OUR BLOG

จดเครื่องหมาย “ไม่ผ่าน” ต้องดำเนินการอย่างไร?

idg ip blog 14

จดเครื่องหมายการค้า ไม่ผ่าน
ต้องดำเนินการอย่างไร?

จากในตอนที่แล้ว ผมได้อธิบายถึงสาเหตุต่างๆ ที่อาจจะทำให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้า ปฏิเสธคำขอยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า แต่ถึงแม้จะได้คำสั่งดังกล่าวมาก็ตาม ก็มิได้หมายความว่าเครื่องหมายการค้าจะถูกจำหน่ายออกจากสารบบในทันที IDG IP BLOG ตอนนี้ ผมจึงถือโอกาสมาแชร์วิธีการดำเนินการ กรณีหากมีคำสั่งปฏิเสธคำขอยื่นจดทะเบียน เพื่อให้เครื่องหมายการค้าของท่านมีโอกาสได้รับจดทะเบียนต่อไปครับ

pic 203
  • กรณีที่ได้คำสั่งให้แก้ไขรายการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำสั่งในส่วนนี้เพียงแค่ดำเนินการตามคำสั่งของนายทะเบียน เครื่องหมายการค้าของท่านก็จะได้รับการจดทะเบียน เนื่องจากเป็นการแก้ไขเพียงเล็กน้อย เช่น การแก้ไขความถูกต้องของรายการสินค้า หรือการสละไม่ถือเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะใช้ตัวอักษรบางส่วนในรูปเครื่องหมายการค้า เป็นต้น
  • กรณีเครื่องหมายการค้าของท่านโดนปฏิเสธเนื่องจากนายทะเบียนพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ, ขัดต่อกฎหมาย หรือเป็นเครื่องหมายที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียนไว้แล้ว หากท่านได้รับคำสั่งในลักษณะนี้ และไม่ประสงค์จะให้เครื่องหมายถูกจำหน่ายออกจากสารบบ ท่านมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า เนื่องจากมาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯ ระบุว่า ..

พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 18

ผู้ขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์ คำสั่งของนายทะเบียนตาม มาตรา 15, มาตรา 16 และมาตรา 17 ต่อคณะกรรมการ ภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งของนายทะเบียน คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด..

การอุทธรณ์คำสั่งจะมีผลให้เครื่องหมายถูกชะลอสถานะเป็น การหยุดรอผลวินิจฉัยคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ซึ่งจะเป็นผลดีกับผู้ยื่นคำขอในแง่สถานะเครื่องหมาย อีกทั้งยังเป็นโอกาสที่ผู้ยื่นคำขอสามารถชี้แจงเหตุผล ข้อต่อสู้ หลักฐาน และข้อเท็จจริง เพื่อหักล้างคำสั่งของนายทะเบียน และเปลี่ยนแปลงผลจากการถูกปฏิเสธ เป็นการรับจดทะเบียนได้ เมื่อพิจารณาจากสถิติคำวินิจฉัยก็ปรากฏว่า มีเครื่องหมายหลายเครื่องหมายที่สามารถกลับสถานะตัวเองให้รับจดทะเบียนได้เช่นกัน ทั้งนี้ อย่าปล่อยให้ถูกเพิกถอนหรือจำหน่าย ถ้ายังไม่ได้สู้จนถึงที่สุดนะครับ

ข้อมูลอ้างอิง : พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ