OUR BLOG

9 หัวข้อสำคัญ! ในการร่างสัญญา

9 หัวข้อสำคัญ ในการร่างสัญญา

ในปัจจุบันการร่างสัญญานั้นอาจมีความสะดวกสบาย เพราะเพียงแค่ใช้เครื่องมือค้นหาในอินเทอร์เน็ตก็จะพบเว็บไซต์ที่มีคนนำแบบสัญญาสำเร็จรูปมาแบ่งปันเป็นจำนวนมาก เราเพียงแค่กรอกข้อความต่าง ๆ ลงในช่องว่างที่เตรียมไว้ให้ แล้วลงลายมือชื่อของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายก็สามารถนำมาใช้บังคับได้แล้ว แต่รู้หรือไม่! สัญญาเพียงหนึ่งฉบับแม้จะเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ไม่สามารถใช้ได้กับทุกกรณี เนื่องจากข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดในแต่ละนิติกรรมย่อมมีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับการตกลงกันของคู่สัญญา ดังนั้น เราควรจะดำเนินการยกร่างสัญญาในแต่ละครั้งขึ้นมาใหม่ทั้งฉบับ เพื่อให้ตรงตามเจตนารมย์ของคู่สัญญาทุกประการและมีรายละเอียดต่าง ๆ ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อไม่ให้เกิดข้อถกเถียงระหว่างคู่สัญญาในภายหลัง แต่ก่อนจะเริ่มร่างสัญญาใด ๆ นั้น เราควรต้องศึกษาโครงสร้างหรือหัวข้อที่สำคัญสำหรับใช้ในการร่างสัญญา ซึ่งอาจประกอบด้วยหัวข้อต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. ชื่อสัญญา
สัญญาแต่ละฉบับย่อมมีวัตถุประสงค์แตกต่างกันออกไป การจำแนกสัญญาแต่ละประเภทนั้นอาจสามารถจำแนกได้โดยชื่อของสัญญานั้น แต่ทั้งนี้จะต้องพิจารณาจากเนื้อหาสัญญาฉบับนั้นประกอบควบคู่กันไปด้วย เพราะหากชื่อและเนื้อหาของสัญญามีความขัดแย้งกันอาจสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อคู่สัญญาได้ ซึ่งจะมีปัญหาต่อการนำกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาปรับใช้ และอาจเกิดข้อถกเถียงระหว่างคู่สัญญาได้ในภายหลัง เพราะฉะนั้น ผู้ร่างควรทำความรู้จักสัญญาแต่ละประเภทเอาไว้ เพื่อความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ของสัญญา

2. ชื่อของคู่สัญญา
ตามที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าสัญญาคือการที่บุคคลสองคนขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลแสดงเจตนาที่ต้องตรงกัน สัญญาจึงจะเกิดขึ้น (ยกเว้นสัญญาบางประเภทที่สามารถแสดงเจตนาเพียงฝ่ายเดียวได้) ดังนั้น ในการร่างสัญญาแต่ละครั้งจะต้องระบุตัวตนของคู่สัญญาลงไปเพื่อป้องกันความสับสนในการบังคับใช้กันของคู่สัญญาและง่ายต่อการติดต่อรวมถึงการส่งเอกสารต่าง ๆ ให้แก่กัน และการฟ้องร้องดำเนินคดีด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี หมายเลขบัตรประชาชน ผู้มีอำนาจลงนามในนิติบุคคล ฯลฯ เป็นต้น

3. วันที่ของสัญญา
โดยปกติแล้ววันที่ของสัญญาจะหมายถึงวันที่นิติกรรมนั้นมีผลบังคับใช้ แต่สำหรับในบางกรณีสามารถตกลงกันให้สัญญานั้น ๆ มีผลบังคับใช้หลังจากสัญญาดังกล่าวได้ถูกจัดทำขึ้นหรือได้มีการลงนามของคู่สัญญาแล้ว แม้กระทั่งจะเป็นวันที่ให้สัญญามีผลบังคับใช้ย้อนหลังก่อนวันที่ลงนามก็สามารถทำได้ ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของคู่สัญญา ดังนั้น ในการร่างสัญญาจะต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนว่าวันที่ที่ปรากฎในสัญญาดังกล่าว หมายถึงวันที่จัดทำสัญญาหรือเกิดสัญญาขึ้น หรือวันที่สัญญามีผลบังคับใช้ ดังนั้นวันที่ของสัญญาจึงเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งในการจะพิจารณาว่าสัญญานั้น ๆ เริ่มต้นใช้บังคับกันเมื่อใด และนอกจากนี้ วันที่ของสัญญายังมีผลต่อสิทธิเรียกร้องหรืออายุความที่จะใช้ดำเนินการฟ้องร้องเป็นคดีความต่อกันอีกด้วย

4. อารัมภบท
เพื่อให้เป็นการง่ายต่อการตีความสัญญาและเจตนารมย์ของสัญญา โดยส่วนใหญ่แล้วมักนิยมใช้การเกริ่นนำถึงที่มาที่ไป ก่อนที่คู่สัญญาจะตกลงเข้าทำสัญญาฉบับนั้น ๆ ต่อกัน ไม่ว่าจะเป็นการแนะนำคู่สัญญา ความเป็นมาของสัญญา หรือแม้แต่การเชื่อมโยงกันระหว่างสัญญาฉบับนั้น ๆ กับฉบับอื่น เป็นต้น ซึ่งการอารัมภบทต่าง ๆ เหล่านี้อาจไม่ถือเป็นหนึ่งในข้อตกลงระหว่างคู่สัญญา แต่ร่างขึ้นเพื่อลดปัญหาการตีความที่จะเกิดขึ้นในสัญญานั้น ๆ เท่านั้น

5. คำนิยาม
ในสัญญาที่มีรายละเอียดหรือมีเนื้อหาค่อนข้างมาก นอกจากการอารัมภบทแล้ว คำนิยาม หรือการนิยามความหมายของคำต่าง ๆ ในสัญญามีประโยชน์อย่างมากต่อการตีความถึงรายละเอียดของสัญญาในแต่ละข้อหรือแม้แต่การระบุคำจำกัดความไว้ในสัญญาเพื่อให้สัญญามีความกระชับ ไม่ให้มีเนื้อหาที่มากเกินไป โดยทั่วไปมักจะใช้การรวมคำนิยามต่าง ๆ ไว้อยู่ในหัวข้อเดียวกัน และมักจะเรียงลำดับตามตัวอักษรตามพจนานุกรมเพื่อความสะดวกในการค้นหาในระหว่างการอ่านสัญญา นอกจากนี้ยังเป็นการลดข้อถกเถียงระหว่างคู่สัญญาในภายหลังด้วยเช่นกัน

6. รายละเอียดข้อตกลง
ข้อตกลงต่าง ๆ ระหว่างคู่สัญญาถือเป็นสาระสำคัญ หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญในการจัดทำสัญญาฉบับนั้น ๆ ขึ้นมาก็ว่าได้ เพราะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความประสงค์และเจตนารมย์ของคู่สัญญาโดยตรง โดยอาจกำหนดข้อตกลงหรือเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เป็นสาระสำคัญของการทำนิติกรรมในคราวนั้น ๆ และระบุข้อกำหนด เงื่อนไข การคาดการณ์หรือสมมุติเหตุการณ์ในอนาคตเพื่อหาทางยุติข้อถกเถียง หรือแม้แต่การกำหนด ความรับผิดชอบ อายุของสัญญา ค่าปรับหรือค่าเสียหายต่าง ๆ ได้อีกด้วย ซึ่งความสำคัญของรายละเอียดในแต่ละเรื่องอาจแตกต่างกันไปตามประเภทของสัญญาได้

7. เหตุสุดวิสัย
ในชีวิตเราทุกคนอาจมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้ แม้แต่ในการทำข้อตกลงหรือสัญญาต่าง ๆ ก็เช่นกัน ซึ่งเหตุการณ์ที่ไม่อาจคาดคิดควบคุมไม่ได้ และไม่ได้เป็นความผิดของคู่สัญญาฝ่ายใดนั้น ในสัญญามักจะเรียกว่า “เหตุสุดวิสัย” และเมื่อมีเหตุสุดวิสัยเกิดขึ้นโดยไม่ใช่ความผิดของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ตามกฎหมายจึงให้ตกเป็นพับแก่คู่สัญญาแต่ละฝ่ายนั่นเอง ดังนั้น การกำหนดรายละเอียดของเหตุสุดวิสัยจึงเป็นประโยชน์ต่อคู่สัญญาเป็นอย่างมาก เพราะช่วยสร้างความเข้าใจที่ตรงกันและลดข้อถกเถียงที่อาจเกิดขึ้นในภายหลังอีกเช่นกัน

8. กฎหมายที่บังคับใช้
ในการร่างสัญญาแต่ละฉบับ หากคู่สัญญามีสัญชาติเดียวกันก็อาจจะไม่มีประเด็นปัญหาในเรื่องของข้อกฎหมายที่จะใช้บังคับแต่อย่างใด แต่หากคู่สัญญาเป็นคนละสัญชาติ อาศัยอยู่คนละชาติกัน หรือสัญญานั้นเกิดขึ้นหรือบังคับใช้ในต่างดินแดน อาจจะเป็นข้อถกเถียงว่าจะต้องนำกฎหมายของชาติใดมาใช้บังคับ ซึ่งตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น ไม่ได้กำหนดขอบเขตอำนาจกฎหมายในการบังคับใช้กับสัญญาต่าง ๆ ไว้เป็นหลัก หากแต่ให้ขึ้นอยู่กับการตกลงกันของคู่สัญญา ซึ่งหากไม่ได้กำหนดไว้ก็อาจนำมาซึ่งข้อถกเถียงกันในภายหลังได้ ดังนั้นการกำหนดกฎหมายที่จะนำมาบังคับใช้กับสัญญานั้น ๆ จึงเป็นอีกหนึ่งข้อสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน

9. การระงับข้อพิพาท
แม้การระบุข้อกฎหมายที่จะนำมาบังคับใช้ในสัญญาจะเป็นเรื่องสำคัญ แต่การกำหนดข้อตกลงในการระงับข้อพิพาทก็สำคัญไม่แพ้กัน เนื่องจากในทางปฏิบัติ สัญญาที่มีผลผูกพันเป็นระยะเวลานาน และสำคัญต่อความสัมพันธ์ระหว่างคู่สัญญา เมื่อมีข้อพิพาทใด ๆ เกิดขึ้นอาจไม่จบลงอย่างราบรื่น ดังนั้น ในการร่างสัญญาลักษณะนี้จึงควรมีข้อตกลงในการระงับข้อพิพาทเบื้องต้นเอาไว้ เพื่อรักษาความสัมพันธ์อันดีของคู่สัญญา เช่น เมื่อมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดกระทำผิดสัญญา อาจให้อีกฝ่ายแจ้งเตือนเพื่อให้แก้ไขความผิดนั้นให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดก่อนได้ หรือท้ายที่สุดหากจำเป็นต้องดำเนินการฟ้องร้องกันในทางแพ่งจริงๆ การดำเนินคดีในชั้นศาลอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดของคู่สัญญา เนื่องจากความชำนาญ ความเชี่ยวชาญของผู้ทำหน้าที่เป็นคนกลางตัดสินข้อพิพาท ระยะเวลาที่ยาวนานของกระบวนการ หรือแม้แต่ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการฟ้องร้องดำเนินคดีต่อกันอาจมีราคาสูงมาก หรือคู่สัญญาอาจเลือกใช้วิธีการระงับข้อพิพาททางเลือกได้ เช่น การนำคดีที่พิพาทเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย หรือกระบวนการอนุญาโตตุลาการแทนการฟ้องร้องดำเนินคดีต่อกัน ซึ่งอาจยุติข้อพิพาทนั้นอย่างคุ้มค่าและสมประโยชน์ต่อคู่ความทั้งสองฝ่ายมากกว่า

   จะเห็นได้ว่า หัวข้อหลัก ๆ ในสัญญามักมีรายละเอียดที่ค่อนข้างมากและสัญญาบางประเภทอาจมีข้อเท็จจริงที่ค่อนข้างซับซ้อนแตกต่างกันไป ดังนั้น IDG มีผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาด้านสัญญาทุกประเภท ด้วยประสบการณ์กว่า 10 ปี เพราะการมีที่ปรึกษาที่ดีเป็นสิ่งสำคัญเพื่อช่วยตรวจสอบรายละเอียดของสัญญาให้มีความครอบคลุมและลดข้อโต้แย้งระหว่างคู่สัญญาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง 

ที่มา : https://www.led.go.th/datacenter/pdf/manual/040759-8.pdf 

ติดต่อได้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :
Line: @idgthailand (มี@) 
☎️โทร: 02-011-7161 ต่อ 106
📩E-Mail: [email protected] หรือ [email protected]

Facebook
Twitter
LinkedIn
9 หัวข้อสำคัญ ในการร่างสัญญา

ในปัจจุบันการร่างสัญญานั้นอาจมีความสะดวกสบาย เพราะเพียงแค่ใช้เครื่องมือค้นหาในอินเทอร์เน็ตก็จะพบเว็บไซต์ที่มีคนนำแบบสัญญาสำเร็จรูปมาแบ่งปันเป็นจำนวนมาก เราเพียงแค่กรอกข้อความต่าง ๆ ลงในช่องว่างที่เตรียมไว้ให้ แล้วลงลายมือชื่อของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายก็สามารถนำมาใช้บังคับได้แล้ว แต่รู้หรือไม่! สัญญาเพียงหนึ่งฉบับแม้จะเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ไม่สามารถใช้ได้กับทุกกรณี เนื่องจากข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดในแต่ละนิติกรรมย่อมมีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับการตกลงกันของคู่สัญญา ดังนั้น เราควรจะดำเนินการยกร่างสัญญาในแต่ละครั้งขึ้นมาใหม่ทั้งฉบับ เพื่อให้ตรงตามเจตนารมย์ของคู่สัญญาทุกประการและมีรายละเอียดต่าง ๆ ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อไม่ให้เกิดข้อถกเถียงระหว่างคู่สัญญาในภายหลัง แต่ก่อนจะเริ่มร่างสัญญาใด ๆ นั้น เราควรต้องศึกษาโครงสร้างหรือหัวข้อที่สำคัญสำหรับใช้ในการร่างสัญญา ซึ่งอาจประกอบด้วยหัวข้อต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. ชื่อสัญญา
สัญญาแต่ละฉบับย่อมมีวัตถุประสงค์แตกต่างกันออกไป การจำแนกสัญญาแต่ละประเภทนั้นอาจสามารถจำแนกได้โดยชื่อของสัญญานั้น แต่ทั้งนี้จะต้องพิจารณาจากเนื้อหาสัญญาฉบับนั้นประกอบควบคู่กันไปด้วย เพราะหากชื่อและเนื้อหาของสัญญามีความขัดแย้งกันอาจสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อคู่สัญญาได้ ซึ่งจะมีปัญหาต่อการนำกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาปรับใช้ และอาจเกิดข้อถกเถียงระหว่างคู่สัญญาได้ในภายหลัง เพราะฉะนั้น ผู้ร่างควรทำความรู้จักสัญญาแต่ละประเภทเอาไว้ เพื่อความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ของสัญญา

2. ชื่อของคู่สัญญา
ตามที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าสัญญาคือการที่บุคคลสองคนขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลแสดงเจตนาที่ต้องตรงกัน สัญญาจึงจะเกิดขึ้น (ยกเว้นสัญญาบางประเภทที่สามารถแสดงเจตนาเพียงฝ่ายเดียวได้) ดังนั้น ในการร่างสัญญาแต่ละครั้งจะต้องระบุตัวตนของคู่สัญญาลงไปเพื่อป้องกันความสับสนในการบังคับใช้กันของคู่สัญญาและง่ายต่อการติดต่อรวมถึงการส่งเอกสารต่าง ๆ ให้แก่กัน และการฟ้องร้องดำเนินคดีด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี หมายเลขบัตรประชาชน ผู้มีอำนาจลงนามในนิติบุคคล ฯลฯ เป็นต้น

3. วันที่ของสัญญา
โดยปกติแล้ววันที่ของสัญญาจะหมายถึงวันที่นิติกรรมนั้นมีผลบังคับใช้ แต่สำหรับในบางกรณีสามารถตกลงกันให้สัญญานั้น ๆ มีผลบังคับใช้หลังจากสัญญาดังกล่าวได้ถูกจัดทำขึ้นหรือได้มีการลงนามของคู่สัญญาแล้ว แม้กระทั่งจะเป็นวันที่ให้สัญญามีผลบังคับใช้ย้อนหลังก่อนวันที่ลงนามก็สามารถทำได้ ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของคู่สัญญา ดังนั้น ในการร่างสัญญาจะต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนว่าวันที่ที่ปรากฎในสัญญาดังกล่าว หมายถึงวันที่จัดทำสัญญาหรือเกิดสัญญาขึ้น หรือวันที่สัญญามีผลบังคับใช้ ดังนั้นวันที่ของสัญญาจึงเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งในการจะพิจารณาว่าสัญญานั้น ๆ เริ่มต้นใช้บังคับกันเมื่อใด และนอกจากนี้ วันที่ของสัญญายังมีผลต่อสิทธิเรียกร้องหรืออายุความที่จะใช้ดำเนินการฟ้องร้องเป็นคดีความต่อกันอีกด้วย

4. อารัมภบท
เพื่อให้เป็นการง่ายต่อการตีความสัญญาและเจตนารมย์ของสัญญา โดยส่วนใหญ่แล้วมักนิยมใช้การเกริ่นนำถึงที่มาที่ไป ก่อนที่คู่สัญญาจะตกลงเข้าทำสัญญาฉบับนั้น ๆ ต่อกัน ไม่ว่าจะเป็นการแนะนำคู่สัญญา ความเป็นมาของสัญญา หรือแม้แต่การเชื่อมโยงกันระหว่างสัญญาฉบับนั้น ๆ กับฉบับอื่น เป็นต้น ซึ่งการอารัมภบทต่าง ๆ เหล่านี้อาจไม่ถือเป็นหนึ่งในข้อตกลงระหว่างคู่สัญญา แต่ร่างขึ้นเพื่อลดปัญหาการตีความที่จะเกิดขึ้นในสัญญานั้น ๆ เท่านั้น

5. คำนิยาม
ในสัญญาที่มีรายละเอียดหรือมีเนื้อหาค่อนข้างมาก นอกจากการอารัมภบทแล้ว คำนิยาม หรือการนิยามความหมายของคำต่าง ๆ ในสัญญามีประโยชน์อย่างมากต่อการตีความถึงรายละเอียดของสัญญาในแต่ละข้อหรือแม้แต่การระบุคำจำกัดความไว้ในสัญญาเพื่อให้สัญญามีความกระชับ ไม่ให้มีเนื้อหาที่มากเกินไป โดยทั่วไปมักจะใช้การรวมคำนิยามต่าง ๆ ไว้อยู่ในหัวข้อเดียวกัน และมักจะเรียงลำดับตามตัวอักษรตามพจนานุกรมเพื่อความสะดวกในการค้นหาในระหว่างการอ่านสัญญา นอกจากนี้ยังเป็นการลดข้อถกเถียงระหว่างคู่สัญญาในภายหลังด้วยเช่นกัน

6. รายละเอียดข้อตกลง
ข้อตกลงต่าง ๆ ระหว่างคู่สัญญาถือเป็นสาระสำคัญ หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญในการจัดทำสัญญาฉบับนั้น ๆ ขึ้นมาก็ว่าได้ เพราะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความประสงค์และเจตนารมย์ของคู่สัญญาโดยตรง โดยอาจกำหนดข้อตกลงหรือเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เป็นสาระสำคัญของการทำนิติกรรมในคราวนั้น ๆ และระบุข้อกำหนด เงื่อนไข การคาดการณ์หรือสมมุติเหตุการณ์ในอนาคตเพื่อหาทางยุติข้อถกเถียง หรือแม้แต่การกำหนด ความรับผิดชอบ อายุของสัญญา ค่าปรับหรือค่าเสียหายต่าง ๆ ได้อีกด้วย ซึ่งความสำคัญของรายละเอียดในแต่ละเรื่องอาจแตกต่างกันไปตามประเภทของสัญญาได้

7. เหตุสุดวิสัย
ในชีวิตเราทุกคนอาจมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้ แม้แต่ในการทำข้อตกลงหรือสัญญาต่าง ๆ ก็เช่นกัน ซึ่งเหตุการณ์ที่ไม่อาจคาดคิดควบคุมไม่ได้ และไม่ได้เป็นความผิดของคู่สัญญาฝ่ายใดนั้น ในสัญญามักจะเรียกว่า “เหตุสุดวิสัย” และเมื่อมีเหตุสุดวิสัยเกิดขึ้นโดยไม่ใช่ความผิดของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ตามกฎหมายจึงให้ตกเป็นพับแก่คู่สัญญาแต่ละฝ่ายนั่นเอง ดังนั้น การกำหนดรายละเอียดของเหตุสุดวิสัยจึงเป็นประโยชน์ต่อคู่สัญญาเป็นอย่างมาก เพราะช่วยสร้างความเข้าใจที่ตรงกันและลดข้อถกเถียงที่อาจเกิดขึ้นในภายหลังอีกเช่นกัน

8. กฎหมายที่บังคับใช้
ในการร่างสัญญาแต่ละฉบับ หากคู่สัญญามีสัญชาติเดียวกันก็อาจจะไม่มีประเด็นปัญหาในเรื่องของข้อกฎหมายที่จะใช้บังคับแต่อย่างใด แต่หากคู่สัญญาเป็นคนละสัญชาติ อาศัยอยู่คนละชาติกัน หรือสัญญานั้นเกิดขึ้นหรือบังคับใช้ในต่างดินแดน อาจจะเป็นข้อถกเถียงว่าจะต้องนำกฎหมายของชาติใดมาใช้บังคับ ซึ่งตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น ไม่ได้กำหนดขอบเขตอำนาจกฎหมายในการบังคับใช้กับสัญญาต่าง ๆ ไว้เป็นหลัก หากแต่ให้ขึ้นอยู่กับการตกลงกันของคู่สัญญา ซึ่งหากไม่ได้กำหนดไว้ก็อาจนำมาซึ่งข้อถกเถียงกันในภายหลังได้ ดังนั้นการกำหนดกฎหมายที่จะนำมาบังคับใช้กับสัญญานั้น ๆ จึงเป็นอีกหนึ่งข้อสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน

9. การระงับข้อพิพาท
แม้การระบุข้อกฎหมายที่จะนำมาบังคับใช้ในสัญญาจะเป็นเรื่องสำคัญ แต่การกำหนดข้อตกลงในการระงับข้อพิพาทก็สำคัญไม่แพ้กัน เนื่องจากในทางปฏิบัติ สัญญาที่มีผลผูกพันเป็นระยะเวลานาน และสำคัญต่อความสัมพันธ์ระหว่างคู่สัญญา เมื่อมีข้อพิพาทใด ๆ เกิดขึ้นอาจไม่จบลงอย่างราบรื่น ดังนั้น ในการร่างสัญญาลักษณะนี้จึงควรมีข้อตกลงในการระงับข้อพิพาทเบื้องต้นเอาไว้ เพื่อรักษาความสัมพันธ์อันดีของคู่สัญญา เช่น เมื่อมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดกระทำผิดสัญญา อาจให้อีกฝ่ายแจ้งเตือนเพื่อให้แก้ไขความผิดนั้นให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดก่อนได้ หรือท้ายที่สุดหากจำเป็นต้องดำเนินการฟ้องร้องกันในทางแพ่งจริงๆ การดำเนินคดีในชั้นศาลอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดของคู่สัญญา เนื่องจากความชำนาญ ความเชี่ยวชาญของผู้ทำหน้าที่เป็นคนกลางตัดสินข้อพิพาท ระยะเวลาที่ยาวนานของกระบวนการ หรือแม้แต่ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการฟ้องร้องดำเนินคดีต่อกันอาจมีราคาสูงมาก หรือคู่สัญญาอาจเลือกใช้วิธีการระงับข้อพิพาททางเลือกได้ เช่น การนำคดีที่พิพาทเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย หรือกระบวนการอนุญาโตตุลาการแทนการฟ้องร้องดำเนินคดีต่อกัน ซึ่งอาจยุติข้อพิพาทนั้นอย่างคุ้มค่าและสมประโยชน์ต่อคู่ความทั้งสองฝ่ายมากกว่า

   จะเห็นได้ว่า หัวข้อหลัก ๆ ในสัญญามักมีรายละเอียดที่ค่อนข้างมากและสัญญาบางประเภทอาจมีข้อเท็จจริงที่ค่อนข้างซับซ้อนแตกต่างกันไป ดังนั้น IDG มีผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาด้านสัญญาทุกประเภท ด้วยประสบการณ์กว่า 10 ปี เพราะการมีที่ปรึกษาที่ดีเป็นสิ่งสำคัญเพื่อช่วยตรวจสอบรายละเอียดของสัญญาให้มีความครอบคลุมและลดข้อโต้แย้งระหว่างคู่สัญญาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง 

ที่มา : https://www.led.go.th/datacenter/pdf/manual/040759-8.pdf 

ติดต่อได้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :
Line: @idgthailand (มี@) 
☎️โทร: 02-011-7161 ต่อ 106
📩E-Mail: [email protected] หรือ [email protected]

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณอย่างเต็มที่

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ