OUR BLOG

Madrid Protocol Crash Course ลึก ครบ จบ กับระบบเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศ

madrid protocal

ในปัจจุบันนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่า สินค้าและบริการจากประเทศไทยได้รับความนิยมจากผู้คนทั่วโลก และเป็นที่ต้องการของตลาดใหญ่ๆมากขึ้น ทำให้มีผู้ประกอบการไทยสนใจขยายตลาดไปยังต่างประเทศ เพื่อทำกำไร ผ่านการผลักดันจากภาครัฐและเอกชน ซึ่งสิ่งที่ผู้ประกอบการนั้นละเลยไม่ได้คือการปกป้องแบรนด์ของตัวเองในต่างประเทศ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งใหม่และไกลตัวอีกดต่อไป แต่เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการให้เรียบร้อยก่อนประกอบธุรกิจในต่างประเทศ และเนื่องจากการจดทะเบียนในแต่ละประเทศมีความยากง่ายที่แตกต่างกันไป ผู้ประกอบการควรมีการวางแผนไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะตามมาในอนาคต ซึ่งในขณะนี้ ประเทศไทยก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ พิธีสารกรุงมาดริด (Madrid Protocol) ว่าด้วยการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันว่า “จดมาดริด” ซึ่งหลายๆ ท่านอาจจะยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับระบบการยื่นจดนี้ วันนี้ทางเราจะมาตอบข้อสงสัยของทุกท่านให้กระจ่าง

ระบบมาดริดคืออะไร??

การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศภายใต้พิธีสารมาดริด มีสถานะเป็นเหมือนระบบการจดทะเบียนคู่ขนาน เป็นทางเลือกหนึ่งที่ไม่ได้เข้ามาแทนที่การจดทะเบียนในต่างประเทศผ่านการยื่นคำขอโดยตรงไปยังสำนักเครื่องหมายการค้าของประเทศนั้นๆ

แล้วประโยชน์ของการยื่นมาดริดคือ…??

การยื่นในระบบมาดริดนั้นมีข้อดีกว่าการยื่นคำขอตรงดังนี้

  • ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ขอจดทะเบียน ที่ตั้งใจจะบุกตลาดต่างประเทศหลายๆ ประเทศพร้อมกัน ด้วยที่ระบบมาดริดมีรูปแบบเฉพาะตัวที่อนุญาตให้ผู้ขอจดทะเบียน ยื่นคำขอผ่านสำนักเครื่องหมายการค้าของสำนักงานต้นกำเนิดหรือผ่านประเทศไทยได้
  • ประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะไม่ต้องตั้งตัวแทนเครื่องหมายการค้าในแต่ละประเทศ และด้วยที่เป็นการยื่นผ่านหน่วยงานกลาง คือ สำนักเครื่องหมายการค้าไทย และ องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO)
  • ง่ายต่อการติดตามและบริหารจัดการคำขอการจดทะเบียนด้วยระบบมาดริด ไม่จำเป็นจะต้องคอยจดบันทึกข้อมูลวันที่ยื่นคำขอหรือเลขที่คำขอแต่ละประเทศให้ยุ่งยาก

 

 

ขั้นตอนในการยื่นหละ…??

  1. ก่อนจะยื่น ผู้ขอจะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศไทยก่อน เรียกว่า คำขอพื้นฐาน (Basic Application) หรือเคยได้รับจดทะเบียนในประเทศไทยมาแล้ว เรียกว่า ทะเบียนพื้นฐาน (Basic Registration)โดยจะใช้เลขคำขอ หรือทะเบียนนั้น มาอ้างอิงเป็นคำขอระหว่างประเทศ และในการยื่นคำขอมาดริดในประเทศไทยนั้น ผู้ยื่นจะต้องใช้แบบฟอร์ม MM2 ในการกรอกข้อมูลและยื่น
  2. เมื่อกรอกและยื่นแบบฟอร์ม MM2 เรียบร้อยแล้ว ผู้ขอจะต้องชำระค่าธรรมเนียมเป็นสกุลเงินฟรังก์สวิส (CHF) ซึ่งค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระนั้นประกอบด้วย

    • ค่าธรรมเนียมพื้นฐาน (Basic fee) 653 ฟรังก์สวิส (กรณีเป็นเครื่องหมายขาวดำ) หรือ 903 ฟรังก์สวิส (กรณีเป็นเครื่องหมายสี)
    • ค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม (Complementary fee) เป็นค่าธรรมเนียมประเทศที่ผู้ขอประสงค์จะขอรับความคุ้มครอง ประเทศละ 100 ฟรังก์สวิส
    • ค่าธรรมเนียมเสริม (Supplementary fee) เป็นค่าธรรมเนียมในกรณีที่ผู้ขอต้องการจดทะเบียนจำพวกรายการสินค้า/บริการมากกว่า 3 จำพวก จำพวกละ 100 ฟรังก์สวิส
    • ค่าธรรมเนียมเฉพาะราย (Individual fee) เป็นค่าธรรมเนียมในกรณีที่ประเทศไทยประกาศขอรับค่าธรรมเนียมนี้แทนค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม (Complementary fee) และค่าธรรมเนียมเสริม (Supplementary fee)

    โดยวิธีการชำระเงินนั้นมี 2 ช่องทาง ได้แก่ช่องทาง E-Payment (ในกรณีที่ WIPO มีหนังสือแจ้งไปยังผู้ขอ

    เท่านั้น) และ ชำระเป็นเงินสดเข้าสู่บัญชีกระแสรายวัน WIPO (WIPO Current Account) ซึ่งจะต้องมีการ

    ติดต่อขอเปิดบัญชีกับทาง WIPO ไว้ก่อน

  3. ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาของสำนักงานต้นกำเนิด จะดำเนินการตรวจสอบคำขอว่า ผู้ยื่นนั้นมีคุณสมบัติหรือไม่ และตรวจสอบว่า ชื่อ ที่อยู่ รายการสินค้า และรูปเครื่องหมาย ตรงกับคำขอพื้นฐานหรือทะเบียนพื้นฐานหรือไม่ หากไม่มีข้อผิดพลาด ทางกรมจะรับรองความถูกต้องและส่งคำขอไปยังสำนักงานระหว่างประเทศ
  4. เมื่อสำนักงานระหว่างประเทศได้รับคำขอแล้วจะทำการตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของพิธีสารมาดริดหรือไม่ หากมีรายละเอียดที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ทางสำนักงานระหว่างประเทศจะแจ้งกลับมายังสำนักงานต้นกำเนิดและผู้ขอ เพื่อให้ดำเนินการแก้ไขข้อมูลในส่วนนั้นภายในระยะเวลา 3 เดือน (หากไม่แก้ไขในระยะเวลาที่กำหนดจะถือว่าละทิ้งคำขอ)
  5. 5.ในกรณีที่สำนักงานระหว่างประเทศตรวจสอบข้อมูลแล้ว เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของพิธีสารมาดริด ก็จะให้เลขทะเบียนระหว่างประเทศพร้อมกับลงวันที่ในคำขอ ซึ่งมี2กรณี คือ
    • กรณีคำขอไปถึงสำนักงานนระหว่างประเทศภายในระยะเวลา 2 เดือน นับ ตั้งแต่วันที่สำนักงานต้นกำเนิดรับคำขอไว้ จะถือว่าวันที่สำนักงานต้นกำเนิดรับคำขอจดทะเบียนระหว่างประเทศไว้เป็นวันที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศ (International Registration)
    • กรณีคำขอมาถึงสำนักงานระหว่างประเทศภายหลังจาก2 เดือนนับตั้งแต่วันที่สำนักงานต้นกำเนิดรับคำขอไว้ จะถือเอาวันที่ที่สำนักงานระหว่างประเทศได้ร้บคำขอจดทะเบียนระหว่างประเทศเป็นวันที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศ (International Registration)

    เมื่อสำนักงานระหว่างประเทศได้ลงวันที่รับคำขอจดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ก็จะทำการลงประกาศในหนังสือโฆษณาของสำนักงานระหว่างประเทศซึ่งเป็นระบบออนไลน์ (E-Gazette)

  6. เมื่อคำขอได้รับการบันทึกเป็นทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศแล้ว สำนักงานระหว่างประเทศจะดำเนินการส่งต่อคำขอ ไปยังประเทศต่างๆที่ผู้ขอระบุขอรับความคุ้มครอง ซึ่งแต่ละประเทศจะมีระยะเวลาในการแจ้งผลการตรวจสอบต่อสำนักงานระหว่างประเทสภายใน 12-18 เดือน

  7. กรณีที่ประเทศปลายทางที่ขอรับความคุ้มครองปฏิเสธการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หรือมีคำสั่งใดๆ ก็ตาม ผู้ขอจะต้องแต่งตั้งตัวแทนในประเทศนั้นๆ ไปดำเนินการต่อสำนักงานของประเทศนั้นโดยตรง โดยที่ไม่สามารถติดต่อผ่านสำนักงานต้นกำเนิด หรือสำนักงานระหว่างประเทศได้

  8. หากเครื่องหมายของผู้ขอ ได้รับการจดทะเบียนระหว่างประเทศและไม่ถูกปฏิเสธการรับจดทะเบียนจากสำนักงานของประเทศปลายทางที่ขอรับความคุ้มครอง เครื่องหมายของผู้ขอจะมีอายุความคุ้มครอง 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับเลขจดทะเบียนระหว่างประเทศ (International Registration Number หรือ IRN) และผู้ขอสามารถขอต่ออายุเครื่องหมายได้คราวละ 10 ปี

    Credit: คู่มือและขั้นตอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศ ภายใต้พิธีสารมาดริดในประเทศไทย

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ