OUR BLOG

5 สิทธิประโยชน์และเงื่อนไข สำหรับผู้ขอรับการส่งเสริมการลงทุนด้านธุรกิจผลิตยานยนต์ไฟฟ้า

ก่อนซื้อแฟรนไชส์ 29

ในปัจจุบันยานยนต์ไฟฟ้าได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมากเนื่องด้วยหลากหลายประเทศหันมาสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด เพื่อลดมลภาวะต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ต่างก็ปรับตัวแข่งขันกันอย่างดุเดือดเพื่อมุ่งสู่การพัฒนายานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น เเต่การที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำในด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ได้นั้นจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งทางภาครัฐเเละเอกชน

โดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้เปิดให้การส่งเสริมการผลิตยานพาหนะไฟฟ้าทุกประเภท ทั้งจักรยานยนต์ไฟฟ้า รถสามล้อไฟฟ้า รถโดยสารไฟฟ้า และเรือที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ซึ่งผู้ประกอบไทยที่มีศักยภาพสามารถขับเคลื่อนพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยี สามารถขอรับการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)ได้ โดยผู้ขอรับการส่งเสริมจะได้รับสิทธิประโยชน์และเงื่อนไข ดังนี้ 

1. กิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า มุ่งเน้นการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่เป็นหลัก (BEV) แต่ให้มีการ ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมควบคู่ไปด้วยกันได้ 

ในกรณีที่มีขนาดการลงทุนไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาท การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV) จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี และหากมีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาก็สามารถได้รับสิทธิเพิ่ม 

ในกรณีขนาดการลงทุนน้อยกว่า 5,000 ล้านบาท การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV) จะ ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี และจะได้รับสิทธิเพิ่มขึ้นหากดำเนินการได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เช่น เริ่มผลิตรถยนต์ภายในปี 2565 มีการผลิตชิ้นส่วนสำคัญเพิ่มเติมจากข้อกำหนดพื้นฐาน มีปริมาณการผลิต จริงมากกว่า 10,000 คันต่อปี และมีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา

ถ้ามีโครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบ PHEV ด้วย จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี ทั้งนี้ ต้องการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าอย่างน้อย 3 ชิ้น 

2. กิจการผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี โดย จะได้รับสิทธิเพิ่มขึ้นหากดำเนินการได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เช่น เริ่มผลิตภายในปี 2565 มีการผลิต แบตเตอรี่ไฟฟ้าที่เริ่มจากขั้นตอน Module มีการผลิตชิ้นส่วนสำคัญอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น Traction Motor และ มีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา 

3. กิจการผลิตรถสามล้อไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี โดยจะ ได้รับสิทธิเพิ่มขึ้นหากดำเนินได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เช่น มีการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้าที่เริ่มจากขั้นตอน Module มีการผลิตชิ้นส่วนสำคัญอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น Traction Motor และมีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา 

4. กิจการผลิตรถโดยสารไฟฟ้าและรถบรรทุกไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติ บุคคล 3 ปี โดยจะได้รับสิทธิเพิ่มขึ้นหากดำเนินได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เช่น มีการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้าที่ เริ่มจากขั้นตอน Module มีการผลิตชิ้นส่วนสำคัญอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น Traction Motor และมีการลงทุนด้าน วิจัยและพัฒนา ทั้งนี้ การผลิตยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ทุกประเภท ผู้ลงทุนจะต้องเสนอแผนงานรวม (Package) เช่น โครงการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ โครงการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้า แผนการนำเข้าเครื่องจักรและ ติดตั้ง แผนการผลิตในระยะ 1 – 3 ปี แผนการผลิตหรือจัดหาชิ้นส่วนอื่นๆ และแผนการพัฒนาผู้ผลิตวัตถุดิบ ในประเทศไทย (ที่มีคนไทยถือหุ้นข้างมาก) เป็นต้น 

5. กิจการต่อเรือหรือซ่อมเรือ ที่มีการติดตั้งหรือขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า และต้องได้รับการ รับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 14000 ภายใน 2 ปี จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี

นโยบายการให้ส่งเสริมกิจการยานพาหนะไฟฟ้าของบีโอไอในครั้งนี้ ครอบคลุมยานพาหนะทุกประเภท รวมทั้งชิ้นส่วนสำคัญที่จะสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคที่มีโอกาสทางการตลาดสูง ซึ่งประเทศไทยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบมอเตอร์ปีละประมาณ 2,000,000 คัน เเละ ส่งออกปีละประมาณ 400,000 คัน ประเทศไทยถือเป็นเจ้าใหญ่ในตลาดด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ เเต่ถ้าหากเปรียบเทียบกับเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้ายังถือว่าอยู่ในสัดส่วนที่น้อยมาก โดยสถิติปี 2564 ประเทศไทยมียอดจดทะเบียนมอเตอร์ไซค์ EV ตัวเลขอยู่ที่ 3,673 คัน การส่งเสริมกิจการรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าของบีโอไอครั้งนี้จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการผลิตเเละส่งออกได้มากขึ้น

 IDG ยินดีให้คำปรึกษาและให้บริการในด้านขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI เราทราบดีว่า BOI เป็นสิ่งสำคัญที่สนับสนุนให้กิจการของท่านเติบโต และเพื่อให้ท่านได้รับสิทธิประโยชน์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดจากการลงทุนในประเทศไทย

Source : https://www.boi.go.th/index.php?page=boi_event_detail&topic_id=127178&module=news&language=th 

Facebook
Twitter
LinkedIn
ก่อนซื้อแฟรนไชส์ 29

ในปัจจุบันยานยนต์ไฟฟ้าได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมากเนื่องด้วยหลากหลายประเทศหันมาสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด เพื่อลดมลภาวะต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ต่างก็ปรับตัวแข่งขันกันอย่างดุเดือดเพื่อมุ่งสู่การพัฒนายานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น เเต่การที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำในด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ได้นั้นจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งทางภาครัฐเเละเอกชน

โดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้เปิดให้การส่งเสริมการผลิตยานพาหนะไฟฟ้าทุกประเภท ทั้งจักรยานยนต์ไฟฟ้า รถสามล้อไฟฟ้า รถโดยสารไฟฟ้า และเรือที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ซึ่งผู้ประกอบไทยที่มีศักยภาพสามารถขับเคลื่อนพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยี สามารถขอรับการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)ได้ โดยผู้ขอรับการส่งเสริมจะได้รับสิทธิประโยชน์และเงื่อนไข ดังนี้ 

1. กิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า มุ่งเน้นการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่เป็นหลัก (BEV) แต่ให้มีการ ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมควบคู่ไปด้วยกันได้ 

ในกรณีที่มีขนาดการลงทุนไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาท การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV) จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี และหากมีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาก็สามารถได้รับสิทธิเพิ่ม 

ในกรณีขนาดการลงทุนน้อยกว่า 5,000 ล้านบาท การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV) จะ ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี และจะได้รับสิทธิเพิ่มขึ้นหากดำเนินการได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เช่น เริ่มผลิตรถยนต์ภายในปี 2565 มีการผลิตชิ้นส่วนสำคัญเพิ่มเติมจากข้อกำหนดพื้นฐาน มีปริมาณการผลิต จริงมากกว่า 10,000 คันต่อปี และมีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา

ถ้ามีโครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบ PHEV ด้วย จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี ทั้งนี้ ต้องการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าอย่างน้อย 3 ชิ้น 

2. กิจการผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี โดย จะได้รับสิทธิเพิ่มขึ้นหากดำเนินการได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เช่น เริ่มผลิตภายในปี 2565 มีการผลิต แบตเตอรี่ไฟฟ้าที่เริ่มจากขั้นตอน Module มีการผลิตชิ้นส่วนสำคัญอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น Traction Motor และ มีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา 

3. กิจการผลิตรถสามล้อไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี โดยจะ ได้รับสิทธิเพิ่มขึ้นหากดำเนินได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เช่น มีการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้าที่เริ่มจากขั้นตอน Module มีการผลิตชิ้นส่วนสำคัญอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น Traction Motor และมีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา 

4. กิจการผลิตรถโดยสารไฟฟ้าและรถบรรทุกไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติ บุคคล 3 ปี โดยจะได้รับสิทธิเพิ่มขึ้นหากดำเนินได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เช่น มีการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้าที่ เริ่มจากขั้นตอน Module มีการผลิตชิ้นส่วนสำคัญอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น Traction Motor และมีการลงทุนด้าน วิจัยและพัฒนา ทั้งนี้ การผลิตยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ทุกประเภท ผู้ลงทุนจะต้องเสนอแผนงานรวม (Package) เช่น โครงการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ โครงการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้า แผนการนำเข้าเครื่องจักรและ ติดตั้ง แผนการผลิตในระยะ 1 – 3 ปี แผนการผลิตหรือจัดหาชิ้นส่วนอื่นๆ และแผนการพัฒนาผู้ผลิตวัตถุดิบ ในประเทศไทย (ที่มีคนไทยถือหุ้นข้างมาก) เป็นต้น 

5. กิจการต่อเรือหรือซ่อมเรือ ที่มีการติดตั้งหรือขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า และต้องได้รับการ รับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 14000 ภายใน 2 ปี จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี

นโยบายการให้ส่งเสริมกิจการยานพาหนะไฟฟ้าของบีโอไอในครั้งนี้ ครอบคลุมยานพาหนะทุกประเภท รวมทั้งชิ้นส่วนสำคัญที่จะสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคที่มีโอกาสทางการตลาดสูง ซึ่งประเทศไทยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบมอเตอร์ปีละประมาณ 2,000,000 คัน เเละ ส่งออกปีละประมาณ 400,000 คัน ประเทศไทยถือเป็นเจ้าใหญ่ในตลาดด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ เเต่ถ้าหากเปรียบเทียบกับเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้ายังถือว่าอยู่ในสัดส่วนที่น้อยมาก โดยสถิติปี 2564 ประเทศไทยมียอดจดทะเบียนมอเตอร์ไซค์ EV ตัวเลขอยู่ที่ 3,673 คัน การส่งเสริมกิจการรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าของบีโอไอครั้งนี้จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการผลิตเเละส่งออกได้มากขึ้น

 IDG ยินดีให้คำปรึกษาและให้บริการในด้านขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI เราทราบดีว่า BOI เป็นสิ่งสำคัญที่สนับสนุนให้กิจการของท่านเติบโต และเพื่อให้ท่านได้รับสิทธิประโยชน์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดจากการลงทุนในประเทศไทย

Source : https://www.boi.go.th/index.php?page=boi_event_detail&topic_id=127178&module=news&language=th 

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณอย่างเต็มที่

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ