OUR BLOG

TRIUP Act คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร?

idg cover content 13

TRIUP Act คืออะไร?

TRIUP Act หรือพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม มีผลบังคับใช้ครั้งแรกวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เป็น พ.ร.บ. ที่ถูกผลักดันเข้ามาเพื่อผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมอย่างสม่ำเสมอมากขึ้น

มีสาระสำคัญดังนี้  :

  1. ให้ผู้รับทุนไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย ภาคเอกชนหรือนักวิจัยสามารถเป็นเจ้าของผลงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐได้

  2. ให้ผู้เป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมต้องใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมภายในระยะเวลาที่กำหนด รวมทั้งต้องบริหารจัดการและรายงานผลการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมต่อผู้ให้ทุน

  3. กำหนดหลักเกณฑ์ในการโอนผลงานวิจัยและนวัตกรรมของผู้เป็นเจ้าของผลงานให้แก่บุคคลอื่นและหน้าที่ของผู้รับโอนผลงานวิจัยและนวัตกรรม

  4. ให้ผู้ที่ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในผลงานวิจัยและนวัตกรรม สามารถขออนุญาตใช้ประโยชน์ได้ โดยเสนอเงื่อนไขและค่าตอบแทนที่เหมาะสม

  5. ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีออกคำสั่งให้หน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกิดจากทุนของรัฐในกรณีฉุกเฉินหรือภาวะวิกฤติ

  6. กำหนดหน่วยงาน วิธีการส่งเสริมและการจัดสรรเงินค่าตอบแทนแก่นักวิจัยเพื่อส่งเสริมการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เหมาะสมไปใช้ประโยชน์ในวงกว้าง (Appropriate Technology)

TRIUP Act ย่อมาจาก

“Thailand Research and Innovation Utilization Promotion Act”

TRIUP Act ใครได้ประโยชน์ ?

TRIUP Act ไม่ได้ให้ประโยชน์แก่นักวิจัยเท่านั้น พ.ร.บ. ฉบับนี้ มีรายละเอียดหรือข้อกำหนดที่ค่อนข้างครอบคลุมส่งผลให้ทุกภาคส่วนจะได้รับประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชนเองที่แม้จะได้รับทุนสนับสนุนจากภาครัฐแต่ก็จะดำเนินการต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น  ในภาคประชาชน เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน จะสามารถเข้าถึงผลงานวิจัยและนวัตกรรมได้ง่ายขึ้นจากการวิจัยเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Technology) ซึ่งก็จะทำให้นัวิจัย มหาวิทยาลัยตระหนักถึงการวิจัยเทคโนโลยีที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในวงกว้างมากขึ้น และสุดท้ายด้วยการที่เกิดการใช้ประโยชน์ของงานวิจัยและนวัตกรรมที่มากขึ้น ก็จะนำไปสู่การสร้างเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมให้กับประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน

 

การขอรับความเป็นเจ้าของ

นักวิจัยหรือผู้รับทุนมีขั้นตอนการดำเนินการขอรับความเป็นเจ้าของดังนี้

 

Artboard 1

TRIUP Act นั้นมีกระบวนการและการพิจารณาที่มีลำดับขั้นตอนอยู่ หลังจากทำสัญญาให้ทุน ดำเนินการวิจัย และ เปิดเผยผลงานวิจัยแล้ว ผู้รับทุนจะมีสิทธิ์ในการขอรับความเป็นเจ้าของผลงานวิจัยฯ  ซึ่งถ้าหากผู้รับทุนไม่ต้องการเป็นเจ้าของ นักวิจัยจึงจะมีสิทธิ์ในการขอรับความเป็นเจ้าของผลงานวิจัยลำดับต่อไป

แต่ไม่ว่านักวิจัยหรือผู้รับทุนได้สิทธิ์เป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมแล้วนั้น ต้องดำเนินการนำไปใช้ประโยชน์ และบริหารผลงานวิจัยตามกฎหมาย รวมถึงรายงานการใช้ประโยชน์ต่อผู้ให้ทุนเสมอ

ส่วนในกรณีถ้าทั้งผู้รับทุนและ นักวิจัยไม่ต้องการเป็นเจ้าของผลงานวิจัยฯเลย ผลงานนั้นจะตกเป็นของผู้ให้ทุนทันที แต่ผู้ให้ทุนเองก็ดำเนินการนำไปใช้ประโยชน์เช่นกัน

การใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมคืออะไร?

 ใน TRIUP Act มีกรอบระยะเวลาของการนำไปใช้ประโยชน์ไม่เกิน 2 ปี หากเราไม่สามารถบริหารจัดการนำไปใช้ประโยชน์ได้ในกรอบเวลาดังกล่าวได้เราอาจเสียสิทธิ์ความเป็นเจ้าของผลงานวิจัยฯ ส่วนการนำไปประโยชน์ที่ว่ามีรูปแบบดังนี้

  • การใช้หรืออนุญาตให้ใช้สิทธิ (Licensing) ในตัวผลงานวิจัยและนวัตกรรมในการผลิตผลิตภัณฑ์ การจัดทำบริการ การปรับปรุงกรรมวิธีการผลิต การจัดโครงสร้างองค์กร การบริหารจัดการ หรือดำเนินการอื่นในเชิงพาณิชย์ หรือสาธารณประโยชน์ 
  • การวิจัยต่อยอดผลงานวิจัยและนวัตกรรม ในบางผลงานวิจัยอาจไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ หรือสาธารประโยชน์ได้ทันที ซึ่งอาจต้องนำไปศึกษา ค้นคว้า ทดลอง หรือวิจัยเพิ่มเติม อีกหลาย Step กว่าจะกลายมาเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่นำไปใช้ได้จริง ดังนั้นหากผลงานวิจัยของเราแม้ไม่ได้ถูกนำไป Licensing แต่มีการพัฒนาต่อยอดระดับความพร้อมของเทคโนโลยี(Technology Readiness Level) ให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น ก็ถือว่าเป็นการใช้ประโยชน์เช่นกัน
  • การจำหน่ายจ่ายโอนผลงานวิจัยและนวัตกรรม หรือการขายผลงานวิจัยก็ถือเป็นการนำไปใช้ประโยชน์เช่นกัน

Triup Act จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในอนาคต ส่งผลให้เกิดกระบวนการ หรือวิธีการใหม่ ๆ ในหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อมุ่งผลักดันการนำผลวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์จริงอย่างสม่ำเสมอ ทั้งแรงจูงใจของนักวิจัยไปจนถึงการสร้างเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมของประเทศให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน

เป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก ที่นักวิจัยจากสถาบันวิจัย หรือมหาวิทยาลัย รวมถึงผู้ให้ทุน ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ TRIUP Act และเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินการให้เป็นไปอย่างสอดคล้องกับข้อปฏิบัติ ทุกท่านสามารถดาวน์โหลดคู่มือปฏิบัติ TRIUP Act ฉบับ Short Version ตามบทบาทของคุณได้เลย คู่มือโดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม I

ดาวน์โหลด

คู่มือปฏิบัติ
TRIUP Act

คู่มือส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564

เรียบเรียงเนื้อหาคู่มือโดย IDG Thailand

IDG Thailand เราให้ความสำคัญใน TRIUP Act (คู่มือส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564) เป็นอย่างมาก เพราะเราต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เราจึงมีการติดตาม พ.ร.บ ฉบับนี้เรื่อยมา เพื่อจะได้เป็นส่วนร่วมในการแนะนำ ให้คำปรึกษาแก่นักวิจัย ผู้รับทุน รวมถึงผู้ให้ทุน ให้สามารถดำเนินการเป็นไปอย่างถูกต้อง

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเรา เพื่อช่วยคุณดำเนินการเกี่ยวกับ TRIUP Act ไม่มีสะดุดได้แล้ววันนี้

ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดเตรียมเอกสาร หรือการนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ 

Facebook
Twitter
LinkedIn

บทความล่าสุด

idg cover content 13

TRIUP Act คืออะไร?

TRIUP Act หรือพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม มีผลบังคับใช้ครั้งแรกวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เป็น พ.ร.บ. ที่ถูกผลักดันเข้ามาเพื่อผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมอย่างสม่ำเสมอมากขึ้น

มีสาระสำคัญดังนี้  :

  1. ให้ผู้รับทุนไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย ภาคเอกชนหรือนักวิจัยสามารถเป็นเจ้าของผลงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐได้

  2. ให้ผู้เป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมต้องใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมภายในระยะเวลาที่กำหนด รวมทั้งต้องบริหารจัดการและรายงานผลการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมต่อผู้ให้ทุน

  3. กำหนดหลักเกณฑ์ในการโอนผลงานวิจัยและนวัตกรรมของผู้เป็นเจ้าของผลงานให้แก่บุคคลอื่นและหน้าที่ของผู้รับโอนผลงานวิจัยและนวัตกรรม

  4. ให้ผู้ที่ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในผลงานวิจัยและนวัตกรรม สามารถขออนุญาตใช้ประโยชน์ได้ โดยเสนอเงื่อนไขและค่าตอบแทนที่เหมาะสม

  5. ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีออกคำสั่งให้หน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกิดจากทุนของรัฐในกรณีฉุกเฉินหรือภาวะวิกฤติ

  6. กำหนดหน่วยงาน วิธีการส่งเสริมและการจัดสรรเงินค่าตอบแทนแก่นักวิจัยเพื่อส่งเสริมการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เหมาะสมไปใช้ประโยชน์ในวงกว้าง (Appropriate Technology)

TRIUP Act ย่อมาจาก

“Thailand Research and Innovation Utilization Promotion Act”

TRIUP Act ใครได้ประโยชน์ ?

TRIUP Act ไม่ได้ให้ประโยชน์แก่นักวิจัยเท่านั้น พ.ร.บ. ฉบับนี้ มีรายละเอียดหรือข้อกำหนดที่ค่อนข้างครอบคลุมส่งผลให้ทุกภาคส่วนจะได้รับประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชนเองที่แม้จะได้รับทุนสนับสนุนจากภาครัฐแต่ก็จะดำเนินการต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น  ในภาคประชาชน เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน จะสามารถเข้าถึงผลงานวิจัยและนวัตกรรมได้ง่ายขึ้นจากการวิจัยเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Technology) ซึ่งก็จะทำให้นัวิจัย มหาวิทยาลัยตระหนักถึงการวิจัยเทคโนโลยีที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในวงกว้างมากขึ้น และสุดท้ายด้วยการที่เกิดการใช้ประโยชน์ของงานวิจัยและนวัตกรรมที่มากขึ้น ก็จะนำไปสู่การสร้างเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมให้กับประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน

 

การขอรับความเป็นเจ้าของ

นักวิจัยหรือผู้รับทุนมีขั้นตอนการดำเนินการขอรับความเป็นเจ้าของดังนี้

 

Artboard 1

TRIUP Act นั้นมีกระบวนการและการพิจารณาที่มีลำดับขั้นตอนอยู่ หลังจากทำสัญญาให้ทุน ดำเนินการวิจัย และ เปิดเผยผลงานวิจัยแล้ว ผู้รับทุนจะมีสิทธิ์ในการขอรับความเป็นเจ้าของผลงานวิจัยฯ  ซึ่งถ้าหากผู้รับทุนไม่ต้องการเป็นเจ้าของ นักวิจัยจึงจะมีสิทธิ์ในการขอรับความเป็นเจ้าของผลงานวิจัยลำดับต่อไป

แต่ไม่ว่านักวิจัยหรือผู้รับทุนได้สิทธิ์เป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมแล้วนั้น ต้องดำเนินการนำไปใช้ประโยชน์ และบริหารผลงานวิจัยตามกฎหมาย รวมถึงรายงานการใช้ประโยชน์ต่อผู้ให้ทุนเสมอ

ส่วนในกรณีถ้าทั้งผู้รับทุนและ นักวิจัยไม่ต้องการเป็นเจ้าของผลงานวิจัยฯเลย ผลงานนั้นจะตกเป็นของผู้ให้ทุนทันที แต่ผู้ให้ทุนเองก็ดำเนินการนำไปใช้ประโยชน์เช่นกัน

การใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมคืออะไร?

 ใน TRIUP Act มีกรอบระยะเวลาของการนำไปใช้ประโยชน์ไม่เกิน 2 ปี หากเราไม่สามารถบริหารจัดการนำไปใช้ประโยชน์ได้ในกรอบเวลาดังกล่าวได้เราอาจเสียสิทธิ์ความเป็นเจ้าของผลงานวิจัยฯ ส่วนการนำไปประโยชน์ที่ว่ามีรูปแบบดังนี้

  • การใช้หรืออนุญาตให้ใช้สิทธิ (Licensing) ในตัวผลงานวิจัยและนวัตกรรมในการผลิตผลิตภัณฑ์ การจัดทำบริการ การปรับปรุงกรรมวิธีการผลิต การจัดโครงสร้างองค์กร การบริหารจัดการ หรือดำเนินการอื่นในเชิงพาณิชย์ หรือสาธารณประโยชน์ 
  • การวิจัยต่อยอดผลงานวิจัยและนวัตกรรม ในบางผลงานวิจัยอาจไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ หรือสาธารประโยชน์ได้ทันที ซึ่งอาจต้องนำไปศึกษา ค้นคว้า ทดลอง หรือวิจัยเพิ่มเติม อีกหลาย Step กว่าจะกลายมาเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่นำไปใช้ได้จริง ดังนั้นหากผลงานวิจัยของเราแม้ไม่ได้ถูกนำไป Licensing แต่มีการพัฒนาต่อยอดระดับความพร้อมของเทคโนโลยี(Technology Readiness Level) ให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น ก็ถือว่าเป็นการใช้ประโยชน์เช่นกัน
  • การจำหน่ายจ่ายโอนผลงานวิจัยและนวัตกรรม หรือการขายผลงานวิจัยก็ถือเป็นการนำไปใช้ประโยชน์เช่นกัน

Triup Act จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในอนาคต ส่งผลให้เกิดกระบวนการ หรือวิธีการใหม่ ๆ ในหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อมุ่งผลักดันการนำผลวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์จริงอย่างสม่ำเสมอ ทั้งแรงจูงใจของนักวิจัยไปจนถึงการสร้างเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมของประเทศให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน

เป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก ที่นักวิจัยจากสถาบันวิจัย หรือมหาวิทยาลัย รวมถึงผู้ให้ทุน ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ TRIUP Act และเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินการให้เป็นไปอย่างสอดคล้องกับข้อปฏิบัติ ทุกท่านสามารถดาวน์โหลดคู่มือปฏิบัติ TRIUP Act ฉบับ Short Version ตามบทบาทของคุณได้เลย คู่มือโดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม I

ดาวน์โหลด

คู่มือปฏิบัติ
TRIUP Act

คู่มือส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564

เรียบเรียงเนื้อหาคู่มือโดย IDG Thailand

IDG Thailand เราให้ความสำคัญใน TRIUP Act (คู่มือส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564) เป็นอย่างมาก เพราะเราต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เราจึงมีการติดตาม พ.ร.บ ฉบับนี้เรื่อยมา เพื่อจะได้เป็นส่วนร่วมในการแนะนำ ให้คำปรึกษาแก่นักวิจัย ผู้รับทุน รวมถึงผู้ให้ทุน ให้สามารถดำเนินการเป็นไปอย่างถูกต้อง

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเรา เพื่อช่วยคุณดำเนินการเกี่ยวกับ TRIUP Act ไม่มีสะดุดได้แล้ววันนี้

ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดเตรียมเอกสาร หรือการนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ 

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณอย่างเต็มที่

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ