การจดสิทธิบัตรเบื้องต้น ตัวอย่าง ประเภท

patent 101

สารบัญสิทธิบัตร

การจดสิทธิบัตร คืออะไร

สิทธิบัตร (Patent) คือเอกสารทางกฏหมายที่ตราไว้เพื่อคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ สิทธิบัตรให้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวแก่เจ้าของในการผลิต ขาย ให้เช่า หรือแจกจ่ายการประดิษฐ์ในประเทศที่ได้รับการคุ้มครอง เพราะฉะนั้นเจ้าของสิทธิสามารถกีดกันผู้อื่นจากการผลิต ขาย แจกจ่าย หรือนำเข้างานของเจ้าของสิทธิได้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีประโยชน์ใช้สอย (functional products) หรือเป็นการออกแบบเพื่อตกแต่ง (ornamental designs) ซึ่งรวมไปถึงรูปร่าง ลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์ สิ่งเหล่านี้อาจนำมาจดสิทธิบัตรได้

แต่การที่จะได้มาซึ่งสิทธิเหล่านี้ ผู้ยื่นจดสิทธิบัตรจำเป็นต้องเปิดเผยรายละเอียดและสาระสำคัญของงานต่อสำนักสิทธิบัตรในประเทศที่ต้องการได้รับการคุ้มครอง หากงานประดิษฐ์หรืองานออกแบบใดไม่ได้รับการคุ้มครองด้วยสิทธิบัตรแล้ว จะเป็นเรื่องยากที่ผู้ประดิษฐ์หรือผู้ออกแบบจะสามารถนำเอาไอเดียนั้นมาพัฒนาต่อยอด และนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การเริ่มธุรกิจที่เน้นการพัฒนานวัตกรรม หรือการให้ผู้อื่นเช่าสิทธิ (license-out) เพื่อที่ผู้อื่นสามารถนำไปผลิต ขาย หรือพัฒนาต่อยอดได้

ประเภทของสิทธิบัตร มีกี่ประเภท จดสิทธิบัตรอะไรได้บ้าง

ภายใต้กฎหมายแห่งราชอาณาจักรไทย สิทธิบัตรสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 

  1. สิทธิบัตรการประดิษฐ์
  2. อนุสิทธิบัตร 
  3. สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

สิทธิบัตรการประดิษฐ์ คือ 

ปกป้องการประดิษฐ์ที่มีการใช้งานหรือมีประโยชน์ใช้สอย การประดิษฐ์อาจรวมถึง ลักษณะ องค์ประกอบ กลไก โครงสร้าง กระบวนการ หรือ กรรมวิธี สิทธิบัตรการประดิษฐ์มีอายุ 20 ปี นับจากวันที่ยื่นจดสิทธิบัตร และคุ้มครองในประเทศที่ยื่นจดเท่านั้น

3 หลักเกณฑ์ในการขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์

  1.  เป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ สิ่งประดิษฐ์นี้ต้องเป็นสิ่งใหม่ในเวทีโลก ผู้ยื่นจดต้องตรวจสอบว่ามีความเหมือนกับงานประดิษฐ์อื่นหรือไม่ ผ่านแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั้งจากฐานข้อมูลสิทธิบัตรในประเทศและต่างประเทศ วารสาร นิตยสาร ข่าว หรือแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ที่มีการเผยแพร่สิ่งประดิษฐ์ที่ใกล้เคียง นอกจากนี้ผู้ยื่นจดต้องไม่เผยแพร่สาระสำคัญของสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ก่อนวันที่จะยื่นจดสิทธิบัตร ซึ่งอาจรวมไปถึงการเผยแพร่ในการประชุมสัมมนา การออกร้านหรือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ
  2. มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น สิ่งประดิษฐ์นั้นต้องมีลักษณะทางเทคนิคที่ไม่เป็นที่เข้าใจต่อผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆ ในแวดวงเดียวกันได้โดยง่าย การยื่นจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้นนี้ต้องใช้ความเชี่ยวชาญในการพิจารณา อย่างไรก็ตามจากการสืบค้นผ่านฐานข้อมูลต่างๆ คุณจะสามารถเข้าใจได้มากขึ้นว่าสิ่งประดิษฐ์ที่กำลังจะยื่นจดนั้น เป็นสิ่งที่มีการพัฒนาเหนือชั้นกว่าสิ่งเดิมหรือไม่ หนทางหนึ่งที่ใช้กันก็คือการใช้ข้อมูลเสริมที่ได้จากผลการทดสอบ ผลการวิจัย หรือผลการสืบค้น prior arts และเพิ่มข้อมูลเหล่านี้ในส่วนรายละเอียดการประดิษฐ์หรือเอกสารประกอบการยื่นจดฯ เพื่อยืนยันว่าสิ่งที่ท่านพยายามยื่นจดฯ นั้นมีความแตกต่างและมีลักษณะทางเทคนิคที่สูงกว่างานประดิษฐ์ก่อนๆ
  3.  สามารถใช้ในอุตสาหกรรมได้ การประดิษฐ์ต้องมีคุณค่าต่ออุตสาหกรรมด้านใดด้านหนึ่ง ในประเทศไทย การประดิษฐ์จะต้องไม่ก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อความเป็นอยู่ของประชากรโดยรวมหรือประเทศชาติ ดังเช่นอาวุธชีวเคมีหรืออุปกรณ์ในการขโมยข้อมูลจากบัตรเครดิต และขอเพิ่มเติมว่าแม้อุปกรณ์สิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อส่วนรวมและมีคุณค่าในทางอุตสาหกรรมสูง สิ่งต่างๆดังต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการประดิษฐ์ที่ไม่สามารถนำมายื่นจดฯได้
    • จุลชีพหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ต้นไม้ สัตว์ หรือสิ่งที่สกัดออกมาจากต้นไม้หรือสัตว์
    • ทฤษฎีหรือกฎวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์
    • ฐานข้อมูล โปรแกรมคอมพิวเตอร์
    • วิธีการวินิจฉัยและการรักษาโรคให้กับมนุษย์และสัตว์

ตัวอย่างของสิ่งประดิษฐ์ที่อาจได้รับความคุ้มครองด้วยสิทธิบัตรการประดิษฐ์

  • กรรมวิธีผลิตผงซักฟอกใหม่ที่มีส่วนประกอบของสารสมุนไพรหลายชนิด (ไม่เป็นสารสกัดจากผลิตภัณฑ์น้ำมัน) เมื่อนำเอาสิ่งเหล่านี้มาผ่านกรรมวิธีการผลิตนี้แล้วทำให้เกิดผลบวกต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ (ควรมีผลการทดลองเพื่อประกอบการยื่นจดด้วย) เช่น การฆ่าเชื้อโรคที่ติดอยู่บนผ้า การระงับการแพร่เชื้อโรค ขจัดคราบต่างๆ และไม่มีพิษต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมีผลที่ดีเหนือกว่าผงซักฟอกแบบเดิม
  • ระบบไฮบริดใหม่ (Hybrid) ที่ใช้พลังงานไฮโดรเจนในเครื่องยนต์และมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและประหยัดต้นทุน เหนือกว่าเครื่องยนต์ระบบไฮบริดแบบเดิมในตลาด
  • ระบบการผลิตไม้กอล์ฟแบบใช้ข้อมูลดิจิตอลมาประกอบการผลิต ที่อำนวยให้ลูกค้าสามารถเลือกรูปร่างลักษณะ ขนาด ความโค้งมนและวัสดุให้ตรงตามความต้องการ ด้วยระบบการผลิตชนิดนี้ทำให้สามารถผลิตไม้กอล์ฟได้อย่างรวดเร็วทันที ลูกค้าสามารถรอรับกลับบ้านได้ 
ตัวอย่างสิทธิบัตรการประดิษฐ์
sony optical communication glasses patent
us20070291130a1 20071220 d00000 1524837452

อนุสิทธิบัตร คือ

ปกป้องการประดิษฐ์ที่มีการใช้งานหรือมีประโยชน์ใช้สอย การประดิษฐ์อาจรวมถึง ลักษณะ องค์ประกอบ กลไก โครงสร้าง กระบวนการ หรือ กรรมวิธีอนุสิทธิบัตรมีอายุ 6 ปี นับจากวันที่ยื่นจด และคุ้มครองในประเทศที่ยื่นจดเท่านั้น เจ้าของสิทธิสามารถยื่นต่ออายุได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ปี แต่ทั้งหมดไม่เกิน 10 ปี หลักเกณฑ์ “ขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น” จะไม่ถูกนำมาพิจารณาในการตรวจสอบคำขอรับอนุสิทธิบัตร เหมาะสมกับสิ่งประดิษฐ์ที่มีการพัฒนาหรือมีการปรับปรุงเล็กน้อย

2 หลักเกณฑ์ในการขอรับอนุสิทธิบัตร
  1. ใหม่ สิ่งประดิษฐ์นี้ต้องเป็นสิ่งใหม่ในเวทีโลก ผู้ยื่นจดต้องตรวจสอบว่ามีความเหมือนกับงานประดิษฐ์อื่นหรือไม่ ผ่านฐานข้อมูลหลายๆทาง ทั้งฐานข้อมูลสิทธิบัตร วารสาร นิตยาสาร ข่าว หรือแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่มีการเผยแพร่สิ่งประดิษฐ์ที่ใกล้เคียง นอกจากนี้ผู้ยื่นจดต้องไม่เผยแพร่สาระสำคัญของสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ก่อนวันที่จะยื่นจดสิทธิบัตร ซึ่งอาจรวมไปถึงการเผยแพร่ในการประชุมสัมมนา การออกร้าน สื่อออนไลน์หรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ
  2. สามารถใช้ในอุตสาหกรรมได้ เป็นสิ่งที่ต้องเข้าใจตรงกันว่าการประดิษฐ์อะไรก็ตามแต่ ต้องมีคุณค่าต่ออุตสาหกรรมด้านใดด้านหนึ่ง ในประเทศไทย การประดิษฐ์จะต้องไม่ก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อความเป็นอยู่ของประชากรโดยรวมหรือประเทศชาติ ดังเช่นอาวุธชีวเคมีหรืออุปกรณ์ในการขโมยข้อมูลจากบัตรเครดิต และขอเพิ่มเติมว่าแม้อุปกรณ์สิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อส่วนรวมและมีคุณค่าในทางอุตสาหกรรมสูง สิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการประดิษฐ์ที่ไม่สามารถนำมายื่นจดฯ ได้
    • จุลชีพหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ต้นไม้ สัตว์ หรือสิ่งที่สกัดออกมาจากต้นไม้หรือสัตว์
    • ทฤษฎีหรือกฏวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์
    • ฐานข้อมูล โปรแกรมคอมพิวเตอร์
    • วิธีการวินิจฉัยและการรักษาโรคให้กับมนุษย์และสัตว์

ตัวอย่างการประดิษฐ์ที่อาจได้รับความคุ้มครองด้วยอนุสิทธิบัตร

  • การออกแบบถุงใส่ไม้กอล์ฟที่มีพื้นที่แบ่งเป็นสัดส่วน เหมาะกับการจัดเก็บไม้กอล์ฟไม่ให้หล่นหรือหลุดออกจากถุงได้ มีช่องสำหรับใส่อุปกรณ์อื่นๆ เช่น ถุงมือ ลูกกอล์ฟ หรือไม้สำหรับตั้งลูกกอล์ฟ (tee)
  • หม้อต้มที่มีก้นหม้อเป็นพื้นผิวโค้งมน เพื่อกระจายความร้อนจากเตาให้หม้อต้มได้รับความร้อนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นและหุงต้มได้รวดเร็วขึ้น
  • สูตรเครื่องสำอางที่ประกอบไปด้วยส่วนผสมอนุภาคทองขนาดนาโนเมตร (เรียกอีกอย่างว่า อนุภาคนาโน) ที่ช่วยให้ผิวพรรณกระจ่างประกายหลังการทา

สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ คือ

คุ้มครองรูปลักษณ์ ลวดลาย หรือสีสันของงานออกแบบผลิตภัณฑ์เท่านั้น (ไม่ปกป้องในแง่ของการใช้งานหรือประโยชน์ใช้สอย)
สิทธิบัตรการออกแบบมีอายุ 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นจด และได้รับการคุ้มครองในประเทศที่ยื่นจดเท่านั้น

 

2 หลักเกณฑ์ในการขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

  1. ใหม่ สิ่งประดิษฐ์นี้ต้องเป็นสิ่งใหม่ในเวทีโลก ผู้ยื่นจดต้องตรวจสอบว่ามีความเหมือนกับงานประดิษฐ์อื่นหรือไม่ ผ่านแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั้งฐานข้อมูลสิทธิบัตร วารสาร นิตยสาร ข่าว หรือแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่มีการเผยแพร่สิ่งประดิษฐ์ที่ใกล้เคียง นอกจากนี้ผู้ยื่นจดต้องไม่เผยแพร่สาระสำคัญของสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ก่อนวันที่จะยื่นจดสิทธิบัตร ซึ่งอาจรวมไปถึงการเผยแพร่ในการประชุมสัมมนา การออกร้าน สื่อออนไลน์หรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ
  2.  สามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมหรืองานหัตถกรรมได้ การออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องได้รับการยอมรับในอุตสหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง ในประเทศไทยนั้น การออกแบบจะต้องไม่ไปกระทบต่อความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและไม่สื่อถึงสิ่งอบายมุขหรือลามกอนาจาร ตัวอย่างเช่นการออกแบบนาฬิกาที่มีรูปลักษณ์เหมือนกับอวัยวะเพศ หรือโคมไฟที่มีลักษณะเหมือนกับเศียรพระพุทธรูป

ตัวอย่างการออกแบบที่อาจได้รับการคุ้มครองด้วยสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

  • กระถางปลูกต้นไม้ที่มีก้นเป็นรูปทรงกลมมน
  • ตู้เย็นที่มีรูปร่างคล้ายนกเพนกวิน
  • การออกแบบรถจักรยานยนต์ที่มีความหลากหลายดีไซน์แต่มีการใช้งานหรือมีประโยชน์ใช้สอยคล้ายกัน

ตัวอย่างสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

Coke bottle patent
Apple v Samsung design patent

ความแตกต่างของสิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตร

สิทธิบัตรการประดิษฐ์
อนุสิทธิบัตร
การประดิษฐ์ที่มีความซับซ้อนหรือมีการแก้ไขปัญหา ทางเทคนิค (มีขั้นตอนการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น)
การประดิษฐ์ง่ายๆ ไม่มีความซับซ้อน หรือเพิ่ม ประโยชน์ใช้สอย
ระยะเวลาคุ้มครอง 20 ปี
ระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปี (6 ปีนับตั้งเเต่วันที่ยื่นคำขอ ต่ออายุได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ปี)
ใช้ระบบรอการตรวจสอบ (เมื่อผู้ขอยื่นคำขอให้ตรวจสอบอีกครั้ง)
ใช้ระบบรอการตรวจสอบ (เมื่อผู้ขอยื่นคำขอให้ตรวจสอบอีกครั้ง)
สิทธิที่ได้รับมีความมั่นคงกว่า (บุคคลอื่นจะเพิกถอนสิทธิบัตรต้องนำคดีสู่ศาลเท่านั้น)
สิทธิที่ได้รับไม่มั่นคง (บุคคลอื่นสามารถขอให้ตรวจสอบได้ภายใน 12 เดือนนับตั้งแต่จดทะเบียนซึ่งอาจถูกเพิกถอนได้)

ขั้นตอนการยื่นจดสิทธิบัตรด้วยตัวเอง ภายในประเทศไทย UPDATE 2023

ก่อนเราจะทำยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตร เราควรรู้จักประเภทของสิทธิบัตร ทั้งหลักเกณฑ์ และรูปแบบความคุ้มครอง เพื่อให้เราสามารถดำเนินการตามขั้นตอนได้อย่างราบรื่น

สิทธิบัตรการประดิษฐ์ หรือ อนุสิทธิบัตร 2
1. ร่างคำขอรับสิทธิบัตร
2. เตรียมเอกสารตามประเภทสิทธิบัตร

เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง 
 > รายละเอียดเพิ่มเติม

3. ยื่นคำขอรับสิทธิบัตร ชำระค่าธรรมเนียม

จดสิทธิบัตรที่ไหน?

สถานที่ยื่นขอจดทะเบียน : เราสามารถยื่นคำขอจดทะเบียนได้ที่ ส่วนบริหารงานจดทะเบียน (ชั้น 3) สำนักสิทธิบัตร กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ. สนามบินน้ำ ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัดที่ท่านมีภูมิลำเนาอยู่

วิธีการยื่นขอจดทะเบียน

1. ยื่นขอโดยตรงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมชำระค่าธรรมเนียม
2. ส่งคำขอทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงพนักงานเจ้าหน้าที่ พร้อมชำระค่าธรรมเนียม โดยชำระทางธนาณัติสั่งจ่ายในนาม กรมทรัพย์สินทางปัญญา

เอกสารการประกอบการจดสิทธิบัตร

สิทธิบัตรการประดิษฐ์ และอนุสิทธิบัตร

จดในนามบุคคลธรรมดา

กรณีผู้ประดิษฐ์เป็นบุคคลเดียวกับผู้ขอถือสิทธิ

  1. แบบพิมพ์คำขอ
  2. สำเนาบัตรประชาชนของผู้ขอรับความคุ้มครองและผู้ประดิษฐ์
  3. คำรับรองเกี่ยวกับสิทธิขอรับสิทธิบัตร
    /อนุสิทธิบัตร
  4. หนังสือมอบอำนาจ (กรณียื่นผ่านตัวแทน)
  5. รายละเอียดคำขอรับสิทธิบัตร
    1. รายละเอียดการประดิษฐ์
    2. ข้อถือสิทธิ
    3. รูปภาพ (ถ้ามี)
    4. บทสรุปการประดิษฐ์
กรณีผู้ประดิษฐ์กับผู้ขอถือสิทธิเป็นคนละคนกัน
  1. แบบพิมพ์คำขอ
  2. สำเนาบัตรประชาชนของผู้ขอรับความคุ้มครอง
  3. สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประดิษฐ์
  4. หนังสือสัญญาโอนสิทธิขอรับสิทธิบัตร
    /อนุสิทธิบัตร
  5. หนังสือมอบอำนาจ (กรณียื่นผ่านตัวแทน)
  6. รายละเอียดคำขอรับสิทธิบัตร
    1. รายละเอียดการประดิษฐ์
    2. ข้อถือสิทธิ
    3. รูปภาพ (ถ้ามี)
    4. บทสรุปการประดิษฐ์
จดในนามนิติบุคคล
  1. แบบพิมพ์คำขอ
  2. สำเนาหนังสือรับรองบริษัท/ห้างหุ้นส่วน
  3. สำเนาบัตรประขาชนของผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท/ห้างหุ้นส่วน
  4. สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประดิษฐ์
  5. หนังสือสัญญาโอนสิทธิขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร
  6. หนังสือมอบอำนาจ (กรณียื่นผ่านตัวแทน)
  7. รายละเอียดคำขอรับสิทธิบัตร
    1. รายละเอียดการประดิษฐ์
    2. ข้อถือสิทธิ
    3. รูปภาพ (ถ้ามี)
    4. บทสรุปการประดิษฐ์

สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

จดในนามบุคคลธรรมดา
กรณีผู้ประดิษฐ์เป็นบุคคลเดียวกับผู้ขอถือสิทธิ
  1. แบบพิมพ์คำขอ
  2. สำเนาบัตรประชาชนของผู้ขอรับความคุ้มครองและผู้ประดิษฐ์
  3. คำรับรองเกี่ยวกับสิทธิขอรับสิทธิบัตร
    /อนุสิทธิบัตร
  4. หนังสือมอบอำนาจ (กรณียื่นผ่านตัวแทน)
  5. รายละเอียดคำขอรับสิทธิบัตร
    1. รายละเอียดการประดิษฐ์
    2. ข้อถือสิทธิ
    3. รูปภาพ (ถ้ามี)
    4. บทสรุปการประดิษฐ์
กรณีผู้ประดิษฐ์กับผู้ขอถือสิทธิเป็นคนละคนกัน
  1. แบบพิมพ์คำขอ
  2. สำเนาบัตรประชาชนของผู้ขอรับความคุ้มครอง
  3. สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประดิษฐ์
  4. หนังสือสัญญาโอนสิทธิขอรับสิทธิบัตร
    /อนุสิทธิบัตร
  5. หนังสือมอบอำนาจ (กรณียื่นผ่านตัวแทน)
  6. รูปภาพภายนอกของงานประดิษฐ์
    ทั้ง 6 ด้าน พร้อมภาพไอโซเมตริก
จดในนามนิติบุคคล
  1. แบบพิมพ์คำขอ
  2. สำเนาหนังสือรับรองบริษัท/ห้างหุ้นส่วน
  3. สำเนาบัตรประขาชนของผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท/ห้างหุ้นส่วน
  4. สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประดิษฐ์
  5. หนังสือสัญญาโอนสิทธิขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร
  6. หนังสือมอบอำนาจ (กรณียื่นผ่านตัวแทน)
  7. รูปภาพภายนอกของงานประดิษฐ์ทั้ง 6 ด้าน พร้อมภาพไอโซเมตริก

จดสิทธิบัตรกับ IDG

หากท่านต้องการประหยัดเวลา หรือหาผู้ช่วยในการดำเนินการด้านจดทะเบียนสิทธิบัตร ทั้งการร่าง ตรวจสอบ หรือยื่นจดทั้งในและต่างประเทศ ทาง IDG เรามีความพร้อมโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิบัตรโดยตรง และยังมีความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคเฉพาะทาง ที่พร้อมถ่ายทอดนวัตกรรม หรือเทคโนโลยีของท่านออกมาได้อย่างมืออาชีพ 

อีกทั้งเรายังสามารถให้คำปรึกษาแนะนำถึงแนวทางในการคุ้มครองสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร และสิทธิบัตรออกแบบไปจนถึง การนำไปต่อยอดใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้

โดยเรามีโอกาสได้ดูแลลูกค้าด้านสิทธิบัตรมาแล้วในหลากหลายสาขาเทคโนโลยี รวมถึงธุรกิจทั้งทุกขนาด โดยทีม IDG เรามีความตั้งใจในการส่งมอบงานสิทธิบัตรที่มีคุณภาพ เพื่อให้เกิดความครอบคลุม และสามารถต่อยอดสิทธิบัตรได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

ขั้นตอนการยื่นจดสิทธิบัตร กับ IDG

ขั้นตอนที่ 1
การสืบค้นความเป็นไปได้ในการจดสิทธิบัตร
IDG จะนำข้อมูลงานของลูกค้ามาทำการสืบค้นจากฐานข้อมูลภายในและต่างประเทศก่อน เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ของประเภทสิทธิบัตรที่จะยื่นจด ซึ่งเราจะรวบรวมข้อมูล และ จัดทำเป็นรายงานการสืบค้นให้กับลูกค้า เพื่อประกอบการตัดสินใจสำหรับขั้นตอนถัดไป
ขั้นตอนที่ 1
ขั้นตอนที่ 2
การจัดเตรียมคำขอรับสิทธิบัตรและยื่นจดทะเบียน
IDG จะทำหน้าที่รับผิดชอบให้กับลูกค้าในเรื่องของการร่างคำขอรับสิทธิบัตรให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด > พร้อมจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง > และยื่นต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยการเตรียมเอกสารของแต่ละประเภทสิทธิบัตรจะขึ้นอยู่กับประเภทสิทธิบัตร โดยเจ้าหน้าที่ของ IDG จะดูแลทุกขั้นตอน ผ่านการประสานงานกับท่านตลอดเวลา
ขั้นตอนที่ 2
ขั้นตอนที่ 3
การประกาศโฆษณา และ รับจดทะเบียน
ในส่วนของขั้นตอนสุดท้าย หลังจากที่เราได้ยื่นเอกสารไปที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทางกรมฯ จะดำเนินการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร และหากเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด จะทำการประกาศโฆษณา ซึ่งผู้ขอหรือตัวแทนของผู้ขอจะต้องไปยื่นเอกสารและชำระค่าธรรมเนียม จากนั้นคำขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตรจะได้รับการประกาศโฆษณาเป็นเวลา 90 วัน ซึ่งในระยะเวลานี้อาจมีผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียมาคัดค้านงานของเรา และหากงานของเรามีการถูกคัดค้าน เราสามารถส่งคำชี้แจ้งให้ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้
ขั้นตอนที่ 3

ขั้นตอนการประกาศโฆษณานี้จะมีความแตกต่างของรายละเอียดสำหรับสิทธิบัตรแต่ละประเภท ดังนี้

สิทธิบัตรการประดิษฐ์

สิทธิบัตรการประดิษฐ์ ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะแจ้งให้ผู้ขอหรือตัวแทนของผู้ขอมาชำระค่าธรรมเนียมเพื่อประกาศโฆษณา ซึ่งต้องชำระภายใน 60 วันหลังจากได้รับแจ้ง จากนั้นทางกรมฯ จะทำการประกาศโฆษณาเป็นเวลา 90 วัน และหากไม่มีการถูกคัดค้าน ผู้ขอหรือตัวแทนต้องยื่นขอให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาตรวจสอบการประดิษฐ์ภายใน 5 ปี นับแต่วันประกาศโฆษณา หากผ่านขั้นตอนการตรวจสอบการประดิษฐ์ จะได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์

อนุสิทธิบัตร ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะแจ้งให้ผู้ขอหรือตัวแทนของผู้ขอมาชำระค่าธรรมเนียมเพื่อประกาศโฆษณาและรับจดอนุสิทธิบัตร ซึ่งต้องชำระภายใน 60 วันหลังจากได้รับแจ้ง หลังจากนั้นจะได้รับการประกาศโฆษณาและรับจดอนุสิทธิบัตรไปพร้อมกัน ซึ่งอนุสิทธิบัตรอาจมีการยื่นให้ตรวจสอบการประดิษฐ์โดยผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียได้ แต่ต้องยื่นเรื่องภายใน 1 ปีหลังได้รับการจดทะเบียน

สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะทำการประกาศโฆษณาหลังจากผู้ขอหรือตัวแทนของผู้ขอมาชำระค่าธรรมเนียม จากนั้น หากไม่มีผู้คัดค้าน จะทำการตรวจสอบแบบผลิตภัณฑ์เพื่อพิจารณาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ (ระยะเวลาที่สามารถคัดค้านได้ คือ 90 วัน) ก่อนจะรับจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยเราไม่จำเป็นต้องยื่นขอให้ตรวจสอบเหมือนกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์

ขั้นตอนการให้บริการ

สิทธิบัตรการประดิษฐ์ หรือ อนุสิทธิบัตร 3

ทำไมต้องมีการจดสิทธิบัตร ?

    การจดสิทธิบัตรจะช่วยยืนยันได้ว่าใครเป็นผู้คิดค้นไอเดียนั้น ๆ ขึ้นมา อีกทั้งยังสามารถสร้างหรือเพิ่มมูลค่าให้กับสิ่งประดิษฐ์ของเราเพื่อต่อยอดไปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ได้ในอนาคต  และโอกาสในการขายสิทธิ หรือถ่ายทอดเทคโนโลยีในอนาคตอีกด้วย

ข้อดีของการจดสิทธิบัตรไม่ได้มีเพียงแค่การปกป้องคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ และการออกแบบผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่หากยังสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า และบริการได้เป็นอย่างดี นอกเหนือจากการจดสิทธิบัตรสำหรับสิ่งประดิษฐ์แล้ว ยังมีการจดสิทธิบัตรสำหรับกระบวนการผลิตสินค้า การจดสิทธิบัตรสำหรับการออกแบบสินค้า การจดสิทธิบัตรสำหรับสูตรการผลิต 

การจดสิทธิบัตร ช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้าได้

การจดสิทธิบัตรสามารถเพิ่มมูลค่าให้สินค้าและบริการในหลายมิติ นอกเหนือจากการป้องการการลอกเลียนแบบแล้ว ยังมีผลต่อการแข่งขันในตลาด ดังนี้

  •  เสริมความน่าเชื่อถือ (Credibility Enhancement) สิทธิบัตรจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือในตลาด ลูกค้าหรือพาร์ทเนอร์สามารถมั่นใจได้มากขึ้นในผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการที่มีสิทธิบัตรคุ้มครอง
  • สร้างมูลค่าทางธุรกิจ (Business Value Creation) สิทธิบัตรจะสร้างมูลค่าทางธุรกิจ หากต้องมีการขายสิทธิหรือให้เช่าสิทธิในอนาคต
  • ส่งเสริมการลงทุน(Attracting Investment) ซึ่งแน่นอนสิทธิบัตรจะเป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดนักลงทุนได้ โดยเฉพาะกับกลุ่มธุรกิจที่ต้องใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม

ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ต่างกันอย่างไร ?

    อันดับแรกก็ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าลิขสิทธิ์เป็นกฎหมายที่มีไว้คุ้มครองงานสร้างสรรค์ที่มีลักษณะเป็นงานศิลปกรรม วรรณกรรม งานถ่ายภาพ งานแพร่ภาพกระจายเสียง หรืองานทางด้านศิลปะอื่น ๆ 9 ประเภท ซึ่งมีระบุไว้ในพรบ.ลิขสิทธิ์  ส่วนสิทธิบัตรนั้นมีไว้เพื่อคุ้มครองงานประดิษฐ์ งานออกแบบผลิตภัณฑ์ หรืองานวิจัย ซึ่งจะต้องมีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และสามารถผลิตได้ในระบบอุตสาหกรรมด้วย  (อ่านโดยละเอียดได้ ที่นี่ ) 

ทำไมต้องจดสิทธิบัตรในต่างประเทศ ?

   อย่างที่ทุกท่านพอจะทราบกันดี ในปัจจุบันนั้นการค้าและการลงทุนในธุรกิจต่าง ๆ นั้น ไม่ได้ถูกจำกัดแค่ในประเทศไทยอีกต่อไป การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีในการสื่อสารสมัยใหม่ได้ทำการลดความสำคัญของเขตแดนระหว่างประเทศต่าง ๆ ให้สามารถติดต่อค้าขายกันได้ง่ายมากยิ่งขึ้น โลกของเราจึงได้เข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) อย่างสมบูรณ์ โดยภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว นอกจากทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายที่ได้ง่ายขึ้นของสินค้าและการลงทุนแล้ว ยังส่งผลให้เกิดการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ ๆ ในประเทศต่าง ๆ ทั่วทุกมุมโลก

  อย่างไรก็ดี ในการคิดค้นเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมานั้น ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าจำเป็นที่จะต้องใช้เงินทุนในการค้นคว้าและวิจัยจำนวนมหาศาล การที่จะมีผู้อื่นมาแสวงหาผลประโยชน์จากสิ่งประดิษฐ์ของเรานั้นก็เป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้ ดังนั้น เจ้าของสิ่งประดิษฐ์จำนวนมากจึงเลือกที่จะทำการจดสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ของตนเองเพื่อขอรับความคุ้มครองทางกฎหมาย รวมถึงสามารถบริหารในการใช้ประโยชน์จากการประดิษฐ์ของตนในวิธีการอื่น ๆ เช่น โอน, ขาย หรือให้เช่ากรรมสิทธิอย่างถูกต้องอีกด้วย

   ในกรณีต้องการใช้ประโยชน์จากสิ่งประดิษฐ์ของตนเองในหลาย ๆ ประเทศ โดยปกติแล้วจะไม่มีการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ เจ้าของสิ่งประดิษฐ์จึงจำเป็นที่ต้องจดสิทธิบัตรของตัวเองในสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเทศ เพื่อขอรับความคุ้มครองในประเทศนั้น ๆ เพราะฉะนั้นแล้ว การยื่นจดสิทธิบัตรงานประดิษฐ์ของตนเองไปยังต่างประเทศจึงเป็นขั้นตอนถือว่ามีความสำคัญอย่างมากในการนำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมของตนเองไปแข่งขันในเวทีโลก  (อ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่ )



  • กฎระเบียบและขั้นตอนในการยื่นจดสิทธิบัตร สามารถหาได้จากส่วนสิทธิบัตรของเว็บกรมทรัพย์สินทางปัญญา
  • สำหรับการยื่นจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์หรืออนุสิทธิบัตรในต่างประเทศ โปรดยื่นจดผ่านระบบ Patent Cooperation Treaty (PCT) หรือติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญาหรือสำนักสิทธิบัตรในแต่ละประเทศโดยตรง คนที่มีสัญชาติไทยหรือคนต่างชาติที่อยู่ในกลุ่มภาคีสมาชิกของ PCT สามารถยื่นจดสิทธิบัตร (เป็นภาษาอังกฤษ) กับกลุ่ม PCT ชั้น 6 กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยื่นจดสิทธิบัตรผ่านระบบ PCT หาได้จาก http://www.wipo.int/pct/en/ และเว็บไซต์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา
  • สำหรับการยื่นจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ในต่างประเทศ โปรดติดต่อผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศได้โดยตรง
  • ณ ปัจจุบัน ประเทศไทยยังไม่เป็นหนึ่งในสมาชิกของ Hague System ซึ่งเป็นระบบที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ยื่นในการยื่นจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ในหลายๆ ประเทศ ท่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยื่นจดการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ทาง: http://www.wipo.int/hague/en/
  • ภาพประกอบสิทธิบัตรการออกแบบ Developing trends in design patent enforcement,15 Famous Patents That Changed the World 
  • ทรัพย์สินทางปัญญา เข้าใจง่าย

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญสิทธิบัตร IDG

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ