บริการขอรับส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment) ​

เราดำเนินการช่วยคุณยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนทุกขั้นตอน ตั้งเเต่การให้คำปรึกษา จัดเตรียมแบบคำขอ นัดหมายกับเจ้าหน้าที่ ไปจนถึงคุณได้รับการส่งเสริมการลงทุนสำหรับธุรกิจได้สำเร็จ

Boi hero banner

จุดเด่นของบริการฝ่ายกฏหมาย :

สิ่งที่เรามีเหนือกว่าคู่แข่ง

ขั้นตอนการให้บริการของ IDG

05

รับบัตรส่งเสริมการลงทุน

06

ขอวีซ่า/ใบอนุญาตทำงาน

07

รายงานความคืบหน้าโครงการ

08

ดำเนินการด้านภาษี

01

เตรียมคำขอและยื่นคำขอ

02

เข้าชี้แจงโครงการ

03

อนุมัติโครงการ

04

จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท

การขอรับส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment) คือ

BOI เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย มีหน้าที่สนับสนุนและส่งเสริมกิจการของผู้ลงทุนในประเทศและนักลงทุนจากต่างประเทศ โดยให้สิทธิประโยชน์และสิ่งสนับสนุนต่าง ๆ เช่น การให้ประโยชน์ทางภาษีและสิทธิประโยชน์ที่ไม่ใช่ภาษี เพื่อดึงดูดและส่งเสริมการลงทุนที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย และช่วยสร้างสรรค์งานและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรของประเทศ

BOI ให้การสนับสนุนแก่กิจการในหลากหลายภาคส่วน เช่น ภาคอุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมการบริการ อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อุตสาหกรรมวิจัยและพัฒนา ฯลฯ โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการสนับสนุนเป็นการเพิ่มความแข็งแกร่งและคู่คุณค่าให้กับอุตสาหกรรมในประเทศ ส่งเสริมพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจในประเทศ และส่งเสริมการขยายตัวของภาคธุรกิจไทยในเวทีโลก

ประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุน

Add a subheading
Source : https://www.boi.go.th/upload/content/BOIINCENTIVETH_609e2a5dba81f.pdf

สิทธิประโยชน์เบื้องต้นจาก BOI

boi1
Source : https://www.boi.go.th/upload/content/BOIINCENTIVETH_609e2a5dba81f.pdf

หลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุน

มาตรการทั่วไป

มาตรการ SMEs

ไม่กำหนดสัดส่วนการถือหุ้น

แต่หากเป็นหุ้นต่างชาติข้างมากต้องปฏิบัติตาม พรบ.ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

บุคคลธรรมดาสัญชาติไทยถือหุ้น ไม่น้อยกว่า 51%

เงินลงทุนขั้นต่ำ 1,000,000 บาท

เงินลงทุนขั้นต่ำ 500,000 บาท

เครื่องจักรใหม่
หากเป็นเครื่องจักรใช้แล้วต้องนำเข้าจากต่างประเทศเท่านั้น

อนุญาตให้นำเครื่องจักรใช้แล้วในประเทศมาใช้ในโครงการ มูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท

อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจดทะเบียน ไม่เกิน 3:1

อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจดทะเบียนไม่เกิน 4:1

ต้องมีรายได้ของกิจการที่ได้บีโอไอและไม่ได้บีโอไอต่อปี ไม่เกิน 500 ล้านบาท ใน 3 ปีแรก

ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 100% ของเงินลงทุน

(ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)

ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 200% ของเงินลงทุน

(ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)

ขั้นตอนขอรับการส่งเสริมการลงทุน

2.1  ค้นคว้าข้อมูล  ก่อนการจัดเตรียมคำขอและเอกสารแนบท้าย IDG ทำการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกิจการของท่าน เพื่อเข้าใจลักษณะการประกอบธุรกิจของผู้ขอรับการส่งเสริม เพื่อเข้าชี้แจงโครงการกับเจ้าหน้าที่ได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน

2.2  จัดเตรียมคำขอและเอกสารแนบท้าย IDG เป็นผู้จัดเตรียมรายละเอียดการประกอบกิจการ ขั้นตอนการผลิต/บริการ คำนวนต้นทุนการผลิต รายการเครื่องจักรที่ใช้ แผนผังโรงงาน/สำนักงาน แผนการฝึกอบรมภายในโรงงาน ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการของผู้ขอรับการส่งเสริม

2.3  ยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุน  IDG ยื่นคำขอออนไลน์ ผ่านระบบ e-Investment Promotion พร้อมติดตามสถานะคำขอรับการส่งเสริมการลงทุน พร้อมกำหนดวันนัดเข้าชี้แจงโครงการกับเจ้าหน้าที่บีโอไอ

2.4  ชี้แจงโครงการ  นัดวัน/เวลา จัดเตรียมหนังสือมอบอำนาจและเข้าชี้แจงกับเจ้าหน้าที่บีโอไอผู้รับผิดชอบโครงการให้เข้าใจถึงลักษณะการประกอบธุรกิจของผู้ขอรับการส่งเสริม พร้อมฟังสิทธิและประโยชน์ที่ผู้ขอรับการส่งเสริมจะได้รับ

2.5  ติดตามการวิเคราะห์โครงการและผลการพิจารณา เจ้าหน้าที่บีโอไอดำเนินการวิเคราะห์โครงการโดยใช้ระยะเวลาตามขนาดของการลงทุน โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 90-120 วัน พร้อมตอบรับการส่งเสริมตามหนังสือแจ้งมติภายใน 30 วัน ผ่านระบบ e-Investment Promotion

2.6  ขอรับบัตรส่งเสริมการลงทุน  IDG ยื่นคำขอรับบัตรส่งเสริมพร้อมหลักฐานประกอบการพิจารณา ภายใน 6 เดือนนับตั้งแต่วันที่รับการการส่งเสริม พร้อมจัดส่งบัตรส่งเสริมการลงทุนแก่ผู้ขอรับการส่งเสริมทันที



FAQ with BOI

การขอรับการส่งเสริมการลงทุน ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้

  1. การยื่นคำขอรับการส่งเสริม
  2. การชี้แจงโครงการ
  3. การตอบรับมติการให้ส่งเสริม
  4. การขอรับบัตรส่งเสริม

ผู้ที่จะได้รับการส่งเสริม จะต้องเป็นบริษัท สหกรณ์ หรือมูลนิธิที่จดทะเบียนในประเทศไทยเท่านั้น  ทั้งนี้หากยังไม่ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท สามารถยื่นคำขอรับการส่งเสริมในนามบุคคลก่อนก็ได้ แล้วจึงจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทหลังจากได้รับหนังสือแจ้งมติให้การส่งเสริมการลงทุน และจดทะเบียนบริษัทให้เรียบร้อยภายใน 6 เดือนก่อนยื่นขอรับบัตรส่งเสริมการลงทุน

– ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 13 ปี (มาตรา 31)

– ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 (มาตรา 35 (1))

– ยกเว้น/ลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร (มาตรา 28/29)

– ลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็น (มาตรา 30)

– ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนา (มาตรา 30/1)

– ให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา เป็นสองเท่า (มาตรา 35 (2))

– ให้หักค่าติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 (มาตรา 35 (3))

– ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นสำหรับการผลิตเพื่อการส่งออก (มาตรา 36)

ทั้งนี้ การได้สิทธิประโยชน์ดังกล่าวขึ้นอยู่กับประเภทกิจการและเงื่อนไขของโครงการที่ได้รับการส่งเสริม

 

สิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากรภายใต้ พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนปีพ.ศ. 2520 ได้แก่

– อนุญาตให้นำคนต่างด้าวเข้ามาเพื่อศึกษาลู่ทางการลงทุน (มาตรา 24)

– อนุญาตให้นำช่างฝีมือและผู้ชำนาญการเข้ามาทำงานในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (มาตรา 25 และ 26)

– อนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน (มาตรา 27)

– อนุญาตให้ส่งออกซึ่งเงินตราต่างประเทศ (มาตรา 37)

การได้สิทธิประโยชน์ดังกล่าวขึ้นอยู่กับประเภทกิจการและเงื่อนไขของโครงการที่ได้รับการส่งเสริม

หลังจากยื่นคำขอรับการส่งเสริมแล้ว ผู้ขอรับการส่งเสริมจะต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ประจำกองบริหารการลงทุนซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบคำขอนั้นๆ เพื่อนัดหมายกำหนดวันชี้แจงโครงการ

จากนั้น ผู้ขอรับการส่งเสริมจะต้องเดินทางไปพบเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ เพื่อชี้แจงรายละเอียดของโครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน หรืออาจมอบหมายให้ผู้อื่นไปชี้แจงโครงการแทนก็ได้

ในการชี้แจงโครงการ ผู้ขอรับการส่งเสริมควรนำบุคคลที่มีความเข้าใจรายละเอียดของโครงการที่ขอรับการส่งเสริม ทั้งในด้านการผลิต การเงิน และการตลาด ร่วมเดินทางไปชี้แจงโครงการด้วย เนื่องจากจะทำให้การชี้แจงโครงการมีความถูกต้องชัดเจน และจะทำให้การพิจารณาคำขอรับการส่งเสริมเป็นไปโดยสะดวกรวดเร็วมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม กรณีที่ข้อมูลในคำขอรับการส่งเสริมไม่ชัดเจนหรือไม่ถูกต้อง ผู้ขอรับการส่งเสริมสามารถแก้ไขข้อมูลดังกล่าวได้โดยเจ้าหน้าที่จะเป็นผู้ติดต่อและแจ้งรายละเอียดที่ต้องการเพิ่มเติมให้ทราบอีกครั้ง

  1. บริษัทสามารถนำเครื่องจักรเข้ามาก่อนที่จะได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมโครงการได้ โดยการชำระภาษีสงวนสิทธิ แต่จะต้องไม่ก่อนวันที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริม จากนั้น เมื่อได้รับบัตรส่งเสริม และได้รับอนุมัติบัญชีเครื่องจักรแล้ว สามารถยื่นขอสั่งปล่อยคืนอากรได้ โดยจะได้รับคืนเฉพาะอากรขาเข้า ส่วน VAT ต้องใช้วิธีเครดิตภาษีประจำเดือน หรือหากจะขอคืน VAT ต้องดำเนินการตามระเบียบของกรมสรรพากร

เมื่อ BOI อนุมัติให้แก้ไขโครงการให้ต่างชาติถือหุ้นข้างมากได้ ก็จะอนุมัติให้ได้รับสิทธิประโยชน์การถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินตามมาตรา 27 เพิ่มเติมไปพร้อมกัน

สอบถามข้อมูล

หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับบริการที่ IDG
กรุณากรอกแบบฟอร์มเพื่อส่งข้อมูลถึงเรา
ทางเราจะติดต่อกลับทันทีที่ได้รับอีเมลดังกล่าวในเวลาทำการ

หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับบริการที่ IDG กรุณากรอกแบบฟอร์มเพื่อส่งข้อมูลถึงเรา
ทางเราจะติดต่อกลับทันทีที่ได้รับอีเมลดังกล่าวในเวลาทำการ

หรือท่านสามารถสแกน QR Code เพิ่มเพื่อน หรือเพิ่มเพื่อน
by ID : @idgthailand เพื่อติดต่อเราผ่าน
แอพพลิเคชั่น LINE ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ขอรับบริการ BOI