OUR BLOG

เพราะทุกสิ่งไม่ใช่ “ลิขสิทธิ์” ไปซะทุกอย่าง!!

idg ip blog 01


เพราะทุกสิ่งไม่ใช่ “ลิขสิทธิ์” ไปซะทุกอย่าง!!

ปัจจุบัน “ทรัพย์สินทางปัญญา” ถือเป็นเรื่องใกล้ตัวเรามากๆ แต่ส่วนใหญ่คนทั่วไปมักจะคุ้นเคยกับคำว่า “ลิขสิทธิ์” และเรียกทุกสิ่งทุกอย่างว่าลิขสิทธิ์ไปซะหมด ซึ่งแท้จริงแล้วลิขสิทธิ์เป็นเพียงทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งเท่านั้น โดยทรัพย์สินทางปัญญาจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม ได้แก่ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า แบบผังภูมิของวงจรรวม ความลับทางการค้า สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ฯ
  2. ลิขสิทธิ์

ซึ่งในแต่ละประเภทก็มีความแตกต่างและความคุ้มครองที่ไม่เหมือนกัน วันนี้ IDG จึงขออธิบายให้ทุกท่านได้เข้าใจถึงทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหลักๆ ใกล้ตัว ได้แก่ ลิขสิทธิ์, เครื่องหมายการค้า และสิทธิบัตร เรามาดูกันครับว่าทั้ง 3 ประเภทนั้น จะมีความแตกต่างกันมากน้อยเพียงใดครับ

01

ลิขสิทธิ์ : ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของผู้สร้างสรรค์งาน เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานดังกล่าว ซึ่งงานสร้างสรรค์ที่มีลิขสิทธิ์นั้นได้แก่  งานวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ เป็นต้น หากไม่เข้าข่ายงานดังกล่าวก็ไม่ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ และที่สำคัญลิขสิทธิ์ไม่ต้องนำมาจดทะเบียนก็ได้รับความคุ้มครองตั้งแต่สร้างสรรค์งานดังกล่าว

เครื่องหมายการค้า : เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น ซึ่งได้แก่ ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำ ข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ กลุ่มของสี รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ รวมถึงเสียงด้วย

สิทธิบัตร : หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ สิทธิบัตรให้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวแก่เจ้าของในการใช้ประโยชน์ของผู้ทรงสิทธิบัตร สิทธิบัตรแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ อนุสิทธิบัตร สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

Facebook
Twitter
LinkedIn

บทความล่าสุด

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณอย่างเต็มที่

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ