OUR BLOG

ภาษีเงินได้ระหว่างประเทศ และอนุสัญญาภาษีซ้อน

idg cover content 16

ประเทศไทยใช้หลักเกณฑ์ดังนี้

  1. หลักถิ่นที่อยู่สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประมวลรัษฎากร (มาตรา 41 วรรค 2,3)

– หน้าที่งานที่ทำในต่างประเทศ

– กิจการที่ทำในต่างประเทศ หรือ ทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ

– ต้องเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ถึง 180 วัน ในปีภาษีนั้น และนำเงินได้นั้น เข้ามาในไทยในปีภาษีที่เกิดเงินได้ ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย

  1. หลักแหล่งเงินได้ตามประมวลรัษฎากร (มาตรา 41 วรรค 1)

– หน้าที่งานที่ทำในประเทศไทย

– กิจการที่ทำในประเทศไทย

– กิจการของนายจ้างในประเทศไทย

– ทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย

โดยมีหลักการดูอนุสัญญาภาษีซ้อนดังนี้

1.ดูถิ่นที่อยู่ว่าใกล้ชิดกับแหล่งเงินได้มากกว่ากัน ถ้าฝ่ายไหนใกล้ชิดกว่าอีกฝ่ายต้องยอมถอย

2.ประเทศถิ่นที่อยู่ 99% จะเป็นผู้รับเงิน  และประเทศแหล่งเงินได้ 99% จะเป็นผู้จ่ายเงิน

3.ดูประเภทของเงินได้ เงินได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

            – เงินได้จากการทำธุรกิจ (Active Income or Business Profits) มีเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1,2,5,6,7,8

            – เงินได้ส่วนทุน (Passive Income) มีเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3,4

ถ้าเป็นเงินได้จากการทำธุรกิจ (Active Income or Business Profits) ให้ดูความใกล้ชิดกับแหล่งเงินได้ว่าใครใกล้ชิดมากกว่ากัน มีอำนาจจัดเก็บภาษี ส่วนเงินได้ส่วนทุน (Passive Income)  ทั้งสองประเทศมีอำนาจจัดเก็บภาษี

ตัวอย่าง

นายบีเป็นชาวต่างชาติ เข้ามาทำงานในไทยตั้งแต่  1 ม.ค.63-30 เม.ย.63ได้รับเงินเดือน เดือนละ 20,000 บาท ได้กลับไปเยี่ยมพ่อแม่ที่บ้านเกิด  แล้วกลับมาทำงานที่ไทยต่อตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.63- ก.ย.63 จากนั้นได้ไปทำงานที่สิงคโปร์อีก 2 เดือนได้เงินมา 200,000 บาท และนำเงินกลับมาพร้อมกัน  ดังนั้นนายบีต้องนำเงินจำนวน 200,000 บาท มาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในไทยหรือไม่

คำตอบ 

นายบี อยู่ในไทยถึง 180 วัน จึงเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยตามมาตรา 41 วรรค 2,3 เมื่อนำเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย จึงจะต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับเงินที่ได้รับจากต่างประเทศและนำเงินนั้นกลับมาไทยในปีภาษีเดียวกัน

 

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ