OUR BLOG

เชื่อมวัฒนธรรมต่างภาษาด้วย Machine Translation

idg 201802 43 2
 

เชื่อมวัฒนธรรมต่างภาษาด้วย

 

MACHINE TRANSLATION
ตัวอย่างการวิเคราะห์สิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับภาษาศาสตร์ ในลักษณะการแปลภาษาด้วยคอมพิวเตอร์

สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันอีกแล้วนะคะกับบทความดีๆ สาระล้นๆ จาก IDG เวลาผ่านไปเร็วนะคะ เผลอแปปเดียวก็ย่างเข้าเดือนเจ็ดแล้ว ท่านผู้อ่านได้บรรลุตามเป้าหมายครึ่งปีแรกที่วางไว้ครบรึยังคะ ดิฉันเองก็เป็นอีกคนที่วางเป้าหมายไว้หลายข้อ ก็มีสำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง แต่ก็นั่นล่ะค่ะ เป้าหมายมีไว้ให้พุ่งชนถูกไหมคะ? เอาล่ะค่ะ ทักทายกันพอหอมปากหอมคอ เข้าเรื่องกันดีกว่า ท่านผู้อ่านมีใครทราบไหมคะ ว่าเดือนมิถุนายน ของทุกปี มีวันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยท่านใด

pt content 20180620 03

ถูกต้องค่ะ “สุนทรภู่” กวีชาวไทยที่มีชื่อเสียงก้องโลก โดยเฉพาะกลอนนิทานเรื่อง “พระอภัยมณี” จนได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านงานวรรณกรรม  หรือ “มหากวีแห่งรัตนโกสินทร์” หรือ “เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย” เชื่อว่าสมัยท่านผู้อ่านเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษา จะต้องได้เข้าร่วมกิจกรรมวันสุนทรภู่ของโรงเรียนอย่างแน่นอนค่ะ โดยบทกวีของท่านสุนทรภู่ หรือ หลวงสุนทรโวหาร นั้นมีมากมาย ยกตัวอย่างเช่น

 
  • ประเภทนิราศ ได้แก่ นิราศภูเขาทอง นิราศเมืองแกลง นิราศพระบาท นิราศพระประธม นิราศเมืองเพชร นิราศวัดเจ้าฟ้า นิราศอิเหนา นิราศพระแท่นดงรัง และนิราศเมืองสุพรรณ
  • ประเภทนิทาน ได้แก่ เรื่องโคบุตร พระอภัยมณี พระไชยสุริยา ลักษณวงศ์และสิงหไกรภพ
  • ประเภทสุภาษิต ได้แก่ สวัสดิรักษา เพลงยาวถวายโอวาท และสุภาษิตสอนหญิง
  • ประเภทละคร ได้แก่ พระอภัยนุราช
  • ประเภทเสภา ได้แก่ เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม และเรื่องพระราชพงศาวดาร ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นงานนิพนธ์ชิ้นสุดท้ายของสุนทรภู่
  • ประเภทบทเห่กล่อม ได้แก่ เห่เรื่องจับระบำ เรื่องกากี เรื่องพระอภัยมณี และเรื่องโคบุตร

จากผลงานอันทรงคุณค่าของท่านสุนทรภู่ ส่งผลให้ยูเนสโกประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก โดยในวาระครบรอบ 200 ปีเกิด เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2529 และรัฐบาลไทยจึงได้กำหนดให้ วันที่ 26 มิถุนายนของทุกปีเป็น “วันสุนทรภู่” โดยมีบทกวีบทหนึ่งที่ดิฉันประทับใจมากเป็นพิเศษ นั้นก็คือ กลอนจาก เพลงยาวถวายโอวาท บทนี้ค่ะ

“อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ  ประเสริฐสุดซ่อนใส่เสียในฝัก

สงวนคมสมนึกใครฮึกฮัก  จึงค่อยชักเชือดฟันให้บรรลัย”

 
 

ซึ่งกลอนบทนี้ได้กล่าวถึงความรู้ความสามารถของเรานั้นเปรียบเสมือนอาวุธอันทรงพลัง ที่จะสามารถทำลายศัตรูหรือคู่แข่งลงได้ เพียงแต่เรียนรู้ที่จะหยิบมาใช้ให้ถูกที่ถูกเวลา เช่นเดียวกับ สิทธิบัตร ที่เป็นองค์ความรู้เฉพาะด้าน ที่มีเพียงผู้ทรงสิทธิเท่านั้น ที่จะสามารถใช้ประโยชน์จากสิทธิบัตรได้

เนื่องด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ที่ทำให้การสื่อสารไร้พรมแดน ผู้คนต่างต้องการที่จะเรียนรู้และเข้าใจในภาษาของผู้คนต่างถิ่น ที่มีวัฒนธรรมต่างภาษามากขึ้น และเพื่อเป็นการระลึกถึง “ท่านสุนทรภู่” กวีเอกของโลก บทความนี้จึงจะขอยกตัวอย่าง การวิเคราะห์สิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับภาษาศาสตร์ ในลักษณะการแปลภาษาด้วยคอมพิวเตอร์ หรือที่ท่านผู้อ่านคุ้นเคยในชื่อ Machine Translation กันค่ะ

pt content 20180620 01

รูปที่ 1 แสดงประเทศที่มีการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับ Machine Translation สูงสุด 10 อันดับแรก

จากรูปที่ 1 จะเห็นว่า ประเทศที่มีการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรสูงสุด 3 อันดับแรก คือ ประเทศจีน (CN), สหรัฐอเมริกา (US), และคำขอยุโรป (EP) มาดูกันค่ะว่าประเทศมหาอำนาจอย่างประเทศจีนนั้นให้ความสนใจที่เทคโนโลยีใด ที่เกี่ยวข้องกับ Machine Translation

pt content 20180620 02

รูปที่ 2 แสดงกลุ่มเทคโนโลยีหลักที่ประเทศจีนให้ความสนใจสูงสุด

สำหรับกลุ่มเทคโนโลยีหลักที่ประเทศจีนให้ความสนใจค่อนข้างมาก ได้แก่ Slide Rail, Vacuum, Recognition และ Machine Translation Method ซึ่งเราก็สามารถเจาะลึกไปที่กลุ่ม Machine Translation Method ได้ว่า กลุ่มเทคโนโลยีดังกล่าวนั้นมีหัวข้อย่อยๆ อะไรบ้าง และเกี่ยวข้องกับการพัฒนาในด้านใดบ้างนั่นเองค่ะ

 

นอกจากเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ Machine Translation ในบทความนี้แล้ว ท่านผู้อ่านยังสามารถศึกษาและวิเคราะห์เทคโนโลยีอื่นๆ จากข้อมูลสิทธิบัตรได้โดยใช้ฐานข้อมูลสิทธิบัตร Derwent Innovation ซึ่งเป็นฐานข้อมูลสิทธิบัตรต่างประเทศ ที่รวบรวมการประดิษฐ์ต่างๆ ทั่วโลกเอาไว้ และมีระบบการนำเสนอข้อมูลในแง่มุมต่างๆ ในรูปแบบแผนภาพหรือตาราง เช่นเดียวกับตัวอย่างที่ดิฉันนำเสนอให้ชมข้างต้น เพื่อประโยชน์ในการพัฒนานวัตกรรม หรือการหาช่องว่างทางเทคโนโลยี (Technology Whitespace) หรืออาจศึกษากลยุทธ์ด้านทรัพย์สินทางปัญญาของคู่แข่ง เพื่อวิเคราะห์ตลาดเบื้องต้นได้ค่ะ

 

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณอย่างเต็มที่

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ