OUR BLOG

Brand Guideline คู่มือสำคัญในการใช้งานอัตลักษณ์องค์กร จำเป็นต้องมีอะไรบ้าง?

brand guideline

         อธิบายโดยใช้คำจำกัดความง่าย ๆ Brand Guideline หมายถึง “คัมภีร์” ที่จะช่วยสื่อสารแบรนด์ เพื่อให้คนในองค์กรมีความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกันถึงที่มาที่ไปของแบรนด์ เป็นการอธิบายขอบเขต หรือข้อกำหนดของการใช้งานโลโก้ โทนสีต่าง ๆ ชุดตัวอักษร การออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ทางการตลาด ทั้งหมดคือ Corporate Identity หรือ CI ขององค์กรหรือแบรนด์ของคุณนั่นเอง ซึ่งการมี Brand Guideline นั้นมีข้อดีและมีความจำเป็นอย่างมากที่จะช่วยให้ทุกคนจดจำแบรนด์ และนำ CI ของแบรนด์ไปใช้งานตามขอบเขตที่กำหนดไว้ ไม่หลงทิศทาง และเห็นเป็นภาพเดียวกันนั่นเอง ไม่ว่าจะนำโลโก้ หรือ CI ไปใช้งานที่ใด เมื่อมี Brand Guideline เป็นตัวกำหนดแล้ว จะช่วยให้เห็นภาพรวมของแบรนด์ และทำให้ฝ่ายที่จะต้องนำสื่อต่าง ๆ ไปใช้งานต่อหรือออกแบบสื่อต่าง ๆ ต่อไป สามารถควบคุมคุณภาพของงานได้ดียิ่งขึ้น 
         หากพูดถึงสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องกำหนดลงไปใน Brand Guideline นั้น จะเน้นไปที่การอธิบายตัวตนความเป็นแบรนด์ของเรา ซึ่งประกอบไปด้วย
GS067
Vision, Mission และ Values

  • วิสัยทัศน์ (Vision) การมองภาพอนาคต และกำหนดจุดหมายปลายทางขององค์กร ที่เชื่อมโยงกับภารกิจ ค่านิยม และความเชื่อเข้าด้วยกัน แล้วมุ่งสู่จุดหมายปลายทางที่ต้องการจุดหมายปลายทางที่ต้องการ 
  • พันธกิจ (Mission) สิ่งที่คุณกำหนดและวางแผนเพื่อทำให้เป้าหมายหลัก (Vision) ขององค์กรเป็นจริง
  • คุณค่าของแบรนด์ (Values) สิ่งที่องค์กรหรือแบรนด์ของคุณยึดถือเป็น

Brand Guideline Blog 06
Brand Guideline Blog 07
Brand Guideline Blog 08
Brand Guideline Blog 11
Visual
ภาพลักษณ์ ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญและเป็นส่วนที่ช่วยในการทำให้คนในองค์กร หรือกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์คุณสามารถจดจำแบรนด์ของคุณได้ บางครั้งอาจจดจำได้ผ่านสี ผ่านโลโก้ หรือเพียงแค่เห็นลายเส้น ชุดตัวอักษรบางอย่างก็สามารถนึกถึงสินค้าหรือบริการของคุณได้ ซึ่งประกอบไปด้วย

  • โลโก้ (Logo) โลโก้ของคุณถูกออกแบบอย่างไร มีความหมายสื่อสารอย่างไร 
  • การใช้สี (Color Palette) ต้องกำหนดค่าสีเพื่อให้ทุกคนสามารถนำชุดค่าสีนั้นๆไปใช้งานได้อย่างถูกต้องไม่ผิดเพี้ยน ตามหลักแล้วไม่ได้มีข้อกำหนดว่าต้องใช้จำนวนกี่สี แต่ในทางที่ดีไม่ควรมีการกำหนดสีที่ใช้งานที่มากจนเกินไป เพราะจะทำให้ CI ของแบรนด์คุณไม่ถูกจดจำ ควรมีสีหลัก 2-3 สี และอาจใช้สีอื่นๆช่วยเสริมในการออกแบบต่างๆเพิ่มเติมได้
  • รูปแบบชุดตัวอักษร (Font) สิ่งสำคัญอันดับต้นๆ คือการเลือกใช้ตัวอักษรที่เหมาะสมกับ Mood&Tone ของแบรนด์ เพราะชุดตัวอักษรรูปแบบต่าง ๆ ก็สามารถบ่งบอกอารมณ์ความรู้สึก และความน่าเชื่อถือของแบรนด์ได้
  • ภาพ ลายเส้น หรือไอคอนต่างๆ (Key Visual) ส่วนนี้จะเป็นส่วนเสริมที่ช่วยให้คนจดจำแบรนด์ของคุณได้ เมื่อเห็นลายเส้นแบบนี้ ไอคอนต่าง ๆ หรือภาพประกอบลักษณะนี้ ที่แบรนด์ของเราสื่อสารและแสดงออกมาให้ลูกค้าหรือคนในองค์กรเห็นบ่อย ๆ

Brand Guideline Blog 05
Brand Guideline Blog 10
สิ่งที่ “ทำได้” และ “ไม่ควรทำ”
เมื่อมีการกำหนดแล้วว่า CI ขององค์กรหรือแบรนด์ของคุณ ควรนำไปใช้งานอย่างถูกต้องอย่างไร สิ่งที่ต้องมาคู่กันก็คือการกำหนด “สิ่งที่ไม่ควรทำ” กับ CI ของคุณ และแสดงตัวอย่างให้เห็นเป็นภาพเปรียบเทียบอย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น 

  • การนำโลโก้ไปใช้งานบนพื้นที่ต่างๆ เช่น พื้นสี พื้นขาวดำ จำเป็นต้องวางข้อกำหนดต่างๆไว้ว่าแบบไหนสามารถใช้ได้ และไม่ควรใช้ เพื่อเป็นแนวทางการใช้งานในทิศทางเดียวกัน
  • การวางตำแหน่งของโลโก้ 
  • การระบุการใช้งานชุดสี 
  • แนวทางการจัดวางภาพ การออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ (ขนาดหรือตำแหน่ง)
  • ขนาดของตัวอักษร การจัดวางชุดตัวอักษร
  • แนวทางการใช้ Key Message ที่จะสื่อสารกับลูกค้าของคุณ

เมื่อเราได้กำหนด Corporate Identity (CI) หรือทิศทางการสื่อสารแบรนด์ของเราแล้ว สิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จำเป็นจะต้องมีเพื่อให้ทุกคนยึดถือแนวทางเดียวกัน ก็คือ Brand Guideline จะยิ่งเป็นส่วนที่ทำให้แบรนด์ของคุณแข็งแกร่งยิ่งขึ้น
และเมื่อมีการปรับปรุงหรือ Rebrand ของคุณ อย่าลืมที่จะต้อง Update ข้อมูล Brand Guideline อย่างสม่ำเสมอด้วย 

IDG ให้บริการออกแบบโลโก้ และ อัตลักษณ์องค์กร (corporate Identity)  

สร้างอัตลักษณ์ให้กับแบรนด์ (Brand Identity) ที่จะเสริมธุรกิจของคุณให้แข็งแรง และเป็นที่จดจำด้วยความโดดเด่น แตกต่าง และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ เรายินดีให้คำปรึกษา ด้านการออกแบบเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์และธุรกิจของคุณ

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ