OUR BLOG

การพัฒนาคาแรคเตอร์ เพื่อการค้าเชิงธุรกิจ

การพัฒนาคาแรคเตอร์ เพื่อการค้าเชิงธุรกิจ

การพัฒนาคาแรคเตอร์
เพื่อการค้าเชิงธุรกิจ

ตั้งแต่มีการเปิดแพลตฟอร์ม LINE CREATOR หรือสติกเกอร์ไลน์แบบครีเอทเอง เหล่านักวาดและผู้สร้างสรรค์หลายคนได้ขายผลงานและได้แจ้งเกิดตัวเองจากสติกเกอร์ไลน์ บ้างก็มาแบบน่ารัก บ้างก็มาพร้อมอารมณ์ขัน บ้างก็เสียดสีประเด็นในสังคม ถือเป็นช่องทางใหม่ที่ทำให้นักวาดและผู้สร้างสรรค์ สามารถโฆษณาและประชาสัมพันธ์ผลงานของตัวเองได้โดยไม่ต้องผ่านตัวกลางหรือสังกัดสำนักงานต่างๆ สร้างรายได้อย่างมหาศาล ขับเคลื่อนวงการคาแรคเตอร์อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในสังคมนานาชาติ

img keyvisual.06f964a706f5853f9d3dd349dd8d7015

แต่ท่านนักวาดและผู้สร้างสรรค์ทราบหรือไม่ว่า? ความโด่งดังและความนิยมนั้นก็เหมือนกับดาบสองคม หากไม่มีมาตรการปกป้องหรือระบบการดูแลงานสร้างสรรค์ที่ดี มิจฉาชีพที่รัก ก็พร้อมจะอาศัยช่องว่างทางกฎหมายนี้หาประโยชน์ที่เป็นโทษเป็นผลเสียกับคุณแน่นอน

ทั้งนี้ แม้ว่างานสร้างสรรค์ในรูปแบบคาแรคเตอร์หรือตัวละครจะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ ในฐานะงานสร้างสรรค์ประเภทศิลปกรรมอยู่แล้ว ตั้งแต่สร้างสรรค์และเผยแพร่ออกมา แต่นั่นก็เป็นการคุ้มครองแค่เฉพาะในฐานะของงานศิลปะอย่างหนึ่ง แต่ในทางการค้าหรือการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์นั่น เป็นคนละเรื่องกันเลยครับ ซึ่งปัจจุบันผู้สร้างสรรค์ที่เจ้าใหญ่ๆ ก็เริ่มที่จะนำตัวละครของตนไปจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าบ้างแล้วนะครับ

idg ip blog 08 pic2
idg ip blog 08 pic1

คาแรคเตอร์ ที่จดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้านั้น มีประโยชน์ในเชิงธุรกิจเป็นอย่างมาก ทั้งการใช้งานที่ง่ายกว่า และยังรับได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายที่รัดกุมมากกว่า ซึ่งเราสามารถสรุปข้อดีของการนำตัวละครมาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้า ได้ดังนี้ครับ

  • มีการจดทะเบียนและการตรวจสอบที่เป็นระบบ บุคคลอื่นจะมาจดซ้ำในลักษณะที่เหมือนหรือคล้ายกับของเจ้าของไม่ได้
  • เลือกจำพวกสินค้าและบริการที่จะใช้ได้ ซึ่งสามารถเลือกให้ครอบคลุมสินค้าที่จะทำตลาดได้หลากหลาย
  • เมื่อจดทะเบียนแล้วเป็นเอกสิทธิ์ของเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวที่จะใช้ หรืออนุญาตให้ผู้อื่นใช้ และหากมีบุคคลอื่นนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตจะบังคับสิทธิได้สะดวกกว่า
  • ให้ความคุ้มครอง 10 ปี และต่ออายุได้ไม่จำกัด (ลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองจำกัด)

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ