IDG PATENT

การปกป้องนวัตกรรม
ด้วยการจดสิทธิบัตร

Patent Search

สืบค้น ประเมินความเป็นไปได้
ในการเป็นสิทธิบัตร

Thailand Patent
Registration

การยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตร
ภายในประเทศครบวงจร

Global Patent
Registration

การยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตร
ต่างประเทศและระบบ PCT

TECHNOLOGY
ANALYSIS

วิเคราะห์เทคโนโลยีด้วยข้อมูลสิทธิบัตร

giphy

IDG เราคือผู้เชี่ยวชาญ
ด้านสิทธิบัตร

ทีมงานของเราประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ ประสบการณ์ยาวนานถึง 15 ปี
มีทีมงานตัวแทนสิทธิบัตรที่เข้าใจนวัตกรรมของคุณได้อย่างแท้จริงทั้งด้านวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์หลากหลายสาขา รวมไปถึงนักออกแบบและทีมนักกฎหมายมืออาชีพที่ช่วยดูแลคุณในทุกขั้นตอน ทั้งการร่างคำขอสิทธิบัตร จัดทำภาพเขียน จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง สืบคันสิทธิบัตร ยื่นจดทะเบียน วิเคราะห์ วางแผนและกำหนดกลยุทธ์ โดยการดำเนินงานที่ ครอบคลุมทั้งการจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ จดอนุสิทธิบัตร และจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ หรือการยื่นสิทธิบัตรผ่านระบบ PCT

อีกทั้งยังจัดการข้อมูลสิทธิบัตรของคุณอย่างเป็นระบบ และสามารถดำเนินการด้านกฎหมายหรือดำเนินการด้านการตลาดหลังการจดสิทธิบัตรได้อีกด้วย

PATENT SEARCH

บริการสืบค้นสิทธิบัตร

THAILAND PATENT REGISTRATION​

บริการจดทะเบียนสิทธิบัตร​

GLOBAL PATENT REGISTRATION​

บริการจดทะเบียนสิทธิบัตรทั่วโลก

TECHNOLOGY ANALYSIS

บริการวิเคราะห์สิทธิบัตร
และเทคโนโลยี​

ให้บริการด้วยความเป็นกันเอง
โดยมืออาชีพด้านสิทธิบัตร

ผู้เชี่ยวชาญประสบการณ์ยาวนานถึง 15 ปี

ทีมงานด้านสิทธิบัตรของ IDG หลากหลายสาขาพร้อมดูแลคุณ: วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม, วิศวกรรมเครื่องกล, วิศวกรรมการบินและอวกาศ, วิศวกรรมเคมี, วิศวกรรมชีวการแพทย์, วิศวกรรมนาโนทคโนโลยี ด้านวัสดุ เทคโนโลยีชีวภาพและอิเล็กทรอนิกส์, วิศวกรรมคอมพิวเตอร์, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาเทคโนโลยีการเกษตร, วิทยาศาสตร์ สาขาชีววิทยา, วิทยาศาสตร์ สาขาวาริชศาสตร์, นิติศาสตรบัณฑิต, ศิลปศาสตร์ คุณสามารถเชื่อมั่นได้ว่าเราเข้าใจงานของท่านจริง

financial broker explaning business data his client

“อยากรู้เรื่องใด ให้เราช่วยคุณ”

patent 101

สิทธิบัตรเบื้องต้น

สิทธิบัตรคืออะไร? มีกี่ประเภท? ต่างกันอย่างไรมีขั้นตอนอย่างไร
รวมเรื่องสิทธิบัตรเบื้องต้นที่ผู้ประกอบการควรรู้ก่อนจดสิทธิบัตร

การวิเคราะห์ข้อมูล
สิทธิบัตร

เพื่อให้ท่านเข้าใจถึงภาพรวมของเทคโนโลยี
หรือข้อมูลเชิงลึกที่ครอบคลุมหลากหลายมิติ

กระบวนการคัดกรองและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกจากเอกสารสิทธิบัตรและข้อมูลที่เกี่ยวข้องในหลากหลายระดับและรูปแบบไม่ว่าจะเป็นระดับอุตสาหกรรมหรือเทคโนโลยีนวัตกรรมนั้นๆ เพื่อให้ท่านเข้าใจถึงภาพรวมของเทคโนโลยีหรือข้อมูลเชิงลึกที่ครอบคลุมหลากหลายมิติ ทั้งระดับภายในประเทศ ระหว่างประเทศและทั่วโลก ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับการวางแผนกลยุทธ์หรือการตัดสินใจทางธุรกิจในตลาด รวมถึงยกระดับเทคโนโลยีนวัตกรรมของท่านให้ก้าวสู่การเป็นผู้นำในท้องตลาดนั้นๆ

1365

สอบถามข้อมูล

หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับบริการที่ IDG
กรุณากรอกแบบฟอร์มเพื่อส่งข้อมูลถึงเรา
ทางเราจะติดต่อกลับทันทีที่ได้รับอีเมลดังกล่าวในเวลาทำการ

หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับบริการที่ IDG กรุณากรอกแบบฟอร์มเพื่อส่งข้อมูลถึงเรา
ทางเราจะติดต่อกลับทันทีที่ได้รับอีเมลดังกล่าวในเวลาทำการ

หรือท่านสามารถสแกน QR Code เพิ่มเพื่อน หรือเพิ่มเพื่อน
by ID : @idgthailand เพื่อติดต่อเราผ่าน
แอพพลิเคชั่น LINE ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

แบบฟอร์มติดต่อ
ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิบัตร

 Untitled 1 1

     สิทธิบัตร (Patent) คือเอกสารทางกฏหมายที่ตราไว้เพื่อคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์
สิทธิบัตรให้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวแก่เจ้าของในการผลิต ขาย ให้เช่า หรือแจกจ่ายการประดิษฐ์ในประเทศที่ได้รับการคุ้มครอง เพราะฉะนั้นเจ้าของสิทธิสามารถกีดกันผู้อื่นจากการผลิต ขาย แจกจ่าย หรือนำเข้างานของเจ้าของสิทธิได้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีประโยชน์ใช้สอย (functional products) หรือเป็นการออกแบบเพื่อตกแต่ง (ornamental designs) ซึ่งรวมไปถึงรูปร่าง ลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์ สิ่งเหล่านี้อาจนำมาจดสิทธิบัตรได้ แต่การที่จะได้มาซึ่งสิทธิเหล่านี้ ผู้ยื่นจดสิทธิบัตรจำเป็นต้องเปิดเผยรายละเอียดและสาระสำคัญของงานต่อสำนักสิทธิบัตรในประเทศที่ต้องการได้รับการคุ้มครอง หากงานประดิษฐ์หรืองานออกแบบใดไม่ได้รับการคุ้มครองด้วยสิทธิบัตรแล้ว จะเป็นเรื่องยากที่ผู้ประดิษฐ์หรือผู้ออกแบบจะสามารถนำเอาไอเดียนั้นมาพัฒนาต่อยอด และนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การเริ่มธุรกิจที่เน้นการพัฒนานวัตกรรม หรือการให้ผู้อื่นเช่าสิทธิ (license-out) เพื่อที่ผู้อื่นสามารถนำไปผลิต ขาย หรือพัฒนาต่อยอดได้


ภายใต้กฎหมายแห่งราชอาณาจักรไทย สิทธิบัตรสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

 

patent design     สิทธิบัตรการประดิษฐ์
Patent idea    อนุสิทธิบัตร
idea 1     สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

1. สิทธิบัตรการประดิษฐ์

ปกป้องการประดิษฐ์ที่มีการใช้งานหรือมีประโยชน์ใช้สอย การประดิษฐ์อาจรวมถึง ลักษณะ องค์ประกอบ กลไก โครงสร้าง กระบวนการ หรือ กรรมวิธี

สิทธิบัตรการประดิษฐ์มีอายุ 20 ปี นับจากวันที่ยื่นจดสิทธิบัตร และคุ้มครองในประเทศที่ยื่นจดเท่านั้น

3 หลักเกณฑ์ในการขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์

1. เป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่

สิ่งประดิษฐ์นี้ต้องเป็นสิ่งใหม่ในเวทีโลก ผู้ยื่นจดต้องตรวจสอบว่ามีความเหมือนกับงานประดิษฐ์อื่นหรือไม่ ผ่านแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั้งจากฐานข้อมูลสิทธิบัตรในประเทศและต่างประเทศ วารสาร นิตยสาร ข่าว หรือแหล่งข้อมูลอื่นๆที่มีการเผยแพร่สิ่งประดิษฐ์ที่ใกล้เคียง นอกจากนี้ผู้ยื่นจดต้องไม่เผยแพร่สาระสำคัญของสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ก่อนวันที่จะยื่นจดสิทธิบัตร ซึ่งอาจรวมไปถึงการเผยแพร่ในการประชุมสัมมนา การออกร้านหรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ

2. มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น

สิ่งประดิษฐ์นั้นต้องมีลักษณะทางเทคนิคที่ไม่เป็นที่เข้าใจต่อผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆ ในแวดวงเดียวกันได้โดยง่าย การยื่นจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้นนี้ต้องใช้ความเชี่ยวชาญในการพิจารณา อย่างไรก็ตามจากการสืบค้นผ่านฐานข้อมูลต่างๆ คุณจะสามารถเข้าใจได้มากขึ้นว่าสิ่งประดิษฐ์ที่กำลังจะยื่นจดนั้น เป็นสิ่งที่มีการพัฒนาเหนือชั้นกว่าสิ่งเดิมหรือไม่ หนทางหนึ่งที่ใช้กันก็คือการใช้ข้อมูลเสริมที่ได้จากผลการทดสอบ ผลการวิจัย หรือผลการสืบค้น prior arts และเพิ่มข้อมูลเหล่านี้ในส่วนรายละเอียดการประดิษฐ์หรือเอกสารประกอบการยื่นจดฯ เพื่อยืนยันว่าสิ่งที่ท่านพยายามยื่นจดฯ นั้นมีความแตกต่างและมีลักษณะทางเทคนิคที่สูงกว่างานประดิษฐ์ก่อนๆ

3. สามารถใช้ในอุตสาหกรรมได้

การประดิษฐ์ต้องมีคุณค่าต่ออุตสาหกรรมด้านใดด้านหนึ่ง ในประเทศไทย การประดิษฐ์จะต้องไม่ก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อความเป็นอยู่ของประชากรโดยรวมหรือประเทศชาติ ดังเช่นอาวุธชีวเคมีหรืออุปกรณ์ในการขโมยข้อมูลจากบัตรเครดิต และขอเพิ่มเติมว่าแม้อุปกรณ์สิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อส่วนรวมและมีคุณค่าในทางอุตสาหกรรมสูง สิ่งต่างๆดังต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการประดิษฐ์ที่ไม่สามารถนำมายื่นจดฯได้

  • จุลชีพหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ต้นไม้ สัตว์ หรือสิ่งที่สกัดออกมาจากต้นไม้หรือสัตว์
  • ทฤษฎีหรือกฏวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์
  • ฐานข้อมูล โปรแกรมคอมพิวเตอร์
  • วิธีการวินิจฉัยและการรักษาโรคให้กับมนุษย์และสัตว์

ตัวอย่างของสิ่งประดิษฐ์ที่อาจได้รับความคุ้มครองด้วยสิทธิบัตรการประดิษฐ์

  • กรรมวิธีผลิตผงซักฟอกใหม่ที่มีส่วนประกอบของสารสมุนไพรหลายฃนิด (ไม่เป็นสารสกัดจากผลิตภัณฑ์น้ำมัน) เมื่อนำเอาสิ่งเหล่านี้มาผ่านกรรมวิธีการผลิตนี้แล้วทำให้เกิดผลบวกต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ (ควรมีผลการทดลองเพื่อประกอบการยื่นจดด้วย) เช่นการฆ่าเชื้อโรคที่ติดอยู่บนผ้า การระงับการแพร่เชื้อโรค ขจัดคราบต่างๆ และไม่มีพิษต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมีผลที่ดีเหนือกว่าผงซักฟอกแบบเดิม
  • ระบบไฮบริดใหม่ (Hybrid) ที่ใช้พลังงานไฮโดรเจนในเครื่องยนต์และมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและประหยัดต้นทุน เหนือกว่าเครื่องยนต์ระบบไฮบริดแบบเดิมในตลาด
  • ระบบการผลิตไม้กอล์ฟแบบใช้ข้อมูลดิจิตอลมาประกอบการผลิต ที่อำนวยให้ลูกค้าสามารถเลือกรูปร่างลักษณะ ขนาด ความโค้งมนและวัสดุให้ตรงตามความต้องการ ด้วยระบบการผลิตชนิดนี้ทำให้สามารถผลิตไม้กอล์ฟได้อย่างรวดเร็วทันที ลูกค้าสามารถรอรับกลับบ้านได้

2. อนุสิทธิบัตร

ปกป้องการประดิษฐ์ที่มีการใช้งานหรือมีประโยชน์ใช้สอย การประดิษฐ์อาจรวมถึง ลักษณะ องค์ประกอบ กลไก โครงสร้าง กระบวนการ หรือ กรรมวิธีอนุสิทธิบัตรมีอายุ 6 ปี นับจากวันที่ยื่นจด และคุ้มครองในประเทศที่ยื่นจดเท่านั้น เจ้าของสิทธิสามารถยื่นต่ออายุได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ปี แต่ทั้งหมดไม่เกิน 10 ปีหลักเกณฑ์ “ขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น” จะไม่ถูกนำมาพิจารณาในการตรวจสอบคำขอรับอนุสิทธิบัตร เหมาะสมกับสิ่งประดิษฐ์ที่มีการพัฒนาหรือมีการปรับปรุงเล็กน้อย

2 หลักเกณฑ์ในการขอรับอนุสิทธิบัตร

1. ใหม่
สิ่งประดิษฐ์นี้ต้องเป็นสิ่งใหม่ในเวทีโลก ผู้ยื่นจดต้องตรวจสอบว่ามีความเหมือนกับงานประดิษฐ์อื่นหรือไม่ ผ่านฐานข้อมูลหลายๆทาง ทั้งฐานข้อมูลสิทธิบัตร วารสาร นิตยาสาร ข่าว หรือแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่มีการเผยแพร่สิ่งประดิษฐ์ที่ใกล้เคียง นอกจากนี้ผู้ยื่นจดต้องไม่เผยแพร่สาระสำคัญของสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ก่อนวันที่จะยื่นจดสิทธิบัตร ซึ่งอาจรวมไปถึงการเผยแพร่ในการประชุมสัมมนา การออกร้าน สื่อออนไลน์หรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ

2. สามารถใช้ในอุตสาหกรรมได้
เป็นสิ่งที่ต้องเข้าใจตรงกันว่าการประดิษฐ์อะไรก็ตามแต่ ต้องมีคุณค่าต่ออุตสาหกรรมด้านใดด้านหนึ่ง ในประเทศไทย การประดิษฐ์จะต้องไม่ก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อความเป็นอยู่ของประชากรโดยรวมหรือประเทศชาติ ดังเช่นอาวุธชีวเคมีหรืออุปกรณ์ในการขโมยข้อมูลจากบัตรเครดิต และขอเพิ่มเติมว่าแม้อุปกรณ์สิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อส่วนรวมและมีคุณค่าในทางอุตสาหกรรมสูง สิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการประดิษฐ์ที่ไม่สามารถนำมายื่นจดฯ ได้

  • จุลชีพหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ต้นไม้ สัตว์ หรือสิ่งที่สกัดออกมาจากต้นไม้หรือสัตว์
  • ทฤษฎีหรือกฏวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์
  • ฐานข้อมูล โปรแกรมคอมพิวเตอร์
  • วิธีการวินิจฉัยและการรักษาโรคให้กับมนุษย์และสัตว์

ตัวอย่างการประดิษฐ์ที่อาจได้รับความคุ้มครองด้วยอนุสิทธิบัตร

  • การออกแบบถุงใส่ไม้กอล์ฟที่มีพื้นที่แบ่งเป็นสัดส่วน เหมาะกับการจัดเก็บไม้กอล์ฟไม่ให้หล่นหรือหลุดออกจากถุงได้ มีช่องสำหรับใส่อุปกรณ์อื่นๆ เช่น ถุงมือ ลูกกอล์ฟ หรือไม้สำหรับตั้งลูกกอล์ฟ (tee)
  • หม้อต้มที่มีก้นหม้อเป็นพื้นผิวโค้งมน เพื่อกระจายความร้อนจากเตาให้หม้อต้มได้รับความร้อนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นและหุงต้มได้รวดเร็วขึ้น
  • สูตรเครื่องสำอางที่ประกอบไปด้วยส่วนผสมอนุภาคทองขนาดนาโนเมตร (เรียกอีกอย่างว่า อนุภาคนาโน) ที่ช่วยให้ผิวพรรณกระจ่างประกายหลังการทา

3. สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

คุ้มครองรูปลักษณ์ ลวดลาย หรือสีสันของงานออกแบบผลิตภัณฑ์เท่านั้น (ไม่ปกป้องในแง่ของการใช้งานหรือประโยชน์ใช้สอย)

สิทธิบัตรการออกแบบมีอายุ 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นจด และได้รับการคุ้มครองในประเทศที่ยื่นจดเท่านั้น

2 หลักเกณฑ์ในการขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

1. ใหม่

สิ่งประดิษฐ์นี้ต้องเป็นสิ่งใหม่ในเวทีโลก ผู้ยื่นจดต้องตรวจสอบว่ามีความเหมือนกับงานประดิษฐ์อื่นหรือไม่ ผ่านแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั้งฐานข้อมูลสิทธิบัตร วารสาร นิตยสาร ข่าว หรือแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่มีการเผยแพร่สิ่งประดิษฐ์ที่ใกล้เคียง นอกจากนี้ผู้ยื่นจดต้องไม่เผยแพร่สาระสำคัญของสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ก่อนวันที่จะยื่นจดสิทธิบัตร ซึ่งอาจรวมไปถึงการเผยแพร่ในการประชุมสัมมนา การออกร้าน สื่อออนไลน์หรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ

2. สามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมหรืองานหัตถกรรมได้

การออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องได้รับการยอมรับในอุตสหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง ในประเทศไทยนั้น การออกแบบจะต้องไม่ไปกระทบต่อความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและไม่สื่อถึงสิ่งอบายมุขหรือลามกอนาจาร ตัวอย่างเช่นการออกแบบนาฬิกาที่มีรูปลักษณ์เหมือนกับอวัยวะเพศ หรือโคมไฟที่มีลักษณะเหมือนกับเศียรพระพุทธรูป

ตัวอย่างการออกแบบที่อาจได้รับการคุ้มครองด้วยสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

  • กระถางปลูกต้นไม้ที่มีก้นเป็นรูปทรงกลมมน
  • ตู้เย็นที่มีรูปร่างคล้ายนกเพนกวิน
  • การออกแบบรถจักรยานยนต์ที่มีความหลากหลายดีไซน์แต่มีการใช้งานหรือมีประโยชน์ใช้สอยคล้ายกัน

     

IDG ยินดีให้คำปรึกษา พร้อมให้บริการจดสิทธิบัตรทั้งในไทยและต่างประเทศ ครอบคลุมกว่าร้อยประเทศทั่วโลก

เพิ่มเติม

  • กฎระเบียบและขั้นตอนในการยื่นจดสิทธิบัตร สามารถหาได้จากส่วนสิทธิบัตรของเว็บกรมทรัพย์สินทางปัญญา
  • สำหรับการยื่นจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์หรืออนุสิทธิบัตรในต่างประเทศ โปรดยื่นจดผ่านระบบ Patent Cooperation Treaty (PCT) หรือติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญาหรือสำนักสิทธิบัตรในแต่ละประเทศโดยตรง คนที่มีสัญชาติไทยหรือคนต่างชาติที่อยู่ในกลุ่มภาคีสมาชิคของ PCT สามารถยื่นจดสิทธิบัตร (เป็นภาษาอังกฤษ) กับกลุ่ม PCT ชั้น 6 กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยื่นจดสิทธิบัตรผ่านระบบ PCT หาได้จาก http://www.wipo.int/pct/en/ และเว็บไซต์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา
  • สำหรับการยื่นจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ในต่างประเทศ โปรดติดติอผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศได้โดยตรง
  • ณ ปัจจุบัน ประเทศไทยยังไม่เป็นหนึ่งในสมาชิคของ Hague System ซึ่งเป็นระบบที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ยื่นในการยื่นจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ในหลายๆ ประเทศ ท่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยื่นจดการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ทาง: http://www.wipo.int/hague/en/