OUR BLOG

5 ข้อควรทราบสำหรับผู้ประกอบการไทย ก่อนยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าผ่านระบบมาดริด

Untitled 2 banner preview
 
 
พิธีสารมาดริด (Madrid Protocol) เป็นระบบซึ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการไทยในการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไปยังต่างประเทศ โดยผู้ขอจดทะเบียนสามารถยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไปยังประเทศที่เป็นภาคีพิธีสารมาดริด จำนวน 100 ประเทศทั่วโลก
โดย IDG ได้สรุป 5 ข้อสำคัญที่ท่านควรทราบก่อนยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าผ่านระบบมาดริด ดังนี้
 
1. ยื่นคำขอจดทะเบียนในประเทศไทย
พิธีสารมาดริด (Madrid Protocol) กำหนดว่าจะต้องมีการยื่นคำขอจดทะเบียนหรือได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้แล้วในประเทศต้นทาง (มี “Basic Application” หรือ “Basic Registration”) ดังนั้น หากท่านยังไม่ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศไทยก็ยังไม่สามารถยื่นคำขอจดทะเบียนผ่านพิธีสารมาดริดได้
2. เลือกประเทศปลายทาง
แม้การยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าผ่านพิธีสารมาดริดจะเป็นแบบ “international” แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้รับความคุ้มครองในทุกประเทศทั่วโลก การยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าผ่านพิธีสารมาดริดจะต้องเลือกประเทศปลายทางที่ต้องการขอรับความคุ้มครอง โดยเลือกได้เฉพาะประเทศที่ลงนามเป็นภาคีสมาชิกความตกลงมาดริด (Madrid Agreement) และพิธีสารมาดริด (Madrid Protocol) เท่านั้น ดังนั้น เพื่อให้มั่นใจว่าประเทศปลายทางที่ท่านต้องการขอรับความคุ้มครองได้ลงนามเป็นภาคีสมาชิกเรียบร้อยแล้ว โดยท่านสามารถ คลิกที่นี่ เพื่อตรวจสอบรายชื่อประเทศ
3. เตรียมรายการสินค้า/บริการ
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยปกติจะต้องมีการระบุรายการสินค้าหรือบริการที่ประสงค์จะจดทะเบียนกับเครื่องหมายการค้านั้นๆ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าผ่านพิธีสารมาดริดก็เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ การระบุรายการสินค้าหรือบริการควรระบุให้สอดคล้องกับรายการสินค้าหรือบริการในประเทศอื่นๆ ที่ต้องการขอรับความคุ้มครองด้วย ที่สำคัญคือควรระบุให้ครอบคลุมมากที่สุด แต่ไม่ควรระบุรายการสินค้าหรือบริการที่กว้างกว่ารายการสินค้าหรือบริการที่ระบุไว้ใน Basic Application หรือ Basic Registration เพราะอาจะเป็นเหตุให้นายทะเบียนของประเทศปลายทางมีคำสั่งปฏิเสธการรับจดทะเบียนได้
4. เตรียมค่าธรรมเนียมให้พร้อม
การยื่นคำขอจดทะเบียนภายใต้พิธีสารมาดริด กรณีที่เครื่องหมายการค้าที่คำขอจดทะเบียนเป็นสีขาวดำจะมีค่าธรรมเนียมพื้นฐาน (Basic Fee) ในอัตรา 653 สวิสฟรังก์ หรือ 903 สวิสฟรังก์ สำหรับเครื่องหมายการค้าที่เป็นสี ค่าธรรมเนียมดังกล่าวยังไม่รวมค่าธรรมเนียมสำหรับการขอรับความคุ้มครองในแต่ละประเทศ (Individual Fee) โดยท่านสามารถ คลิกที่นี่ เพื่อศึกษารายละเอียดค่าธรรมเนียม
5. ศึกษาระเบียบและข้อบังคับ
ข้อดีของการจดทะเบียนภายใต้พิธีสารมาดริดคือความสะดวกและรวดเร็ว เนื่องจากยื่นคำขอเดียวเพียงคำขอเดียว ใช้ภาษาเดียว และชำระค่าธรรมเนียมเพียงครั้งเดียวต่อสำนักงานแห่งเดียว แทนที่จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนในหลายประเทศ หลายคำขอ หลายภาษา และชำระค่าธรรมเนียมแยกจากกัน อย่างไรก็ตาม การพิจารณารับจดทะเบียนในประเทศปลายทางที่ท่านขอรับความคุ้มครองยังคงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของนายทะเบียนในประเทศนั้นๆ ดังนั้น การสืบค้นความเหมือนคล้ายของเครื่องหมายการค้าและการศึกษาระเบียบและข้อบังคับในประเทศปลายทางจึงยังคงมีความสำคัญต่อการประเมินโอกาสในการรับจดทะเบียนในประเทศปลายทางแต่ละประเทศ
 
หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่
  • 02-011-7161 ต่อ 104 (ฝ่ายเครื่องหมายการค้าต่างประเทศ)
  • อีเมล [email protected]
  • line@: @idgthailand
Facebook
Twitter
LinkedIn

บทความล่าสุด

Untitled 2 banner preview
 
 
พิธีสารมาดริด (Madrid Protocol) เป็นระบบซึ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการไทยในการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไปยังต่างประเทศ โดยผู้ขอจดทะเบียนสามารถยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไปยังประเทศที่เป็นภาคีพิธีสารมาดริด จำนวน 100 ประเทศทั่วโลก
โดย IDG ได้สรุป 5 ข้อสำคัญที่ท่านควรทราบก่อนยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าผ่านระบบมาดริด ดังนี้
 
1. ยื่นคำขอจดทะเบียนในประเทศไทย
พิธีสารมาดริด (Madrid Protocol) กำหนดว่าจะต้องมีการยื่นคำขอจดทะเบียนหรือได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้แล้วในประเทศต้นทาง (มี “Basic Application” หรือ “Basic Registration”) ดังนั้น หากท่านยังไม่ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศไทยก็ยังไม่สามารถยื่นคำขอจดทะเบียนผ่านพิธีสารมาดริดได้
2. เลือกประเทศปลายทาง
แม้การยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าผ่านพิธีสารมาดริดจะเป็นแบบ “international” แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้รับความคุ้มครองในทุกประเทศทั่วโลก การยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าผ่านพิธีสารมาดริดจะต้องเลือกประเทศปลายทางที่ต้องการขอรับความคุ้มครอง โดยเลือกได้เฉพาะประเทศที่ลงนามเป็นภาคีสมาชิกความตกลงมาดริด (Madrid Agreement) และพิธีสารมาดริด (Madrid Protocol) เท่านั้น ดังนั้น เพื่อให้มั่นใจว่าประเทศปลายทางที่ท่านต้องการขอรับความคุ้มครองได้ลงนามเป็นภาคีสมาชิกเรียบร้อยแล้ว โดยท่านสามารถ คลิกที่นี่ เพื่อตรวจสอบรายชื่อประเทศ
3. เตรียมรายการสินค้า/บริการ
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยปกติจะต้องมีการระบุรายการสินค้าหรือบริการที่ประสงค์จะจดทะเบียนกับเครื่องหมายการค้านั้นๆ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าผ่านพิธีสารมาดริดก็เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ การระบุรายการสินค้าหรือบริการควรระบุให้สอดคล้องกับรายการสินค้าหรือบริการในประเทศอื่นๆ ที่ต้องการขอรับความคุ้มครองด้วย ที่สำคัญคือควรระบุให้ครอบคลุมมากที่สุด แต่ไม่ควรระบุรายการสินค้าหรือบริการที่กว้างกว่ารายการสินค้าหรือบริการที่ระบุไว้ใน Basic Application หรือ Basic Registration เพราะอาจะเป็นเหตุให้นายทะเบียนของประเทศปลายทางมีคำสั่งปฏิเสธการรับจดทะเบียนได้
4. เตรียมค่าธรรมเนียมให้พร้อม
การยื่นคำขอจดทะเบียนภายใต้พิธีสารมาดริด กรณีที่เครื่องหมายการค้าที่คำขอจดทะเบียนเป็นสีขาวดำจะมีค่าธรรมเนียมพื้นฐาน (Basic Fee) ในอัตรา 653 สวิสฟรังก์ หรือ 903 สวิสฟรังก์ สำหรับเครื่องหมายการค้าที่เป็นสี ค่าธรรมเนียมดังกล่าวยังไม่รวมค่าธรรมเนียมสำหรับการขอรับความคุ้มครองในแต่ละประเทศ (Individual Fee) โดยท่านสามารถ คลิกที่นี่ เพื่อศึกษารายละเอียดค่าธรรมเนียม
5. ศึกษาระเบียบและข้อบังคับ
ข้อดีของการจดทะเบียนภายใต้พิธีสารมาดริดคือความสะดวกและรวดเร็ว เนื่องจากยื่นคำขอเดียวเพียงคำขอเดียว ใช้ภาษาเดียว และชำระค่าธรรมเนียมเพียงครั้งเดียวต่อสำนักงานแห่งเดียว แทนที่จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนในหลายประเทศ หลายคำขอ หลายภาษา และชำระค่าธรรมเนียมแยกจากกัน อย่างไรก็ตาม การพิจารณารับจดทะเบียนในประเทศปลายทางที่ท่านขอรับความคุ้มครองยังคงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของนายทะเบียนในประเทศนั้นๆ ดังนั้น การสืบค้นความเหมือนคล้ายของเครื่องหมายการค้าและการศึกษาระเบียบและข้อบังคับในประเทศปลายทางจึงยังคงมีความสำคัญต่อการประเมินโอกาสในการรับจดทะเบียนในประเทศปลายทางแต่ละประเทศ
 
หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่
  • 02-011-7161 ต่อ 104 (ฝ่ายเครื่องหมายการค้าต่างประเทศ)
  • อีเมล [email protected]
  • line@: @idgthailand

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณอย่างเต็มที่

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ