OUR BLOG

เมื่อไหร่ที่จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ?

idg cover content 4

    การหักภาษี ณ ที่จ่าย คือ เงินที่ผู้จ่ายหักไว้ก่อนที่จะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับเงินตามอัตราที่กำหนด ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล แล้วนำส่งให้กรมสรรพากร เรามาดูกันค่ะ ว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่ต้องโดนหักภาษี ณ ที่จ่าย แล้วหักเท่าไหร่ อย่างไรบ้าง ?

ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย

  1. ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด.3 หมายถึง ผู้จ่ายเงินได้ให้แก่บุคคลธรรดา
  2. ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด.53 หมายถึง ผู้จ่ายเงินได้ให้แก่นิติบุคคล

**ผู้หักภาษี ณ ที่จ่ายจะต้องออกเอกสารหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้ผู้ถูกหักและนำส่งกรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

ค่าใช้จ่ายที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

ค่าใช้จ่าย

อัตรภาษี

ค่าขนส่ง

หัก 1%

ค่าโฆษณา

หัก 2%

ค่าบริการ, ค่าจ้าง

หัก 3%

ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์

หัก 5%

ซึ่งในการหักภาษี ณ ที่จ่ายนั้น จะต้องมียอดขั้นต่ำ 1,000 บาทขึ้นไป จึงจะหักได้ หากไม่ถึง 1,000 บาทจ่ายเพียงครั้งเดียวผู้จ่ายไม่ต้องหัก ยกเว้นแต่ว่ามีการจ่ายในปีนั้นต่อเนื่องกัน หรือมากกว่า 1 ครั้ง ถึงแม้ยอดจะไม่ถึง 1,000 บาท ผู้จ่ายสามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายได้เลยค่ะ

ตัวอย่าง 1

บริษัท เลิศแท้ จำกัด ได้จ้างนายเฉลิมเป็นที่ปรึกษางานออกแบบซึ่งเป็นโปรเจคหนึ่งของบริษัท จำนวน 10,000 บาท โดยบริษัท เลิศแท้ จำกัดมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 3% จากยอดค่าจ้าง ดังนั้นนายเฉลิมจะได้รับเงิน 9,700 บาท ((10,000*3%) – 10,000)

ตัวอย่าง 2

บริษัท เลิศแท้ จำกัด จ่ายค่าบริการโทรศัพท์เดือนละ 599 บาท และค่าอินเตอร์เน็ตเดือนละ 399 บาท
ดังนั้นในทุก ๆ เดือนบริษัท เลิศแท้ จำกัด ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายของค่าโทรศัพท์ และค่าอินเตอร์เน็ตตามบิลที่แจ้งได้เลยค่ะ เพราะทั้งปียอดเกิน 1,000 บาท

เรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่าย ถือเป็นเรื่องเกี่ยวกับภาษีพื้นฐานและใกล้ตัวที่เราควรทราบ หรือทำความเข้าใจ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนได้ในอนาคต IDG หวังว่าบทความนี้ช่วยคลี่คลายความสงสัยเกี่ยวกับการหักภาษี ณ ที่จ่ายแก่ผู้อ่านได้

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ