจะเป็นการกระตุ้นการผลิตและพัฒนางานวิจัยในเชิงพาณิชย์อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดการจ้างงานและกระจายรายได้ในประเทศอีกด้วย ซึ่งจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างเห็นได้ชัด
สาระสำคัญของ พ.ร.บ.ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 มีดังต่อไปนี้
- กำหนดให้ผู้รับทุนหรือนักวิจัยสามารถเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกิดจากเงินสนับสนุนของภาครัฐได้
- กำหนดกลไกการบริหารจัดการและติดตามการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์
- กำหนดมาตรการบังคับใช้สิทธิโดยรัฐในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ
แต่อย่างไรก็ตามบุคคลที่จะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับนี้จะต้องมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และข้อกำหนดต่างๆที่กฎหมายกำหนดตามมาด้วยไม่ว่าจะเป็นทางหน่วยงานให้ทุน ผู้รับทุน นักวิจัย บุคคลภายนอกที่ขอใช้สิทธิในงานวิจัยในเชิงพาณิชย์ค่ะ
ในตอนนี้เรามีโครงการ TSLP Technology Seeker Leadership Program By IPACE) โครงการเพื่อปลุกปั้นนักแสวงหาเทคโนยีมืออาชีพทุกคน ฟรี !! ไม่มีค่าใช้จ่าย
โครงการ #TSLP คืออะไร ?
ทางทีมงาน IPACE (By IDG) จัดโครงการนี้เพื่อเป็นโครงการเชื่อมโยงความต้องการ “เทคโนโลยี” ของผู้ประกอบการ หรือบริษัทต่าง ๆ เข้ากับเทคโนโลยีซึ่งเกิดจากการศึกษาวิจัยภายในประเทศไทย
ประโยชน์ที่จะได้รับ :
ช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่นักแสวงหาเทคโนโลยีได้ประสบพบเจอ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการวิเคราะห์เทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมถึง ตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา, ขั้นตอนซื้อ-ขายเทคโนโลยี และ การสร้างธุรกิจ
รับข้อมูลด้านเทคโนโลยีตามความต้องการอย่างเฉพาะเจาะจง รวมทั้งสิทธิในการรับคำปรึกษาเบื้องต้นในด้านทรัพย์สินทางปัญญาตามความต้องการ (เช่น: ลิขสิทธิ์, เครื่องหมายการค้า, ความลับทางการค้า หรือสิทธิบัตร เป็นต้น)
การให้คำปรึกษาเชิงลึก โดยผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญา และ เทคโนโลยี
แนวทางการเจรจา เมื่อต้องไปติดต่อกับเจ้าของเทคโนโลยี
วิธีการประเมินผลงานวิจัย/เทคโนโลยี ในมุมมองของ Global Market
หากท่านใดสนใจต้องการรับคำปรึกษาเพิ่มเติมในด้านสิทธิบัตรทาง IDG มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาทุกท่าน
โทร: 02-011-7161 ถึง 6 (ติดต่อ 301 – 304) ฝ่ายสิทธิบัตร
E-Mail: [email protected]
Line: @idgthailand