OUR BLOG

พ่อค้า – แม่ค้าขายอาหารออนไลน์ ต้องขอ อย. อาหารหรือไม่ ?

ขอ อย. อาหาร

             อาหารออนไลน์กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน เราสามารถเข้าถึงอาหารได้ง่ายขึ้น ผู้คนเริ่มหันมาประกอบการธุรกิจขายอาหารออนไลน์กันอย่างแพร่หลาย  ไม่ว่าจะเป็นบริการเดลิเวอร์รี่ หรือการสั่งผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ทั้งทาง Instagram tiktok หรือ facebook page ส่งผลให้เริ่มมีช่องทางต่าง ๆ ในการขายที่หลากหลายเข้ามาให้ผู้บริโภคได้เลือกสรร แต่การขายอาหารผ่านทางออนไลน์นั้นก็มีกฏเกณฑ์ข้อบังคับที่ผู้ประกอบการควรรู้และไม่ควรมองข้าม ซึ่งถ้าไม่ปฏิบัติตามอาจส่งผลกระทบเชิงลบที่ตามมาในภายหลังได้ ซึ่งอาหารบางประเภทก็ไม่จำเป็นต้องขออนุญาต เบื้องต้นเรามาเช็คก่อนดีกว่าว่าอาหารของท่านเข้าข่ายอาหารที่ไม่จำเป็นต้องมี อย. หรือไม่ ? ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวไว้ว่า

ขอ อย. อาหาร

อาหารที่ไม่จำเป็นต้องขออนุญาต อย.

1. อาหารตามสั่งปรุงสุกโดยทันทีหลังจากที่ได้รับออเดอร์ พร้อมจัดส่งให้ผู้บริโภคโดยทันที เช่น อาหารตามสั่งจัดส่งแบบเดลิเวอร์รี่

2. อาหารทั่วไป หรือผ่านกรรมวิธีทำให้แห้งด้วยลมร้อน หรือ freeze dry เช่น ผักอบกรอบ เนื้อแห้ง

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม หากผู้ประกอบการมีการผลิตอาหารโดยใช้เครื่องจักรมากกว่า 50 แรงม้า หรือใช้แรงงานมากกว่า 50 คน จะถือ
ว่าสถานที่นี้เข้าข่ายโรงงาน ก็จำเป็นต้องขออนุญาตกับทาง อย. หรือในกรณีผู้ประกอบการต้องการขออนุญาตก็สามารถทำได้เช่นกัน

อ่านถึงตรงนี้แล้ว หากอาหารของผู้อ่านเข้าข่ายอาหารในนี้ก็สบายใจได้เลยว่าอาหารของท่านนั้นยังไม่เข้าข่ายอาหารที่ไม่จำเป็นต้องมี อย . แต่สำหรับใครที่ไม่เข้าข่ายอาหารที่กล่าวไปข้างต้น ก็ถือว่าจำเป็นจะต้องขออนุญาตกับทาง อย. ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวไว้ว่า

อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท หมายความว่า อาหารที่ผ่านกรรมวิธีที่ใช้ทำลายหรือยับยั้งการขยายพันธุ์ของจุลินทรีย์ด้วยความร้อน ภายหลังหรือก่อนการบรรจุหรือปิดผนึก ถูกใส่ไว้ในภาชนะบรรจุชนิดลามิเนต ฉาบ เคลือบ อัด หรือติดด้วยโลหะ หรือสิ่งอื่นใด หรืออาหารในภาชนะบรรจุที่เป็นขวดแก้วที่ฝามียางหรือวัสดุอื่นผนึก ซึ่งเป็นภาชนะบรรจุที่สามารถป้องกันความชื้นหรืออากาศผ่านซึมผ่านเข้าไปในภาชนะบรรจุได้ในภาวะปกติและสามารถเก็บรักษาไว้ได้ในอุณหภูมิปกติ

FDA Content

อาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคทันที หมายความว่า อาหารที่ผลิตเรียบร้อยพร้อมบริโภคที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่ายได้ทันที หรือผ่านการอุ่นร้อน ละลายน้ำแข็งก่อนบริโภค

Brown Modern Branding VS Marketing Comparison Table Instagram Post

วิธีการจำแนกความแตกต่างของอาหารทั้งสองประเภทนี้ ขอยกตัวอย่างเป็นน้ำพริกต่าง ๆ ที่มักวางขายตาม tiktok โดยถ้าเป็นน้ำพริกที่ใส่ภาชนะขวดแก้ว และมีการซีลด้วยฟอยล์หรือปิดด้วยฝาอลูมิเนียมจะจัดอยู่ในประเภทอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท แต่ถ้าน้ำพริกที่บรรจุอยู่ในกระป๋องพลาสติกและปิดด้วยฝาพลาสติกซึ่งอากาศสามารถผ่านเข้าไปได้ จะจัดอยู่ในประเภทอาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคทันที 

ทั้งนี้เราจำเป็นต้องจัดประเภทอาหารแต่ละชนิดอย่างละเอียดอีกครั้ง เนื่องจากจะมีผลต่อวิธีการในการยื่นเอกสาร การแสดงฉลากและข้อมูลที่ต้องใช้ในการยื่นขออนุญาต และบางทีอาจต้องตรวจสอบข้อยกเว้นในอาหารแต่ละประเภทตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข

หรือในกรณีที่เราขายอาหารนี้ให้กับคนกลางเพื่อนำไปขายต่ออีกทอด ก็จำเป็นต้องขออนุญาตกับทาง อย. ด้วยเช่นกัน

โดยอายุของใบอนุญาตมีอายุถึงวันที่ 31 ธันวาคม ของปีที่ 3 นับตั้งแต่ปีที่ออกใบอนุญาต เเละจำเป็นต้องต่ออายุทุกครั้งก่อนหมดอายุ ซึ่งการขายอาหารออนไลน์โดยไม่มีใบอนุญาตขายอาหาร มีโทษจำคุก ไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ (พรบ อาหาร 2522 มาตรา 53)

การขอโฆษณาอาหาร

ในการโฆษณาอาหารในสื่อโซเชียลต่าง ๆ ก็จำเป็นต้องระมัดระวังและโฆษณาให้ถูกต้องตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข โดยถ้าในกรณีที่ผู้ประกอบการต้องการโฆษณาตัวอย่างอาหาร แสดงชื่อ ไซส์ ขนาด ราคา ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงของอาหารชนิดนั้น ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตโฆษณากับทาง อย. แต่ถ้าผู้ประกอบการมีการกล่าวอ้างสรรพคุณ บอกถึงคุณประโยชน์ของอาหาร ก็จำเป็นต้องขออนุญาตโฆษณากับทาง อย. ด้วย โดยต้องส่งเอกสารที่สามารถพิสูจน์ได้ถึงสรรพคุณนั้น ๆ โดยอาจแนบเป็นผลวิจัยทางห้องปฏิบัติการ หรือเอกสารทางวิชาการกับทาง อย.

IDG เรามีผู้เชี่ยวชาญทางด้านขึ้นทะเบียน อย. อาหาร รวมถึงผลิตภัณฑ์ในด้านอื่น ๆ พร้อมให้บริการ เเละให้คำปรึกษากับผู้ประกอบการทุกท่านทุกขั้นตอนตั้งเเต่ต้นจนจบกระบวนการ

IDG เรามีผู้เชี่ยวชาญทางด้านขึ้นทะเบียน อย. อาหาร รวมถึงผลิตภัณฑ์ในด้านอื่น ๆ พร้อมให้บริการ
 เเละให้คำปรึกษากับผู้ประกอบการทุกท่านทุกขั้นตอนตั้งเเต่ต้นจนจบกระบวนการ
ท่านสามารถติดต่อสอบถามเกี่ยวกับการขึ้นอย. (FDA) โดยตรงได้ที่….

โทร: 02-011-7161 ต่อ 102
E-Mail: [email protected]
Line : @idgthailand

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ