OUR BLOG

การวิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตร”Patent Landscape” คืออะไร?

Patent Landscape วิเคราะห์สิทธิบัตร

การสร้าง “Patent Landscape” คืออะไร?

เชื่อว่าหลาย ๆ คนในวงการนวัตกรรมและสตาร์ตอัพ คงเคยได้ยินถึงการยื่นจดสิทธิบัตร หรือ “Patent” เพื่อคุ้มครองไอเดียหรือนวัตกรรมที่สร้างขึ้น ไม่ให้ถูกคนลอกเลียนแบบหรือถูกผู้อื่นนำไปใช้ประโยชน์ แต่เคยทราบหรือไม่ว่าข้อมูลที่นักประดิษฐ์นำไปยื่นจดสิทธิบัตรเพื่อขอรับความคุ้มครองนั้น จะถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ ซึ่งทำให้เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญในการนำมาศึกษาข้อมูลเชิงเทคนิคของเทคโนโลยีที่ถูกยื่นจดสิทธิบัตรไว้ เพื่อประโยชน์ในการวางกลยุทธ์ด้านการวิจัยและพัฒนาในธุรกิจได้ หรือที่เราเรียกว่า “การวิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตร” หรือการทำ “Patent Landscape” นั่นเอง

Patent Landscape (PLRs) หรือ ภูมิทัศน์สิทธิบัตร หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกจากเอกสารสิทธิบัตรและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เข้าใจภาพรวมของเทคโนโลยีหรือข้อมูลเชิงลึกในอุตสาหกรรมหรือเทคโนโลยีนั้น ๆ เปรียบเสมือนการวาดภาพรวมของสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อหรือโดเมนที่สนใจ ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ ทั้งในด้านการวิจัยและพัฒนา การลงทุน การทำการตลาด การผลิต การถ่ายโอนเทคโนโลยี เช่น การกำหนดแนวทางในการวิจัยโดยอ้างอิงจากแนวโน้มของเทคโนโลยีในเชิงลึกจากข้อมูลสิทธิบัตร เพื่อระบุตัวผู้เล่นหลักในตลาด เทคโนโลยีที่เป็นจุดแข็งของผู้เล่นหลัก และโอกาสทางธุรกิจในเทคโนโลยีที่สนใจ หรือแม้กระทั่งการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือนโยบายองค์กรที่เกี่ยวข้องกับด้านนวัตกรรม

การวิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตรในเชิงลึก เป็นการสืบค้นข้อมูลสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่ต้องการศึกษา หรือภาพกว้างของเทคโนลยีที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมหรือเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ หรือเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วอย่างแพร่หลาย โดยทำการสืบค้นจากฐานข้อมูลสิทธิบัตรสากล และฐานข้อมูลสิทธิบัตรไทยอ้างอิงตามเทคโนโลยีที่ต้องการศึกษา เพื่อใช้อ้างอิงในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ครอบคลุม และเจาะลึกเกี่ยวกับเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมที่สนใจ ทั้งในด้านการตลาด บริษัทคู่ค้า/คู่แข่ง การมองหานวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งศึกษาแนวโน้มของเทคโนโลยีในอดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนา วิเคราะห์ช่องว่างของเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มโอกาส ลดความเสี่ยงในการจดสิทธิบัตรและการแข่งขัน

องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization) หรือ WIPO ได้ให้คำนิยามของ Patent Landscape Report ไว้ว่า “Patent landscape reports (PLRs) provide a snapshot of the patent situation of a specific technology, either within a given country or region, or globally. They can inform policy discussions, strategic research planning or technology transfer. They may also be used to analyze the validity of patents based on data about their legal status.”

https://www.wipo.int/patentscope/en/programs/patent_landscapes/

“Discover hidden information and trends that support high impact decision making”

เราสามารถวิเคราะห์ข้อมูลอะไรได้บ้างจากสิทธิบัตร ?

ในเอกสารคำขอรับสิทธิบัตร (Patent application) นั้น ผู้ประดิษฐ์จำเป็นต้องเปิดเผยถึงสาระสำคัญของการประดิษฐ์ เช่น ชื่อการประดิษฐ์ (Title) ผู้ขอรับสิทธิบัตร (Assignee) ผู้ประดิษฐ์ (Inventor) บทสรุป (Abstract) และข้อถือสิทธิ (Claims) ซึ่งข้อมูลส่วนนี้สามารถนำมาใช้ศึกษาถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเชิงเทคนิคของการประดิษฐ์ได้ นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลทางกระบวนการยื่นคำขอรับสิทธิบัตร เช่น วันที่ยื่นคำขอ (Application date) วันที่ประกาศโฆษณา (Publication date) และประเทศที่ยื่นคำขอ (Country code) ที่สามารถนำมาใช้ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลได้ tables 1

ข้อมูลเชิงปริมาณ

ข้อมูลเชิงคุณภาพ
วันที่ยื่นคำขอ (Application date) ชื่อการประดิษฐ์ (Title)
วันที่ประกาศโฆษณา (Publication date) บทสรุปการประดิษฐ์ (Abstract)
ผู้ขอรับสิทธิบัตร (Assignee) ข้อถือสิทธิ (Claims)
ผู้ประดิษฐ์ (Inventor) ภูมิหลังของศิลปะหรือวิทยาการที่เกี่ยวข้อง (Background of the invention)
ประเทศที่ยื่นคำขอ (Country code) การเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์ (Description)
เอกสารอ้างอิง (References cited)  
จำนวนการอ้างอิง (Citation frequency)  
สัญลักษณ์จำแนกการประดิษฐ์สากล (International Patent Classification)  
สถานะทางกฎหมาย (Legal status)  

โดยข้อมูลเหล่านี้เมื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกันแล้ว ทำให้เราสามารถเข้าใจถึงภาพรวมสถานการณ์ของเทคโนโลยีในปัจจุบันได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อเปรียบเทียบสิทธิบัตรที่กล่าวถึงผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกส์ (Probiotics) กับปีที่แต่ละคำขอนั้นถูกยื่นต่อหน่วยงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาในแต่ละประเทศ จะแสดงให้เห็นถึง   เทรนด์ของโพรไบโอติกส์ ว่ามีการประดิษฐ์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากเท่าใด เพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภคในตลาดที่เปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่อง และยังสามารถเจาะลึกเข้าไปดูได้อีกว่าการประดิษฐ์เหล่านั้นเกี่ยวกับอะไร มีการใช้วัตถุดิบประเภทไหน ผลิตจากจุลินทรีย์สปีชีส์ไหน มีการตัดต่อพันธุกรรมมาอย่างไร สูตรและกระบวนการผลิตเหล่านั้นเป็นอย่างไร และหากเรานำมาเปรียบเทียบกับประเทศที่ยื่นคำขอ ก็จะเข้าใจได้ว่าตลาดในแต่ละประเทศมีผู้เล่นอยู่มากน้อยเพียงใด ใครเป็นผู้นำตลาด เทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์เป็นแบบไหน และหากเราจะส่งออกไปยังตลาดดังกล่าวจะละเมิดสิทธิเขาหรือไม่ ซึ่งนี่เป็นเพียงตัวอย่างแนวทางการใช้ข้อมูลสิทธิบัตร แต่การวิเคราะห์นี้ก็ยังสามารถทำได้อีกหลากหลายแง่มุม เพื่อช่วย Support การตัดสินในเชิงกลยุทธ์ในธุรกิจของคุณได้

วิเคราะห์สิทธิบัตร

การทำ “Patent Landscape” มีขั้นตอนอย่างไร ?

การทำ Patent Landscape เป็นลักษณะ “Start with the Need” คือเราควรจะต้องมีเป้าหมายของการนำข้อมูลไปใช้อย่างชัดเจนก่อน เช่น ต้องการวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ ว่าประเทศไหนมีแนวโน้มที่สินค้าจะสามารถทำกำไรได้มาก ต้องการศึกษาเทคโนโลยีของคู่แข่ง หรือต้องการหาเทคโนโลยีต้นแบบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นต้น เราถึงจะสามารถเซ็ตขอบเขตและเลือกข้อมูลที่จะนำมาใช้ได้เหมาะสม หลังจากได้เป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว ทีมนักวิเคราะห์ที่มีความเชี่ยวชาญจะเริ่มสืบค้น เก็บข้อมูลสิทธิบัตรจากฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และนำมาศึกษาข้อมูลเชิงเทคนิค (Technical data) ของสิทธิบัตร เช่น สูตรผสม สารเติมแต่งที่ให้คุณสมบัติที่ดีขึ้น เทคโนโลยีการผลิตในระดับ Mass Production กระบวนการทำงานของระบบ หรือวิธีจัดการข้อมูล เป็นต้น ตามความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของนักวิเคราะห์ คัดกรองเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และนำมา Visualise ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย พร้อมข้อมูลรายละเอียดเชิงเทคนิค และ Key Insights ต่าง ๆ จากการวิเคราะห์ที่สามารถนำไปใช้ตอบโจทย์ของเราได้ 

การทำ “Patent Landscape” มีประโยชน์อย่างไร ?

สำหรับทีม R&D  สามารถวิเคราะห์สิทธิบัตรเพื่อศึกษาเทคโนโลยีที่กำลังพัฒนาอยู่ ว่ามีใครทำในลักษณะเดียวกันบ้าง คู่แข่งทำอย่างไร เขาพัฒนาไปในแนวทางไหน สิ่งที่เรากำลังพัฒนาอยู่เหมือนกับสิ่งที่มีอยู่แล้วหรือไม่ เราจะละเมิดสิทธิเขาหรือเปล่า หรือมีเทคโนโลยีไหนที่สามารถนำมาปรับใช้กับของเราได้บ้าง ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในการวางกรอบแนวทางการวิจัยและพัฒนาให้เป็นไปตามเป้าหมายได้ง่ายขึ้น   สำหรับนักลงทุน และผู้ให้ทุนวิจัย สามารถวิเคราะห์สิทธิบัตรเพื่อประเมินศักยภาพเทคโนโลยีของบริษัทที่จะเข้าไปลงทุน หรือให้ทุนวิจัย เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอื่นในตลาดแล้ว งานที่เราที่จะเข้าไปลงทุนนั้นด้อยกว่าหรือเหนือว่าอย่างไร มีบริษัทอื่นที่มีเทคโนโลยีที่ใกล้เคียงกันหรือไม่ และเขาจะสามารถก้าวนำคู่แข่งสู่การเป็นผู้นำในตลาดได้หรือไม่   สำหรับผู้ประกอบการ  สามารถวิเคราะห์สิทธิบัตรเพื่อหาผลิตภัณฑ์ หรือเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว ที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ และขอถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ เพื่อย่นระยะเวลาในการวิจัยและพัฒนาเอง ไม่ว่าจะเป็นสิทธิบัตรจากงานวิจัยในมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย หรือภาคธุรกิจด้วยกันเอง เพื่อเพิ่มขีดจำกัดและความสามารถในการแข่งขันให้ก้าวทันตลาดทั้งไทยและต่างประเทศ สำหรับใครที่กำลังมองหา Solution หรือแนวทางในการต่อยอดพัฒนาธุรกิจ Patent Landscape อาจเป็นหนึ่งในตัวช่วยสำคัญที่จะช่วยคุณไปถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้น ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ วิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตร สนใจรับบริการวิเคราะห์สิทธิบัตร สามารถปรึกษาเบื้องต้นกับทีมนักวิเคราะห์ฟรี 

Facebook
Twitter
LinkedIn

บทความล่าสุด

Patent Landscape วิเคราะห์สิทธิบัตร

การสร้าง “Patent Landscape” คืออะไร?

เชื่อว่าหลาย ๆ คนในวงการนวัตกรรมและสตาร์ตอัพ คงเคยได้ยินถึงการยื่นจดสิทธิบัตร หรือ “Patent” เพื่อคุ้มครองไอเดียหรือนวัตกรรมที่สร้างขึ้น ไม่ให้ถูกคนลอกเลียนแบบหรือถูกผู้อื่นนำไปใช้ประโยชน์ แต่เคยทราบหรือไม่ว่าข้อมูลที่นักประดิษฐ์นำไปยื่นจดสิทธิบัตรเพื่อขอรับความคุ้มครองนั้น จะถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ ซึ่งทำให้เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญในการนำมาศึกษาข้อมูลเชิงเทคนิคของเทคโนโลยีที่ถูกยื่นจดสิทธิบัตรไว้ เพื่อประโยชน์ในการวางกลยุทธ์ด้านการวิจัยและพัฒนาในธุรกิจได้ หรือที่เราเรียกว่า “การวิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตร” หรือการทำ “Patent Landscape” นั่นเอง

Patent Landscape (PLRs) หรือ ภูมิทัศน์สิทธิบัตร หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกจากเอกสารสิทธิบัตรและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เข้าใจภาพรวมของเทคโนโลยีหรือข้อมูลเชิงลึกในอุตสาหกรรมหรือเทคโนโลยีนั้น ๆ เปรียบเสมือนการวาดภาพรวมของสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อหรือโดเมนที่สนใจ ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ ทั้งในด้านการวิจัยและพัฒนา การลงทุน การทำการตลาด การผลิต การถ่ายโอนเทคโนโลยี เช่น การกำหนดแนวทางในการวิจัยโดยอ้างอิงจากแนวโน้มของเทคโนโลยีในเชิงลึกจากข้อมูลสิทธิบัตร เพื่อระบุตัวผู้เล่นหลักในตลาด เทคโนโลยีที่เป็นจุดแข็งของผู้เล่นหลัก และโอกาสทางธุรกิจในเทคโนโลยีที่สนใจ หรือแม้กระทั่งการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือนโยบายองค์กรที่เกี่ยวข้องกับด้านนวัตกรรม

การวิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตรในเชิงลึก เป็นการสืบค้นข้อมูลสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่ต้องการศึกษา หรือภาพกว้างของเทคโนลยีที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมหรือเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ หรือเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วอย่างแพร่หลาย โดยทำการสืบค้นจากฐานข้อมูลสิทธิบัตรสากล และฐานข้อมูลสิทธิบัตรไทยอ้างอิงตามเทคโนโลยีที่ต้องการศึกษา เพื่อใช้อ้างอิงในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ครอบคลุม และเจาะลึกเกี่ยวกับเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมที่สนใจ ทั้งในด้านการตลาด บริษัทคู่ค้า/คู่แข่ง การมองหานวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งศึกษาแนวโน้มของเทคโนโลยีในอดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนา วิเคราะห์ช่องว่างของเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มโอกาส ลดความเสี่ยงในการจดสิทธิบัตรและการแข่งขัน

องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization) หรือ WIPO ได้ให้คำนิยามของ Patent Landscape Report ไว้ว่า “Patent landscape reports (PLRs) provide a snapshot of the patent situation of a specific technology, either within a given country or region, or globally. They can inform policy discussions, strategic research planning or technology transfer. They may also be used to analyze the validity of patents based on data about their legal status.”

https://www.wipo.int/patentscope/en/programs/patent_landscapes/

“Discover hidden information and trends that support high impact decision making”

เราสามารถวิเคราะห์ข้อมูลอะไรได้บ้างจากสิทธิบัตร ?

ในเอกสารคำขอรับสิทธิบัตร (Patent application) นั้น ผู้ประดิษฐ์จำเป็นต้องเปิดเผยถึงสาระสำคัญของการประดิษฐ์ เช่น ชื่อการประดิษฐ์ (Title) ผู้ขอรับสิทธิบัตร (Assignee) ผู้ประดิษฐ์ (Inventor) บทสรุป (Abstract) และข้อถือสิทธิ (Claims) ซึ่งข้อมูลส่วนนี้สามารถนำมาใช้ศึกษาถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเชิงเทคนิคของการประดิษฐ์ได้ นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลทางกระบวนการยื่นคำขอรับสิทธิบัตร เช่น วันที่ยื่นคำขอ (Application date) วันที่ประกาศโฆษณา (Publication date) และประเทศที่ยื่นคำขอ (Country code) ที่สามารถนำมาใช้ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลได้ tables 1

ข้อมูลเชิงปริมาณ

ข้อมูลเชิงคุณภาพ
วันที่ยื่นคำขอ (Application date) ชื่อการประดิษฐ์ (Title)
วันที่ประกาศโฆษณา (Publication date) บทสรุปการประดิษฐ์ (Abstract)
ผู้ขอรับสิทธิบัตร (Assignee) ข้อถือสิทธิ (Claims)
ผู้ประดิษฐ์ (Inventor) ภูมิหลังของศิลปะหรือวิทยาการที่เกี่ยวข้อง (Background of the invention)
ประเทศที่ยื่นคำขอ (Country code) การเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์ (Description)
เอกสารอ้างอิง (References cited)  
จำนวนการอ้างอิง (Citation frequency)  
สัญลักษณ์จำแนกการประดิษฐ์สากล (International Patent Classification)  
สถานะทางกฎหมาย (Legal status)  

โดยข้อมูลเหล่านี้เมื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกันแล้ว ทำให้เราสามารถเข้าใจถึงภาพรวมสถานการณ์ของเทคโนโลยีในปัจจุบันได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อเปรียบเทียบสิทธิบัตรที่กล่าวถึงผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกส์ (Probiotics) กับปีที่แต่ละคำขอนั้นถูกยื่นต่อหน่วยงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาในแต่ละประเทศ จะแสดงให้เห็นถึง   เทรนด์ของโพรไบโอติกส์ ว่ามีการประดิษฐ์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากเท่าใด เพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภคในตลาดที่เปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่อง และยังสามารถเจาะลึกเข้าไปดูได้อีกว่าการประดิษฐ์เหล่านั้นเกี่ยวกับอะไร มีการใช้วัตถุดิบประเภทไหน ผลิตจากจุลินทรีย์สปีชีส์ไหน มีการตัดต่อพันธุกรรมมาอย่างไร สูตรและกระบวนการผลิตเหล่านั้นเป็นอย่างไร และหากเรานำมาเปรียบเทียบกับประเทศที่ยื่นคำขอ ก็จะเข้าใจได้ว่าตลาดในแต่ละประเทศมีผู้เล่นอยู่มากน้อยเพียงใด ใครเป็นผู้นำตลาด เทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์เป็นแบบไหน และหากเราจะส่งออกไปยังตลาดดังกล่าวจะละเมิดสิทธิเขาหรือไม่ ซึ่งนี่เป็นเพียงตัวอย่างแนวทางการใช้ข้อมูลสิทธิบัตร แต่การวิเคราะห์นี้ก็ยังสามารถทำได้อีกหลากหลายแง่มุม เพื่อช่วย Support การตัดสินในเชิงกลยุทธ์ในธุรกิจของคุณได้

วิเคราะห์สิทธิบัตร

การทำ “Patent Landscape” มีขั้นตอนอย่างไร ?

การทำ Patent Landscape เป็นลักษณะ “Start with the Need” คือเราควรจะต้องมีเป้าหมายของการนำข้อมูลไปใช้อย่างชัดเจนก่อน เช่น ต้องการวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ ว่าประเทศไหนมีแนวโน้มที่สินค้าจะสามารถทำกำไรได้มาก ต้องการศึกษาเทคโนโลยีของคู่แข่ง หรือต้องการหาเทคโนโลยีต้นแบบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นต้น เราถึงจะสามารถเซ็ตขอบเขตและเลือกข้อมูลที่จะนำมาใช้ได้เหมาะสม หลังจากได้เป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว ทีมนักวิเคราะห์ที่มีความเชี่ยวชาญจะเริ่มสืบค้น เก็บข้อมูลสิทธิบัตรจากฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และนำมาศึกษาข้อมูลเชิงเทคนิค (Technical data) ของสิทธิบัตร เช่น สูตรผสม สารเติมแต่งที่ให้คุณสมบัติที่ดีขึ้น เทคโนโลยีการผลิตในระดับ Mass Production กระบวนการทำงานของระบบ หรือวิธีจัดการข้อมูล เป็นต้น ตามความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของนักวิเคราะห์ คัดกรองเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และนำมา Visualise ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย พร้อมข้อมูลรายละเอียดเชิงเทคนิค และ Key Insights ต่าง ๆ จากการวิเคราะห์ที่สามารถนำไปใช้ตอบโจทย์ของเราได้ 

การทำ “Patent Landscape” มีประโยชน์อย่างไร ?

สำหรับทีม R&D  สามารถวิเคราะห์สิทธิบัตรเพื่อศึกษาเทคโนโลยีที่กำลังพัฒนาอยู่ ว่ามีใครทำในลักษณะเดียวกันบ้าง คู่แข่งทำอย่างไร เขาพัฒนาไปในแนวทางไหน สิ่งที่เรากำลังพัฒนาอยู่เหมือนกับสิ่งที่มีอยู่แล้วหรือไม่ เราจะละเมิดสิทธิเขาหรือเปล่า หรือมีเทคโนโลยีไหนที่สามารถนำมาปรับใช้กับของเราได้บ้าง ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในการวางกรอบแนวทางการวิจัยและพัฒนาให้เป็นไปตามเป้าหมายได้ง่ายขึ้น   สำหรับนักลงทุน และผู้ให้ทุนวิจัย สามารถวิเคราะห์สิทธิบัตรเพื่อประเมินศักยภาพเทคโนโลยีของบริษัทที่จะเข้าไปลงทุน หรือให้ทุนวิจัย เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอื่นในตลาดแล้ว งานที่เราที่จะเข้าไปลงทุนนั้นด้อยกว่าหรือเหนือว่าอย่างไร มีบริษัทอื่นที่มีเทคโนโลยีที่ใกล้เคียงกันหรือไม่ และเขาจะสามารถก้าวนำคู่แข่งสู่การเป็นผู้นำในตลาดได้หรือไม่   สำหรับผู้ประกอบการ  สามารถวิเคราะห์สิทธิบัตรเพื่อหาผลิตภัณฑ์ หรือเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว ที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ และขอถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ เพื่อย่นระยะเวลาในการวิจัยและพัฒนาเอง ไม่ว่าจะเป็นสิทธิบัตรจากงานวิจัยในมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย หรือภาคธุรกิจด้วยกันเอง เพื่อเพิ่มขีดจำกัดและความสามารถในการแข่งขันให้ก้าวทันตลาดทั้งไทยและต่างประเทศ สำหรับใครที่กำลังมองหา Solution หรือแนวทางในการต่อยอดพัฒนาธุรกิจ Patent Landscape อาจเป็นหนึ่งในตัวช่วยสำคัญที่จะช่วยคุณไปถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้น ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ วิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตร สนใจรับบริการวิเคราะห์สิทธิบัตร สามารถปรึกษาเบื้องต้นกับทีมนักวิเคราะห์ฟรี 

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณอย่างเต็มที่

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ