OUR BLOG

การสร้างนวัตกรรม ไม่จำเป็นต้อง Disruption เสมอไป

idg cover content 32

Summary : Cunard Line เบอร์หนึ่งของธุรกิจเดินเรือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกในอดีต ที่ต้องเอาตัวรอดจากการถูก Disruption จากธุรกิจเครื่องบินเจ็ต จนสามารถค้นพบนวัตกรรมต่อยอดธุรกิจดั้งเดิม ที่ต่อมาได้กลายมาเป็นประตูบานใหม่ให้กับอีกหลายธุรกิจเดินเรือ และยังเป็นเครื่องจักรทำเงินมหาศาลให้กับบริษัทจนถึงปัจจุบัน

     ย้อนไปในศตวรรษที่ 19 ยุคทองของมหาสมุทรแอตแลนติก บริษัทสัญชาติอังกฤษอย่างคิวนาร์ดไลน์ (Cunard) กลายเป็นผู้นำของธุรกิจเดินเรือ ที่พาคนหลายล้านคนจากยุโรป ไปยังอเมริกา ยิ่งไปกว่าช่วงหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2  คิวนาร์ดกลายเป็นผู้ให้บริการเรือขนส่งที่ใหญ่ที่สุดในแอตแลนติก ด้วยการมีเรือถึง 12 ลำ มุ่งไปยังอเมริกาและแคนาดา ทำให้คิวนาร์ดกลายเป็นบริษัทเดินเรือที่เติบโตที่สุดหลังสงคราม

แต่ยุคทองของพวกเขาก็ต้องสิ้นสุดลง จากการมาของเครื่องบินเจ็ตพาณิชย์  จำนวนผู้โดยสารกว่า 1 ล้านคนที่เคยเดินทางด้วยเรือในปี 1957 ลดลงเหลือ 650,000 ในปี 1965 ลดลงกว่า 35% ภายใน 8 ปี เนื่องจากเรือเดินสมุทรไม่สามารถสู้ความเร็ว และความสะดวกสบายของเครื่องบินเจ็ตได้เลย

idg cover content 33

ธุรกิจเดินเรือรายอื่นค่อย ๆ ล้มหายจากธุรกิจเดินเรือ คิวนาร์ดเองเคยร่วมสู้สมรภูมิตลาดการบินอย่างคิวนาร์ดอีเกิลในระยะสั้น ๆ ก่อนยกธงขาวถอยออกมา และเริ่มกลับมาโฟกัสมหาสมุทรแอตแลนติกอีกครั้ง จนในที่สุดก็ได้พบไอเดียใหม่ ที่ภายหลังสร้างมูลค่าอย่างมหาศาลให้บริษัทได้ นั่นก็คือ “การพักผ่อนที่หรูหรากลางทะเล” และถือกลายเป็นการเปิดประตูบานใหม่ให้กับธุรกิจการเดินเรือข้ามสมุทรอีกครั้ง

เรือเดินสมุทรมีหลักการการเดินทางคือจากจุด A ไปจด B ซึ่งไม่มีความแตกต่างจากเครื่องบินพาณิชย์ คิวนาร์ดสร้างแพลตฟอร์มใหม่ที่หมายถึงการพักผ่อนหย่อนใจ และความบันเทิงสารพัด ไปจนถึงการแสดงของเหล่าดาราดัง

ปัจจุบัน Cunard เป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Carnival Corporation ให้บริการธุรกิจท่องเที่ยวโดยเรือสำราญขนาดใหญ่ มีเรือขนาดใหญ่ให้บริการ 4 ลำได้แก่ Queen Anne, Queen Mary2, Queen Victoria และ Queen Elizabeth มีเส้นทางเดินเรือที่ครอบคลุมมากขึ้น สร้างรายได้ประมาณ 3 หมื่นล้านเหรียญต่อปี สิ่งที่ Cunard ทำถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่ดี เพราะไม่เพียงสร้างโอกาสทางธุรกิจเพื่อหนีรอดจากการมาของเครื่องบินพาณิชย์แล้วนั้น ยังไม่ไปก่อกวน ขัดขวาง หรือทดแทนธุรกิจดั้งเดิมอีกด้วย 

เห็นได้ว่าตลอดหลายปีที่ผ่านมา คำว่า “Disruption” ถูกหยิบยกมาพูดกันบ่อย ๆ จนแทบจะกลายเป็นโจทย์สำคัญสำหรับคนที่ทำธุรกิจ อย่างกรณีศึกษาของ Cunard ที่เราได้เล่าไป หรือ Apple พัฒนา iPhone ที่เป็นสมาร์ทโฟนจนครองตลาดโทรศัพท์มือถือ มีหลายคนเข้าใจว่านวัตกรรมที่เจ๋ง จะต้องสร้างการ Disruption อุตสาหกรรมหรือเขย่าตลาดเดิมอย่างรุนแรง ซึ่งมันไม่ได้เป็นวิธีเดียวที่เป็นการสร้างนวัตกรรมที่ดีได้

นวัตกรรมที่สามารถสร้างตลาดใหม่ ๆ ของตัวเองก็ถือว่าเจ๋งไม่แพ้กัน แถมยังไม่ไป Disrupt บริการดั่งเดิมที่เรามีอยู่  ดังนั้นการพัฒนานวัตกรรมในธุรกิจของคุณอาจไม่จำเป็นต้องเขย่าอุตสาหกรรมขนาดนั้น แค่เพียงมองหาไปยังประตูบานใหม่ เหมือนอย่างกับที่ Cunard Line บุกเบิกธุรกิจเรือสำราญ ก็เพียงพอแล้ว

แน่นอนว่านวัตกรรม หรือเทคโนโลยีที่ดี ควรค่าอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการปกป้อง หากคุณมีไอเดียนวัตกรรมที่ดี หรือกำลังพัฒนากระบวนการบางอย่างที่จะสร้างโอกาสให้คุณอนาคต คุณควรขอรับคำปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญาโดยตรง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคุณจะพลาดสักโอกาสเดียวจากนวัตกรรมของคุณ

Source : 
– Wikipedia.org
– hbr.org
– cunard.com

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ