OUR BLOG

ความเหมือนคล้ายของเครื่องหมายการค้า

content topic

ความเหมือนคล้ายของเครื่องหมายการค้า

       ก่อนที่เราจะเริ่มทำธุรกิจจำหน่ายหรือผลิตสินค้าสักหนึ่งอย่าง สิ่งสำคัญที่เราต้องมีก่อนอันดับแรกเลยคือชื่อเครื่องหมายการค้า ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อใช้เป็นตราสินค้าของเราและเป็นที่จดจำของผู้ใช้สินค้า ดังนั้นเราจำเป็นต้องแน่ใจเสียก่อนว่าเครื่องหมายการค้าที่เราจะใช้นั้นชื่อและรูปภาพจะไม่ไปเหมือนหรือคล้ายกับของผู้อื่นที่ยื่นจดทะเบียนแล้ว ซึ่งในขั้นตอนนี้จะต้องเข้าไปตรวจสอบชื่อ และระบุกลุ่มสินค้าที่เว็บไซด์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องการพิจารณาความเหมือนหรือคล้ายของเครื่องหมายการค้ากันครับ

     พรบ.เครื่องหมายการค้าปี 2565 นิยามคำว่า เหมือน หมายถึง เครื่องหมายที่มีลักษณะตรงกัน คำว่า คล้าย หมายถึง เครื่องหมายมีความใกล้เคียงกันจนอาจทำให้สาธารณะชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า โดยจะพิจารณาจากภาพรวมของเครื่องหมาย สำเนียงเสียงเรียกขาน และรายการสินค้าทุกองค์ประกอบรวมกัน ว่ามีความคล้ายคลึง รวมถึงกลุ่มผู้ใช้สินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้น ๆ ว่าเป็นกลุ่มเดียวกัน และมีความรู้เพียงพอที่จะแยกแยะความแตกต่างของเครื่องหมายการค้านั้นได้หรือไม่

 

กรณีตัวอย่างคล้ายกันเช่น

   เครื่องหมายทั้งสองมีคำว่า STARWORLD เป็นคำเดียวกัน แม้เครื่องหมายทั้งสองจะมีลักษณะภาพรวมและรูปดาวที่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาจากเสียงเรียกขาน เครื่องหมายทั้งสองเรียกขานได้ว่า สตาร์เวิร์ด เช่นเดียวกัน ดังนั้นเครื่องหมายทั้งสองจึงเป็นเครื่องหมายที่คล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณะชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้

01 1
02 1

   แม้คำว่า STRIDE เป็นอักษรโรมัน ส่วนคำว่า สไตรฟ์ เป็นอักษรไทย แม้เครื่องหมายทั้งสองจะเขียนด้วยอักษรภาษาที่แตกต่างกันก็ตาม แต่เครื่องหมายทั้งสองเรียกขานว่าได้ว่า สไตรด์ และ สไตรฟ์ นับว่าเครื่องหมายทั้งสองมีเสียงเรียกขานใกล้เคียงกัน เครื่องหมายทั้งสองจึงคล้ายกัน จนอาจทำให้สาธารณะชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้

   เครื่องหมาย GLIDER  ประกอบด้วยอักษร G L I D E R  ส่วนเครื่องหมาย GRIDUR  ประกอบด้วยอักษร G R I D U R  รูปลักษณะเครื่องหมายจึงแตกต่างกัน เมื่อพิจารณาจากเสียงเรียกขาน เครื่องหมาย GLIDER เรียกขานได้ว่า ไกลเดอร์ ส่วนเครื่องหมาย GRIDUR เรียกขานได้ว่า กริเดอร์ นับว่าเครื่องหมายทั้งสองมีเสียงเรียกขานที่แตกต่างกัน

03 1

 

   จากตัวอย่างด้านบนที่กล่าวมาจะเป็นเครื่องหมายคำ ถ้าเครื่องหมายของเรามีทั้งรูปและคำ จะต้องนำภาคส่วนต่างๆของเครื่องหมายมาพิจารณาทั้งหมด เช่น ภาพโดยรวมของเครื่องหมาย (ทั้งรูปและชื่อเครื่องหมาย)  ลักษณะสาระสำคัญของเครื่องหมาย กลุ่มผู้ใช้สินค้า และรายการสินค้าที่ยื่นขอจดทะเบียน เพื่อนำมาประกอบในการพิจารณาว่าเหมือนคล้ายกับเครื่องหมายที่ได้ยื่นจดทะเบียนแล้วในระบบกรมฯหรือไม่

   ทั้งนี้ พรบ.เครื่องหมายการค้าจะให้สิทธิผู้ที่ยื่นขอจดทะเบียนก่อน ตามหลัก First to file (โดยไม่ได้ลอกเลียนแบบกัน) เมื่อเครื่องหมายนั้นรับจดทะเบียนแล้วจะได้รับการคุ้มครองตั้งแต่วันแรกที่ได้ยื่นคำขอจดทะเบียน เมื่อมีเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันมาขอยื่นจดทะเบียน นายทะเบียนจะสั่งปฏิเสธรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มาเหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายที่ได้รับจดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว

ดังนั้นก่อนทุกท่านจะเริ่มทำธุรกิจหรือเริ่มสร้างแบรนด์ สามารถขอรับคำปรึกษาให้ทาง IDG ช่วยสืบค้นเบื้องต้นได้ว่าชื่อที่คิดมานั้นไปเหมือนหรือคล้ายกับของผู้อื่นหรือไม่ เพื่อเป็นการช่วยประเมินความเสี่ยงในการยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และยังเป็นการช่วยให้การทำธุรกิจภายใต้ชื่อแบรนด์ที่เราอยากใช้เป็นไปอย่างราบรื่น โดยไม่ต้องกังวลว่าตราสินค้าที่เราใช้อยู่ กำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของนายทะเบียนนั้นไปเหมือนหรือคล้ายของผู้อื่น ถ้าไปเหมือนหรือคล้ายนั่นหมายถึงเราต้องหาชื่อเครื่องหมายใหม่ นำมายื่นจดทะเบียนใหม่ หรืออาจต้องอุธรณ์คำสั่งนายทะเบียน ซึ่งทำให้เสียทั้งเวลา การจดจำแบรนด์ของลูกค้า และค่าใช้จ่ายในการสร้างแบรนด์เพิ่มขึ้นไปอีก

 

ตรวจสอบด้วยตัวเอง

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ