OUR BLOG

ทุนสนับสนุนด้านทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทย

ทุนสนับสนุนด้านทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทย

           ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังพัฒนาเข้าสู่สังคมยุค 5.0 ซึ่งหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกขับเคลื่อนเศรษฐกิจและความยั่งยื่นภายในประเทศด้วยเทคโนโลยี ซึ่งปัญหาหลักที่ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนยังคงเป็นเรื่องทุนทรัพย์ในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยรายเล็กจะยังประสบพบเจออยู่ การค้นหาและการได้มาซึ่งทุนวิจัยเป็นหนึ่งในสิ่งที่นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ต้องการเพื่อที่จะนำมาต่อยอดงานวิจัยโดยในประเทศไทยนั้นมีหน่วยงานที่ให้ทุนในหลากหลายหน่วยงาน อาทิเช่น หน่วยงานภาครัฐ หรือ หน่วยงานเอกชน

           ทุนสนับสนุนภายในประเทศไทย ก็สามารถแบ่งออกเป็นหลาย ๆ ประเภทของทุนเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นทุนด้านการพัฒนาและวิจัย ทุนด้านสิทธิบัตร หรือทุนด้านเชิงพาณิชย์ เป็นต้น

           ซึ่งในแต่ละทุนนั้นมีเงื่อนไขที่แตกต่าง โดยส่วนใหญ่ทุนที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้นต้องเป็นงานประดิษฐ์ที่มีการประเมิณระดับเทคโนโลยีหรือที่เรียกกันว่า “Technology Readiness Level (TRL)” หากงานประดิษฐ์อยู่ในระดับ TRL 1-4 จะมีหน่วยงานที่ให้ทุน คือ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) หน่วยบริหารและจัดการกองทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนา สถาบันอุดมศึกษาการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) หรือ งานประดิษฐ์อยู่ในระดับ TRL 5-7 จะมีหน่วยงานที่ให้ทุน คือ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) หรือ งานประดิษฐ์อยู่ในระดับ TRL 8-9 จะมีหน่วยงานที่ให้ทุน คือสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ หรือ งานประดิษฐ์อยู่ในระดับ TRL 1-9 จะมีหน่วยงานที่ให้ทุน คือ หรือสถาบันวัคซีนแห่งชาติ

นิยามของTRL (Technology Readiness Level) หรือ ระดับความพร้อมของเทคโนโลยี 

messageImage 1712115583939

ขอขอบคุณรูปภาพจาก : NSTDA

                    นอกจากทุนสำหรับการวิจัยและการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ ข้างต้น ยังมีทุนสำหรับการยื่นคำขอรับความคุ้มครองในทรัพย์สินทางปัญญา เช่น สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า เป็นต้น โดยสามารถแบ่งทุนสนับสนุนได้หลักๆ คือ ทุนสำหรับบุคลากรในเครือมหาวิทยาลัย

ตัวอย่างของทุนสนับสนุนการยื่นจดสิทธิบัตร เช่น
  1. ทุนของมหาวิทยาลัย สำหรับบุคลากรในเครือ เช่น ทุนสนับสนุน “โครงการส่งเสริมการจดทะเบียนสิทธิบัตร และอนุสิทธิบัตร” ของมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งจะเปิดรับในช่วง ตุลาคม – พฤศจิกายน ของทุกปี ทั้งนี้ ระยะเวลาหรือเอกสารอาจแตกต่างกันไปในแต่ละมหาวิทยาลัย จึงต้องมีการตรวจสอบกับทางศูนย์จัดการทรัพย์สินทางปัญญาของแต่ละมหาวิทยาลัยเพื่อความถูกต้องอีกครั้งก่อนการยื่นขอรับทุน
  2. ทุนสำหรับบริษัทเอกชน เช่น มาตรการคูปองดิจิทัลเพื่อการจัดทำหรือยื่นขอรับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล ของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ซึ่งเป็นเงินให้เปล่า (Grant) ในวงเงินสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งภายในวงเงินนี้มีรายละเอียด ดังนี้
    (1) ค่าใช้จ่ายในการจัดทำหรือยื่นขอรับสิทธิ์ในสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร ทั้งในประเทศและต่างประเทศวงเงินสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ต่อรายของผู้รับการอุดหนุน โดยคิดสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 100 ของค่าใช้จ่าย
    (2) ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น ค่าสืบค้นงานประดิษฐ์หรือออกแบบ ค่าจัดทำรายงานผลการสืบค้นและวิเคราะห์ ค่าจัดทำคำขอทรัพย์สินทางปัญญา ค่าใช้จ่ายในการจัดเตรียมเอกสารประกอบการยื่นขอจดทรัพย์สินทางปัญญา ค่าดำเนินการยื่นขอรับสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา ค่าประกาศโฆษณา ค่าใช้จ่ายในการยื่นตรวจสอบการประดิษฐ์ ค่าจัดทะเบียน เป็นต้น


ซึ่งทุนที่กล่าวมาในข้างต้นจะเปิดรับในบางช่วงเท่านั้น ผู้ที่ต้องการขอรับทุนอาจต้องตรวจสอบช่วงวลา เเละรายละเอียดต่าง ๆ ผ่านช่องทางของสถาบันเเละหน่วยงานผู้ให้ทุนอีกครั้ง

ติดต่อทีมสิทธิบัตร IDG :

โทร : 02-011-7161 ติดต่อ 301

E-mail : [email protected]

เปิดทำการวันจันทร์ – วันเสาร์ เวลา 09:00 – 18:00 น

หรือท่านสามารถสแกน QR Code เพิ่มเพื่อน หรือเพิ่มเพื่อน
LINE ID : @idgthailand เพื่อติดต่อเราผ่าน
แอพพลิเคชั่น LINE ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ