OUR BLOG

เเนวทางการชี้แจงและแก้ไขสิทธิบัตร ตามคำสั่งนายทะเบียน

ก่อนซื้อแฟรนไชส์ 39

          สำหรับหลาย ๆ ท่าน ทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตรนั้น อาจฟังดูเป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อน และยาก ที่จะทำความเข้าใจ เนื่องจากสิทธิบัตรแต่ละฉบับนั้น ประกอบไปด้วยรายละเอียดการประดิษฐ์ ซึ่งเป็นเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์เฉพาะทางในแต่ละด้าน ไม่ว่าจะเป็นวิศวกรรม เภสัชกรรม หรือเคมี รวมไปถึงในส่วนของข้อถือสิทธิที่จะเป็นการอธิบายขอบเขตความคุ้มครองในเชิงกฎหมาย ผู้ขอรับสิทธิบัตรหลาย ๆ ท่าน ที่ดำเนินการยื่นขอรับความคุ้มครองด้วยตนเองนั้น จึงอาจมีความวิตกกังวล หลังจากสิทธิบัตรที่ยื่นขอรับความคุ้มครองไป ได้รับคำสั่งจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาให้กลับไปแก้ไข

         ในบทความนี้ เราจะมาอธิบายกันว่าจริง ๆ แล้ว การชี้แจงแก้ไขนั้นไม่ได้น่ากังวลอย่างที่คิด หากเราได้ทำความเข้าใจในหลักเกณฑ์สำหรับแก้ไขเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

1.ทำความเข้าใจคำสั่งจากผู้ตรวจสอบ

การทำความเข้าใจถึงคำสั่งของผู้ตรวจสอบ เป็นขั้นตอนแรกที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากคำสั่งดังกล่าวจะระบุปัญหาและความไม่ชัดเจนในการในอธิบายรายละเอียดต่าง ๆ ภายในสิทธิบัตรฉบับนั้น เพื่อให้ถูกต้องตามหลักการทำงานของสิ่งประดิษฐ์ หรือเพื่อให้ตรงกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการทำความเข้าใจในคำสั่งของผู้ตรวจสอบอย่างชัดเจน จะช่วยให้เราสามารถรู้ได้ว่าส่วนใดในเนื้อหาที่ควรทำการแก้ไข หรือทำการพิจารณาทบทวนในส่วนของความถูกต้องของเนื้อหาเพิ่มเติม ในบางคำสั่ง ผู้ตรวจสอบการมีการอ้างอิงถึงบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การไปทำความเข้าใจในตัวบทกฎหมายนั้น ๆ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่อาจช่วยให้เราสามารถรับรู้ถึงปัญหาในการประดิษฐ์ของเราได้มากขึ้น

2.ตรวจสอบภาษาที่ใช้ในการร่างคำขอ

เนื่องจากสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตรนั้น ถือว่าเป็นเอกสารทางกฎหมายประเภทหนึ่ง นอกเหนือจากการพิสูจน์อักษรและตรวจทานคำที่สะกดผิดแล้ว การใช้ภาษาและเทคนิคในการบรรยายจึงต้องเป็นภาษาทางกฎหมายและถูกต้องตามหลักการในการใช้ของภาษานั้น ๆ โดยภาษาที่ใช้จะต้องบรรยายให้ชัดเจน ชัดแจ้ง และรัดกุม ไม่ทำให้เกิดความสับสน คลุมเครือ และสงสัย เพื่อลดความเสี่ยงที่จะถูกตีความในหลายแง่มุม ซึ่งอาจจะเป็นประเด็นที่ค่อนข้างยากที่จะเข้าใจสำหรับบุคคลที่ไม่ได้คุ้นเคยกับเอกสาประเภทดังกล่าว

3.ทำความเข้าใจในสิ่งประดิษฐ์ของเรา

ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการแก้ไขรายละเอียดของสิ่งประดิษฐ์ของเราตามคำสั่งที่ได้รับ ควรทำการทบทวนและทำความเข้าใจในทุกแง่มุมของสิ่งประดิษฐ์ของเราอีกครั้ง ว่ามีลักษณะหรือกระบวนการในการทำงานเป็นอย่างไร ชิ้นส่วนแต่ละอย่างมีหน้าที่อย่างไรบ้าง มีการนำเทคนิคพิเศษแบบไหนมาประยุกต์ใช้กับงานของเราบ้าง ผลลัพธ์ของการทำงาน รวมถึงส่วนที่สำคัญที่สุด คือข้อแตกต่างระหว่างสิ่งประดิษฐ์ของเรากับงานก่อนหน้านั้นเป็นอย่างไร ซึ่งการทำความเข้าใจกับงานของเราอย่างถ่องแท้นั้น จะช่วยให้เราสามารถอธิบายคุณสัมบัติเฉพาะและข้อดีของสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวได้ รวมถึงสามารถตอบคำถามต่าง ๆ กับผู้ตรวจสอบได้ดียิ่งขึ้น

4.ทำความเข้าใจกับสิทธิบัตรที่ถูกใช้ในการอ้างอิง

ในหลายกรณี ผู้ตรวจสอบอาจมีการแนบสิทธิบัตรบางฉบับที่มีการประกาศโฆษณาไว้ก่อนหน้า เพื่อทำการอ้างอิง รวมถึงเป็นหลักฐานในการชี้แจงหรือระบุปัญหา ความไม่ชัดเจนของสิทธิบัตรของเรา การทำความเข้าใจในเอกสารเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถรู้ได้ถึงลักษณะเฉพาะของสิทธิบัตรนั้น ๆ แต่จะช่วยให้เราสามารถระบุความแตกต่างระหว่างการประดิษฐ์ของเรากับการประดิษฐ์ก่อนหน้าได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงสามารถช่วยป้องกันไม่ให้การประดิษฐ์ของเราไปละเมิดของผู้อื่นได้อีกด้วย

5.ดำเนินการตามระยะเวลาที่กำหนด

ไม่เพียงแต่เฉพาะในการชี้แจงแก้ไขตามคำสั่งนายทะเบียนเท่านั้น แต่รวมไปถึงทุกขั้นตอนในการสื่อสารกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อขอรับสิทธิบัตรนั้น จะมีระยะเวลาที่สามารถดำเนินการได้ตามกฎหมาย โดยหากไม่สามารถดำเนินการได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด คำขอรับสิทธิบัตรดังกล่าวจะถูกเพิกถอน และไม่ได้รับการพิจารณาในขั้นตอนต่อไป โดยอาจสามารถขอยื่นอุทธรณ์ได้ในบางกรณี แต่ทั้งนี้ ดุลยพินิจในการอนุญาตก็ยังเป็นของเจ้าหน้าที่อยู่ดี ในทางที่ดีแล้ว จึงควรดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อลดโอกาสในการเกิดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง

นอกเหนือจากการยื่นขอชี้แจงแก้ไขตามคำสั่งนายทะเบียนด้วยตนเองแล้ว การใช้บริการตัวแทนสิทธิบัตรก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เจ้าของเทคโนโลยีหรือนวัตกรรม เลือกที่จะใช้บริการในการขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ของตน เนื่องจากตัวแทนสิทธิบัตรนั้นจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิบัตรโดยเฉพาะ ที่ได้รับการรับรองจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งนอกจากความเข้าใจในตัวกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิบัตรแล้ว ต้องมีความเข้าใจในวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ดังกล่าวด้วย การใช้บริการตัวแทนสิทธิบัตรจึงเป็นการลดโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดในการแก้ไขหรือชี้แจง อีกทั้งช่วยติดตามคำขอดังกล่าวให้ดำเนินการได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด

ทาง IDG มีผู้เชี่ยวชาญทางด้านสิทธิบัตรในหลากหลายสาขาวิชาชีพ คุณสามารถมั่นใจได้ว่าผลงานของคุณจะได้รับการดูเเลจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง ปรึกษาข้อมูลด้านสิทธิบัตรกับเรา ฟรี !

ติดต่อทีมสิทธิบัตร IDG :

โทร : 02-011-7161 ติดต่อ 301

E-mail : [email protected]

เปิดทำการวันจันทร์ – วันเสาร์ เวลา 09:00 – 18:00 น

หรือท่านสามารถสแกน QR Code เพิ่มเพื่อน หรือเพิ่มเพื่อน
LINE ID : @idgthailand เพื่อติดต่อเราผ่าน
แอพพลิเคชั่น LINE ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ