OUR BLOG

6 เทคนิคควรรู้ ! ก่อนเริ่มต้นธุรกิจเครื่องสำอาง

ก่อนซื้อแฟรนไชส์ 1400 × 768 px 4 1

ปัจจุบันมีผู้ที่สนใจเริ่มต้นธุรกิจเครื่องสำอางของตนเอง เนื่องจากเติบโตอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่อง โดยมีการขยายตัวเติบโตเฉลี่ย 5% ต่อปี เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ประมาน 1.5 เท่า รวมถึงยังมีพื้นที่ในตลาดการส่งออกเครื่องสำอางอีกด้วย เนื่องจากยังมีส่วนแบ่งตลาดน้อยมากเพียง 1.5% ของมูลค่าส่งออกเครื่องสำอางรวมทั้งโลก

โดยเครื่องสำอางในกลุ่ม Clean Beauty เป็นกลุ่มเครื่องสำอางที่น่าจับตามองและยังสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในยุคหลังโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี Clean Beauty เป็นเครื่องสำอางที่เน้นทั้งส่วนผสมที่มาจากธรรมชาติที่สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้ เน้นเรื่องความสะอาดและความปลอดภัยของส่วนผสม นอกจากจะสามารถตอบโจทย์กระแสรักษ์โลกได้แล้ว ยังสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในยุคหลังโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี ตามกระแส “Skinimalism” ซึ่งเป็นการดูแลผิวที่เน้นเผยสุขภาพผิวที่ดีตามธรรมชาติ โดยใช้เครื่องสำอางให้น้อยที่สุด ภายใต้คอนเซปต์ “น้อยแต่มาก (Less is More)”

ก่อนซื้อแฟรนไชส์ 1400 × 768 px 5 1
1. ศึกษาตลาด

ศึกษาแนวโน้มของกลุ่มผลิตภัณฑ์ หรือประเภทเครื่องสำอางที่ต้องการจะผลิต ศึกษาราคาต้นทุนการผลิต การขออนุญาต รวมถึงช่องทางการขาย การตลาด จากนั้นเลือกว่าจะผลิตเอง นำเข้าหรือจ้างผลิต ข้อไหนตอบโจทย์ในกลุ่มสินค้าของเรามากกว่า

2. เข้าพบโรงงานผลิตหรือติดค้นสูตรผลิตภัณฑ์

หลังจากเราตัดสินใจได้ว่าจะผลิต นำเข้าหรือจ้างผลิต จากนั้นเราก็ต้องหาผู้ผลิตที่ได้รับมาตรฐานการผลิตหรือสร้างโรงงานที่ได้มาตรฐานการผลิต ถ้าเราจ้างโรงงานผลิต โดยปกติทางโรงงานจะมีสูตรมาตรฐานให้ แต่ก็สามารถปรึกษานักวิจัยและพัฒนาถ้าอยากได้ลักษณะของเครื่องสำอางที่ต้องการ

3. ออกแบบโลโก้ บรรจุภัณฑ์ และการปฎิบัติตามกฎหมาย

เมื่อเราได้สูตรการผลิตแล้ว ต่อไปก็จะเป็นการเริ่มต้นสร้างแบรนด์ และเริ่มต้นการคุ้มครองแบรนด์ซึ่งสำคัญอย่างมากกับการปกป้องแบรนด์ของเราตั้งแต่เริ่มต้น โดยจะเริ่มต้นจากปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องหมายการค้า (โลโก้) เพื่อแนะนำรูปแบบที่จะไม่เหมือนคล้ายกับคนอื่นๆ เพื่อป้องกันในการโดนละเมิดในอนาคต
จากนั้นปรึกษาอย. เกี่ยวกับฉลาก รูปแบบในการออกแบบต่างๆ และสูตรการผลิต เพื่อให้การขออนุญาตเป็นไปอย่างราบรื่น

4. การขออนุญาตปผลิตภัณฑ์

เนื่องจากสินค้าประเภทเครื่องสำอางนั้นเข้าข่ายสินค้าควบคุมตาม พรบ. เครื่องสำอาง 2558 จึงทำให้ผู้ประกอบการเครื่องสำอางจะต้องปฏิบัติตาม นั้นคือการขออนุญาตกับกองควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยหากท่านใดมีปัญหาหรือมีข้อสงสัยสามารถสอบถาม IDG ได้ครับ

5. การตลาด การขายและโปรโมชั่น

หลังจากที่สินค้าที่รับการขึ้นทะเบียนกับอย. อย่างถูกต้อง และผลิตเรียบร้อย ต่อไปก็จะเป็นการขาย การตลาดซึ่งในส่วนนี้ ถ้าเราได้มีการศึกษาตลาดมาในช่วงแรกมาอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันเจ้าของแบรนด์ส่วนใหญ่นิยมใช้ influencer รีวิวสินค้า รวมถึงช่องทางการขายและวิธีการขายก็สำคัญไม่แพ้กัน

6. วิจัยและพัฒนา

ศึกษาติดตามงานวิจัยหรือนวัตกรรมต่างๆเกี่ยวกับเครื่องสำอาง เช่นสารสกัดใหม่ๆ บรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าของเรามากขึ้น หรือเพื่อพัฒนาให้คุณภาพมีความโดดเด่นกว่าคู่แข่ง เพราะเป็นทีทราบดีว่าคู่แข่งในวงการเครื่องสำอางมีค่อนข้างเยอะ นวัตกรรมจะเป็นตัวที่ช่วยให้สินค้าของเรามีแตกต่างจากสินค้าอื่นๆ โดยท่านเจ้าของแบรนด์สามารถติดตาม ศึกษา นวัตกรรมดีๆ เกี่ยวกับเครื่องสำอางได้ที่ IPACE 

หากผู้ประกอบการหรือผู้ที่สนใจต้องการคำปรึกษาจาก IDG พบกันได้วันที่ 7 – 9 พ.ย 2566 งาน COSMEX 2023 ณ BITEC Bangkok งานผลิตเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว อาหารเสริม ครบครันที่สุดในอาเซียน. IDG พร้อมให้คำปรึกษาผู้ประกอบการทุกท่านที่ต้องการเริ่มต้นภายในงาน 3 วันเต็มๆ

ท่านสามารถติดต่อสอบถามเกี่ยวกับการขึ้นอย. (FDA) โดยตรงได้ที่

โทร: 02-011-7161 ต่อ 102 

E-Mail: [email protected]

Line : @idgthailand

เรามีทีมผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาและแนะนำท่านอย่างเต็มที่ในทุกบริการที่ท่านประสงค์

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ