OUR BLOG

รูปแบบอักษรที่เหมาะสมสำหรับงานออกแบบที่ต้องใช้ความน่าเชื่อถือ เป็นรูปแบบใด

รูปแบบอักษรที่เหมาะสมสำหรับงานออกแบบที่ต้องใช้ความน่าเชื่อถือ เป็นรูปแบบใด

รูปแบบอักษร หรือฟอนต์ เป็นองค์ประกอบสำคัญในงานออกแบบที่มีผลต่อความน่าเชื่อถือของแบรนด์หรือองค์กร บทความนี้ IDG จะเล่าถึงความสำคัญของฟอนต์ พร้อมแนะนำรูปแบบอักษรที่เหมาะสมสำหรับงานออกแบบที่ต้องใช้ความน่าเชื่อถือว่าควรเป็นรูปแบบใด รวมถึงเทคนิคการเลือกฟอนต์ที่ดีสำหรับงานออกแบบ

ความสำคัญของรูปแบบอักษรในงานออกแบบธุรกิจ

การออกแบบตัวอักษรไม่ใช่เพียงแค่การเลือกฟอนต์ที่อ่านง่าย แต่ยังเป็นการสื่อสารตัวตนและบุคลิกภาพของแบรนด์ และรูปแบบอักษรที่เหมาะสมเป็นองค์ประกอบหลักของการออกแบบ CI ที่ช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรให้แข็งแกร่ง

ฟอนต์ที่เลือกใช้จะส่งผลต่อการรับรู้ของผู้บริโภคต่อแบรนด์ รูปแบบอักษรที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้องค์กรดูไม่น่าเชื่อถือหรือไม่เป็นมืออาชีพ ในทางกลับกัน รูปแบบอักษรที่เหมาะสมจะช่วยสร้างความไว้วางใจและสื่อสารคุณค่าของแบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รูปแบบอักษรที่เหมาะสมสำหรับงานออกแบบที่ต้องใช้ความน่าเชื่อถือ เป็นรูปแบบใด

ประเภทฟอนต์สำหรับงานออกแบบ

ประเภทฟอนต์พื้นฐานที่นิยมใช้ในงานออกแบบที่ต้องการความน่าเชื่อถือมีหลายรูปแบบ แต่ละประเภทมีบุคลิกและความเหมาะสมกับงานที่แตกต่างกัน เช่น

1. ฟอนต์ที่มีเชิงหรือหางที่ปลายตัวอักษร (Serif Font)

Serif font คือ ฟอนต์ที่มีเส้นขีดเล็ก ๆ ที่ปลายของตัวอักษร ซึ่งช่วยนำสายตาจากตัวอักษรหนึ่งไปยังอีกตัวหนึ่ง ทำให้อ่านง่ายในการพิมพ์เป็นข้อความยาว ๆ ฟอนต์ประเภทนี้มักให้ความรู้สึกเป็นทางการ มีความน่าเชื่อถือ และให้ความคลาสสิก 

ตัวอย่าง Serif Font ที่นิยมใช้

  • Times New Roman
  • Georgia
  • Baskerville
  • Garamond
  • Palatino

ฟอนต์ประเภทนี้เหมาะกับธุรกิจกฎหมาย การเงิน การศึกษา ไปจนถึงองค์กรที่ต้องการสื่อถึงความเป็นทางการและความน่าเชื่อถือสูง

2. ฟอนต์ที่ไม่มีเชิงหรือหาง (Sans Serif Font)

ฟอนต์ sans serif คือ ฟอนต์ที่ไม่มีเส้นขีดที่ปลายตัวอักษร มีลักษณะเรียบง่าย สะอาด และทันสมัย ฟอนต์ประเภทนี้อ่านง่ายบนหน้าจออุปกรณ์ดิจิทัล 

ตัวอย่าง Sans Serif Font ที่นิยมใช้

  • Helvetica
  • Arial
  • Calibri
  • Verdana
  • Montserrat

3. ฟอนต์ตัวเขียน (Script Font)

ฟอนต์ตัวเขียนภาษาอังกฤษ มีลักษณะคล้ายลายมือที่เขียนติดกัน ให้ความรู้สึกเป็นส่วนตัว สร้างสรรค์ และมีเอกลักษณ์ อย่างไรก็ตามฟอนต์ประเภทนี้อาจไม่เหมาะกับการใช้เป็นข้อความยาว ๆ เนื่องจากอาจอ่านยากในบางกรณี

ตัวอย่าง Script Font

  • Pacifico
  • Lobster
  • Dancing Script

ฟอนต์ประเภทนี้เหมาะกับธุรกิจสินค้าหรูหรา งานแต่งงาน ร้านอาหาร และแบรนด์ที่ต้องการความพิเศษและความแตกต่างเฉพาะตัว 

4. ฟอนต์แบบประดิษฐ์ (Display Font)

Display Font คือ ฟอนต์ที่ออกแบบให้ลักษณะโดดเด่น สะดุดตา แปลกใหม่ และอาจมีรายละเอียดที่ซับซ้อนได้ ฟอนต์ประเภทนี้ไม่เหมาะกับการใช้เป็นข้อความยาว ๆ เนื่องจากอาจทำให้อ่านลำบาก

ตัวอย่าง Display Font

  • Excalibur Nouveau
  • Synthemesc

ฟอนต์ประเภทนี้เหมาะกับการใช้เป็นโลโก้ หัวข้อ หรือป้ายโฆษณา แต่ควรใช้อย่างระมัดระวังในงานที่ต้องการความน่าเชื่อถือสูง

รูปแบบอักษรที่เหมาะสมสำหรับงานออกแบบที่ต้องใช้ความน่าเชื่อถือ เป็นรูปแบบใด

หลักการเลือกรูปแบบอักษรที่เหมาะสมสำหรับงานออกแบบที่ต้องใช้ความน่าเชื่อถือ

เมื่อต้องตอบคำถามที่ว่า รูปแบบอักษรที่เหมาะสมสำหรับงานออกแบบที่ต้องใช้ความน่าเชื่อถือ เป็นรูปแบบใดบ้างนั้น ต้องพิจารณาหลายปัจจัย โดยพิจารณาจากหลักการใช้ฟอนต์ที่ถูกต้อง ดังนี้

1. พิจารณากลุ่มเป้าหมายและค่านิยมของแบรนด์

ก่อนเลือกฟอนต์ ควรเข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายของแบรนด์/องค์กร คือกลุ่มใด และกำหนดค่านิยมของแบรนด์ให้ชัดเจน เช่น

  • แบรนด์ที่เน้นความเป็นทางการและคลาสสิค อาจเลือกใช้ Serif Font
  • แบรนด์ที่เน้นความทันสมัยและก้าวหน้า ควรเลือก Sans Serif
  • แบรนด์ที่เน้นความประณีตและหรูหรา อาจพิจารณา Script Font ที่มีความสง่างาม

2. คำนึงถึงความอ่านง่าย

ฟอนต์ที่ดีต้องอ่านง่ายในทุกขนาดและทุกสื่อ ไม่ว่าจะเป็นสื่อออนไลน์หรือออฟไลน์ก็ตาม โดยเฉพาะข้อความยาว ฟอนต์ที่สวยงามแต่อ่านยากจะทำลายประสบการณ์ของผู้ใช้และลดความน่าเชื่อถือลง

สำหรับข้อความออนไลน์อย่างเว็บไซต์ ขนาดของตัวอักษรสำหรับเว็บไซต์ คือ ประมาณ 16-18px สำหรับเนื้อหาหลัก ซึ่งเป็นขนาดที่เหมาะสมทั้งบนจอ Desktop, Tablet และมือถือ 

3. ใช้ฟอนต์ไม่เกิน 2-3 แบบในงานเดียวกัน

ไม่ควรใช้ฟอนต์มากเกินไปในงานเดียวกัน แนะนำให้ใช้เพียง 2-3 แบบเท่านั้น เช่น ฟอนต์หนึ่งสำหรับหัวข้อ อาจเป็น Serif หรือ Sans Serif ที่มีน้ำหนักมากกว่า อีกฟอนต์หนึ่งสำหรับเนื้อหา และอาจมีฟอนต์ที่สามสำหรับข้อความพิเศษหรือการเน้นย้ำ

4. พิจารณาความเข้ากันได้ระหว่างฟอนต์

เมื่อใช้หลายฟอนต์ร่วมกัน ควรเลือกฟอนต์ที่เข้ากันได้ดี โดยอาจใช้หลักการดังนี้

  • เลือกฟอนต์ที่มีความสูงตัวอักษรใกล้เคียงกัน 
  • ใช้ฟอนต์ที่มีบุคลิก หรือให้ความรู้สึกไปในทิศทางเดียวกัน
  • แบ่งส่วนการใช้ฟอนต์ที่ชัดเจน เช่น Serif สำหรับหัวข้อและ Sans Serif สำหรับเนื้อหา

5. คำนึงถึงการนำไปใช้ในสื่อต่าง ๆ

ฟอนต์ที่เลือกควรใช้ได้ดีทั้งในสื่อดิจิทัลและสื่อสิ่งพิมพ์ โดยเฉพาะสำหรับการออกแบบ CI ที่ต้องมีความสม่ำเสมอในทุกช่องทาง นอกจากนี้ควรตรวจสอบว่าฟอนต์ที่เลือกมีลิขสิทธิ์ถูกต้อง และมีน้ำหนักหรือสไตล์ที่หลากหลายให้เลือกใช้

แนะนำรูปแบบอักษรที่เหมาะสมสำหรับงานออกแบบที่ต้องใช้ความน่าเชื่อถือ

สำหรับผู้ที่มีคำถามว่า รูปแบบอักษรที่เหมาะสมสำหรับงานออกแบบที่ต้องใช้ความน่าเชื่อถือ เป็นรูปแบบใดได้บ้าง IDG ขอยกตัวอย่างฟอนต์ที่น่าสนใจ ดังนี้

  • Sukhumvit – ดูเป็นทางการแต่ไม่แข็งเกินไป เหมาะกับงานองค์กรหลากหลายรูปแบบ
  • TH Sarabun New – เป็นทางการ นิยมใช้ในเอกสารราชการหรือสื่อที่ดูเป็นทางการ
  • Prompt – ทันสมัย มีความเป็นสากล เหมาะกับองค์กรสมัยใหม่
  • Kanit – เรียบง่าย ทันสมัย และมีความเป็นทางการในตัว เหมาะกับธุรกิจทุกประเภท
  • Montserrat – ฟอนต์ Sans Serif ที่ดูทันสมัยแต่ยังคงความเรียบง่าย เหมาะกับธุรกิจด้านเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ
  • Helvetica – คลาสสิค สะอาด ให้ความรู้สึกเป็นมืออาชีพและทันสมัย เหมาะกับทุกประเภทธุรกิจ
  • Garamond – ฟอนต์ Serif ที่มีความคลาสสิคและดูมีระดับ 

อย่างไรก็ตาม การเลือกฟอนต์จำเป็นต้องพิจารณาอีกหลายปัจจัย ดังนั้นควรให้ผู้เชี่ยวชาญเลือกฟอนต์ที่ตอบโจทย์องค์กรหรือแบรนด์ เพื่อความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กล่าวโดยสรุปคือ การเลือกรูปแบบอักษรที่เหมาะสม มีบทบาทสำคัญในการสร้างภาพลักษณ์องค์กรที่แข็งแกร่ง โดยต้องคำนึงถึงหลายปัจจัย สำหรับงานที่ต้องการความน่าเชื่อถือ ฟอนต์ประเภท Serif มักเป็นตัวเลือกที่ดี โดยเฉพาะสำหรับองค์กรที่เน้นความเป็นทางการและต้องการแสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญ

สำหรับองค์กรหรือธุรกิจที่ต้องการเลือกฟอนต์สำหรับการทำ CI IDG พร้อมให้คำปรึกษาและบริการออกแบบ CI โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ ที่จะช่วยคุณเลือกรูปแบบอักษรที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของแบรนด์ สร้างความประทับใจแรกที่ดี และส่งเสริมความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรของคุณในระยะยาว

รูปแบบอักษรที่เหมาะสมสำหรับงานออกแบบที่ต้องใช้ความน่าเชื่อถือ เป็นรูปแบบใด

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

1. รูปแบบอักษรที่เหมาะสมสำหรับงานออกแบบที่ต้องใช้ความน่าเชื่อถือ เป็นรูปแบบใด?

รูปแบบอักษรที่เหมาะสมสำหรับงานที่ต้องการความน่าเชื่อถือมักเป็นฟอนต์ประเภท Serif เช่น Times New Roman, Garamond หรือ Sans Serif ที่มีความเป็นทางการ เช่น Helvetica, Arial ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบุคลิกของแบรนด์และกลุ่มเป้าหมาย 

ส่วนนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบของฟอนต์และลักษณะของการใช้งานฟอนต์ โดยหากเป็นฟอนต์ฟรีต้องตรวจสอบเงื่อนไขการใช้งาน บางฟอนต์สามารถใช้งานส่วนตัวฟรี แต่ต้องซื้อลิขสิทธิ์สำหรับงานเชิงพาณิชย์ หากเป็นฟอนต์แบบจ่ายเงิน จำเป็นต้องซื้อลิขสิทธิ์ก่อนใช้งาน ซึ่งมีทั้งแบบจ่ายครั้งเดียวและแบบรายเดือน

ทรัพย์สินทางปัญญา คือ ผลงานที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย แบ่งเป็นหลายประเภท เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ความลับทางการค้า และแบบผลิตภัณฑ์

ในกรณีของฟอนต์ ทรัพย์สินทางปัญญาคุ้มครองผ่านลิขสิทธิ์ในฐานะงานศิลปะหรือซอฟต์แวร์ หากฟอนต์เป็นส่วนหนึ่งของโลโก้ ยังสามารถได้รับความคุ้มครองผ่านการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้อีกด้วย การขอรับความคุ้มครองช่วยป้องกันไม่ให้ผู้อื่นนำฟอนต์หรือการออกแบบของคุณไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

IDG บริษัทรับออกแบบ CI สร้างภาพลักษณ์องค์กร

เรา คือ บริษัท รับออกแบบสำหรับองค์กรแบบครบวงจร เราให้บริการ รับออกแบบ Logo ออกแบบ CI ออกแบบโปรไฟล์บริษัท ออกแบบ Presentation ออกแบบ Infographic รวมไปถึง ออกเเบบจัดวางข้อมูล Policy brief/ Report สำหรับหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ดำเนินงานโดยทีมนักออกแบบงานมืออาชีพที่มีประสบการณ์สูง เรามุ่งมั่นในการสร้างสรรค์ผลงานที่สะท้อนตัวตนขององค์กรลูกค้าอย่างแท้จริง

 

นอกจากนี้ IDG ให้บริการด้านทรัพย์สินทางปัญญาอย่างครบวงจร ครอบคลุมทั้งการให้คำปรึกษา วางกลยุทธ์ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า รับจด อย. การจดลิขสิทธิ์ จดสิทธิบัตรออนไลน์ รวมถึงให้บริการดำเนินงานด้านการซื้อขายเทคโนโลยีหรือ IP เรามีความพร้อมในการดูแลลูกค้าตั้งแต่กระบวนการแรกไปจนถึงการติดตามผล เพื่อให้มั่นใจว่าทรัพย์สินทางปัญญาของคุณได้รับการปกป้องและใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่

ดูข้อมูลเพิ่มเติม หรือติดต่อสอบถาม

อีเมล: [email protected] 

โทร.: 02-011-7161 ต่อ 202 ฝ่ายออกเเบบ

ไลน์: @idgthailand (มี@)

Facebook: facebook.com/IDGThailand 

LinkedIn: linkedin.com/in/intellectualdesigngroup/ 

รูปแบบอักษรที่เหมาะสมสำหรับงานออกแบบที่ต้องใช้ความน่าเชื่อถือ เป็นรูปแบบใด

รูปแบบอักษร หรือฟอนต์ เป็นองค์ประกอบสำคัญในงานออกแบบที่มีผลต่อความน่าเชื่อถือของแบรนด์หรือองค์กร บทความนี้ IDG จะเล่าถึงความสำคัญของฟอนต์ พร้อมแนะนำรูปแบบอักษรที่เหมาะสมสำหรับงานออกแบบที่ต้องใช้ความน่าเชื่อถือว่าควรเป็นรูปแบบใด รวมถึงเทคนิคการเลือกฟอนต์ที่ดีสำหรับงานออกแบบ

ความสำคัญของรูปแบบอักษรในงานออกแบบธุรกิจ

การออกแบบตัวอักษรไม่ใช่เพียงแค่การเลือกฟอนต์ที่อ่านง่าย แต่ยังเป็นการสื่อสารตัวตนและบุคลิกภาพของแบรนด์ และรูปแบบอักษรที่เหมาะสมเป็นองค์ประกอบหลักของการออกแบบ CI ที่ช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรให้แข็งแกร่ง

ฟอนต์ที่เลือกใช้จะส่งผลต่อการรับรู้ของผู้บริโภคต่อแบรนด์ รูปแบบอักษรที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้องค์กรดูไม่น่าเชื่อถือหรือไม่เป็นมืออาชีพ ในทางกลับกัน รูปแบบอักษรที่เหมาะสมจะช่วยสร้างความไว้วางใจและสื่อสารคุณค่าของแบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รูปแบบอักษรที่เหมาะสมสำหรับงานออกแบบที่ต้องใช้ความน่าเชื่อถือ เป็นรูปแบบใด

ประเภทฟอนต์สำหรับงานออกแบบ

ประเภทฟอนต์พื้นฐานที่นิยมใช้ในงานออกแบบที่ต้องการความน่าเชื่อถือมีหลายรูปแบบ แต่ละประเภทมีบุคลิกและความเหมาะสมกับงานที่แตกต่างกัน เช่น

1. ฟอนต์ที่มีเชิงหรือหางที่ปลายตัวอักษร (Serif Font)

Serif font คือ ฟอนต์ที่มีเส้นขีดเล็ก ๆ ที่ปลายของตัวอักษร ซึ่งช่วยนำสายตาจากตัวอักษรหนึ่งไปยังอีกตัวหนึ่ง ทำให้อ่านง่ายในการพิมพ์เป็นข้อความยาว ๆ ฟอนต์ประเภทนี้มักให้ความรู้สึกเป็นทางการ มีความน่าเชื่อถือ และให้ความคลาสสิก 

ตัวอย่าง Serif Font ที่นิยมใช้

  • Times New Roman
  • Georgia
  • Baskerville
  • Garamond
  • Palatino

ฟอนต์ประเภทนี้เหมาะกับธุรกิจกฎหมาย การเงิน การศึกษา ไปจนถึงองค์กรที่ต้องการสื่อถึงความเป็นทางการและความน่าเชื่อถือสูง

2. ฟอนต์ที่ไม่มีเชิงหรือหาง (Sans Serif Font)

ฟอนต์ sans serif คือ ฟอนต์ที่ไม่มีเส้นขีดที่ปลายตัวอักษร มีลักษณะเรียบง่าย สะอาด และทันสมัย ฟอนต์ประเภทนี้อ่านง่ายบนหน้าจออุปกรณ์ดิจิทัล 

ตัวอย่าง Sans Serif Font ที่นิยมใช้

  • Helvetica
  • Arial
  • Calibri
  • Verdana
  • Montserrat

3. ฟอนต์ตัวเขียน (Script Font)

ฟอนต์ตัวเขียนภาษาอังกฤษ มีลักษณะคล้ายลายมือที่เขียนติดกัน ให้ความรู้สึกเป็นส่วนตัว สร้างสรรค์ และมีเอกลักษณ์ อย่างไรก็ตามฟอนต์ประเภทนี้อาจไม่เหมาะกับการใช้เป็นข้อความยาว ๆ เนื่องจากอาจอ่านยากในบางกรณี

ตัวอย่าง Script Font

  • Pacifico
  • Lobster
  • Dancing Script

ฟอนต์ประเภทนี้เหมาะกับธุรกิจสินค้าหรูหรา งานแต่งงาน ร้านอาหาร และแบรนด์ที่ต้องการความพิเศษและความแตกต่างเฉพาะตัว 

4. ฟอนต์แบบประดิษฐ์ (Display Font)

Display Font คือ ฟอนต์ที่ออกแบบให้ลักษณะโดดเด่น สะดุดตา แปลกใหม่ และอาจมีรายละเอียดที่ซับซ้อนได้ ฟอนต์ประเภทนี้ไม่เหมาะกับการใช้เป็นข้อความยาว ๆ เนื่องจากอาจทำให้อ่านลำบาก

ตัวอย่าง Display Font

  • Excalibur Nouveau
  • Synthemesc

ฟอนต์ประเภทนี้เหมาะกับการใช้เป็นโลโก้ หัวข้อ หรือป้ายโฆษณา แต่ควรใช้อย่างระมัดระวังในงานที่ต้องการความน่าเชื่อถือสูง

รูปแบบอักษรที่เหมาะสมสำหรับงานออกแบบที่ต้องใช้ความน่าเชื่อถือ เป็นรูปแบบใด

หลักการเลือกรูปแบบอักษรที่เหมาะสมสำหรับงานออกแบบที่ต้องใช้ความน่าเชื่อถือ

เมื่อต้องตอบคำถามที่ว่า รูปแบบอักษรที่เหมาะสมสำหรับงานออกแบบที่ต้องใช้ความน่าเชื่อถือ เป็นรูปแบบใดบ้างนั้น ต้องพิจารณาหลายปัจจัย โดยพิจารณาจากหลักการใช้ฟอนต์ที่ถูกต้อง ดังนี้

1. พิจารณากลุ่มเป้าหมายและค่านิยมของแบรนด์

ก่อนเลือกฟอนต์ ควรเข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายของแบรนด์/องค์กร คือกลุ่มใด และกำหนดค่านิยมของแบรนด์ให้ชัดเจน เช่น

  • แบรนด์ที่เน้นความเป็นทางการและคลาสสิค อาจเลือกใช้ Serif Font
  • แบรนด์ที่เน้นความทันสมัยและก้าวหน้า ควรเลือก Sans Serif
  • แบรนด์ที่เน้นความประณีตและหรูหรา อาจพิจารณา Script Font ที่มีความสง่างาม

2. คำนึงถึงความอ่านง่าย

ฟอนต์ที่ดีต้องอ่านง่ายในทุกขนาดและทุกสื่อ ไม่ว่าจะเป็นสื่อออนไลน์หรือออฟไลน์ก็ตาม โดยเฉพาะข้อความยาว ฟอนต์ที่สวยงามแต่อ่านยากจะทำลายประสบการณ์ของผู้ใช้และลดความน่าเชื่อถือลง

สำหรับข้อความออนไลน์อย่างเว็บไซต์ ขนาดของตัวอักษรสำหรับเว็บไซต์ คือ ประมาณ 16-18px สำหรับเนื้อหาหลัก ซึ่งเป็นขนาดที่เหมาะสมทั้งบนจอ Desktop, Tablet และมือถือ 

3. ใช้ฟอนต์ไม่เกิน 2-3 แบบในงานเดียวกัน

ไม่ควรใช้ฟอนต์มากเกินไปในงานเดียวกัน แนะนำให้ใช้เพียง 2-3 แบบเท่านั้น เช่น ฟอนต์หนึ่งสำหรับหัวข้อ อาจเป็น Serif หรือ Sans Serif ที่มีน้ำหนักมากกว่า อีกฟอนต์หนึ่งสำหรับเนื้อหา และอาจมีฟอนต์ที่สามสำหรับข้อความพิเศษหรือการเน้นย้ำ

4. พิจารณาความเข้ากันได้ระหว่างฟอนต์

เมื่อใช้หลายฟอนต์ร่วมกัน ควรเลือกฟอนต์ที่เข้ากันได้ดี โดยอาจใช้หลักการดังนี้

  • เลือกฟอนต์ที่มีความสูงตัวอักษรใกล้เคียงกัน 
  • ใช้ฟอนต์ที่มีบุคลิก หรือให้ความรู้สึกไปในทิศทางเดียวกัน
  • แบ่งส่วนการใช้ฟอนต์ที่ชัดเจน เช่น Serif สำหรับหัวข้อและ Sans Serif สำหรับเนื้อหา

5. คำนึงถึงการนำไปใช้ในสื่อต่าง ๆ

ฟอนต์ที่เลือกควรใช้ได้ดีทั้งในสื่อดิจิทัลและสื่อสิ่งพิมพ์ โดยเฉพาะสำหรับการออกแบบ CI ที่ต้องมีความสม่ำเสมอในทุกช่องทาง นอกจากนี้ควรตรวจสอบว่าฟอนต์ที่เลือกมีลิขสิทธิ์ถูกต้อง และมีน้ำหนักหรือสไตล์ที่หลากหลายให้เลือกใช้

แนะนำรูปแบบอักษรที่เหมาะสมสำหรับงานออกแบบที่ต้องใช้ความน่าเชื่อถือ

สำหรับผู้ที่มีคำถามว่า รูปแบบอักษรที่เหมาะสมสำหรับงานออกแบบที่ต้องใช้ความน่าเชื่อถือ เป็นรูปแบบใดได้บ้าง IDG ขอยกตัวอย่างฟอนต์ที่น่าสนใจ ดังนี้

  • Sukhumvit – ดูเป็นทางการแต่ไม่แข็งเกินไป เหมาะกับงานองค์กรหลากหลายรูปแบบ
  • TH Sarabun New – เป็นทางการ นิยมใช้ในเอกสารราชการหรือสื่อที่ดูเป็นทางการ
  • Prompt – ทันสมัย มีความเป็นสากล เหมาะกับองค์กรสมัยใหม่
  • Kanit – เรียบง่าย ทันสมัย และมีความเป็นทางการในตัว เหมาะกับธุรกิจทุกประเภท
  • Montserrat – ฟอนต์ Sans Serif ที่ดูทันสมัยแต่ยังคงความเรียบง่าย เหมาะกับธุรกิจด้านเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ
  • Helvetica – คลาสสิค สะอาด ให้ความรู้สึกเป็นมืออาชีพและทันสมัย เหมาะกับทุกประเภทธุรกิจ
  • Garamond – ฟอนต์ Serif ที่มีความคลาสสิคและดูมีระดับ 

อย่างไรก็ตาม การเลือกฟอนต์จำเป็นต้องพิจารณาอีกหลายปัจจัย ดังนั้นควรให้ผู้เชี่ยวชาญเลือกฟอนต์ที่ตอบโจทย์องค์กรหรือแบรนด์ เพื่อความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กล่าวโดยสรุปคือ การเลือกรูปแบบอักษรที่เหมาะสม มีบทบาทสำคัญในการสร้างภาพลักษณ์องค์กรที่แข็งแกร่ง โดยต้องคำนึงถึงหลายปัจจัย สำหรับงานที่ต้องการความน่าเชื่อถือ ฟอนต์ประเภท Serif มักเป็นตัวเลือกที่ดี โดยเฉพาะสำหรับองค์กรที่เน้นความเป็นทางการและต้องการแสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญ

สำหรับองค์กรหรือธุรกิจที่ต้องการเลือกฟอนต์สำหรับการทำ CI IDG พร้อมให้คำปรึกษาและบริการออกแบบ CI โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ ที่จะช่วยคุณเลือกรูปแบบอักษรที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของแบรนด์ สร้างความประทับใจแรกที่ดี และส่งเสริมความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรของคุณในระยะยาว

รูปแบบอักษรที่เหมาะสมสำหรับงานออกแบบที่ต้องใช้ความน่าเชื่อถือ เป็นรูปแบบใด

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

1. รูปแบบอักษรที่เหมาะสมสำหรับงานออกแบบที่ต้องใช้ความน่าเชื่อถือ เป็นรูปแบบใด?

รูปแบบอักษรที่เหมาะสมสำหรับงานที่ต้องการความน่าเชื่อถือมักเป็นฟอนต์ประเภท Serif เช่น Times New Roman, Garamond หรือ Sans Serif ที่มีความเป็นทางการ เช่น Helvetica, Arial ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบุคลิกของแบรนด์และกลุ่มเป้าหมาย 

ส่วนนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบของฟอนต์และลักษณะของการใช้งานฟอนต์ โดยหากเป็นฟอนต์ฟรีต้องตรวจสอบเงื่อนไขการใช้งาน บางฟอนต์สามารถใช้งานส่วนตัวฟรี แต่ต้องซื้อลิขสิทธิ์สำหรับงานเชิงพาณิชย์ หากเป็นฟอนต์แบบจ่ายเงิน จำเป็นต้องซื้อลิขสิทธิ์ก่อนใช้งาน ซึ่งมีทั้งแบบจ่ายครั้งเดียวและแบบรายเดือน

ทรัพย์สินทางปัญญา คือ ผลงานที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย แบ่งเป็นหลายประเภท เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ความลับทางการค้า และแบบผลิตภัณฑ์

ในกรณีของฟอนต์ ทรัพย์สินทางปัญญาคุ้มครองผ่านลิขสิทธิ์ในฐานะงานศิลปะหรือซอฟต์แวร์ หากฟอนต์เป็นส่วนหนึ่งของโลโก้ ยังสามารถได้รับความคุ้มครองผ่านการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้อีกด้วย การขอรับความคุ้มครองช่วยป้องกันไม่ให้ผู้อื่นนำฟอนต์หรือการออกแบบของคุณไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

IDG บริษัทรับออกแบบ CI สร้างภาพลักษณ์องค์กร

เรา คือ บริษัท รับออกแบบสำหรับองค์กรแบบครบวงจร เราให้บริการ รับออกแบบ Logo ออกแบบ CI ออกแบบโปรไฟล์บริษัท ออกแบบ Presentation ออกแบบ Infographic รวมไปถึง ออกเเบบจัดวางข้อมูล Policy brief/ Report สำหรับหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ดำเนินงานโดยทีมนักออกแบบงานมืออาชีพที่มีประสบการณ์สูง เรามุ่งมั่นในการสร้างสรรค์ผลงานที่สะท้อนตัวตนขององค์กรลูกค้าอย่างแท้จริง

 

นอกจากนี้ IDG ให้บริการด้านทรัพย์สินทางปัญญาอย่างครบวงจร ครอบคลุมทั้งการให้คำปรึกษา วางกลยุทธ์ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า รับจด อย. การจดลิขสิทธิ์ จดสิทธิบัตรออนไลน์ รวมถึงให้บริการดำเนินงานด้านการซื้อขายเทคโนโลยีหรือ IP เรามีความพร้อมในการดูแลลูกค้าตั้งแต่กระบวนการแรกไปจนถึงการติดตามผล เพื่อให้มั่นใจว่าทรัพย์สินทางปัญญาของคุณได้รับการปกป้องและใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่

ดูข้อมูลเพิ่มเติม หรือติดต่อสอบถาม

อีเมล: [email protected] 

โทร.: 02-011-7161 ต่อ 202 ฝ่ายออกเเบบ

ไลน์: @idgthailand (มี@)

Facebook: facebook.com/IDGThailand 

LinkedIn: linkedin.com/in/intellectualdesigngroup/ 

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณอย่างเต็มที่

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ