OUR BLOG

รับจดสิทธิบัตร ให้คำปรึกษา ร่างคำขอและยื่นจดสิทธิบัตร โดยทีมงานมืออาชีพ

IDG THAILAND รับจดสิทธิบัตร ให้คำปรึกษา ร่างคำขอและยื่นจดสิทธิบัตร โดยทีมงานมืออาชีพ

patent icon 01

         ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522

ได้ระบุถึงสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรไว้ว่า “ผู้ทรงสิทธิบัตรเท่านั้น ที่มีสิทธิในการผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขายหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งสิ่งตามสิทธิบัตร”

         ซึ่งถือเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียว (Exclusive right) ที่เจ้าของมีอำนาจกระทำการใดๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง กับสิ่งที่เกิดขึ้นจากการได้คิดค้นของเขาเอง แต่การที่จะได้รับสิทธิแต่เพียงผู้เดียวนี้ ก็ต้องได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตรตามประเภทของสิ่งประดิษฐ์ หรือนวัตกรรมนั้นๆ เสียก่อนโดยการจดสิทธิบัตรนั้น ต้องแลกกับการเปิดเผยข้อมูลของนวัตกรรม หรือสิ่งประดิษฐ์ถือเป็นการแลกเปลี่ยนกับการได้รับประโยชน์การคุ้มครองจากสิทธิบัตร

  • สิทธิบัตรการประดิษฐ์

    1) เป็นการประดิษฐูืขึ้นใหม่

    2) เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น

    3) เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม

     
  • อนุสิทธิบัตร

    1) เป็นการประดิษฐูืขึ้นใหม่

    2) เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม

     
  • สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

    1) เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่ออุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรม

     

บริการรับจดสิทธิบัตร ดีอย่างไร

         บริการรับจดสิทธิบัตรที่เรามี จะช่วยให้สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมที่คุณคิดค้นขึ้นมา ซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่ง ที่ไม่ควรมีผู้ใดมาละเมิดทรัพย์สินทางความคิดของคุณ การจดสิทธิบัตรจะช่วยคุ้มครองสิ่งเหล่านั้นทั้งหมด อย่างถูกกฏหมาย และทำให้ผู้คิดค้นสามารถทำรายได้จากสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมของตนเองได้อีกด้วย เนื่องจากเป็นผู้ทรงสิทธิแห่งสิทธิบัตรแต่เพียงผู้เดียว หากท่านทำการจดสิทธิบัตรอย่างถูกต้องตามขั้นตอน

 

สถิติการยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตร ในประเทศไทย

          สถิติสำหรับการยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตร ในประเทศไทย พบว่ามีแนวโน้มในการยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตรสูงขึ้นเรื่อยๆ สถิติตั้งแต่ปี พ.ศ.2522 จนถึงปี พ.ศ.2557 ที่อาจจะมีบ้างบางช่วงที่จำนวนคำขอยื่นลดลงอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับสถานการณ์บ้านเมือง แต่หลังจากนั้นจำนวนการยื่นคำขอก็เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน

 

สถิติผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตร ในประเทศไทย

         เมื่อพิจารณาลึกลงไป จะพบว่าชาวต่างชาติเข้ามามีบทบาทในวงการสิทธิบัตรของไทยตั้งแต่แรกเริ่ม ทั้งนี้เนื่องจากในต่างประเทศให้ความสำคัญในการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของตนเองและมีระบบการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญามาอย่างยาวนานก่อนหน้าประเทศไทยมาก ชาวต่างชาติยื่นจดสิทธิบัตรในประเทศไทย มากกว่าชาวไทยเสียอีก

 

เปรียบเทียบสถิติระหว่าง การยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตรและการได้รับจดทะเบียนสิทธิบัตร

         การจะได้รับจดสิทธิบัตร ไม่ได้ทำกันง่ายๆ เนื่องจากมีขั้นตอนทางกฏหมายมากมาย ดูจากอัตราการยื่นคำขอรับสิทธิบัตร มีอัตราคำขอมาก นั้นแสดงถึงความจำนงในการขอรับความคุ้มครองงานประดิษฐ์ของตน เพื่อมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในตัวงาน แต่เมื่อเปรียบเทียบจำนวนคำขอที่ได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตรนั้น ยังมีไม่มาก เมื่อเฉลี่ยกับอัตราคำขอยื่นจด เนื่องจากผู้ที่ได้รับจดสิทธิบัตรนั้น จะมีสิทธิผูกขาดแต่เพียงผู้เดียว ในงานประดิษฐ์ นวัตกรรมที่นำมาแจ้งจด ฉะนั้นการจะได้รับสิทธิในสิทธิบัตรแต่ละประเภท จะต้องผ่านเกณฑ์การตรวจสอบของสิทธิบัตรแต่ละประเภทเสียก่อน จึงต้องใช้เวลาในการตรวจสอบพอสมควร

 

สถิติการได้รับจดสิทธิบัตรในไทย ของชาวไทยและชาวต่างชาติ

 

          การได้รับจดสิทธิบัตรในประเทศไทย เมื่อเทียบกับจำนวนคำขอที่ได้ยื่นเข้าไปนั้น ชาวต่างชาติมีการยื่นคำขอมากกว่า จึงไม่แปลกหากชาวต่างชาติจะมีจำนวนสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วมากกว่าชาวไทย นั่นแสดงให้เห็นว่า ชาวต่างชาติเป็นเจ้าของสิ่งประดิษฐ์ต่างๆในราชอาณาจักรไทย มากกว่าชาวไทยของเราเสียอีก

 

สถิติการได้รับจดสิทธิบัตรในไทย ของชาวไทยและชาวต่างชาติ

          การได้รับจดสิทธิบัตรในประเทศไทย เมื่อเทียบกับจำนวนคำขอที่ได้ยื่นเข้าไปนั้น ชาวต่างชาติมีการยื่นคำขอมากกว่า จึงไม่แปลกหากชาวต่างชาติจะมีจำนวนสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วมากกว่าชาวไทย นั่นแสดงให้เห็นว่า ชาวต่างชาติเป็นเจ้าของสิ่งประดิษฐ์ต่างๆในราชอาณาจักรไทย มากกว่าชาวไทยของเราเสียอีก

 
 

สถิติของชาวต่างชาติที่ได้รับจดสิทธิบัตรในประเทศไทย

การได้รับจดสิทธิบัตรของชาวต่างชาติในไทย เมื่อเปรียบเทียบกับคำขอยื่นจดทะเบียน


 
 
       การยื่นคำขอจดทะเบียนจึงสามารถแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของเศรษฐ์กิจ และการลงทุน ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นถึงสถานการณ์บ้านเมืองและสังคม ณ เวลานั้นได้อีกด้วย และจากสถิติข้างต้น พบว่าชาวต่างชาติมีการยื่นจดทะเบียนและได้รับจดสิทธิบัตรมากกว่าชาวไทย จึงอยากให้ชาวไทยได้ตื่นตัวถึงการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่เลย หรือการปรับปรุง พัฒนาต่อยอด ใดๆ ก็ตาม และได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปกป้องคุ้มครองสิ่งที่เกิดขึ้นจากความคิดของเรา ไม่ละเลยต่อการยื่นขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของตน

ดังนั้น อีกมุมหนึ่งที่ทางผู้เขียนขอให้โฟกัสก็คือ เราจะมองข้ามไม่ได้เลย ในการเตรียมเอกสารเพื่อยืนคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตร ซึ่งมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เสมือนเป็นก้าวแรก ที่จะทำให้งานของเราได้รับจดสิทธิบัตร และอีกทั้งยังมีส่วนที่ทำให้งานประดิษฐ์ของเราได้รับการจดทะเบียนเร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย เราในฐานะเจ้าของจะได้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวในงานที่เกิดจากการคิดค้นของเราอย่างเต็มรูปแบบ และถูกต้องตามกฏหมาย

– สนับสนุนให้ความคิดของทุกคนได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย 🙂 –

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ